เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

"ชัชชาติ" เร่งสร้างทุนทางสังคมชู 3 ข้อ แก้ "ปัญหาเศรษฐกิจ" ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ให้คนกรุง เดินหน้าพัฒนาเป็นชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  กล่าวว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชุมชนที่จดทะเบียนจัดตั้งชุมชนอยู่ทั้งหมด 2,016 ชุมชน มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่กว่า 2 ล้านคน หรือประมาณ 36% ของประชากรทั้งหมดในกรุงเทพฯ ทำให้การสร้างทุนทางสังคม (Social Capital) หรือเครือข่ายประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากชุมชนเข้มแข็งก็จะกลายเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง  ดังนั้นจึงเริ่มโครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ ปลอดโควิด เศรษฐกิจยั่งยืน เพื่อสร้างต้นแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็ง พร้อมถอดบทเรียนสำหรับขยายผลสู่ชุมชนอื่น ทั้งการพัฒนาในด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ ปลอดโควิด เศรษฐกิจยั่งยืน เริ่มต้นที่ ชุมชนคลองลำนุ่นพัฒนา ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งในโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ บริเวณถนนวงแหวนตะวันออก ตรงข้ามห้างแฟชั่นไอแลนด์ ถนนรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ 49 ครอบครัว จำนวน 181 คน

นายชัชชาติ  กล่าวต่อว่า  ทีมเพื่อนชัชชาติได้เข้ามาช่วยจัดระบบการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) และการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ของชุมชนคลองลำนุ่นพัฒนา เริ่มจากตรวจหาเชื้อโควิด-19 ของคนในชุมชน 100% เพื่อแยกออกมารักษาหรือส่งต่อตามระดับของผู้ป่วย ภายใต้แนวคิด 4 เร็ว ได้แก่ 1.วัคซีนเร็ว 2.ตรวจเร็ว 3.ยาเร็ว 4.ส่งต่อเร็ว

ที่ช่วยบรรเทาความวิกฤต ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่องจนเป็น 0 ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบคิดต่อจากนี้ คือ ปัญหาโรคเศรษฐกิจ จากการสำรวจ พบว่า ประชากรในชุมชนคลองลำนุ่น 56% มีรายได้ลดลงทำให้ไม่พอรายจ่ายและหนี้สินในทุกเดือน ซึ่งสาเหตุกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง ลูกค้าที่เคยมีก็หายไป เกิดการเลิกจ้าง ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงคือการควบคุมโรคให้อยู่ ฉีดวัคซีนที่ดีให้มากที่สุด โดยภาครัฐต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องนี้ 

สำหรับการบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของประชากรในชุมชนคลองลำนุ่นนั้นมี 3 แนวทาง ได้แก่ 

1.ลดรายจ่าย คือลดค่าครองชีพของชุมชน จัดตั้งครัวกลาง ทำสวนผักชุมชน มอบถุงยังชีพให้กับครอบครัวที่ลำบาก จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ให้คนในชุมชน 

 

2.ลดภาระหนี้ โดยทีมเพื่อนชัชชาติได้พาหมอเศรษฐกิจไปเก็บข้อมูลเชิงลึกของหนี้แต่ละประเภท พบว่าหนี้นอกระบบยังคงแพร่ระบาดอยู่ในทุกซอกซอย ชาวบ้านต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยทุกวัน การรวมกลุ่มไปคุยกับเจ้าหนี้นอกระบบในพื้นที่หรือสถาบันการเงินที่กู้อยู่ จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ในระยะสั้น ส่วนหนี้ระยะยาวที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น บ้าน รถมอเตอร์ไซค์ ก็ต้องไปขอยืดหนี้ตามมาตรการแบงก์ชาติเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยึดทรัพย์ 

 

3.เพิ่มรายได้ ด้วยการหางานที่ชาวบ้านมีความรู้ เช่น ช่างไฟ ช่างประปา ผู้รับเหมาก่อสร้าง แม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น ในพื้นที่ใกล้เคียงผ่านแพลตฟอร์มช่วยหางาน โดยสร้างความไว้ใจว่าเป็นแรงงานที่ปลอดจากโควิด-19 ด้วยการสร้างระบบตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ชาวบ้านทุกอาทิตย์และมีใบรับรองผลตรวจให้ รวมถึงหาทางสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้ในชุมชนและมีความต้องการของตลาด เช่น พัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

ทุกคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน” ซึ่งสามารถเอาไปใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตของเรา รวมถึงเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของเราด้วย หากเปรียบกับชีวิตของมนุษย์เรา บางคนอาจเคยเจอกับบางช่วงเวลาของชีวิตที่เรารู้สึกว่าชีวิตของเรากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น และรุ่งเรืองสุด ๆ ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ แต่พอเวลาผ่านไปเพียงแค่ 3 วัน ก็กลับต้องพบเจอกับวันที่ผิดหวัง ทำอะไรก็ล้มเหลวไปหมด เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจเองก็ย่อมมีวงจรที่มีทั้งขึ้นและลงเช่นกัน

ในอดีตที่ผ่านมา วงจรของเศรษฐกิจหนึ่งรอบ นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นขยายตัว รุ่งเรือง ถดถอย ไปจนถึงช่วงวิกฤตนั้น ใช้ระยะเวลาประมาณ 8-10 ปี แต่ก็ไม่มีใครที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำซะทีเดียวว่าวิกฤตนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไร แม้แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น อย่างการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก ก็ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่ามันจะเกิดขึ้น ซ้ำร้ายยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะกินเวลาไปอีกนานแค่ไหน แล้วเราต้องเตรียมตัวรับมือและวางแผนการเงินอย่างไรเพื่อที่จะสามารถผ่านวิกฤตในแต่ละครั้งไปให้ได้ เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน

เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

1. เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน 3-6 เดือน

แน่นอนว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ อาจจะมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วทำให้ชีวิตของเรานั้นต้องสะดุด ขาดรายได้ และเกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ซึ่งรายจ่ายของเราทั้งหมดนั้น จะกลายเป็นภาระที่เราต้องแบกรับมัน เพราะฉะนั้น หากเรามีเงินออมสำรองฉุกเฉินเตรียมไว้ ก็ช่วยให้เราพอที่จะพยุงตัวเองให้ผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มาได้ โดยที่ไม่ลำบากจนเกินไป ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่มีเงินสำรองไว้เลย ก็อาจจะทำให้เกิดภาระหนี้สินที่เกิดจากการหยิบยืมมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงควรมีเงินเก็บไว้อย่างน้อย 3 - 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน

เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

2. ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ

อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ไม่ลงทุน มีความเสี่ยงยิ่งกว่า” ดังนั้นการฝากเงินไว้กับบัญชีออมทรัพย์เฉย ๆ นั้นให้ดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ในช่วงวิกฤตแบบนี้จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น ก็เป็นเรื่องที่ยากพอตัว เพราะฉะนั้นการมองหาการลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุน เช่น พันธบัตรรัฐบาล กองทุนตราสารหนี้ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอแม้ในช่วงวิกฤติ แต่เงินฝาก หรือ กองทุนตราสารหนี้ แบบไหนจะดีกว่ากันนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วย ลองเข้าประเมินความเสี่ยงได้ที่นี่

เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

3. หารายได้ให้มากกว่า 1 ช่องทาง

เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อาชีพหลักที่เราทำอยู่นั้นย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่มีการให้พนักงานออกจากงาน เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวโดยการหาแหล่งรายได้อื่น ๆ ให้มากกว่า 1 ช่องทางไว้รองรับ ก็จะช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับเราได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ รับจ้างฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอะไรก็ได้ตามที่เราถนัด อย่างน้อยก็ยังพอให้มีรายได้เข้ามาบ้าง ไม่ใช่มีแต่รายจ่ายที่ออกไปอย่างเดียว

เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

4. ปรับพอร์ตการลงทุนและติดตามอย่างใกล้ชิด

ถึงแม้ตลาดหุ้นที่เราลงทุนไว้จะตกฮวบ แต่หากเรามีการลงทุนไปในหลายอุตสาหกรรม และหลากหลายสินทรัพย์ ก็ถือว่าเราได้กระจายความเสี่ยงในการลงทุน แต่แน่นอนเมื่อเกิดวิกฤตขึ้น ต่อให้เราจะกระจายการลงทุนได้ดีแค่ไหน พอร์ตของเราย่อมได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่อย่าเพิ่งตกใจ จนรีบเทขายเด็ดขาด เพราะเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปแล้ว เศรษฐกิจโลกกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในระยะยาวพอร์ตการลงทุนของเราก็จะฟื้นกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ดังนั้นหากเราเข้าใจหลักการในการลงทุนแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับผลกระทบในระยะสั้นเลย

ดังนั้นวิธีการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ดีที่สุด คือ การมีแผนรับมือไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ รู้จักการใช้เงินอย่างรอบคอบ ตัดสินใจลงทุนอย่างมีเหตุผล ก่อหนี้ไร้ประโยชน์ให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะหนี้บริโภค และสุดท้ายคือใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เพราะชีวิตคนเราอาจมีเรื่องที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเสมอ อย่าปล่อยให้ความประมาทในวันนี้มาทำลายโอกาสที่จะมีความสุขในวันข้างหน้าของเรา วันนี้ลองถามตัวเองกันดูว่า คุณมีร่มที่จะพาคุณฝ่าพายุฝนแล้วหรือยัง?

เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

เศรษฐกิจตกต่ํา แก้ไขอย่างไร

หากคุณไม่มั่นใจว่าสุขภาพการเงินของคุณแข็งแรงดี! มาตรวจสุขภาพทางการเงิน หรือ ปรึกษากรุงศรี Plan Your Money โทร 1572 กด 5 เพื่อเตรียมพร้อมผ่าน ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน

ทำอย่างไรในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ

เตรียมตัวอย่างไร....
4 สิ่ง ควรเตรียม รับมือเศรษฐกิจตกต่ำ 1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 2. จดบันทึกรายได้-ค่าใช้จ่าย 3. บริหารหนี้ให้ดี 4. จัดพอร์ตการออมและการลงทุน เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ... .
1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 2. จดบันทึกรายได้-ค่าใช้จ่าย 3. บริหารหนี้ให้ดี 4. จัดพอร์ตการออมและการลงทุน.

เศรษฐกิจตกต่ำเพราะอะไร

เศรษฐกิจถดถอย เกิดการว่างงาน แรงงานทั่วโลกต้องตกงาน เมื่อสถาบันการเงิน ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบปัญหาขาดทุนหรือต้องปิดกิจการดังนั้นจึงทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบเชื่อมโยงกันทั่วโลกทำให้แรงงานทั่วโลกตกงานอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง การบริโภคลดลงและอุปสงค์รวมลดลงเศรษฐกิจทั่วโลก ...

การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหน้าที่ของใคร *

นอกจากการให้บริการสาธารณะแล้ว รัฐยังมีหน้าที่แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องใช้เวลาและสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก รัฐบาลจึงเห็นว่าควรจะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม มาตรการหนึ่งในการป้องกันปัญหาเศรษฐกิจและสังคมได้ดีก็คือการใช้มาตรการเชิงรุกโดยการสร้าง ...

นโยบายใดที่รัชกาลที่ 7 ทรงใช้เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ

โดยทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวด และการหารายได้ใหม่ๆ เพิ่ม เช่น โปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้าน, ปลดข้าราชการออกจากตำแหน่ง, ยุบมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ, งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ, ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรบางรายการ, เรียกเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ ฯลฯ ...