ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

ความเจริญด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ของอาณาจักรสุโขทัย

ลักษณะสังคมของอาณาจักรสุโขทัย 
สังคมของอาณาจักรสุโขทัยในระยะแรกเป็นสังคมที่เรียบง่าย จำนวนของประชากร           มีไม่มากนัก ทำให้พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันเปรียบเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะบิดา ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยให้การยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำ เช่น ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม สร้างวัด ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัยมีความอุดมสมบูรณ์  ซึ่งปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกที่ 1 ว่า  “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนา     มีข้าว…”   ประชาชนไม่มีการแก่งแย่งกัน ประชาชนมีความเสมอภาค มีสิทธิเสรีภาพ เท่าเทียมกันและได้รับความเป็นธรรมโดยทั่วหน้า แต่ระยะหลังจากสามรัชกาลแรกมาแล้ว สุโขทัยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสนิทสนมระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนและประชาชนกับประชาชนลดน้อยลง เพราะพระมหากษัตริย์มิได้ทรงอยู่ในฐานะบิดาที่คอยปกครองบุตรดังแต่ก่อน

ชนชั้นและความสัมพันธ์ทางชนชั้น 
สังคมสุโขทัยมีชนชั้นต่าง ๆ หลายชนชั้นประกอบไปด้วย

1.พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่มีฐานะสูงสุดในสังคม พระมหากษัตริย์สุโขทัยสามรัชกาลแรกมีคำนำหน้าชื่อว่า “พ่อขุน” แต่จะมีการเปลี่ยนแปลง หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหง ใช้คำว่า พญา  มาเรียกแทน พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการปกครอง ทำสงครามเพื่อป้องกันประเทศ พิพากษาคดี ทำนุบำรุงศาสนา บำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
2.เจ้านาย ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นชนชั้นสูง ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระมหากษัตริย์และขุนนาง พระราชวงศ์ฝ่ายชายจะมีหน้าที่ในการบริหารและปกครอง เช่น ดูแลเมืองลูกหลวง ส่วน พระราชวงศ์ฝ่ายหญิงมีหน้าที่สำคัญ คือ การแต่งงาน เพื่อสร้างพันธมิตรทางการเมือง
3.ขุนนาง ได้แก่ บรรดาข้าราชการ ทำหน้าที่ช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ และ พระราชวงศ์ในการปกครอง และช่วยรับผิดชอบในการควบคุมไพร่พลมาทำงานให้แก่รัฐทั้งในยามปกติและในยามสงคราม
4.ไพร่ ได้แก่ชนชั้นสามัญชนซึ่งชนชั้นไพร่มีอยู่หลายกลุ่มเช่น“ไพร่ฟ้าหน้าใส” หมายถึง ไพร่ของกษัตริย์ “ไพร่ฟ้าหน้าปก” หมายถึง ไพร่ที่มีเจ้านายสังกัด “ไพร่ฟ้าข้าไทย” หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่มีอิสระโดยมีคนคอยบังคับบัญชา
5.ข้า เป็นชนชั้นที่ยังไม่สามารถกล่าวได้แน่ชัดลงไปว่ามีสถานภาพเช่นใดแต่มีการสันนิษฐานกันว่า   ข้า ก็คือทาส   มีหลายประเภท  เช่น      ข้าเชลย คือข้าที่ถูกกวาดต้อนมาจากการทำสงคราม ข้าไท คือ ผู้ที่คอยรับใช้ติดตามเจ้านาย
6.พระสงฆ์ เป็นกลุ่มชนที่มีฐานะพิเศษไม่สังกัดมูลนาย  มีหน้าที่เชื่อมโยงชนชั้น ต่าง ๆ ในสังคมสุโขทัยให้อยู่กันอย่างสงบสุข เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชนทุกชั้น และวัดเป็นศูนย์กลางของชีวิตสังคม

ผลงานด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย ลักษณะทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย 
ความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปะของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีช่างที่ชำนาญหลายสาขา ผลงานด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย
ด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม  ล้วนแล้วแต่มีความงดงาม                             เป็นเอกลักษณ์  ที่โดดเด่นของตนเอง นับได้ว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป

1. สาขาสถาปัตยกรรม
งานด้านสถาปัตกรรมสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
                                1.1 เจดีย์
= เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย แบบสุโขทัยแท้ สร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมสามชั้น ตั้งซ้อนกันขึ้นไปกับองค์เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมยอดเป็น     ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือรูปดอกบัวตูม ได้แก่ พระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย และพระเจดีย์ ที่วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยเก่า

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

     เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม 

                                = เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่รับรูปแบบศิลปะ
การก่อสร้างมาจากลังกา พร้อมกับพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ ซึ่งช่างสมัยสุโขทัยนิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกามาก โดยสร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมสองถึงสามชั้น องค์เจดีย์ทำเป็นรูประฆังหรือ
ขันโอคว่ำได้แก่ เจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

 เจดีย์ทรงกลมแบบลังกาที่วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย 

                                =เจดีย์ทรงเรือนธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานผลงานด้านศิลปะแบบศรีวิชัยและลังกา มีลักษณะฐานและองค์ระฆังสูงทำเป็นสี่เหลี่ยม บางทีก็มีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปตอนบนเป็นพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา และเจดีย์องค์เล็ก ๆ ประกอบอยู่ที่สี่มุม ได้แก่ เจดีย์
รายบางองค์ในวัดเจดีย์เจ็ดแถว  อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

  เจดีย์ทรงเรือนธาตุ 

                                1.2 โบสถ์วิหาร
อาณาจักรสุโขทัยนิยมสร้างวิหารใหญ่เท่าโบสถ์ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าผนังมักจะเจาะเป็นลูกกรงเล็ก ๆ แทนหน้าต่าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฐานก่อด้วยศิลาแลงสี่เหลี่ยมนับว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ใช้สำหรับประกอบสังฆกรรมของสงฆ์ และใช้ประกอบพิธีอุปสมบท เช่น วิหารหลวงที่วัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ได้แก่ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง
ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง
 

วัดมหาธาตุ 

1.3 มณฑป
มณฑปเป็นอาคารที่มีพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส นับเป็นศิลปะด้านสถาปัตยกรรมที่   โดดเด่นประเภทหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย ก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง มีประตูด้านหน้าเพียงด้านเดียว ภายในห้องประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือจากการประดิษฐานพระพุทธรูปใช้พื้นที่สำหรับให้พระภิกษุประกอบพิธีกรรม ส่วนหลังคาก่อด้วยอิฐหรือศิลาแลง มีทั้งทรงจั่วและหลังคาโค้ง แบบแผนในการจัดวางมณฑป ทุกแห่งนิยมสร้างให้เชื่อมติดกับอาคารทาง  ด้านหน้า แต่ก็มีบางแห่งที่สร้างห่างจากกันเล็กน้อย หลายแห่งจะใช้มณฑปเป็นประธานของวัด

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

 มณฑปประธานวัดศรีชุม 

                2. สาขาประติมากรรม
ผลงานด้านประติมากรรมของอาณาจักรสุโขทัย นับว่าเป็นศิลปะแบบไทยที่งดงาม             มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปที่ทำด้วยปูนปั้นและสำริด ช่างสุโขทัยนิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยอริยาบถทั้งสี่คือ พระพุทธรูปประทับนั่ง ยืน เดิน นอน โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา สร้างได้งดงามมาก นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ด้านประติมากรรมสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นศิลปะแบบไทยที่มีการพัฒนารูปแบบพระพุทธรูปที่งดงามอ่อนช้อย พระพักตร์สงบงามจับตาจับใจ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความรอบรู้ของช่างศิลป์สมัยสุโขทัยที่เข้าใจถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งเป็นศิลปะที่มีความแตกต่างจากศิลปะของอินเดีย ลังกาและขอม เช่น พระพุทธรูปปูนปั้นมีวงพระพักตร์กลมได้แก่ พระอัฏฐารสบนเขาสะพานหิน
พระอจนะในวิหารวัดศรีชุม  พระพุทธรูปปูนปั้นในคูหารอบพระเจดีย์ใหญ่วัดช้างล้อม
และยังมีพระพุทธรูปที่หล่อด้วยสำริดขนาดใหญ่อยู่หลายองค์ ที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พระศรีศากยมุนี เดิมเป็นพระประธานในวิหารหลวงวัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม  กรุงเทพมหานคร พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกและพระพุทธชินสีห์ พระศาสดาที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง
ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

ภาพจิตกรรมจากวัดเจดีย์เจ็ดแถว

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง
             

พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย 

                นอกจากนี้ยังได้มีการหล่อเทวรูปด้วยสำริดหลายองค์ เช่น พระอิศวร พระวิษณุ เทวรูปเหล่านี้มีพระพักตร์แบบเดียวกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ มีความแตกต่างกันที่เครื่องแต่งองค์ ซึ่งเครื่องแต่งองค์เทวรูปได้รับอิทธิพลมาจากชาติขอม

3. สาขาจิตรกรรม
จิตรกรรมนับว่าเป็นศิลปะที่งดงามอย่างหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย มีทั้งภาพเขียนและภาพลายเส้น เช่น ภาพจิตรกรรมในผนังคูหา เจดีย์ด้านทิศตะวันตกของวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า ใช้สีแดง สีขาว และสีเหลืองเป็นหลัก มีการตัดเส้นด้วยสีแดงหรือสีดำ เป็นภาพที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียและศิลปะพุกามของพม่า ส่วนภาพลายเส้นเรื่องราว
ชาดกจำหลักบนแผ่นหินชนวนที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะของลังกาอย่างชัดเจน

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง
 

ภาพลายเส้นเรื่องราวชาดกจำหลักบนแผ่นหินชนวนที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะของลังกา 

4.ภาษาและวรรณกรรม 
ภาษา 
                การประดิษฐ์อักษรไทย นับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ตกทอดมาตั้งแต่       ครั้งอาณาจักรสุโขทัย ที่บ่งบอกถึงความเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร อีกทั้งเป็นสิ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน พ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราชที่ 1826 สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและมอญโบราณ มีลักษณะการวางรูปแบบตัวอักษรโดยสระ และพยัญชนะอยู่บรรทัดเดียวกัน สระจะอยู่หน้าพยัญชนะ มีวรรณยุกต์เพียงเสียงเอกและโท วรรณยุกต์เขียนไว้บนพยัญชนะและตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์ขึ้นได้มีการดัดแปลงมาเรื่อยๆ จนเป็นตัวอักษรไทยที่มีใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อพ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทยแล้ว ทรงจารึกลงในหลักศิลาจารึก เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ในรัชกาลของพระองค์ และสังคมสุโขทัย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าการที่ทรงจารึกลงตัวอักษรในหลักศิลาจะ      มีความยั่งยืนตลอดไปไม่สูญหาย และยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โบราณคดีของสมัยสุโขทัย

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

หลักศิลาจารึก

                วรรณกรรม 
                วรรณกรรมในสมัยสุโขทัย มีอยู่หลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นการสดุดีวีรกรรม ศาสนา และปรัชญา โดยมีวรรณกรรมที่สำคัญ ดังนี้
= ศิลาจารึกหลักที่ 1 จะใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ไพเราะ เนื้อหาสาระกล่าวถึงพระราชประวัติ            พ่อขุนรามคำแหง  สภาพบ้านเมือง การปกครอง สังคมวัฒนธรรมและศาสนาของอาณาจักรสุโขทัย
= ไตรภูมิพระร่วง  หรือเตภูมิกถา เป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยอ้างคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถึง 30 คัมภีร์ วัตถุประสงค์ในการแต่งเพื่ออบรมสั่งสอน ประชาชน ให้ยึดมั่นในคุณธรรม พระพุทธศาสนา สะท้อนแนวคิด ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ สั่งสอนให้คนประพฤติดีละเว้นความชั่ว และเกรงกลัวต่อบาป
=สุภาษิตพระร่วง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหง ทรงพระราชนิพนธ์ ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ
เพื่อใช้สั่งสอนคนทั่วไปให้ประพฤติตนในสังคม ต่อมาสุภาษิตพระร่วง มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาก จนกลายเป็นสุภาษิต และสำนวนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
= ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำรับนางนพมาศ เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนัก ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย การเผาเทียนลอยประทีป ความในวรรณกรรมเรื่องนี้ จะไม่ใช้ถ้อยคำภาษาสุโขทัยล้วน ๆ แต่เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ สมัยสุโขทัย

                ศาสนา 
                ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัย นับถือทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และนับถือผี โดยเฉพาะผีที่มีผู้นับถือมากที่สุด คือ พระขพุงผี  ขณะเดียวกันพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เป็นที่นับถือกันอย่างแพร่หลาย โดยรับอิทธิพลมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรี
อินทราทิตย์ พระองค์ทรงมีมิตรไมตรี กับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และได้แต่งทูตไปลังกา
พร้อมกันกับทูตของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อขอพระพุทธสิหิงค์มาไว้สักการะที่สุโขทัยพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์ลังกาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาเผยแผ่ และสั่งสอนพระธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้กับประชาชนชาวสุโขทัย  โดยพระสงฆ์นั่งแสดงธรรมเทศนาบนพระแท่น
มนังคศิลาอาสน์   นอกเหนือจากวันธรรมสวนะพ่อขุนรามคำแหง ทรงสั่งสอนศีลธรรมให้ประชาชนชาวสุโขทัย  สำหรับพระพุทธศาสนาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) มีความเจริญสูงสุด พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งคน ไปนิมนต์พระสงฆ์มาจากลังกา และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช นอกจากนั้นพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า โดยพระองค์ทรงออกผนวช และจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง นับเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงออกผนวช นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่  ไตรภูมิพระร่วงหรือ เตภูมิกถา ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ชี้ให้เห็นถึงผลของกรรมดีและกรรมชั่ว

ประเพณีของอาณาจักรสุโขทัย 
ประเพณีของอาณาจักรสุโขทัย ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยมีประเพณีที่สำคัญ ดังนี้
1. ประเพณีการสร้างวัดและศาสนวัตถุ
จากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 สะท้อนให้เห็นว่า อาณาจักรสุโขทัยมีวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่ใช้ศึกษาหาความรู้ของเด็กชาย เป็นแหล่งพบปะของชนทุกชั้นในวันสำคัญทางศาสนา และยังเป็นแหล่งรวมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม เช่น มีการสร้างโบสถ์วิหาร เพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ สร้างเจดีย์ไว้เพื่อการบูชา และสร้างพระพุทธรูปเพื่อการเคารพสักการะนอกจากนั้นยังมีประเพณีการสร้างวัดในเขตพระราชวังแห่งกรุงสุโขทัย ได้แก่ วัดมหาธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญทางศาสนาไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่

                2. ประเพณีการบวช 
ชาวพุทธเชื่อกันว่าการบวชเป็นการช่วยอบรมสั่งสอนให้ผู้บวชเป็นคนดี เป็นการทดแทนพระคุณบิดามารดาที่ให้กำเนิด นอกจากนั้นผู้บวชยังมีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมวินัย สวดมนต์ภาวนา  ฝึกจิตใจให้สงบและยังได้เรียนรู้ถึงการดำรงชีวิตตามหลักทำนองคลองธรรม

                3. ประเพณีการทำบุญตักบาตร
นับว่าเป็นประเพณีที่ชาวพุทธได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง พุทธศาสนิกชน ของอาณาจักรสุโขทัย มีการทำบุญตักบาตรทุกวัน ทำบุญตักบาตรใน                             วันธรรมสวนะ (วันพระ) การทำบุญในวันเข้าพรรษาและออกพรรษามีการถือศีลในเทศกาลเข้าพรรษา  เพื่อเป็นการสะสมบุญให้ตนเองและยังอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

การทำบุญตักบาตรของชาวสุโขทัยเป็นประจำทุกวันจากอดีตสู่ปัจจุบัน

4. พระราชพิธี
พระราชพิธีที่สำคัญในสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระราชพิธีวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับ วันเพ็ญเดือนหก เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า มีการทำบุญ ถืออุโบสถศีล ปล่อยสัตว์ และบูชาพระรัตนตรัยด้วยเครื่องประทีป นอกจากนั้นเชื่อกันว่ามีอีกหลายพระราชพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีลอยพระประทีป พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธี      จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

5. การละเล่นรื่นเริง
ในสมัยสุโขทัยมีการละเล่นรื่นเริงในงานออกพรรษา การเผาเทียนเล่นไฟ มีการจุดไฟ      เฉลิมฉลองประโคมกลอง ดนตรีและมีระบำรำฟ้อน นับว่าเป็นการละเล่นที่มีความสนุกสนานมาก

ศิลปวัฒนธรรม สมัยสุโขทัย ด้านศิลปกรรมมีอะไรบ้าง
 

ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย

จิตรกรรมสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัยนั้นปรากฏว่ามีการทำภาพแกะลายเบา โดยแกะสลักบนหินเป็นลายเส้น ตัวอย่างเช่น ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานผนังอุโมงค์วัดศรีชุม สลักเรื่องโคชานิยชาดก สำริดจากวัดเสด็จ ตลอดจนจิตรกรรมฝาผนังพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ภายในคูหาชั้นในของมณฑปที่มีเรือนยอดเป็นปรางค์ผสมเจดีย์ทรงระฆังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ปัจจุบันลบเลือน ...

ศิลปวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

นอกจากนั้นแล้วเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งที่สำคัญของสมัยสุโขทัย คือภาษาไทย โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีการประดิษฐ์อักษรไทย ขึ้นจากเดิมที่เคยใช้ภาษาสันสกฤตหรือภาษาขอม อักษรไทยดังกล่าวนิยมใช้กันสืบต่อมาจนปัจจุบัน.
ศาสนา ... .
ประเพณีและวัฒนธรรม ... .
สถาปัตยธรรม ... .
ประติมากรรม ... .
จิตรกรรม ... .
วรรณกรรม ... .
ดนตรีและนาฏศิลป์.

ศิลปวัฒนธรรมด้านวรรณกรรมที่สําคัญในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

วรรณกรรมสมัยสุโขทัย” เป็นชื่อหนังสือที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2528 แล้วยังใช้เป็นทางการสืบจนทุกวันนี้ มี 3 เรื่อง คือ ไตรภูมิพระร่วง (หรือไตรภูมิกถา), สุภาษิตพระร่วง, นางนพมาศ (หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์)

ความเจริญ ทาง ศิลปวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร

ศิลปกรรม ส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมที่ สำคัญ คือ เจดีย์ทรงกลมตามแบบอย่างลังกา เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูม ภาษา และวรรณคดี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 1826.