ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ม. 5

สภาวะที่เกิดขึ้นกับความเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและบรรยากาศที่ ห่อหุ้มโลก   เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลจากกระบวนการทางธรรมชาติและส่งผลมาจากกิจกรรมต่าง ๆ  ที่มนุษย์เป็นตัวกระทำ   โดยที่เกิดปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจได้รับผลมาจากกระบวนการด้าน ใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านร่วมกัน

ความหมายของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์     หมายถึงสภาวะต่างๆ  ที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลกและบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก   และสภาวะที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะส่งอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของม นุษย์เราตลอดจนสภาพสิ่งต่างๆ  บนโลก

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญมีหลายรูปแบบตัวอย่างเช่น   การเกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหว    การเกิดปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นผิวของเปลือกโลกใน ลักษณะต่าง ๆ   การเกิดสภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอุณหภูมิของโลกร้อน    การเกิดสภาวะพายุฝนฟ้าคะนอง   ฯลฯ

ปัจจุบันการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างควา มเข้าใจ

เกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ มากกว่าที่จะศึกษาถึง ลักษณะ

เฉพาะและสถานที่ต่างๆ   ของโลกอย่างคร่าวๆ  เช่นเดียวกันที่เคยปฏิบัติกันมาในระยะแรก   โดยในครั้งนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ   ยังมีไม่มากพอ  แต่เมื่อมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นการศึกษาด้านภูมิศาสตร์จึงได้เปลี ่ยนแนวทางมาสู่การศึกษาถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พื้นที่นั้นๆ  โดยเฉพาะ   ซึ่งมักจะใช้หลักศึกษาด้วยการใช้วิธีการพิจารณาว่า    “มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น    และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร” โดยรูปแบบและวิธีการดังกล่าวถือว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ  ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์   ภายใต้สภาวะต่างๆ   ที่ส่งผลให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือทำให้เกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้น ที่นั้น ๆ  ขึ้น    และถือว่าเป็น   ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้น

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ม. 5

โครงสร้างของโลก

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและใคร สร้างของโลก   โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับสมมุติฐานในเรื่องการกำเนิดของโลก การศึกษาเกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนของวัตถุต่างๆ   ที่อยู่ลึกลงไปเกือบอยู่ใจกลางโลกซึ่งภูเขาไฟพ่นออกมา   ตลอดจนเศษชิ้นส่วนของอุกกาบาตที่อยู่ในอวกาศและตกลงมายังบริเวณ พื้นผิวโลกจากความเชื่อที่ว่าเศษชิ้นส่วนของวัตถุดังกล่าวมีลัก ขณะที่ใกล้เคียงกับการกำเนิดของโลก    จากการศึกษาข้อมูลที่กล่าวมา   

นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งโครงสร้างของชั้นโลกออกเป็น 3 ชั้น   ประกอบด้วย

2. ชั้นเนื้อโลก    (montle)

3.ชั้นแก่นโลก   (core)

1. ชั้นเปลือกโลก  (crust)

ภูมิประเทศของโลกมีรูปแบบที่สำคัญอย่างไร

จากการศึกษาเกี่ยวกับโลกทำให้ทราบว่าโลกมีสัณฐานเกือบเป็นทรงกลมและมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ    เมื่อพิจารณาสภาพของภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนบน พื้นทวีป   จะพบว่า   ภูมิประเทศของโลก   จะแบ่งออกได้   4  รูปแบบ     ที่สำคัญประกอบด้วย

1. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ   (plain)

2. ภูมิประที่เป็นที่ราบสูง  (plateau)

3.ภูมิประเทศที่เนินเขา   (hill)

4.ภูมิประเทศที่เป็นภูเขา   (mountain)

ตัวอย่างกรณีศึกษาปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นมีปัจจัย   (ตัวกระทำ)    อยู่หลายลักษณะ   บางกรณีอาจมีเพียงปัจจัยเดียว    แต่บางกรณีที่เกิดขึ้นก็อาจมีหลายปัจจัยร่วมกัน   กรณีศึกษาต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจนและเป็นที ่รู้จักกันโดยทั่วไปซึ่งบางสถานที่ที่นำมาเป็นตัวอย่างของปรากฏ การณ์ทางภูมิศาสตร์บางแหล่งจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว     และนำใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าทางด้านภูมิศาสตร์ได้อย่างเด่นชั ด   ตัวอย่างเช่น  เสาเฉลียง

แพะเมืองผี  หน้าผาสูงชัน  น้ำค้างแข็ง  การเกิดแผ่นดินไหว  ภูเขาไฟระเบิด

แพะเมืองผี

แพะเมืองผี    เป็นปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดการกระทำของแรงน้ำไหล

แพะเมืองผี    ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลน้ำชำ    อำเภอเมืองแพร่    จังหวัดแพร่    ถือเป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลก   ที่เกิดจากแรงกระทำภายในและแรงกระทำภายนอกเป็นปัจจัยร่วมกัน   โดยถือ ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัวของชั้นตะกอนและแรงกระทำ ของแรงน้ำไหล   ซึ่งมีลักษณะและกระบวนการเกิด

1.  สภาพโดยทั่วไป    แพะเมืองผี   เป็นพื้นดินที่ผังยุบลงไป   เป็นแอ่งดินคล้ายกระทะหงาย    มีขนาดความกว้างประมาณ    30    เมตร    ยาวประมาณ    100   เมตรขอบอ่างด้านทิศตะวันตก   เป็นหน้าผาที่มีต้นไม้เตี้ย  ๆ   ปกคลุม    มีความสูงไม่แน่นอนสูงตั้งแต่   6  ถึง  14  เมตร   หน้าผามีความลาดชันลดระดับทางด้านตะวันออกเข้าสู่ภายในแอ่ง  โดยลดระดับมาอยู่ที่ความสูง  2  ถึง  3  เมตร ภายในแอ่งมีเนินสูงๆ ต่ำไม่ต่อเนื่องกัน  มีแท่งดินคล้ายเสาหรือเป็นโคกที่มีรูปร่างคล้ายจอมปลวกหรือดอกเ ห็ด

2. กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  เปลือกโลกบริเวณแพะเมืองผีในปัจจุบันเกิดจากการเคลื่อนตัวของเป ลือกโลกในยุคเทอร์เธียรี่  ส่งผลให้ตะกอนที่ทับถมกันซึ่งในบริเวณนั้นจัดว่าเป็นตะกอนใหม่ท ี่ยังไม่แข็งตัวแน่น  แต่เป็นชั้นกรวดทรายและดินเหนียวสลับกัน  และถูกแรงเคลื่อนตัวภายในเปลือกโลกดันยกให้สูงกว่าระดับข้างเคี ยงตะกอนที่ราบถูกยกตัวขึ้นเป็นเนินแบ่งออกเป็นสองระดับชั้น   ประกอบด้วยตะกอนชั้นบนและตะกอนชั้นล่าง   ตะกอนชั้นบน  ถือว่าเป็นตะกอนที่มีความแข็งแกร่งกว่าตะกอนชั้นล่าง  ตะกอนชั้นบนยังแบ่งออกเป็นชั้นๆ  ซึ่งชั้นบนสุดเป็นชั้นของรวดควอตซ์สีขาว  และเนื้อลูกรังแข็งแทรกตัวอยู่  ทำให้เป็นชั้นที่แข็งที่สูด  และชั้นล่างสูดของตะกอนชั้นบนจะเป็นชั้นกรวดและทรายปนดินเหนียว  ตะกอนชั้นบนสุดที่หากพิจารณาจากผิวนอกจะเป็นสีน้ำตาลแดงถึงสีดำ ตะกอนชั้นล่าง    เป็นตะกอนเม็ดเล็กและระเอียดประกอบด้วยดินเหนียวเม็ดระเอียดมีส ีเทาและสีน้ำตาลปนเหลือง  บริเวณจะมีตะกอนทรายหยาบเป็นชั้น  ตะกอนชั้นนี้จะปรากฏร่องรอยของการถูกกัดเซาะของน้ำมากที่สุด   การยกตัวขึ้นเป็นเนินเขาที่ราบตะกอนใหม่ในบริเวณดังกล่าวเนื่อง จากเกิดรอยเลื่อนของเปลือกโลก  โอกาสในการสึกกร่อนก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะในขณะที่เกิดฝนตก  น้ำฝนจะกัดเซาะบริเวณผิวหน้าเนินตะกอน  ซึ่งเป็นตะกอนที่อ่อน  เมื่อน้ำฝนกัดเซาะไปนานๆ   ทำให้เกิดการกัดเซาะเป็นร่องลึก  ในลักษณะการสึกกร่อนในแนวดิ่งกลายเป็นแท่งดิน  ดังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ของแพะเมืองผีดังกล่าว

3.               ลักษณะพ้นที่ที่มีปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์คล้ายกับแพะเมืองผี  สำหรับประเทศไทยมีหลายพื้นที่ได้แก่  บริเวณที่มีชื่อเรียกว่า  เสาดิน  ในอำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน  บริเวณที่เรียกว่า โป่งยุบ  ในอำเภอสวนผึ้ง  จังหวัดราชบุรี  เป็นต้นวนอุทยานเขามกระโดง: ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากกระบวนการภูเขา ไฟ  วนอุทยานเขากระโดง  ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเสม็ด  ตำบลอิสาน  และตำบลสวายจิก  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  มีเนื้อที่ประมาณ  1,450  ไร่  ถือว่าเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแ ปลงเปลือกโลกที่เกิดจากแรงกระทำภายในโดยผ่านกระบวนการภูเขาไฟที ่ถือว่าปัจจุบันจัดอยู่ในชนิดของภูเขาไฟที่สิ้นพลังแล้ว

1.สภาพโดยทั่วไป  วนอุทยานเขากระโดง  ประกอบด้วยพื้นที่เนินเขาสองลูกที่ติดอยู่ด้วยกัน  คือ  เขากระโดงและเขาใหญ่  ซึ่งเนินเขาทั้งสอง  เกิดขึ้นจากกระบวนการภูเขาไฟ  ดังนั้นบริเวณดยรอบบริเวณเนินทั้งสองจึงพบหินลาวา  ประเภทหินบะซอลต์  อยู่ทั่วไป    สำหรับเขากระโดงจะมีช่องปะทุของลาวา(ปากปล่องภูเขาไฟ)  อยู่ที่ยอดเนินบริเวณฐานเนินเข0ากระโดง จะมีความลาดเอียงน้อย แต่เมื่อใกล้ยอดจะมีความชันมากขึ้น  บริเวณโดยรอบของเขากระโดง  จะมีสภาพป่าเต็งรังอยู่โดยรอบ  ไม้ที่พบได้มาก  ได้แก่  ไม้เต็งรัง  มะกอกโคก ตะคร้อ  ขี้เหล็กป่า  สมอภิเภก เป็นต้น และบริเวณวนอุทยานเขากระโดงยังสัตว์ป่าอาศัยอยู่จำนวนหนึ่งที ่พบเห็น  ได้แก่ กระรอก  กระต่ายป่า  และนกนานาชนิด

2. กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขากระโดง  เป็นภูมิประเทศที่แสดงให้เห็นถึงการกำเนิดของภูเขาไฟซึ่งสันนิษ ฐานว่ากำเนิดขึ้นเมื่อ  800,000  ปีมาแล้ว  ซึ่งการมาแล้ว

ซึ่งการกำเนิดดังกล่าวเกิดจากการที่หินหลอมละลาย   และก๊าซร้อนภายในโลกที่อยู่ภายใต้ความกดดันตามรอยร้าวของเปลือก โลกและขึ้นมาบนผิวดิน เกิดการทับทมกันเป็นเนินเขาในที่สุด

3.               ลักษณะพื้นที่มีปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์เช่นเดียวกับวนอุทยานเข ากระโดงสำหรับในประเทศไทย   มีซากภูเขาไฟที่สิ้นพลังแล้วเช่นเดียวกับเขากระโดง   ได้แก่  เขาพนมรุ้ง   ภูพระอังคาร   จังหวัดบุรีรัมย์   และเขาหลวง   จังหวัดสุโขทัย

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ม. 5


น้ำค้างแข็ง  :  ปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก

น้ำค้างแข็ง   เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ บรรยากาศซึ่งจะไม่ปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย      แต่มักจะพบมากในช่วงฤดูหนาวบนยอดดอยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉ ยงเหนือ    ภาษาถิ่นเหนือเรียกน้ำค้างแข็งว่า   เหมยขาบ   ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า   แม่คะนิ้ง

1.  ลักษณะทั่วไป  :  จะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งขาวๆ   จับตัวตามใบไม้   ยอดหญ้าหรือวัตถุต่างๆใกล้ๆ กับพื้นดิน

2.   กระบวนการเกิดปรากฏการณ์การเกิดน้ำค้างแข็ง   มี   2  แบบด้วยกัน   คือ

2.1  การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง   จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข ็ง

2.2 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม    เกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณความชื้นใกล้พื้นดินส ูง

3  .สถานที่ปรากฏการณ์ของการเกิดน้ำค้างแข็งในประเทศไทย   :   มักจะเกิดบนดอยหรือภูเขาสูงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ   เช่น   เชียงใหม่   เชียงราย   แม่ฮ่องสอน   และเลย

กระบวนการเกิดแผ่นดิน   :   สืบเนื่องความเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากแรงกดดันของเปล ือกโลก

1.  กระบวนการเกิดแผ่นดินไหว    มี   2   ลักษณะ   คือ

1.1  เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ   :  การเลื่อนตัวของเปลือกโลกในชั้นต่างๆ   ได้รับพลังงานความร้อน

จากแก่นโลก   เกิดการดันตัวขึ้นผลักดันเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลาเป็นผลให้มีการเคลื่อนตัวบ่อยๆ  และการ  ระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการเคลื่อนตัวของหินหนืด    ที่อยู่ใต้เปลือกตามรอยแตกของเปลือกโลกและเกิดแรงดันส่งผลให้เก ิดการสั่นสะเทือนบริเวณเปลือกโลก

1.2   เกิดจากการกระทำของมนุษย์   :  กิจกรรมบางอย่างที่มนุษย์กระทำ   เช่น    การสร้างอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่    การขุดเจาะน้ำใต้ดิน    การเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน    การทดลองระเบิดใต้ดินส่งผลให้มวลของหินเปลี่ยนสภาพไป

2.  ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว    การวัดมี  2ลักษณะ   คือ

2.1    ขนาดของแผ่นดินไหว   คำนวณได้จากการตรวจวัดความสูงของกราฟที่พื้นโลกปลดปล่อยออกมาใน รูปการสั่นสะเทือน   เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดเรียกว่า   ไซสโมกราฟ    หน่วยศูนย์กลางแผ่นดินไหวเรียกว่า   ริคเตอร์

2.2    ความรุนแรงของแผ่นดินไหว   หมายถึง    การวัดปริมาณของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น    ได้แก่ ความรู้สึกของผู้คน    การสั่นของวัตถุหรือสิ่งก่อสร้าง   เป็นต้น

3.       ผลที่เกิดจากแผ่นดินไหว

ความเสียหายทางตรง   :  มักจะเกิดกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ  ที่ตั้งอยู่บนชั้นหินอ่อนหรือดินเหนียว    ซึ่งอำนาจของคลื่นแผ่นดินจะทำให้เกิดการพังทลายความเสียหายทางอ้อม   :  พบในบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล    โดยเฉพาะหากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรจะทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่เรียก ว่า    ทุซนามิ   ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก   และต่อมาเกิดขึ้นบนเกาะสุมาตราที่ประเทศอินโดนีเซีย    และได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้วย

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ม. 5

ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนขึ้น :   สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก

ภาวะโลกร้อนขึ้น    หรือเรียกว่า  ปรากฏการณ์เรือนกระจก   เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์อีกประการหนึ่งที่เสดงให้เห็นถึงคว ามเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสภาพของอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นหรือโลกได้ทวีความร้อนขึ้นและการที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจะมีผลใ ห้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก    ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศและความสมดุลทางธรรมชาติ

1.  กระบวนการของการเกิดภาวะโลกร้อนขึ้น

เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตถูกบรรยากาศชั้นโอโซนดูดซับไว้   บางส่วนจะสะท้อนกลับหรือกระจายไปในบรรยากาศโดยอนุภาคต่าง  ๆ   ที่มีอยู่ในบรรยากาศ   รังสีบางส่วนที่ตกมาถึงพ้นโลกจะถูกดูดซับไว้    พื้นโลกจะสะท้อนรังสีออกไปในรูปความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด

กลางสตวรรษที่  19  นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า   อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยพื้นฐานมาจากการขยายกำลังการผลิต    และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตที่ขาดสมดุลและเหมาะสมกับธรรมชาติ   ทำให้ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นเป็นผล ให้เกิดการสะสมของรังสีในชั้นบรรยากาศจนเกินสมดุล     ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลกมีระดับอุณหภูมิที่สูง   ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า    ปรากฏการณ์เรือนกระจก

2.   การประเมินภาวะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกและผลกระทบ

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ  ได้จัดประชุมระหว่างรัฐบาล     เรื่อง   การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ   และได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการประเมิน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในเชิงวิทยาศาสตร์    การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ    และการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศโดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล    โดยวางสมมุติฐานไว้ว่า   ถ้าหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   ในชั้นบรรยากาศของโลกเพิ่มเป็น  2  เท่าของ  พ.ศ. 2544  จะส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวของโลกสูงขึ้นประมาณ   1   ถึง  3.5 องศาเซลเซียส    และระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ15-95  เซนติเมตร   จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและคุณภาพชีวิต ของคนเรา   นอกจากนี้ยังจะส่งผลกระทบต่อประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่สี่ยงต่อภัยน้ำท่วม     เนื่องจากคลื่นพายุซัดฝั่ง

ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์ของภาวะของโลกที่ร้อนขึ้น    แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศได้อย่างช ัดเจน   ตัวอย่างเช่น

กรณีการเกิดคลื่นความร้อนที่พาดผ่านทวีปยุโรป    ส่งผลให้ประชาชนในบางประเทศต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในฝรั่งเศ ส    ระหว่างสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์สาม  เดือน  สิงหาคม   2546   ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตมากถึง   หนึ่งแสน  คน   ทั้งที่เป็นผลจากความร้อนโดยตรง