อาหารใด ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ?

เผยแพร่: 20 เม.ย. 2559 14:52   ปรับปรุง: 20 เม.ย. 2559 15:31   โดย: MGR Online

อาหารใด ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ?

อย. มอบอำนาจ “ผู้ว่าฯ จังหวัด - นพ.สสจ.” พิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร 5 กลุ่ม “วัตถุเจือปน - รอยัลเยลลี - ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร - ไอศกรีม - เครื่องดื่มในภาชนะปิดสนิท” เริ่มแล้วตั้งแต่ 1 ก.พ. 59 พร้อมอนุญาตผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งออกไม่ต้องขอเลขสารบบอาหาร

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนการส่งออก ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ อย. จึงได้ปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหาร เพื่อรองรับการขยายตัวในภาคธุรกิจให้เกิดความรวดเร็ว โดยมอบอำนาจการพิจารณาอนุญาตอาหารเพิ่มเติมให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป ได้แก่ 1. วัตถุเจือปนอาหาร ที่ผลิตโดยวิธีแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารไว้แล้ว 2. รอยัลเยลลี และผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี ที่ผลิตโดยวิธีแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนอาหารไว้แล้ว 3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ผลิตโดยวิธีแบ่งบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนอาหารไว้แล้ว 4. ไอศกรีมทุกชนิด และ 5. เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิททุกชนิด

นพ.ไพศาล กล่าวว่า นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. นี้ เป็นต้นไป ผู้ผลิตที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกเท่านั้น ไม่ต้องขอรับเลขสารบบอาหาร ยกเว้นอาหารที่มีความเสี่ยงสูง คือ อาหารควบคุมเฉพาะ ได้แก่ ซัยคลาเมต นมดัดแปลงสำหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก วัตถุเจือปนอาหาร อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก สตีวิออลไกลโคไซต์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งนี้ เลขสารบบอาหารหลักที่ 9 เป็นเลข 3 หรือ เลข 4 แสดงว่า เป็นอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออกต้องไม่มีวางจำหน่ายในประเทศ และสำหรับผู้ผลิตอาหารที่มีความเสี่ยงต่ำ ที่ไม่ต้องแจ้งสูตรส่วนประกอบ เช่น น้ำบริโภค น้ำแข็ง ช็อกโกแลต อาหารกึ่งสำเร็จรูป ชา ชาสมุนไพร ไข่เยี่ยวม้า น้ำผึ้ง ข้าวเติมวิตามิน เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม น้ำมันเนย น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมันและไขมัน น้ำเกลือปรุงอาหาร ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง เป็นต้น อย. จะอนุญาตผ่านระบบ Auto E-submission ทันทีหลังจากที่ผู้ประกอบการแจ้งรายละเอียดตามแบบ สบ.7 ซึ่งช่วยให้การพิจารณาอนุญาตรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

การจะเช็กว่าสินค้า หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ปลอดภัยต่อการบริโภค อุปโภคหรือไม่ สิ่งแรกๆ ที่หลายคนพยายามพลิกมองหาที่ข้างบรรจุภัณฑ์คงหนีไม่พ้น “เครื่องหมาย อย.” ที่การันตีความปลอดภัยให้กับเราได้มาก เพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าสินค้าชนิดนั้นๆ ไม่มีสาร หรือส่วนผสมใดๆ ที่ทำร้ายสุขภาพได้ แต่ทราบหรือไม่ว่าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกประเภทที่มีเครื่องหมาย อย.

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

  • อาหาร ปรากฎเป็นเลขสารบบอาหาร 13 หลักบนฉลาก สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ไม่กำหนดให้ต้องขอเลข อย. แต่สามารถยื่นขอได้ โดยสถานที่ผลิตต้องผ่านหลักเกณฑ์
  • เครื่องมือแพทย์ต้องมีใบอนุญาต แสดงเป็นตัวอักษร ผ. หมายถึง ผลิต หรือ น. หมายถึง นำเข้า ตามด้วยเลข 2 หลัก / ปี พบได้ใน ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยแพทย์ ชุดตรวจเชื้อ HIV คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
  • วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน ต้องมีเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกัน/กำจัด/ไล่แมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.

  • ยา จะแสดงเลขทะเบียนตำรับยาแทน เช่น  1A 12/35 หมายถึง ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ ผลิตภายในประเทศไทย มีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว ลำดับทะเบียนเลขที่ 12 ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2535
  • เครื่องสำอาง จะแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง เป็นตัวเลข 10 หลักบนฉลาก
  • เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง ได้แก่ เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน ส่วนเครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต
  • วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนบางประเภท ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องมีเลขที่รับแจ้ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และวัตถุต่างๆ ที่มีสารที่ อย. กำหนด


หากผู้บริโภคเข้าใจที่มาที่ไปของตัวเลขที่อยู่บนฉลากมากขึ้น และคอยสังเกตตัวเลขเหล่านี้ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ ก็จะสามารถช่วยให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ถูกต้อง ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายของเรา และคนที่เรารักได้มากขึ้นเช่นกัน

เครื่องหมาย อย. ในที่นี้ หมายถึงเครื่องหมายที่มีลักษณะดังภาพ

อาหารใด ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ?

1.ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีเครื่องหมาย อย. 

อาหารใด ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ?

(กดที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด)

1.1 ผลิตภัณฑ์อาหาร แสดงเลขสารบบอาหาร โดยมีตัวเลข 13 หลักในเครื่องหมาย อย.

1.2 ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต มี อักษร ผ. หมายถึงผลิต ตามด้วยตัวเลข xxxx/ปี พ.ศ. ในเครื่องหมาย อย. หรือ มีอักษร น. หมายถึงนำเข้า ตามด้วยตัวเลข xxxx/ปี พ.ศ. ในเครื่องหมาย อย. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องแสดง ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยกรรม ชุดตรวจเชื้อเอชไอวี คอนแทคลนส์ (เลนส์สัมผัส)

1.3 ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (ใช้ในบ้านเรือน) มีอักษร วอส. ตามด้วยตัวเลข xxxx/ปี พ.ศ. ในเครื่องหมาย อย.  ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว 

2.ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. 

อาหารใด ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ?

(กดที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด)

2.1 ผลิตภัณฑ์ยา แม้ว่ายาต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนก่อนการผลิตยา นำเข้ายา แต่การแสดงเลขทะเบียนตำรับยาไม่ต้องแสดงในเครื่องหมาย อย. ดูความหมายของเลขทะเบียนตำรับยาได้ที่ http://rparun.blogspot.com/2012/12/regno.html

2.2 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ต้องจดแจ้งเครื่องสำอางก่อน จะได้เลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลักบนฉลาก คือ xx-x-xxxxxxx ไม่ต้องอยู่ในเครื่องหมาย อย.

2.3 เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง ได้แก่ เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน

2.4 เครื่องมือแพทย์ทั่วไป (เครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้อยู้ในรายการเครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด) ไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต

2.5 วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ วัตถุต่างๆ  ที่มีสารที่ อย.กำหนด 

ที่มาของภาพ. ไขข้อข้องใจ เครื่องหมาย อย.บนฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ. ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2-4 ธันวาคม พ.ศ.2556 หน้า 5