แผนปฏิบัติการคืออะไรมีความสำคัญอย่างไรต่อผู้ปฏิบัติงาน

จากแผนกลยุทธ์ที่องค์กรได้กำหนดไว้แล้ว จะแปลงไปเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วย กิจกรรมที่ต้องทำ เวลาดำเนินการ
ผู้ปฏิบัติ/รับผิดชอบ งบประมาณดำเนินงาน ตัวชี้วัด ทั้งนี้ โดยมีโครงสร้างองค์กร ระบบงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ รองรับ การนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
จะประกอบด้วยกระบวนงานย่อย 2 ส่วน คือ
(1) การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แผนปฏิบัติการจะกำหนดขึ้นโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแผนงาน/โครงการต่างๆ ที่มีเป้าหมายผลงานสอดคล้อง
กับเป้าประสงค์และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปแล้วการกำหนดแผนปฏิบัติการจะเป็นแผนรายปี โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึง
ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
(2) การปฏิบัติการ (Take Action) เป็นกระบวนการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ และกิจกรรมที่กำหนดไว้

แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ หรือแผนการดำเนินงาน ยังมีปัญหาอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้การวางแผนขาดประสิทธิภาพและไม่เกิดประสิทธิผลในทางปฏิบัติ เพื่อให้ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานสายงานต่างๆ ในองค์กรมีแนวทางในการจัดทำแผนที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และร่วมกันทำ (มากกว่าสั่งให้ทำ) ควรจะมีการพูดคุยกันก่อนว่าแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการควรจะเป็นอย่างไร รวมถึงทั้งสองฝ่ายต้องมาหาข้อสรุปร่วมกันว่าสิ่งที่คาดหวังจากการทำแผนปฏิบัติการนั้นคืออะไร ไม่ใช่แค่เพียงมีแผน แต่จะต้องมีส่วนวิเคราะห์ผลกระทบของแผนที่มีต่อเป้าหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

เมื่อองค์กรกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กรเรียบร้อยแล้ว ภาระสำคัญของหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ คือการจัดทำแผนงาน/โครงการ
และจัดทำแผนการดำเนินงาน หรือแผนปฏิบัติการ เพื่อช่วยให้เราทำตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ได้
แผนปฏิบัติการจึงเป็นเครื่องมือในการแปลงแผนงาน/โครงการไปสู่กิจกรรมย่อยในเชิงปฏิบัติและช่วยในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินงานปฏิบัติงาน
ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ลดภาระในการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่ ลดความเสี่ยงในการควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ

แผนปฏิบัติการ ควรจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อแผนปฏิบัติ ควรจะตั้งชื่อแผนปฏิบัติให้ชัดเจนและที่สำคัญควรจะตั้งชื่อโดยอาศัยแนวคิดทางการตลาดเข้ามาช่วย
2. ขั้นตอนหลัก ในแผนปฏิบัติการควรจะกำหนดขั้นตอน/กระบวนการหลักๆ ไว้ให้ชัดเจนโดยเริ่มจากกระบวนการแรก จนถึงกระบวนการสุดท้าย
3. กิจกรรม เมื่อเราได้ขั้นตอนหรือกระบวนการหลักแล้ว ให้กำหนดกิจกรรมย่อยๆ ของแต่ละขั้นตอนว่ามีอะไรบ้าง
4. วิธีการหรือแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหาในการนำกิจกรรมไปปฏิบัติ ควรจะระบุแนวทางในการปฏิบัติตามกิจกรรมนั้นๆ
5. กำหนดวัน/เวลา/สถานที่ ให้ระบุว่ากิจกรรมแต่ละข้อนั้นจะทำเมื่อไหร่ (ทั้งนี้เพื่อจะสามารถดูภาพรวมของแผนปฏิบัติได้ว่ามีกิจกรรมไหนบ้างที่สามารถทำไปพร้อมกันได้ กิจกรรมไหนบ้างที่ต้องรอให้กิจกรรมอื่นเสร็จก่อนจึงจะดำเนินการได้)
6. ความเสี่ยงของขั้นตอนหรือกิจกรรม เพื่อให้แผนปฏิบัติเป็นแผนที่คำนึงถึงการปฏิบัติจริงๆ จึงควรมีส่วนที่เราเรียกว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือปัญหาอุปสรรคของขั้นตอนหรือกิจกรรมนั้นๆด้วยว่ามีอะไรบ้าง
7. แผนปฏิบัติรองรับ/แผนปฏิบัติสำรอง ให้นำเอาความเสี่ยงหรือปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นมาวิเคราะห์หาทางป้องกันแก้ไข ผ่อนหนักให้เป็นเบา เพื่อป้องกันหรือลดผลที่จะเข้ามากระทบต่อแผนปฏิบัติโดยรวม
8. งบประมาณ ควรจะมีการวิเคราะห์และกำหนดงบประมาณจากทุกกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้แผนปฏิบัติการมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
9. ผู้รับผิดชอบควรจะมีการกำหนดตำแหน่งหรือชื่อบุคคลผู้ที่รับผิดชอบแผนปฏิบัติการหลักไว้หนึ่งคน และในแต่ละกิจกรรมควรจะกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนเช่นเดียวกัน

อ้างอิง: คุณณรงค์วิทย์ แสนทอง แห่ง HR center

จากแนวทางข้างต้นหวังว่าสมาชิกคงจะนำไปเป็นประโยชน์ได้บ้างนะคะ

หัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจภายในครอบครัว SME หรือองค์กรขนาดใหญ่ล้วนต้องการกำไรจากการดำเนินงานทั้งสิ้น แต่การจะได้มาซึ่งกำไรในแต่ละโครงการนั้นไม่สามารถอาศัยเพียงแค่เงินลงทุน กำลังคน อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการดำเนินการเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดการ ไปจนถึงฝ่ายปฏิบัติ

คำถามก็คือเราจะรู้ได้อย่างไรการทำงานของทั้ง 3 ฝ่ายจะสามารถทำให้องค์กรได้กำไรตามเป้าหมาย หรือจำเป็นต้องใช้เครื่องมือใดเพื่อตรวจสอบการทำงานของ 3 ฝ่ายให้สอดคล้องกัน วันนี้ผมจะมาแนะนำเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ทุกองค์กรสามารถใช้สร้างแผนดำเนินการในทุกระดับให้สอดคล้องกันได้ เครื่องมือนี้เราเรียกว่า ‘Action plan’

Action Plan คืออะไร?

Action Plan หรือแผนการปฏิบัติงาน คือแผนการดำเนินงานที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นแบบแผนในการปฏิบัติงานของงานโครงการ ไล่เรียงถึงการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรมย่อย ๆ ว่าแต่ละช่วงของโครงการจะต้องมีการปฏิบัติงานกันอย่างไร โดย Action Plan ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยในการวัดและตรวจสอบการทำงานในแต่ละขั้นตอนของงานโครงการ

ธุรกิจสามารถใช้ Action Plan เป็นตัวช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของแผนปฏิบัติ ตลอดจนตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ นอกจากนี้ยังสามารถระบุตัวชี้วัดความสำเร็จหรือแผนสำรองของแต่ละกิจกรรมลงในแผนได้ด้วย เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานโครงการสามารถมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การทำงานโครงการสำเร็จได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้องค์ประกอบของ Action Plan ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย

  1. Name – ชื่อแผนงาน เพราะเป็นไปไม่ได้ที่แต่ละองค์กรจะมีแผนใดแผนหนึ่งในการทำงาน การระบุชื่อแผนงานให้ชัดเจนจะช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนงานสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  2. Process – ขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานของงานโครงการโดยต้องมีการระบุกระบวนการหลักๆ ไว้ตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย
  3. Activity – กิจกรรม จะเป็นการแจกแจงสิ่งที่ต้องทำในแต่ละขั้นตอนของแผนงาน เพื่อทำให้การปฏิบัติงานในกิจกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  4. Deadline – กำหนดเวลา ระบุช่วงเวลาของแต่ละกิจกรรมว่าต้องเริ่มต้นหรือสิ้นสุดเมื่อใด เพื่อใช้ตรวจสอบความสำเร็จของแต่ละกิจกรรมก่อนการเริ่มต้นกิจกรรมต่อเนื่อง
  5. Risk – ความเสี่ยง คือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของงานโครงการ
  6. Back up Plan – แผนสำรอง มีความสำคัญกรณีที่แผนเดิมที่กำหนดไว้เกิดปัญหาและอุปสรรค จึงต้องมีแนวทางสำรองเพื่อให้งานโครงการสำเร็จตามเป้าหมาย
  7. Budget – งบประมาณ แผนงานใดๆ ที่กำหนดไว้จำเป็นต้องคำนึงถึงงบประมาณที่ตั้งไว้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในงานโครงการ
  8. Owner – ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อคอยตรวจสอบหรือติดตามการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

Action Plan สำคัญอย่างไร?

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงความสำคัญของ Action Plan ผมอยากให้คุณลองมองถึงสถานการณ์การทำงานในหน้าที่ที่คุณต้องรับผิดชอบในปัจจุบันแล้วลองตอบคำถามต่อไปนี้ดู

#1 คุณเข้าใจเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างชัดเจน?
#2 คุณรู้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรในแต่ละกิจกรรมอย่างถ่องแท้?
#3 คุณรู้ว่าหากงานโครงการประสบปัญหาหรืออุปสรรค ต้องแก้ไขอย่างไร?
#4 คุณทราบกระบวนการการทำงานในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี?
#5 หากคุณพบว่าปฏิบัติงานมาตามแผนสักระยะแล้วประสบปัญหา หรือรู้ว่าแผนเดิมมีปัญหาจะต้องดำเนินการปรับแผนไปในทิศทางใด?

หากคุณพบว่าคำตอบของคุณคือ ‘ไม่ใช่’ เพียงแค่ข้อใดข้อหนึ่ง หรือที่น่าหนักใจที่สุดคือไม่มีคำตอบที่ ‘ใช่’ สักข้อเดียวก็จะทำให้คุณตระหนักถึงความสำคัญของ Action Plan ได้เป็นอย่างดี เพราะ‘แผนการปฏิบัติงาน’ หมายถึงแผนในการปฏิบัติเพื่อให้งานที่ต้องทำสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

การไม่มี Action Plan เหมือนกับการเดินอย่างไร้ทิศทาง เมื่อเดินผิดทางก็ไม่รู้จะหันไปเดินทิศไหน หรือไม่หากเจอสิ่งกีดขวางก็ไม่รู้ว่าควรจะกำจัดสิ่งกีดขวางนั้นอย่างไร แต่หากได้มีการทำ Action Plan ไว้ เราจะทราบเส้นทางเดินไปสู่ปลายทางได้เร็วขึ้น หากเดินผิดทางก็จะทราบว่าต้องหันเดินไปทางไหนแทน สุดท้ายหากเจอสิ่งกีดขวางแล้วเราย้อนกลับมาดู Action Plan ก็จะรู้ว่าต้องข้ามสิ่งกีดขวางหรือกำจัดสิ่งนั้นออกได้ด้วยวิธีไหนเพื่อเปลี่ยนจากเดินเป็นวิ่งไปสู่จุดหมายปลายทางได้

ดังนั้นถ้าจะให้ตอบคำถามว่า Action Plan มีความสำคัญอย่างไรก็ตอบได้ว่า Action Plan คือบันไดขององค์กรที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรไต่ขึ้นไปยังจุดสูงสุดขององค์กรได้ตามเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน

วิธีการเขียนAction Plan ที่ใช้ได้จริง

เมื่อเราทราบถึงความสำคัญของ Action Plan แล้ว ต่อไปผมอยากให้คุณลองเขียน Action Plan กัน โดยการเขียน Action Plan ที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริงนั้นต้องยึดหลัก วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือรู้จักกันทั่วไปว่าคือกระบวนการ PDCA ดังนี้

  1. P – Plan การวางแผน: คือการตั้งเป้าหมายโครงการและสร้างกระบวนการทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายโดยมีองค์ประกอบคือ วัตถุประสงค์โครงการ / ขอบเขตการทำงาน / ข้อจำกัดของการทำงาน / ประเมินทางเลือก แล้วเขียนออกมาเป็นแผนปฏิบัติการ
  2. D – Do การปฏิบัติ: คือการลงมือทำและทดสอบแผนงาน หมายถึงระหว่างการปฏิบัติงานให้ค้นหาจุดอ่อนหรือจุดที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีต่างๆ บันทึกไว้เพื่อเป็นแนวทางอย่างชัดเจน
  3. C – Check การตรวจสอบ: หมายถึงการติดตามและตรวจสอบการทำงานเพื่อหาแนวทางพัฒนากระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ให้ดีขึ้น
  4. A – Action การปรับปรุง แก้ไข: คือการนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดวิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อใช้ปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนแผนงานในขั้นตอนต่อไป โดยอาจมีการเขียนข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ได้ด้วย

ต่อไปนี้คือตัวอย่างการเขียน Action Plan ตามหลักวงจรเดมมิ่งที่มีประสิทธิภาพ

ชื่อโครงการ      พัฒนารูปแบบการขายในช่วงวิกฤตโควิด – 19
วัตถุประสงค์โครงการ     สามารถปิดการขายให้ได้ยอด 20% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าภายในระยะเวลา 3 เดือน

แผนงาน (Plan)

  1. ประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นโครงการภายใน 3 วันหลังจากแผนงานได้รับอนุมัติ
  2. เจาะขายกลุ่มเป้าหมายเดิมและกลุ่มเป้าหมายใหม่ทั้งรูปแบบเทเลเซลล์ (Tele sales) และดิจิตอล มาเก็ตติ้ง (Digital Marketing)
  3. มีเป้าปิดการขายอย่างน้อย 5 รายการต่อวัน
  4. เพิ่มรายชื่อกลุ่มเป้าหมายการขายทุกสัปดาห์
  5. ปรับเปลี่ยนแผนโปรโมชั่น 3 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)
  6. ทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนงานทุกๆ 2 สัปดาห์
  7. งบประมาณโครงการ 5 ล้านบาท

การปฏิบัติงาน (Do)

  • เตรียมแผนการประชาสัมพันธ์โครงการและลงสื่อโฆษณาภายใน 3 วัน
  • เริ่มการโทร. ขายและขายทางออนไลน์ในวันที่ 4 หากภายใน 1 สัปดาห์พบว่ายังขายสินค้าไม่ได้ตามเป้าให้เปลี่ยนการขายไปตามรายชื่อที่หามาเพิ่ม
  • ทุก 2 สัปดาห์มีการทบทวนแผนโปรโมชั่นและดำเนินการปรับเปลี่ยนเดือนละครั้ง

การตรวจสอบ (Check) 

จัดให้มีการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน พร้อมปัญหา อุปสรรค และคำแนะนำในการปฏิบัติงานส่งทีมงานเป็นประจำวัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับแผนการทำงาน โดยจะต้องมีการปรับแผนการทำงานเป็นประจำทุกๆ 2 สัปดาห์

การปรับปรุง แก้ไข (Action)

ปฏิบัติตามแผนงานที่ปรับเปลี่ยนเป็นประจำทุกๆ 2 สัปดาห์โดยยังคงให้มีการเขียนรายงานส่งทุกวันเพื่อหาแนวทางการเพิ่มเติมทรัพยากร (Resource) การลดต้นทุน (Cost reduce) หรือวิธีการปฏิบัติงานแบบใหม่ (New way of working) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใน 3 เดือน

แผนปฏิบัติงานหมายถึงอะไร

แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง การนาแผนกลยุทธ์หรือแผนยุทธ์ศาสตร์สู่การปฏิบัติ โดยการทบทวนแผนระยะ ยาว แล้วแปลงเป็นแผนที่จะต้องด าเนินการทุกปี ซึ่งแผนปฏิบัติการประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ที่จะดาเนินงานในปีนั้นๆ

Action Plan มีอะไรบ้าง

หลักการเขียน Action Plan ที่ผมนิยมใช้ คือ วงล้อของเดมิ่ง หรือ Deming Circleซึ่งเป็นแนวคิดของ ดร.เดมิ่ง ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักดังนี้ คือ PDCA คือ P (Plan) คือการวางแผน D (Do) คือการน าไปปฏิบัติ C. (Check) คือการตรวจสอบ และA (Action) คือการประเมินผลผลที่เกิดขึ้น เพราะคิดว่าเป็นหลักการที่เป็นเหตุ เป็นผลดี มี

การวางแผนในการปฏิบัติงานมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างไร

ความสำคัญของการแผน 1. ช่วยลดการสูญเสียจากการทำงานซ้ำซ้อน 2. ทำให้มีการกำหนดขอบเขตในการทำงานที่แน่นอน และมีนโยบายที่ชัดเจน 3. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนป้องกันการขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงาน

แผนงาน หมายถึงอะไร

6. แผนงาน (Program) เป็นการจัดรวมกลุ่มของ งาน หรือ โครงการ หรืออาจกล่าวว่า แผนงาน คือ งาน หรือโครงการย่อยๆ หลายโครงการ ซึงมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน ซึงงานหรือโครงการจะ ประกอบด้วยกิจกรรม (Activities) ต่างๆ ทีดําเนินการภายใต้กรอบของงาน หรือโครงการหนึงๆ ซึงจะมี เงือนไขระยะเวลาเริมต้น และสินสุดในการทํากิจกรรมต่างๆ