ลำดับหรือหลักการของประมวลผลข้อมูลมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

การประมวลผลข้อมูลมักจะประกอบไปด้วยหลายขั้นตอนที่คล้ายๆกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลที่คุณต้องการที่จะทำการประมวลผล หรือสิ่งที่คุณต้องการจะทำ
 

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection)


ขั้นแรกที่จะต้องทำก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะเกิดขึ้นโดยเป็นการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว หรือมันอาจจะเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยมือมากกว่า
อย่างไรก็ตามข้อมูลก็จะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับรูปแบบและลำดับที่เหมาะสม และมันก็สามารถที่จะนำมาใช้ในส่วนที่เหลือของกระบวนการประมวลผลข้อมูลของคุณได้อีก ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถประมวลผลข้อมูลที่ไม่มีการจัดเรียงลำดับได้หรือไม่? และถ้าคำตอบของคุณคือ "ไม่" คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกเก็บรวบรวมในรูปแบบที่มีการจัดเรียงตามลำดับเรียบร้อยแล้ว

 

การจัดเตรียมข้อมูล (Preparation) 


ในลำดับถัดไป นั่นก็คือการจัดเตรียมข้อมูล ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องทำกับข้อมูลดิบที่ได้ทำการรวบรวมมา เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ที่จะนำไปโหลดเพื่อเก็บเข้าฐานข้อมูล หรือนำไปวิเคราะห์ เนื่องจาก การทิ้งข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เกี่ยวข้อง จะเป็นการช่วยลดระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูล และยังเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ชักนำให้เข้าใจผิด ได้เช่นกัน
 

อินพุต (Input)


ในระหว่างขั้นตอนนี้ ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้ จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-readable) เพื่อที่จะสามารถผลักดันให้เหมาะสมกับเครื่องมือและวิธีการที่จะทำการวิเคราะห์ โดยในขั้นตอนนี้ของข้อมูลหรือการหยุดทำงานนี้ อาจจะต้องใช้เวลาที่นานมาก เท่ากับว่าข้อมูลต้องได้รับการตรวจสอบจากการป้อนข้อมูลของมัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดและมันอยู่ในรูปแบบที่แอพพลิเคชั่นสามารถประมวลผลได้ สำหรับข้อมูลใดๆ ที่ขาดหายไปและผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง
 

การประมวลผลข้อมูล (Processing)


การประมวลผลข้อมูลคือ ข้อมูลจะถูกจัดการโดยใช้อัลกอริทึม เพื่อสร้างข้อมูลที่ใช้งานได้และจำเป็นต่อการใช้งาน (Meaningful Information) มากยิ่งขึ้น
 

ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output)


ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว จากนั้นจะสามารถแสดงต่อผู้ใช้ในรูปแบบที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอในรูปแบบของรายงาน (Report), การแสดงผลด้วยกราฟ (Graph), วิดีโอ (Video), เสียง (Audio) หรือ เอกสาร (Document) ข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยผู้ใช้ในการตัดสินใจ เกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
          การประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเรียกว่าข้อสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)

วิธีการประมวลผลข้อมูล      อาจจำแนกได้ 3 วิธีโดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่


1.การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ สามารถจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ
– อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บเอกสาร
– อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคำนวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิดเลข เป็นต้น
– อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น
การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP : Electronic Data Processing) หมายถึงการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นเอง  ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ
– งานที่มีปริมาณมาก ๆ
– ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว
– มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำ ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น
– มีการคำนวณที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เช่น งานวิจัยและวางแผน งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (lnput) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
ก. การลงรหัส(Coding) คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การประมวลผล ทำให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่ รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น
ข. การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล (Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จะทำได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คำตอบบางคำตอบขัดแย้งกันก็อาจดูคำตอบจากคำถามข้ออื่น ๆ ประกอบ แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม
ค. การแยกประเภทข้อมูล (Classifying) คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงานเพื่อสะดวกในการประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุ เป็นต้น
ง. การบันทึกข้อมูลลงสื่อ (Media) ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป

2. ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์(Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
ก. การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
ข. การเรียงลำดับข้อมูล(Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
ค. การดึงข้อมูลมาใช้(Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ต้องการทราบยอดหนี้ของลูกค้าคนหนึ่ง หรือต้องการทราบยอดขายของพนักงานคนหนึ่ง เป็นต้น
ง. การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน เช่น การนำเอาเงินเดือนพนักงาน รวมกับเงินค่าล่วงเวลา จะได้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
จ. การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
ฉ. การสร้างข้อมูลชุดใหม่ (Reproducing) เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลเดิม
ช. การปรับปรุงข้อมูล (Updating) คือ การเพิ่มข้อมูล (Add) การลบข้อมูล (Delete)  และการเปลี่ยนค่า (change) ข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล มี 3 ขั้นตอน อะไรบ้าง

ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูล เป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายอย่าง ประกอบกันคือ 1. การรวบรวมข้อมูล 2. การแยกแยะ 3. การตรวจสอบความถูกต้อง

Output คือขั้นตอนใด

ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

การนำข้อมูลมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศนั้น มีขั้นตอนในการทำงานหลายขั้นตอนประกอบกัน เช่น การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะข้อมูลออกเป็นกลุ่ม การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การคำนวณหาค่าต่าง ๆ การจัดลำดับ และการรายงานผล เช่น การจัดทำสมุดรายงานของนักเรียนมีขั้นตอนดังนี้ การรวบรวมข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน ได้แก่ เลขประจำตัว ชื่อ ...