ข้อใดเป็นลักษณะของกฎหมายเอกชน


����Ԫ� �����¹����� 2 �����Ԫ� �32202
�ӹǹ 10 ���
�ç���¹�աѹ (�Ѳ�ҹѹ���ػ�����)
����� ��س����͡�ӵͺ���١��ͧ����ش

��ͷ�� 1)
�������������¢ͧ����� "������" ��١��ͧ����ش
   ���յ���ླ�
   ��ͺѧ�Ѻ�ͧ�Ѱ���
   ��觷��л�Ժѵ�������軯ԺѵԵ������
   ��ࡳ���ͺѧ�Ѻ������оĵԢͧ�ؤ�ŷ���͡���ѰҸԻѵ��

��ͷ�� 2)
���㴶١��ͧ����ǡѺ����Ҫ�ѭ�ѵ�
   �繡�����੾�н��º�����
   ��ͧ�����������Ѵ��駡Ѻ�Ѱ�����٭
   ���˹�������ҳ�ͧ�蹴Թ
   �ռźѧ�Ѻ������ͼ�ҹ������繪ͺ�ҡ�Ѱ���

��ͷ�� 3)
�����©�Ѻ� ����� �����·���͡�½��¹ԵԺѭ�ѵ�
   ��������
   �����¾ҳԪ��
   �������ҭ�
   �����¾Ԩ�óҤ���

��ͷ�� 4)
�����·������Ǣ�ͧ�Ѻ����ʧ����º���� ��Ф�����蹤��ͧ����駻�������¡�������
   �������͡��
   ��������Ҫ�
   �����¡�������
   �����¾Ԩ�óҤ�����

��ͷ�� 5)
���� ����� �ɷҧ�ҭ�
   ��Ѻ
   �Ӥء
   �ִ��Ѿ��
   �����ê��Ե

��ͷ�� 6)
�����©�Ѻ�����衮���·��ѭ�ѵ���ͧ��û���ͧ��ǹ��ͧ���
   ��С�ȡ�з�ǧ
   ��ͺѭ�ѵ����ͧ�ѷ��
   ��ͺѭ�ѵԡ�ا෾�
   ��ͺѭ�ѵ�ͧ���ú�������ǹ�ѧ��Ѵ

��ͷ�� 7)
�Եԡ���㴵��仹���繹Եԡ�������繡�á�з��ѹ���ͺ���¡�����
   �ѭ�Ҩ�ҧ��Ҥ�
   �ѭ�������ҷ��Թ
   �ѭ�����������Թ
   �ѭ�ҫ��͢��ö¹��

��ͷ�� 8)
����������˵ط������Եԡ���������
   �Եԡ�������зӴ������Ѥ�
   �Եԡ���������ѵ�ػ��ʧ���繡�þ������
   �Եԡ���������ѵ�ػ��ʧ�����ͺ���¡�����
   �Եԡ���������ѵ�ػ��ʧ��Ѵ��ͤ���ʧ����º����

��ͷ�� 9)
���С������¶֧�Եԡ���������ѡɳ����ҧ��
   �ռ�����ó���ѧ�Ѻ��
   ���ѹ�٭������ѧ�Ѻ�����
   �ռż١�ѹ�ѹ������������Ҩ�١�͡��ҧ��
   �ռ����ѹ�٭������ѧ�Ѻ���������Ͷ١�͡��ԡ�͡��ҧ

��ͷ�� 10)
�ԵԺؤ��������Է�Է�����
   ����
   �Ѻ�ͧ�ص�
   ��⨷���ͧ�����
   �Ѻ�ɷҧ�ҭҷء��


1.กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน

                  การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน เป็นการแบ่งโดยยึดถือลักษณะของความสัมพันธ์เป็นหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง เป็นเรื่องของกฎหมายเอกชน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นกฎหมายมหาชน แต่อย่างไรก็ตาม การแยกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน มีเกณฑ์ที่ใช้แบ่งแยก ดังนี้

1.1 เกณฑ์การแบ่งแยกประเภทกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
                  ในการแบ่งประเภทของกฎหมายว่าเป็นกฎหมายเอกชนหรือมหาชนนั้น มีหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาอยู่ 4 หลักเกณฑ์ด้วยกัน ทั้งนี้ ในการพิจารณาจะต้องคำนึงทั้ง 4 หลักเกณฑ์นี้ควบคู่กันไป ไม่อาจที่จะแยกคำนึงถึงหลักเกณฑ์ใดเพียงหลักเกณฑ์ได้ ดังต่อไปนี้

  1. เกณฑ์องค์กร คือ ยึดถือตัวบุคคลผู้ก่อนิติสัมพันธ์เป็นเกณฑ์                                                                                      กฎหมายมหาชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองกฎหมายเอกชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกันเท่านั้น

            ดังนี้ จะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนนั้นกำหนดความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ (ผู้ปกครอง) ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง (ผู้อยู่ใต้ปกครอง) คือ เป็นนิติสัมพันธ์ที่ผู้ก่อมีสถานะไม่เท่าเทียมกันหรือเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับเรื่องการใช้อำนาจปกครองซึ่งทำขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น เป็นเรื่องของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ที่มีสถานะเหมือนกันและเท่าเทียมกัน

  2. เกณฑ์วัตถุประสงค์ คือยึดถือจุดประสงค์ของนิติสัมพันธ์ที่ผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่ายทำขึ้นเป็นเกณฑ์                     กฎหมายมหาชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ (public interest) คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมนั่นเอง เช่น สัญญาสัมปทานที่รัฐทำกับเอกชนเพื่อจัดสาธารณูปโภคต่าง ๆกฎหมายเอกชน ใช้บังคับนิติสัมพันธ์ที่มุ่งถึงผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศของบุคคลนั้น ๆ เองเป็นหลัก
  3. เกณฑ์วิธีการ คือวิธีการที่ใช้ในการก่อนิติสัมพันธ์ของ 2 กรณีนี้ จะแตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ                             กฎหมายมหาชนใช้สำหรับนิติสัมพันธ์ที่ไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (เอกชน) เลย รัฐสามารถออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ และถ้ามีการฝ่าฝืน รัฐสามารถบังคับให้เอกชนปฏิบัติตามได้ทันทีโดยไม่ต้องไปฟ้องศาล ทั้งนี้ เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์สาธารณะในฐานะผู้กปกครอง เช่น ตำรวจจราจรให้สัญญาณหยุดรถ ถ้ารถไม่หยุดเพราะไม่สมัครใจจะหยุด ตำรวจจราจรสามารถปรับคนขับรถได้                                                                                                                                                                                                                                                                                                     กฎหมายเอกชน ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่ต้องอาศัยความสมัครใจของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จึงต้องให้มีการทำสัญญากันอย่างเสรี หากฝ่ายใดขัดขืน ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล เพราะต่างฝ่ายต่างเสมอภาคกัน ต้องให้ศาลทำหน้าที่เป็นคนกลางเข้ามาตัดสิน
  4. เกณฑ์เนื้อหา                                                                                                                                                               กฎหมายมหาชน เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ระบุตัวบุคคล (กฎหมายตามภาวะวิสัย) คือ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ได้ทั่วไปกับบุคคลใดก็ได้ไม่เฉพาะเจาะจง และตกลงยกเว้นไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ถือว่าเป็นกฎหมายบังคับ                                                                                                                                                                                                                                     กฎหมายเอกชน ไม่ใช่กฎหมายบังคับ เอกชนสามารถตกลงผูกพันกันเป็นอย่างอื่น นอกจากกฎหมายเอกชนบัญญัติไว้ (แต่ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน) ถ้าหากเอกชนไม่ตกลงให้แตกต่างออกไป ก็จะบังคับกันตามที่กฎหมายเอกชนบัญญัติไว้ (เท่ากับว่ากฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายเสริมนั่นเอง) ดังนี้ เมื่อเอกชนยอมใช้กฎหมายเอกชนระหว่างกัน ทำให้กฎหมายเอกชนมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับบุคคลเฉพาะรายเท่านั้น (เป็นกฎหมายตามอัตวิสัย) เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

1.2 ความหมายของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
                    จาการศึกษาลักษณะของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปได้ว่า

  • กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกันในฐานะ “ผู้อยู่ใต้ปกครอง” ที่ต่างฝ่ายต่างก็เท่าเทียมกัน2
  • กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น “ผู้ปกครอง”3
1.3 ข้อจำกัดของการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
                    โดยหลักแล้วในการพิจารณาว่าเรื่องใดเป็นกฎหมายเอกชน เรื่องใดเป็นกฎหมายมหาชน จะคำนึงถึงเกณฑ์ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวประกอบไปด้วยกัน แต่ก็ไม่อาจยึดถือเกณฑ์ทั้ง 4 ข้อนี้ได้ในทุกกรณี กล่าวคือ ในความเป็นจริงอาจมีกรณีที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ไม่ได้ดำเนินการเรื่องประโยชน์สาธารณะ และเอกชนไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตน ซึ่งทำให้เกิดข้อยกเว้นในการยึดถือเกณฑ์ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวในการพิจารณา กล่าวคือ

          1.3.1 ในแง่ของรัฐ  

                     ในแง่ของรัฐ อาจไม่นำกฎหมายมหาชนมาใช้ในการดำเนินการของรัฐได้ในสองกรณี คือ
กรณีแรก รัฐหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเลือกที่จะไม่ใช้กฎหมายมหาชน แต่เลือกที่จะใช้กฎหมายเอกชนแทน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการที่รัฐได้สละสิทธิในฐานะผู้ปกครองยอมลดตัวลงมาเท่ากับเอกชน ดังตัวอย่างเช่น เมื่อรัฐต้องการที่ดินไปสร้างโรงไฟฟ้า แทนที่รัฐจะใช้อำนาจในฐานะผู้ปกครองเวนคืนที่ดินของเอกชน รัฐกลับเลือกใช้การทำสัญญาซื้อที่ดินนั้นภายใต้กฎหมายเอกชนแทน แต่ในการเลือกใช้กฎหมายของรัฐนี้ จะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ด้วยกรณีที่สอง ในกรณีที่รัฐทำกิจกรรมในลักษณะที่เหมือนกับกิจกรรมของเอกชน คือ รัฐทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือบริการเช่นเดียวกับเอกชน เช่น โรงงานยาสูบผลิตบุหรี่ขายแข่งกับเอกชน หรือองค์กรเภสัชกรรมผลิตอาหารขายแข่งกับเอกชน เป็นต้น กรณีนี้จึงจะต้องใช้กฎหมายเอกชนบังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการกับเอกชนผู้ใช้บริการ เพื่อความเป็นธรรมแก่เอกชน

          1.3.2 ในแง่ของเอกชน
                       ในแง่ของเอกชน ในปัจจุบันเอกชนและรัฐหันมาร่วมมือกันมากขึ้น มีหลายกรณีที่เอกชนเข้ามาเข้ามาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สารธารณะ จึงมีกฎหมายให้อำนาจและสิทธิพิเศษแก่เอกชนในการทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะบางอย่างได้ เช่น องค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งเป็นเอกชน มีหน้าที่ควบคุมวินัยของผู้ประกอบวิชาชีพของตนเพื่อไม่ให้เกิดการประกอบวิชาชีพไปในทางมิชอบอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน รัฐจึงได้มอบให้องค์กรวิชาชีพนั้น ๆ ใช้อำนาจฝ่ายเดียวในการออกหรือไม่ออกใบอนุญาตรับสมาชิก ทำการควบคุมมารยาทและวินัยของสมาชิก ตลอดจนถอดถอนใบอนุญาตได้ กรณีจึงเป็นข้อยกเว้นให้เอกชนอยู่ภายใต้กฎหมายหมาชนได้

                       อนึ่ง ในบางกรณีนิติสัมพันธ์ที่ทำขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ก็ไม่อาจนำหลักความมีเสรีภาพเต็มที่ในการทำสัญญามาใช้ได้ เพราะรัฐได้เข้ามาแทรกแซงในการทำนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ทั้งนี้ เพื่อเข้ามาคุ้มครองคู่สัญญาที่อ่อนแอกว่า เช่น ในสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างและลูกจ้างไม่อาจที่จะตกลงกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันเช่นไรก็ได้ (ซึ่งอาจทำให้นายจ้างทำข้อสัญญาที่เอาเปรียบลูกจ้างได้) เพราะมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้ามากำหนดให้การทำสํญญาจ้างแรงงานต้องมีหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด เช่น กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดชั่วโมงทำงาน เป็นต้น ทำให้เอกชนไม่อาจที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของกฎหมายเช่นว่านี้ได้

                        ดังนั้น ในการที่จะแบ่งประเภทของกฎหมายว่าเป็นกฎหมายเอกชนหรือมหาชนนั้น นอกจากจะคำนึงถึงหลักเกณฑ์องค์กร วัตถุประสงค์ วิธีการ และเนื้อหาตามหลักเกฑ์ทั่วไปแล้ว ยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของการแบ่งแยกประเภทกฎหมายนี้ด้วย เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายบังคับได้อย่างถูกต้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

1.4 ประโยชน์ของการแบ่งประเภทกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน


          
การแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน ก็เพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. ประโยชน์ในการนำคดีขึ้นสู่ศาล ถ้าเป็นคดีในกฎหมายเอกชน เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คือ ศาลยุติธรรม ส่วนคดีในกฎหมายมหาชนจะขึ้นต่อศาลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายมหาชนโดยเฉพาะ คือ ถ้าเป็นคดีปกครอง ก็จะขึ้นศาลปกครอง ถ้าเป็นคดีที่กล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะขึ้นศาลรัฐธรรมนูญ                                      
  2. ประโยชน์ในแง่เนื้อหาของกฎหมาย กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน จะมีหลักของเนื้อหากฎหมายต่างกันออกไป เพราะตั้งอยู่บนวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น ในกฎหมายเอกชน ยึดถือหลัก “เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม ทำได้” เนื่องจากกฎหมายเอกชนมีวัตถุประสงค์ที่อยู่ความมีเสรีภาพในการทำการตกลงทำนิติสัมพันธ์กันของบุคคล แต่ในกฎหมายมหาชนยึดถือหลัก “เมื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ทำไม่ได้” เนื่องจากกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่บนการใช้อำนาจฝ่ายเดียวของผู้ปกครอง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องใช้อย่างเคร่งครัด ไม่อาจยึดถือหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนาได้ การแบ่งแยกออกเป็นกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน จึงทำให้สามารถใช้กฎหมายได้ถูกต้องแก่กรณี        
  3. ประโยชน์ในแง่กระบวนการพิจารณา กฎหมายเอกชนจะมีหลักเกณฑ์ในการกฎหมายเอกชนจะมีหลักเกณฑ์ในการดำเนินพิจารณาที่ต่างออกไป เช่น มีพระราชบัญญัติวิธีการพิจารณาคดีปกครอง สำหรับศาลปกครอง และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นต้น


1.5 แยกสาขาย่อยในกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
                   เมื่อได้ทราบถึงความหมาย ลักษณะ ตลอดจนหลักเกณฑ์ของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนแล้ว ต่อมาเราจะศึกษาถึงการแยกสาขาย่อยว่า ทั้งในกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาฃนนั้นแยกย่อยออกเป็นกฎหมายใดอีกบ้าง

          1.5.1การแยกสาขาย่อยในกฎหมายเอกชน
                     กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในฐานะที่เท่าเทียมกัน สาขาย่อยของกฎหมายเอกชนจึงแยกได้ ดังนี้

  1. กฎหมายแพ่ง (Civil Law)                                                                                                                                                                 คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ของบุคคลในฐานะเอกชนทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องสถานะของบุคคล (คือ บุคคล ครอบครัว) เรื่องทรัพย์สิน (คือ ทรัพย์มรดก) และเรื่องหนี้ (คือ บ่อเกิดแห่งหนี้และผลแห่งหนี้)                
  2. กฎหมายพาณิชย์ (Commercial Law)                                                                                                                                            คือ กฎหมายที่ใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเป็นปกติธุระ และครอบคลุมตั้งแต่การตั้งองค์กรทางธุรกิจ (ห้างหุ้นส่วน บริษัท) การจัดหาทุน การทำนิติกรรมทางพาณิชย์ เช่น ซื้อขาย เช่า รวมถึงกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ เป็นต้น                                                                                            ในต่างประเทศมีการแบ่งแยกประมวลกฎหมายแงกับกฎหมายพาณิชย์ออกเป็นประมวลกฎหมายแพ่ง (Civil Code) และประมวลกฎหมายพาณิชย์ (Commercial Code) แยกจากกัน เช่น ในประเทศฝรั่งเศส แต่สำหรับไทยรวมไว้ในฉบับเดียวกัน คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Civil And Commercial Code)
  3. กฎหมายการเกษตร                                                                                                                                                                            คือ กฎหมายที่ว่าด้วยกิจกรรมทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินเพื่อการเกษตร เกี่ยวกับแหล่งน้ำ ชลประทาน ฯลฯ
  4. กฎหมายสังคม                                                                                                                                                                                    ประกอบไปด้วย กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคม
  5. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง                                                                                                                                                        คือ กฎหมายที่กำหนดเขตอำนาจศาลและการดำเนินกระบวนการพิจารณา ตลอดจนการบังคับในคดีแพ่ง
  6. กฎหมายอาญา                                                                                                                                                                                    คือ กฎหมายที่กำหนดความผิดทางอาญาพื้นฐานสังคมที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ต้องลงโทษ                                     ข้อสังเกต แม้กฎหมายอาญาจะเป็นกฎหมายที่มีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชน เพราะรัฐไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นคู่สัญญากับเอกชน เพียงแต่อยู่ในฐานะเป็นส่วนคนกลางกล่าวคือรัฐเป็นคนกลางผู้กำกับการกระทำที่ทำขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกันเองเท่านั้น
          1.5.2 การแยกสาขาย่อยในกฎหมายมหาชน
                     เมื่อกฎหมายมหาชนกำหนดความสัมพัน์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน จึงสามารถแยกประเภทของกฎหมายมหาชนได้ ดังนี้
  1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ  คือ กฎหมายที่กำหนดการจัดอำนาจและองค์กรผู้ใช้อำนาจสูงสุดในรัฐ ซึ่งโดยปกติสาระของกฎหมายรัฐธรรมนูญจะปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญเป็นหลัก แต่ก็ยังอาจปรากฏอยู่ในกฎหมายอื่นด้วย เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต่าง ๆ เป็นต้น                                                                                                                                                            
  2. กฎหมายปกครอง  คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองของรัฐต่อกัน และรัฐต่อประชาชน    
  3. กฎหมายการคลังและการภาษีอากร  คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐและหน่วยงานของรัฐ (เช่น ภาษีอากร กู้ยืม ฯลฯ) การจัดการทรัพย์ที่เป็นเงินตราของรัฐ และการใช้จ่ายเงินของรัฐโดยงบประมาณแต่ละปี เป็นต้น

กฎหมายเอกชน มีอะไรบ้าง

กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่ง และกฏหมายพาณิชย์ (ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์).
กฎหมายรัฐธรรมนูญ.
กฎหมายปกครอง ... .
กฎหมายอาญา ... .
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.

ข้อใดเป็นกฎหมายมหาชน

1. กฎหมายมหาชน (Public Law) ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร แบ่งแยกสาขากฎหมายมหาชนได้ ดังนี้ (1) รัฐธรรมนูญ (2) กฎหมายปกครอง (3) กฎหมายอาญา

สิทธิเอกชน มีอะไรบ้าง

ก) สิทธิตามกฎหมายเอกชนอาจได้มา 3 ทางด้วยกัน คือ (ก) การได้สิทธิโดยนิติกรรม เช่น การทำสัญญาประเภทต่าง ๆ (ข) การได้สิทธิโดยนิติเหตุ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้.
ความหมาย.
สิทธิตามกฎหมาย.
หน้าที่ตามกฎหมาย.

ข้อใดคือตัวอย่างกฎหมายเอกชน

กฎหมายเอกชน (Private law) คือกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับนิติบุคคล ทั้งนี้กฎหมายเอกชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับบุคคล เช่น กฎหมายมรดก กฎหมายครอบครัว กฎหมายเกี่ยวกับสัญญา เป็นต้น