6 ขั้นตอนในการบำรุงรักษาแบบมีแผน

TPM เป็นกระบวนการที่ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักรของตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยรวมขององค์กร พร้อมกับเน้นเทคนิกการบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) และ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อการผลิตที่สมบูรณ์แบบนั่นคือ

  • No Breakdown : ไม่มีการหยุดงาน โดยไม่ได้วางแผน 
  • No Small Stops or Slow Running : ไม่มีการหยุดเล็กๆน้อย หรือ เครื่องจักรทำงานช้าลง
  • No Defects : ไม่มีของเสียส่งถึงมือลูกค้า
  • No Accidents : ไม่มีอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของพนักงาน

เป้าหมายสูงสุดของ TPM คือ เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ หรือ Zero Breakdown ของเสียเป็นศูนย์ หรือ Zero Defect และอุบัติเหตุเป็นศูนย์ Zero Accident

เสาหลักทั้งแปดของ TPM

เสาหลัก 8 ประการ (8 Pillars) ของ TPM ประกอบด้วย

  1. การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง หรือ Individual Improvement
  2. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance
  3. การบำรุงรักษาตามแผน หรือ Planned Maintenance
  4. การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา หรือ Operation and Maintenance Skill Development
  5. การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ หรือ Initial Phase Management 
  6. การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ หรือ Quality Maintenance
  7. การดำเนินการ TPM ในส่วนสำนักงานหรือส่วนสนับสนุน หรือ TPM in Office 
  8. ระบบชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หรือ Safety, Hygiene and Working Environment

6 ขั้นตอนในการบำรุงรักษาแบบมีแผน

การดำเนินการ TPM บางครั้งต้องมีกิจกรรมอื่นควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเพิ่มศักยภาพ เช่น การดำเนินกิจกรรม 5ส หรือ 5s Activity การนำระบบการควบคุมด้วยการมองเห็นหรือ Visual Control การติดตั้งระบบป้องกันความผิดพลาด หรือ Poka – Yoke แม้กระทั่งการนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ IE Technique มาใช้ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดความสูญเสีย (waste) ในกระบวนการผลิตหรือการบริหารการผลิต ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ระบบการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย หรือ Waste-free Production ได้อีกทางหนึ่ง

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม วัดประสิทธิผลของการปฏิบัติที่ค่า ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่นการวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair) อีกทั้งอัตราการซ่อมบำรุงเมื่อขัดข้อง หรือ Breakdown Maintenance Ration (BM-Rate) อัตราการบำรุงรักษาเชิงป้องกันหรือ Preventive Maintenance Ratio (PM-Rate) หรือ อาจจะวัดในเชิงของการแก้ไขและปรับปรุง โดยใช้อัตราการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขและปรับปรุงหรือ Corrective Maintenance Ratio (CM Rate) นอกจากนั้น ยังอาจจะวัดที่อัตราการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หรือ Predictive Maintenance Ratio อัตราการป้องกันการบำรุงรักษา หรือ Preventive Maintenance Ratio รวมถึง ความสามารถในการติดตั้งระบบปราศจากการบำรุงรักษา หรือ Maintenance-free System

          8. ���Թ��õԴ��������ҧ������ͧ���ʹ��Թ��èѴ�����ҵðҹ (Standardize) �������龹ѡ�ҹ�дѺ��Ժѵԡ�����㨺��ҷ��������ǹ����㹡Ԩ�����ѧ����Ǵ��¡�ù��ʹͺ����¹�ҡ�ѭ�� ���� One Point Lesson ���������ö���¹����Ƿҧ������ҧ�Ǵ������л�ͧ�ѹ������ѭ������Դ����ա

การบำรุงรักษา (Maintenance) หมายถึง :�การพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ให้มีสภาพที่พร้อมจะใช้งานอยู่ตลอดเวลา�

การบำรุงรักษานั้นครอบคลุมไปถึงการซ่อมแซมแซม (Repair) เครื่องด้วย

ในงานบริหารการผลิตหรือการบริการ มักจะหลีกเลี่ยงงานเพิ่มเติมที่สำคัญงานหนึ่งคือ การซ่อมและบำรุงรักษา ไปไม่ได้ ถึงแม้ว่างานซ่อมและบำรุงรักษาไม่ใช่งานผลิตโดยตรง แต่งานซ่อมและบำรุงรักษาก็มีบทบาทช่วยให้การผลิตและการบริการขององค์กรนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่การผลิตและการบริการจำเป็นที่จะต้องอาศัยอุปกรณ์และเครื่องจักรมากขึ้น การที่เครื่องจักรเกิดขัดข้องขึ้นมากะทันหันหรือไม่สามารถใช้งานได้ จะทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตและการบริการนั้นๆ การที่จะได้มาซึ่งเครื่องจักรที่มีคุณภาพนั้น ต้องประกอบด้วย

(1)   มีการออกแบบที่ดีและตรงตามความประสงคต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรงแม่นยำ รวมทั้ง สามารถทำงานไดเต็มกำลังความสามารถที่ออกแบบไว  

(2)   มีการผลิต (หรือสร้าง) ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน สามารถทำงานไดนานที่สุด และ ตลอดเวลา

(3)   มีการติดตั้งในสถานที่ที่เหมาะสมและสะดวกตอการใชงาน

(4)  มีการใชเปนไปตามคุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง

(5)  มีระบบการบำรุงรักษาที่ดีเนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้เมื่อถูกใช้งานไปนาน ๆ ก็ตองมีการ เสื่อมสภาพ ชำรุด สึกหรอ เสียหายขัดข้อง ดังนั้น เพื่อใหอายุการใชงานเครื่องมือเครื่องใชยืนยาว สามารถใชงานไดตามความตองการของผใช้ ไมชำรุดหรือเสียบ่อยๆ ตองมี �การบำรุงรักษา เครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช� ในระบบการดำเนินงานด้วย จึงจะสามารถควบคุมการทำงานของเครื่องมือได อย่างมีประสิทธิภาพ

 จุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษา

1. เพื่อให้เครื่องมือใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล  (Effectiveness)  คือ  สามารใช้เครื่องมือเครื่องใช้ได้เต็มความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดหามามากที่สุด

2. เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีสมรรถนะการทำงานสูง  (Performance) และช่วยให้เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานยาวนาน  เพราะเมื่อเครื่องมือได้ใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเกิดการสึกหรอ  ถ้าหากไม่มีการปรับแต่งหรือซ่อมแซมแล้ว  เครื่องมืออาจเกิดการขัดข้อง  ชำรุดเสียหายหรือ  ทำงานผิดพลาด

3. เพื่อให้เครื่องมือเครื่องใช้มีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ (Reliability) คือ  การทำให้เครื่องมือเครื่องใช้มีมาตรฐาน   ไม่มีความคลาดเคลื่อนใด ๆ เกิดขึ้น

 4. เพื่อความปลอดภัย (Safety) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญ  เครื่องมือเครื่องใช้จะต้องมีความปลอดภัยเพียงพอต่อผู้ใช้งาน  ถ้าเครื่องมือเครื่องใช้ทำงานผิดพลาด  ชำรุดเสียหาย  ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ  อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ  และการบาดเจ็บต่อผู้ใช้งานได้  การบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยควบคุมการผิดพลาด

5. เพื่อลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อม เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชำรุดเสียหาย  เก่าแก่  ขาดการบำรุงรักษา  จะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  มีฝุ่นละอองหรือไอของสารเคมีออกมา  มีเสียงดัง  เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง

6. เพื่อประหยัดพลังงาน  เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนมากจะทำงานได้ต้องอาศัยพลังงาน  เช่น  ไฟฟ้า  น้ำมันเชื้อเพลิง  ถ้าหากเครื่องมือเครื่องใช้ได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี  เดินราบเรียบไม่มีการรั่วไหลของน้ำมัน  การเผาไหม้สมบูรณ์  ก็จะสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้

 ความเป็นมาของการบำรุงรักษา

ยุคที่

ยุคต่างๆของการบำรุงรักษา

1ก่อนปี พ.ศ. 2493  

ยุคแรกก่อนปี พ.ศ. 2493 เป็นยุคที่นิยมทำการซ่อมแซมหลังจากเครื่องมือเครื่องจักรเกิด เหตุขัดข้องแล้ว (Break down Maintenance) ไมมีการป้องกันการชำรุดเสียหายของเครื่องไว้ก่อนเลย เมื่อเกิดขัดข้องไมสามารถใช้งานได แล้วจึงทำการซ่อมแซม

2ปพ.ศ. 2493 - 2503

ยุคที่สอง  ระหว่างปพ.ศ. 2493 ถึงป พ.ศ. 2503 เปนยุคที่เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มาใช้ เพื่อป้องกันมิใหเครื่องมือเครื่องจักรเกิดการชำรุด มีเหตุขัดข้อง และเพื่อยกสมรรถนะของเครื่องมือให้ดีขึ้น ผู้ทำงานมีความมั่นใจในเครื่องมือมากขึ้น

3ปี พ.ศ. 2503 - 2513

ยุคที่สาม ระหว่างปี พ.ศ. 2503 ถึงปี พ.ศ. 2513 เป็นยุคที่นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับการ บำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance) ซึ่งแนวคิดนี้จะใหความสำคัญของการออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักรให้มีความน่าเชื่อ (Reliability) มากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความยากง่ายของการบำรุงรักษา และเอาหลักการด้านเศรษฐศาสตร์มาใช้ ร่วมด้วย

4หลังปี พ.ศ. 2513

ยุคที่สี่ หลังปี พ.ศ. 2513 เปนตนมาจนถึงปจจุบันนี้ ไดรวมเอาแนวคิดทุกยุคทุกสมัยเข้ามา ประกอบกัน โดยพยายามใหทุกฝ่ายไดมีสวนร่วมในงานการบำรุงรักษา (Total Productive Maintenance) เปนลักษณะของการบำรุงรักษาเชิงปองกัน จะไมเน้นเฉพาะฝ่ายบำรุงรักษาเทานั้น แต่จะเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องจักรใหมากขึ้น