กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้มีหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งในตอนแรกได้จัดให้มีการจัดการเรียนการสอนในสาระต่างๆ ได้แก่ สาระทฤษฎีความรู้  (TOK) สาระโลกศึกษา (GE) สาระกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS)  สาระการเขียนเรียงความขั้นสูง (EE) ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนในบางสาระ โดยเพิ่มเติมสาระ การศึกษาค้นคว้าอิสระ (Indepentdent Study : IS) ขึ้นมา นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องใหม่สำหรับครูผู้สอน ที่จะต้องจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2555 นี้ มีเพื่อนครูจำนวนมากสอบถามผมเข้ามามากเกี่ยวกับ  การจัดการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าอิสระ (Indepentdent Study : IS) ผมจึงขอนำข้อมูลมาเรียบเรียงเขียนไว้ในบล็อกนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครู ผู้ที่สนใจ ในการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันต่อไปครับ

การให้ผู้เรียนได้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง “Independent Study : IS” นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการพัฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสนใจ เริ่มตั้งแต่การกำหนดประเด็นปัญหา ซึ่งอาจเป็น Public Issue และGlobal Issue และดำเนินการค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้นก็หาวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทาประโยชน์แก่สาธารณะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันตลอดแนว ภายใต้ “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS)” ซึ่งจัดแบ่งเป็นสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ประกอบด้วย

IS 1- การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้

IS 2- การสื่อสารและการนาเสนอ (Communication and Presentation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ

IS 3- การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service)

โรงเรียนต้องนำสาระการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS ) ไปสู่การเรียนการสอน ในลักษณะของหน่วยการเรียนรู้ รายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามแนวทางที่กำหนด โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบทและพัฒนาการ วัยของผู้เรียน ซึ่งอาจแตกต่างกันในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย

การพัฒนาผู้เรียนผ่านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study) นั้น ครูผู้สอนจะต้องพิจาณาให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ ความยาก-ง่ายของชิ้นงานหรือภาระงานที่ปฏิบัติจะต้องเหมาะสม เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนแต่ละระดับที่กำหนดนี้ เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางที่ครูจะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล

กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

 การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสาหรับการศึกษาค้นคว้าตนเอง

การนำสาระการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS ) ไปพิจารณาจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล สามารถดำเนินการได้ดังนี้

ระดับประถมศึกษา ในระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นระดับชั้นที่ผู้เรียนยังเล็ก และเหมาะกับการจัดการเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในลักษณะของหัวเรื่องที่ผู้เรียนใจ (Theme) การพัฒนาผู้เรียนตามบันได 5 ขั้นสู่ความเป็นสากล สามารถจัดในลักษณะของหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัย ดังนี้

ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 : จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้เฉพาะ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์)

– หน่วยการเรียนรู้เฉพาะ ให้จัดในรายวิชาพื้นฐานอย่างน้อย 1 รายวิชา ในแต่ละปีการศึกษา โดยหน่วยการเรียนรู้นั้นต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง IS 1 และ IS2 คือ การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS 1 : Research and Knowledge Formation) โดยครูอาจกำหนดประเด็นที่สนใจเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัว เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักตั้งคาถาม ข้อสงสัย ตั้งสมมุตติฐานตามจินตนาการแล้วมีการค้นคว้า แสวงหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลพื้นฐานง่ายๆ และให้ผู้เรียนได้สรุปความรู้ที่ได้ จากนั้นให้ผู้เรียนได้ฝึกนำข้อมูลความรู้ หรือคำตอบที่ได้ มาสรุปเรียบเรียงถ่ายทอด/สื่อสาร นำเสนอการด้วยวิธีการที่เหมาะสมหลากหลายรูปแบบ (IS 2 : Communication and Presentation) (ผลผลิต/ร่องรอยหลักฐานจากการเรียนรู้ ได้แก่ ชิ้นงาน/ภาระงาน ที่สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ และมีการนำเสนอสื่อสารที่เหมาะสมกับวัย เช่น การพูด ภาพวาด งานเขียนง่ายๆ งานที่ลงมือปฏิบัติหรือประดิษฐ์ง่ายๆ เป็นต้น )

– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้จัดในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้ที่จัดขึ้นข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อสังคม IS 3 (Global Education and Social Service Activity) ซึ่งในระดับชั้นเด็กเล็กอาจใช้กับบุคคลใกล้ตัว หรือในโรงเรียนตามความเหมาะสมกับระดับชั้น

ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6: จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 1 รายวิชา (40 ชม./ ปี) และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

– รายวิชาเพิ่มเติม ใช้ชื่อรายวิชา การค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ (Knowledge Inquiry) โดยจัดให้เรียนในชั้นปีใด ปีหนึ่ง กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้จะต้องครอบคลุมทั้ง IS 1 (Research and Knowledge Formation) และ IS 2 (Communication and Presentation) ในลักษณะที่ยากและลึกซึ้งขึ้น ให้เหมาะสมกับศักยภาพและวุฒิภาวะของผู้เรียน ตามเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนที่กำหนด (ผลผลิต/ร่องรอยหลักฐานจากการเรียนรู้ ได้แก่ ชิ้นงาน/ภาระงาน งานเขียนที่สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า และมีการนำเสนอสื่อสารในลักษณะต่างๆ เช่นงานเขียน รายงาน ชิ้นงาน อาจมีการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เหมาะสมกับวัยในการสื่อสารถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้แก่ผู้อื่น )

– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้นำความรู้ที่เรียนรู้จากรายวิชา การค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ (Knowledge Inquiry) มาปฏิบัติของกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามความมุ่งหวังของสาระ IS 3 (Global Education and Social Service Activity)

ระดับมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2 รายวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้

รายวิชาเพิ่มเติมนั้นให้จัดภาคเรียนละ 1 รายวิชา ในชั้นปีใดปีหนึ่งของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

– รายวิชาเพิ่มเติมที่1 ใช้ชื่อรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( Research and Knowledge Formation) (1- 1.5 หน่วยกิต) ในรายวิชานี้ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้เกิดความรู้และทักษะตาม IS 1 ผู้เรียนเลือกประเด็นที่สนใจในการเรียนรู้ เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้

– รายวิชาเพิ่มเติมที่ 2 ใช้ชื่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ ( Communication and Presentation) (1 – 1.5 หน่วยกิต) เป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากรายวิชาแรก โดยผู้เรียนนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ มาเขียนรายงานหรือเอกสารทางวิชาการ และนำเสนอ เพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อมูล ความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจ (ร่องรอยหลักฐานในการเรียนรู้ ได้แก่ ผลงานการเขียนทางวิชาการ 1 ชิ้น และการสื่อสารนำเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นภาษาไทย 2,500 คำ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาษาไทย 4,000 คำ หรือภาษาอังกฤษ 2,000 คำ)

– กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้จัดในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้จากรายวิชาเพิ่มเติมทั้ง 2 รายวิชาข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อสังคม(สาระการเรียนรู้ IS 3 -Global Education and Social Service Activity)

ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์) นั้น เป็นสิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งซึ่งรวมทั้งโรงเรียนมาตรฐานสากล  ต้องจัดเพื่อพัฒนาผู้เรียนอยู่แล้ว ในส่วนของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ผู้เรียนต้องดำเนินกิจกรรมตาม IS 3 นั้นควรดำเนินในส่วนกิจกรรมช่วงระยะเวลาหรือในระดับชั้นที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ IS 1-IS 2 แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน สำหรับการดำเนินกิจกรรมในระดับชั้นอื่นๆ ที่ยังไม่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับ IS1- IS2 นั้น โรงเรียนพิจารณาให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆได้ตามความเหมาะสม

ตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล

กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า

ดาวน์โหลดเอกสาร คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล (ปรับปรุง) คลิกที่นี่ การจัดหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล ปรับใหม่

ดาวน์โหลดตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา การศึกษาค้นคว้าอิสระ คลิกที่นี่ ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา รายวิชาการค้นคว้าเพื่อเรียนรู้ (indepentdent Study)

กระบวนการศึกษาค้นคว้ามีกี่องค์ประกอบอะไรบ้าง

การเลือกเรื่องหรือหัวข้อ ... .
การค้นคว้าและรวบรวมแหล่งค้นคว้า ... .
การวางโครงเรื่อง ... .
การอ่านและจดบันทึกข้อมูล ... .
การเรียบเรียงเนื้อเรื่อง ... .
การเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ... .
การเขียนส่วนประกอบ.

วิธีการศึกษาค้นคว้า คืออะไร

การศึกษาค้นคว้า คือ การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเขียน การอ่าน การฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมภาษณ์ เป็นต้น โดยศึกษาจากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ และจดบันทึกข้อมูลหรือเรื่องราวไว้อย่างมีระบบ

ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้ามีอะไรบ้าง

การศึกษาค้นคว้า หมายถึง กระบวนการในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ใน การตอบปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ในเรื่องนั้นๆ ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ปัญหาและประกอบการตัดสินใจ การศึกษาค้นคว้าจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้น

วิธีการศึกษา มีอะไรบ้าง

วิธีการศึกษา 1. ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูล รูปแบบของการบริหารของบริษัทกรณีศึกษา 2. ศึกษาข้อมูลแลการนิยามปัญหา 3. เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและสภาพปัญหา 4. วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา 5. ปรับปรุงแก้ไขปัญหา 6. ตรวจติดตามควบคุมและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 7. สรุปผลการดําเนินการศึกษาและเพิ่มเติมข้อเสนอแนะ