Blockchain มีลักษณะอย่างไร

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่น Blockchain ไม่ได้เหมาะกับการนำไปใช้ในทุกด้านของโลกการเงิน แต่จะมีประโยชน์มากหากเลือกวิธีใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมกับธรรมชาติของมัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องเข้าใจวิธีการทำงานของ Blockchain

แนวคิดหลัก

เดิมเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล (Data) จะเป็นการบันทึกในที่เดียวแบบรวมศูนย์ (Centralized Ledger) ซึ่งหมายถึงว่า ผู้ที่ต้องการจะใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ที่ระบบกลางนี้ต้องเชื่อมั่นและไว้ใจในระบบกลางว่าเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นจริง ระบบกลางบันทึกไว้ว่าอย่างไรสิ่งนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี Blockchain จะต่างออกไป เพราะ Blockchain เป็นการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger) โดยที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน (peer) หรือผู้ที่ต้องการเก็บการทำรายการจะเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้ด้วยตนเอง และช่วยกันตรวจสอบยืนยันและทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ ไม่ใช่เพียงโดยผู้ใดผู้หนึ่งเหมือนอย่างระบบรวมศูนย์ โดยข้อมูลใน Blockchain จะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือลบได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจากสมาชิกทุกคนในเครือข่าย กระทั่งการจะเจาะระบบทุกคนเพื่อล้วงเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากจะต้องใช้ขุมกำลังคอมพิวเตอร์มหาศาล จนไม่คุ้มค่ากับเวลาและทรัพยากรที่ลงไป นอกจากนั้น ข้อมูลที่บันทึกไว้โดย Blockchain นี้ สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนกัน (Distributed) ได้แบบ peer-to-peer โดยไม่มีศูนย์กลาง

การที่ข้อมูลถูกบันทึกแบบ Distributed Ledger และมีการเชื่อมต่อกันแลกเปลี่ยนมีการยืนยันความถูกต้องร่วมกันแบบนี้ ส่งผลให้มีความโปร่งใสของข้อมูล และสร้างความเชื่อมั่นแบบ Distributed Trust ซึ่งจะช่วยลดการฉ้อโกงและข้อผิดพลาด

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า Centralized Ledger, Centralized Trust, Distributed Ledger หรือ Distributed Ledger ล้วนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ เช่น การฝากเงินกับธนาคารปัจจุบันนี้ เป็นระบบบันทึกข้อมูลแบบ Centralized Ledger และมีการเก็บเงินไว้ที่ธนาคาร การฝาก การถอน ก็เชื่อมั่นในการบันทึกของธนาคารเพียงผู้เดียว (Centralized Trust) ต่อมาถึงธนาคารจะเปลี่ยนเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลเป็นแบบ Distributed Ledger แต่ธนาคารอาจยังคงเก็บเงินไว้ที่ธนาคารได้ เช่น เมื่อมีใครมาฝาก หรือถอนเงิน ธนาคารก็แจ้งให้ทุกคนทราบและให้ทุกคนบันทึกข้อมูลไว้ด้วย ตามหลักการของ Distributed Ledger แต่ในเมื่อธนาคารยังเป็นผู้รวมเงินอยู่ผู้เดียว แสดงว่าทุกคนยังให้ความเชื่อมั่นอย่างรวมศูนย์แก่ธนาคาร ธนาคารจึงคงเป็น Centralized Trust เทคโนโลยี Blockchain จึงไม่ได้หมายถึงการมาแทนที่ระบบรวมศูนย์ในทุกมิติอย่างที่เข้าใจกันเสมอไป

ข้อดีของ Blockchain

การร่วมกันเก็บรักษาข้อมูลแบบไม่มีศูนย์กลางที่เดียว ทำให้มั่นใจว่า ข้อมูลมีความปลอดภัย ไม่มีการแอบแก้ไขย้อนหลัง มีความโปร่งใส Blockchain จึงเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ

การกระจายของการบันทึกข้อมูลที่ไม่มีศูนย์กลางนี้ จะช่วยให้ระบบสามารถดำเนินการต่อได้ต่างจากการบันทึกข้อมูลแบบมีศูนย์กลางที่หากระบบล่ม ก็จะดำเนินการต่อไม่ได้

การนำ Blockchain ไปใช้

Blockchain เป็นเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลทั่วไปจึงสามารถนำมาใช้ได้หลายด้านหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการยืนยันข้อมูลสำหรับการใช้งานในวงกว้าง เพราะจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา เช่น

Digital Identity

เทคโนโลยี Blockchain จะช่วยลดขั้นตอนการระบุตัวตนในระบบดิจิทัลเพื่อการทำธุรกรรมออนไลน์และช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ผู้ใช้บริการมีความสะดวกมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การขอสินเชื่อออนไลน์ ที่ต้องขอข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโร หากมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่บันทึกไว้ด้วยเทคโนโลยี Blockchain มีการยืนยันความถูกต้องจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบข้อมูลที่กำหนดให้เข้าถึงข้อมูลได้ จะทำให้เชื่อได้ว่าผู้ที่ขอสินเชื่อออนไลน์นั้นเป็นคนทำธุรกรรมจริง พิสูจน์ตัวตนได้และการยินยอมให้เอาข้อมูลของเขาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ไปยังคนที่ต้องใช้ข้อมูล คือ ธนาคารที่ขอกู้ ทำให้สะดวก ประหยัดเวลาและต้นทุน ผู้ขอสินเชื่อไม่ต้องเดินทางไปแสดงตัวตนกับธนาคารหรือเครดิตบูโร หรือจัดส่งเอกสารอีก

สัญญาระหว่างประเทศ

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้มีความเหมาะสม เพราะแก้ไขปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นได้ เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ทั้งผู้ใช้บริการ ธนาคาร คู่ค้า ธนาคารของคู่ค้า เดิมการเปิด L/C การแก้ไขปัญหาความเชื่อมั่นของข้อมูลจะอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์เป็นคู่ๆ และต่อกันเป็นทอดๆ เริ่มจากผู้ใช้บริการกับธนาคารของตัวเอง จากนั้นธนาคารของผู้ใช้บริการก็จะติดต่อกับอีกธนาคารหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นธนาคารของคู่ค้า หรือธนาคารเป็นตัวแทนทางธุรกิจของธนาคารผู้ใช้บริการ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์ข้อมูลจึงสูง แต่ Blockchain จะมีประสิทธิภาพช่วยลดขั้นตอนในกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การพิสูจน์ข้อมูลคู่ค้า การชำระเงิน การขนส่ง

ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ของ Blockchain ที่แม้จะอยู่ในเพียงขั้นเริ่มต้น ก็เริ่มมีการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมแล้ว เพียงแต่สำหรับประเทศไทยยังมีข้อจำกัด คือ การยอมรับทางกฎหมาย การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้จึงอาจอยูในวงจำกัดระหว่างองค์กรธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกันมาก่อน มากกว่าจะเป็นวงกว้างทั่วไป

อย่างไรก็ตาม แม้ Blockchain ยังเพิ่งเริ่มพัฒนา และอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษา ความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ น่าจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างทันการณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

Blockchain (บล็อกเชน) คำศัพท์ใหม่ ที่เราเริ่มได้ยินตามสื่อต่างๆ รวมถึงตามงานสัมมนากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจจะขออธิบาย concept ของมัน โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์และการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้

Blockchain มีลักษณะอย่างไร

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

"Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง"

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม  ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ

แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง

การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ

เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล

บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล

จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย

และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์

ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้

เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้

ทิ้งท้าย

ขอแนะนำให้นำคีย์เวิร์ดต่างๆ บนภาพข้างต้นนี้ ไปลองศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ความจริงเรื่องของบล็อกเชน มีข้อมูลอีกมากมายที่รอให้ท่านศึกษา ทั้งนี้ท่านสามารถเซิร์จอ่านได้ทั้ง Financial blockchain และ Non-financial blockchain จะพบกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้มากมาย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปต์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น ไว้มีโอกาสจะนำเสนอคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต

รู้จักกับ Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพ พร้อมทิศทางการเกิด Unicorn ในไทย

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก letstalkpayments.com, cryptocoinsnews.com

ซึ่งเรามีบทความที่แนะนำให้อ่านต่อ เป็นสรุปการบรรยายจาก Chris Skinner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับบล็อกเชน อ่านได้ที่นี่

อีกทั้งสามารถอ่านเกี่ยวกับบล็อกเชนเพิ่มเติมใน Techsauce คลิกเลือก Tag Blockchain หรือ คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ

คุณสมบัติของบล็อกเชนมีอะไรบ้าง

บล็อกเชนเป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ไม่รวมศูนย์ และกระจาย เพื่อใช้บันทึกธุรกรรมในระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ที่ระเบียนจะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนบล็อกที่สร้างต่อ ๆ มา และไม่ได้รับการร่วมมือจากเครือข่ายโดยมาก ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถยืนยันและตรวจสอบธุรกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก

จุดเด่นที่สำคัญของ Blockchain คืออะไร

Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของ ...

Consensus Blockchain คืออะไร

Blockchain Consensus Protocol คือ ชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ (Algorithm) ที่ใช้สร้างฉันทามติ (Consensus) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้ในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือไว้ใจกันก็ได้ เรียกว่า “Consensus Algorithm”

บล็อกเชน ทําอะไรได้บ้าง

Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำ ...