กรณีตัวอย่าง นวัตกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ

นวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการแฟชั่นระดับลักเซอร์รี่ในประเทศไทย

Authors

  • เทพรัตน์ พิมลเสถียร

Keywords:

นวัตกรรม, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผู้ประกอบการแฟชั่น, ระดับลักเซอร์รี่, HRM

Abstract

          นวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการแฟชั่นระดับลักเซอร์รี่ (Fashion Luxury Entrepreneurs) ในประเทศไทย เป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาการนำนวัตกรรม มาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผลของการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ประกอบการแฟชั่นระดับลักเซอร์รี่ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับหัวหน้างาน ทั้งหมด 12 คน เพื่อนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรของผู้ประกอบการแฟชั่นระดับลักเซอร์รี่ในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 77 คน ผลการศึกษาพบว่า บริษัทส่วนหนึ่ง มีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยลักษณะนวัตกรรมที่นำมาใช้นั้นจะเป็นนวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) ที่เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือวิธีการให้บริการที่แตกต่างออกไปจากเดิม โดยลักษณะหรือรูปแบบของการนำนวัตกรรมไปใช้นั้นเป็นรูปแบบนวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และถูกใช้ไปเพื่อการสำรวจข้อมูลย้อนกลับ และการใช้ตาข่ายการบริหาร (Grid OD) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงาน ขององค์การ โดยผลจากการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีผลดังนี้ อันดับที่ 1 การนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว อันดับที่ 2 การนำนวัตกรรมมาช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน อันดับที่ 3 การนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และยังพบว่าระดับความคิดเห็นถึงผลของการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ทั้งนี้สำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับผลของการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในภาพรวมมีค่าอยู่ในระดับสูง (ระหว่าง 0.735 - 0.884) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01                  This research is conducted with two main objectives, first, to understand the model and process of innovation in human resource management and second, the result of using innovation in human resource management in Thai Fashion Luxury Entrepreneurs. This research conducted mixed methods of qualitative and quantitative approaches. The qualitative method utilized group interviews with 12 human resource personnels at head level. For quantitative method, this research conducted questionnaires from 77 personnels and found that many entrepreneurs had applied a process innovation in human resource management. Process Innovation has changed the way business operated.  Innovation is used in a continuous style, backdrop survey, and grid administration (Grid OD) to increase organizational effectiveness.The results of innovation in human resource management are as follows: first, innovation makes HRM more convenient and faster; second, innovation helps HRM more efficient and effective; third, innovation in HRM gives accuracy for work. Quantitative research found that the level of opinion on the use of innovation in HRM was at a high level. It also found that the level of feedback on innovation in HRM was at the high level as well. The results of the relationship between innovation and the effect of innovation on HRM indicated the correlation coefficients to be high (between 0.735 - 0.884) at statistical significance of 0.01.

Show

    Downloads

    • PDF

    Issue

    Vol. 9 No. 3 (2560): วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย

    Section

    Articles

              การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย จึงนับเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะพัฒนาสังคมสังคมไทยให้ก้าวสู่สังคมโลกดิจิทัลเทียบเคียงกับอารยประเทศทั่วโลก อีกทั้งเป็นการที่จะทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ตลอดจสภาพแวดล้อมให้รองรับกับความเจริญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของกระแสโลกและเพื่อเตรียมพร้อมต่อการก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

    เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ สวทช. ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเชื่อถือได้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำ/พฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ได้แก่

    1. Fabrication การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
    2. Falsification การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
    3. Plagiarism การคัดลอกงานวิจัยของตนเองและผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างถึง แหล่งข้อมูลที่ได้มา
    4. อื่นๆ

    ท่านสามารถแจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ผ่านทางช่องทางที่ให้ไว้ด้านล่าง

    ทั้งนี้:

    1. สวทช. จะรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนต่อสาธารณชน
    2. ข้อมูลการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่ระบุต้องเป็นความจริง
    3. หากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบและสืบหาข้อเท็จจริงได้ สวทช. จะยุติเรื่อง และเก็บบันทึกเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
    4. ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ระบุชื่อ-สกุล หรือ อีเมล์ของท่าน อย่างไรก็ตาม การให้ชื่อและอีเมล์จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

    ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน

    1. รายละเอียดเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางจริยธรรมการวิจัย (โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติม)*
    2. อีเมล์
    3. ชื่อ-สกุล

    หมายเหตุ: ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ข้อ 2) อีเมล์ และ 3) ชื่อ-สกุล ผู้แจ้งเบาะแสสามารถละเว้นไว้หรือใช้อีเมล์แฝง/นามแฝงได้ อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลในการติดต่อกลับ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล