ทักษะการ สื่อสาร อย่างสร้างสรรค์ มี อะไร บาง

 สังคมที่สงบสุขไม่จำเป็นที่ทุกคนจะมีความเห็นตรงกันในทุกเรื่อง แต่เป็นสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติแม้จะมีความแตกต่าง การให้พื้นที่แสดงความคิดเห็น การเคารพสิทธิ์รู้จักให้เกียรติผู้อื่น ความเสมอภาค การเคารพกฎหมายและกฎเกณฑ์ในสังคม และการสื่อสารที่สร้างสรรค์ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่สังคมที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ.

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี นักสื่อสารจะสร้างความสัมพันธ์ก่อนการสื่อสารโดยการเข้าใจความต้องการของผู้ฟัง พูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ อยู่ในโลกของผู้ฟัง มีความรักให้กับผู้ฟัง อยากช่วยเหลือผู้ฟัง มากกว่าความต้องการของผู้สื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดี และความเข้าใจในเจตนาของผู้สื่อสาร ว่าต้องการสื่อสารเพื่อจุดประสงค์ใด ถ้าผู้สื่อสารเปิดใจก่อน ก็จะได้รับการเปิดใจจากผู้ฟังเช่นเดียวกัน

การพูดให้จูงใจผู้ฟัง นักสื่อสารที่ดีจะเริ่มต้นการพูดน่าสนใจ มีพลังในการสื่อสารกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความกระตือรือร้นที่จะรับฟัง โดยการทำให้ผู้ฟังมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน เห็นคุณค่าและประโยชน์จะเกิดขึ้นเมื่อนำไปปฏิบัติ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟังมากกว่าเรื่องของผู้สื่อสาร หากเป็นเรื่องของผู้สื่อสารก็เป็นเพียงประสบการณ์ที่อยากให้ผู้ฟังได้นำไปคิด และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟังอีกทีหนึ่ง

การรับฟังความต้องการของผู้ฟัง นักสื่อสารบางคนพยายามที่จะสื่อสารความต้องการของตัวเอง จนลืมทำหน้าที่รับฟัง ทำให้ผู้ฟังปิดรับการสื่อสารด้วยเช่นกัน เพราะผู้ฟังก็อยากให้ผู้สื่อสารเข้าใจความต้องการของเขาด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นนักสื่อสารที่ดีจะสนใจความต้องการของผู้ฟัง และสื่อสารข้อความหรือข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ การสื่อสารก็จะเกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้ข้อมูลไม่ตกหล่น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้ฟังต้องการจะรับฟังอยู่แล้ว

การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ การสื่อสารที่ดีถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งผู้ฟังอยากได้รับความสนใจ อยากได้รับการยอมรับ และชอบคำชมมากกว่าคำตำหนิ หากนักสื่อสารเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของผู้ฟัง และปฏิบัติตัว ดังที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ก็จะทำให้นักสื่อสาร สามารถต่อเชื่อมกับผู้ฟังได้ง่าย และตรงตามที่ผู้ฟังต้องการ จะทำให้ข้อความหรือข้อมูล และวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เหมาะสมกับผู้ฟังมากยิ่งขึ้น แต่หากนักสื่อสาร หลีกเลี่ยง หรือไม่สนใจธรรมชาติของมนุษย์ สนใจในสิ่งที่ต้องการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ย่อมทำให้ไม่ได้รับการตอบสนอง จากผู้ฟังเต็มประสิทธิภาพ

การมองผู้ฟังด้วยทัศนคติเชิงบวก การสื่อสารให้กับผู้อื่น ย่อมไม่ราบรื่นทุกครั้งไป เนื่องจากความคิดเห็นของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ภาษาที่ใช้อาจถูกตีความไปอีกแบบหนึ่งได้ ดังนั้นนักสื่อสารต้องมองผู้ฟังด้วยทัศนคติเชิงบวก ไม่ตีความด้านลบ และไม่จินตนาการไปเองว่าผู้ฟังรู้สึกอย่างไร เพราะมิเช่นนั้นนักสื่อสารก็จะใช้น้ำเสียง สีหน้า กริยา และคำพูดที่เป็นเชิงลบได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการต่อต้านจากผู้ฟังด้วยเช่นกัน คนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นเพราะ
     ความเชื่อไม่เหมือนกัน
     ค่านิยมที่ยึดถือแตกต่างกัน
     ประสบการณ์ในอดีตไม่เหมือนกัน
     กฎ-มาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้วยกัน

ดังนั้นหากต้องการให้การสื่อสารสมบูรณ์และเกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย นักสื่อสารควรระวังแนวความคิดที่แตกต่างกันตรงนี้ไว้ด้วย

การพัฒนาการสื่อสารของตัวเองไม่ยาก เพราะเรามีโอกาสที่จะสื่อสารกับบุคคลทั่วๆ ไปอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากฝึกฝนและปรับปรุงให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆย่อมทำให้เรากลายเป็นนักสื่อสารที่ดีในอนาคตแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้จัดการ พนักงาน ผู้ประสานงาน หรือแม้แต่เป็นหัวหน้าครอบครัวก็ตาม ทักษะความเป็นผู้นำของคุณนั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่ง 5 ทักษะต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณเป็นผู้นำที่ดีขึ้น และจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของคุณกับผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับคนในทีมหรือคนในครอบครัวของคุณได้อย่างดี

1. รู้จักตัวเอง

ทักษะการ สื่อสาร อย่างสร้างสรรค์ มี อะไร บาง

การติดต่อสื่อสารที่ดีควรเริ่มต้นจากการรู้จักตนเองก่อน เมื่อใดก็ตามที่คุณติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องรู้จักและสามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองให้ได้ก่อน คุณไม่ควรเผยอารมณ์แย่ๆ ของคุณให้คนอื่นได้เห็น เพราะพวกเขาเหล่านั้นอาจจะตัดสินคุณได้ว่าคุณอาจเป็นคนลังเลและไม่ค่อยมีความมั่นใจ และสิ่งที่สำคัญที่ควรตระหนักไว้ก็คือ ถ้าคุณหวังอยากจะให้คนอื่นแสดงท่าทีที่ดีต่อคุณอย่างไร คุณก็ควรแสดงท่าทีที่ดีต่อเขาแบบนั้นก่อน

2. รู้จักและเข้าใจผู้ฟัง

ทักษะการ สื่อสาร อย่างสร้างสรรค์ มี อะไร บาง

การสื่อสารที่ดีที่สุดมักเกิดขึ้นจากการที่เรารู้จักและเข้าใจผู้ฟัง รู้ว่าวิธีไหนที่จะทำให้ผู้ฟังสนใจในสิ่งที่เราพูด รู้ว่าผู้ฟังเขาสนใจอะไร รวมไปถึงการดูแลเอาใจใส่และการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ฟังด้วย ทักษะนี้จะทำให้คุณสามารถซื้อใจพวกเขาได้อยู่หมัด! สิ่งเหล่านี้แหละที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณและผู้ฟังให้ดำเนินไปในระยะยาวได้

3. พูดให้ตรงประเด็น ชัดเจน และเจาะจง

ทักษะการ สื่อสาร อย่างสร้างสรรค์ มี อะไร บาง

การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและชัดเจนนั้นสามารกระตุ้นให้ผู้ฟังรู้สึกคล้อยตาม มีความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในสิ่งที่คุณกำลังขอได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าหากคุณได้อธิบายสิ่งต่างๆไว้ชัดเจนและไม่คลุมเครือแล้ว ก็นับเป็นสิ่งที่ดีกว่าการทิ้งให้ผู้ฟังรู้สึกสงสัยหรือเข้าใจผิดไปได้ และเมื่อใดก็ตามที่มีใครสักคนขอความคิดเห็นจากคุณ ควรเน้นการให้คำแนะนำด้วยวิธีง่ายๆ และสามารถนำไปใช้ได้จริง คุณควรจะให้คำแนะนำกับผู้อื่นอย่างเป็นมิตรและเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ตอบคำถามกับคุณด้วย

4. ให้ความสำคัญกับภาษากาย และสีหน้าหน้าท่าทาง

ทักษะการ สื่อสาร อย่างสร้างสรรค์ มี อะไร บาง

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวว่า ภาษากายและสีหน้าท่าทางนั้นสำคัญพอๆ กับคำพูด หรือในบางครั้งอาจจะสำคัญกว่าเลยด้วยซ้ำ เพราะการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง ทางภาษามือ และทางสายตานั้น เป็นการช่วยยืนยันคำพูดของคุณ หรือแม้แต่สามารถทำลายคำพูดของคุณได้เลยทีเดียว

เมื่อใดที่คุณกำลังพูดอยู่กับคนอื่น โปรดระมัดระวังภาษากายของคุณและหมั่นสังเกตภาษากายของผู้ฟังด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรให้ความสำคัญกับภาษากายของคุณว่ามันสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณกำลังพูดอยู่หรือเปล่า สิ่งนี้จะช่วยให้คุณดูเป็นผู้พูดที่มีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังช่วยให้คุณมีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้นด้วย

5. ฟังมากกว่าพูด

ทักษะการ สื่อสาร อย่างสร้างสรรค์ มี อะไร บาง

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่เปิดกว้างและเที่ยงตรงภายในองค์กร ก็คือ การเป็นผู้ฟังที่ดี เมื่อมีใครสักคนกำลังพูดกับคุณอยู่นั้น จงตั้งใจฟังในสิ่งที่ขาพูดให้ดี ถามคำถามไปบ้างเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสนใจของคุณ พร้อมทั้งเปิดใจรับฟังในสิ่งต่างๆ ให้มากและไม่แสดงท่าทีปฏิเสธแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม นี่แหละคือสิ่งที่จะช่วยสร้างความสามัคคีในหมู่คณะและยังสร้างความเข้าใจระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังเป็นอย่างดีด้วย

แต่ละทักษะเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคุณไม่อาจจะควบคุมหรือเข้าถึงผู้คนได้ภายในเวลาแค่ 1 วันหรือ 1 ปี แต่คุณจะต้องฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ไปตลอดชีวิต เพราะยิ่งคุณใช้ทักษะเหล่านี้มากเท่าไหร่ ผู้ฟังก็จะรู้สึกถึงคุณค่าและให้การยอมรับในตัวคุณมากขึ้นเท่านั้น และสุดท้ายความสามารถในการเป็นผู้นำของคุณก็จะมีประโยชน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย