วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีกับชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

2.1. คำว่า เทคโนโลยี ตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) หมายถึง “วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม”

2.2. เทคโนโลยี หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางอุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้

2.3. เทคโนโลยี หมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

2.4. เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ

3. ความหมายวิทยาศาสตร์

3.1. "ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลพม่า 2525 ได้รับความรู้ความเข้าใจว่า" วิทยาศาสตร์คือความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการค้นคว้า จัดเข้าเป็นระเบียบ”

3.2. เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ กล่าวโดยสรุปได้ว่า ตัวความรู้คือวิทยาศาสตร์ แต่การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การต่อเรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ ดาวเทียม เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เรียกว่า เทคโนโลยี

4. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

4.1. กระบวนการเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ

4.1.1. 1. เครื่องมือ หรือฮาร์ดแวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย เครื่องปรับอากาศ เครื่องบิน เป็นต้น

Show

4.1.2. 2.วิธีการหรือ เรียนกว่า ซอฟต์แวร์ หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของวิธีการ กระบวนการ ความรู้ต่าง ๆ เช่น วิธีจัดการระบบบริหารองค์กร วิธีประเมินผลต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เทคโนโลยีสัมพันธ์กับพลังงานและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับการนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของสารชนิดต่างๆในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ นอกจากจะส่งผลกระทบทำให้สภาพแวดล้อมมีคุณภาพเสื่อมโทรมลงแล้ว ยังได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมบริเวณดังกล่าวอีกด้วย การแก้ไขและ/หรือการป้องกันการปนเปื้อนของสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆหลายสาขา เช่น นักเคมี นักชีววิทยา นักจุลชีววิทยา วิศวกร เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีมาผสมผสานและประยุกต์ใช้เพื่อการกำจัดหรือลดปริมาณการปนเปื้อนสารต่างๆในสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งวิธีทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่องถึงอนาคต การเลือกใช้เทคโนโลยีการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ย่อมส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง

การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาธรรมชาติ

เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ ดูแล บำบัด ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และลดปัญหามลพิษที่อาจส่งผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ หลักการของเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นเทคโนโลยีที่นำไปใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้ เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่

1.เทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมและบำบัดมลพิษ

2.เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม

3.เทคโนโลยีภูมิปัญญาด้านสิ่งแวดล้อม

4.เทคโนโลยีชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อม

5.เทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

6.เทคโนโลยีด้านพลังงานที่เกี่ยข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงาน

พลังงานทดแทน มีในรูปแบบอะไรบ้าง

มนุษย์เป็นผู้ที่สามารถดึงเอาพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตของเรา และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับสังคม เมื่อปริมาณการใช้พลังงานในรูปแบบหนึ่งเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่วันหนึ่งพลังงานนั้นจะลดน้อยลงจนไม่เพียงพออีกต่อไป การค้นหาพลังงานทดแทนจึงตามมา มันทำให้เรารู้ว่าบนโลกนี้ยังมีพลังงานในรูปแบบอื่นๆ อีกมาก รอแค่เราหาวิธีใช้งานมันเท่านั้นเอง ลองมาดูกันว่าพลังงานทดแทนที่ค้นพบ และถูกนำมาใช้ประโยชน์แล้วมีอะไรกันบ้าง

พลังงานแสงอาทิตย์

นี่เป็นกลุ่มพลังงานประเภทแรกที่ถูกนึกถึง เนื่องจากมีปริมาณมากมายมหาศาล แถมยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมด้วย โซล่าร์เซลล์หรือเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานรูปแบบอื่นที่พร้อมใช้งาน เช่น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น สมัยก่อนราคาของเซลล์แสงอาทิตย์ค่อนข้างสูงมาก หากต้องการขนาดใหญ่จำเป็นต้องสั่งผลิตพิเศษ แต่เดี๋ยวนี้ราคาถูกลงมากแล้ว กระบวนการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานทดแทนจึงมีต้นทุนไม่สูงมากนัก

พลังงานลม

เป็นการดึงเอาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในเรื่องความแตกต่างของอุณหภูมิในสองพื้นที่ มาเชื่อมโยงกับการสร้างพลังงานกลก่อนจะต่อยอดไปสู่การแปรรูปเป็นพลังงานแบบอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้อุปกรณ์ในรูปแบบของกังหันลมขนาดใหญ่ ติดตั้งในจุดที่มีกระแสลมเร็วเพียงพอ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในบ้านเราอาจจะมีจุดที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานลมไม่มากนัก แต่ก็มีการนำมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าบ้างแล้ว

พลังงานชีวภาพ

จะเรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่กลายเป็นขยะก็ได้ เป็นพลังงานที่น่าสนใจมากด้วยเหตุผลหลัก 2 ข้อ คือ ต้นทุนในการผลิตพลังงานชีวภาพไม่สูงมาก สามารถปรับขนาดของการผลิตได้หลากหลาย เป็นการช่วยลดภาระขยะในเชิงเกษตรกรรมได้จำนวนมาก ตัวอย่างของวัตถุดิบที่นิยมนำมาผลิตพลังงานชีวภาพ ได้แก่ มูลสัตว์ ชานอ้อย แกลบ วัชพืช ซังข้าวโพด เป็นต้น เราสามารถใช้พลังงานชีวภาพเพื่อสร้างความร้อนสำหรับใช้งานในฟาร์มได้ ใช้ผลิตไฟฟ้า และใช้งานในภาคขนส่งได้ด้วย

พลังงานจากขยะ

พลังงานทดแทนกลุ่มนี้จะต่างจากพลังงานชีวภาพตรงที่ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นวัตถุดิบชีวมวลเท่านั้น แต่จะเป็นขยะประเภทไหนก็ได้ ทั้งที่ย่อยสลายได้ง่าย และยาก ไอเดียที่ดีมากๆ ในการใช้ประโยชน์จากพลังงานประเภทนี้ก็คือ การทำโรงผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานขยะ เพราะมันจะแก้ปัญหาปริมาณขยะที่มีจำนวนมากในพื้นที่ได้ แถมยังเปลี่ยนรูปไปเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากอย่างไฟฟ้าอีกด้วย เพียงแต่ว่าต้นทุนในการเริ่มต้นของโครงการนี้ค่อนข้างสูง จำเป็นต้องมีเครื่องจักรขนาดใหญ่รองรับ ต้องมีมาตรการจัดการขยะที่คนในชุมชนร่วมมือร่วมใจกันด้วย แต่ถ้ามองเป็นการลงทุนในระยะยาว มันจะลดค่าใช้จ่ายปลีกย่อยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เยอะมาก เช่น ลดค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งขยะเพื่อไปทิ้งในพื้นที่ที่กำหนด ลดค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหามลภาวะที่มาจากหมักหมมของขยะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เป็นต้น