แบบฝึกหัด ปฏิกิริยาการเกิด พอ ลิ เม อ ร์

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

พอลิเมอร์

พอลิเมอร์ (Polymer) เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่เกิดจากโมเลกุลเล็กๆ เรียกว่า มอนอเมอร์ (Monomer) จำนวนมากมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ ปฏิกิริยาที่มอนอเมอร์รวมตัวกันเป็นพอลิเมอร์ เรียกว่า ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (Polymerization)

ประเภทของพอลิเมอร์

แบ่งโดยใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

การแบ่งตามแหล่งกำเนิด

แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. พอลิเมอร์ธรรมชาติ (Natural polymer)เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติช่น แป้ง ไกลโคเจน และเซลลูโลส พอลิเมอร์ทั้งสามชนิดมีโมเลกุลของกลูโคสเป็นมอนอเมอร์ โปรตีน เป็นพอลิเมอร์ที่มีกรดอะมิโนเป็นมอนอเมอร์ DNA และ RNA เป็นพอลิเมอร์ที่มีนิวคลีโอไทด์เป็นมอนอเมอร์ ยางธรรมชาติ และเส้นใยธรรมชาติ ฝ้าย ใยไหม เป็นต้น
  2. พอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer)เป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น เช่น พลาสติกชนิดต่างๆ ยางสังเคราะห์ เส้นใยสังเคราะห์ และเมลามีน เป็นต้น

การแบ่งตามส่วนประกอบของพอลิเมอร์

แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) เป็น พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันหลายๆ โมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน เช่น พอลิเอทิลีน (PE) เกิดจากโมเลกุลของเอทิลีน (CH2=CH2) หลายโมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน

    แบบฝึกหัด ปฏิกิริยาการเกิด พอ ลิ เม อ ร์

    โฮโมพอลิเมอร์จากธรรมชาติ เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส มีโมเลกุลของกลูโคสเป็นมอนอเมอร์  ยางธรรมชาติ มีโมเลกุลของไอโซพรีนเป็นมอนอเมอร์ เป็นต้นโฮโมพอลิเมอร์จากการสังเคราะห์ เช่น พอลิเอทิลีนมีโมเลกุลของเอทิลีนเป็นมอนอเมอร์ และพอลิไวนิลคลอไรด์มีโมเลกุลของไวนิลคลอไรด์เป็นมอนอเมอร์ เป็นต้น
  2. โคพอลิเมอร์หรือพอลิเมอร์ร่วม (Copolymer) เป็น พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นสารต่างชนิดกันมาเชื่อมต่อกัน เช่น ไนลอน 6,6 เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างเฮกซะเมทิลีนไดเอมีนกับกรดอะดิปิก

    แบบฝึกหัด ปฏิกิริยาการเกิด พอ ลิ เม อ ร์

โคพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น โปรตีนที่มีกรดอะมิโนหลายชนิดมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์

โคพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น ยางเอสบีอาร์ที่มีบิวทาไดอีนและสไตรีนเป็นมอนอเมอร์ เป็นต้น

การแบ่งตามปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน

แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation polymerization) เกิดจาก มอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ ทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นพอลิเมอร์และสารโมเลกุลเล็กเป็นผลพลอยได้ เช่น น้ำ ไฮโดรเจนคลอไรด์ แอมโมเนีย หรือเมทานอล เช่น การสังเคราะห์ไนลอน 6,10 (พอลิเอไมด์) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างเฮกซะเมทิลีนไดเอมีนกับซีบาคอลคลอไรด์และเกิดไฮโดรเจนคลอไรด์เป็นผลพลอยได้

    แบบฝึกหัด ปฏิกิริยาการเกิด พอ ลิ เม อ ร์

  2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม (Addition polymerization) เกิดจาก โมเลกุลของมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนอะตอม เช่น เอทิลีน โพรพิลีน ไวนิลคลอไรด์ และสไตรีน เป็นต้น ทำปฏิกิริยาต่อกันบริเวณพันธะคู่ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นพอลิเมอร์โดยไม่มีสารโมเลกุลเล็กเกิดขึ้น เช่น การสังเคราะห์พอลิไวนิลคลอไรด์จากไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์

แบบฝึกหัด ปฏิกิริยาการเกิด พอ ลิ เม อ ร์