ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

ในช่วงเวลาที่วันหยุดยาวและปาร์ตี้สังสรรค์กำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะเป็นสุดสัปดาห์นี้ ที่มีวันหยุดชดเชย เรื่อยไปจนถึงเทศกาลสงกรานต์ในสัปดาห์ถัดไป เราก็มักจะเห็นการรณรงค์เรื่องของการเมาไม่ขับถี่ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเตือนให้เราหลีกเลี่ยงการดื่มสุราแล้วขับรถ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและมีผู้เชียชีวิตเป็นจำนวนมากในทุกๆ ปี

ซึ่งตามกฎหมายแล้วนั้น การเมาแล้วขับ คือการที่ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ หากตรวจพบก็จะมีโทษรุนแรง นั่นคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ไปจนถึงเพิกถอนใบอนุญาตกันเลยทีเดียว

แต่คำถามที่มักจะตามมาก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ปริมาณ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์นี่คือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากน้อยขนาดไหน เราจึงได้จำแนกการดื่มแต่ละประเภทมาให้ได้เห็นกันว่า ปริมาณ(โดยประมาณ) นั้น มีเท่าไรบ้าง

1. สุรา ประมาณ 90 cc ไม่ผสม หรือผสมในปริมาณ 1 ฝา / แก้ว จำนวนไม่เกิน 6 แก้ว

หรือ

2. เบียร์ ประมาณ 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก

หรือ

3. เบียร์ไลท์ ประมาณ 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก

หรือ

4. ไวน์ ปริมาณ 80 cc / แก้ว ไม่เกิน 2 แก้ว

ทั้ง 4 ข้อนี้คือปริมาณโดยประมาณ สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละประเภท แต่ที่สำคัญ หากเลือกที่จะดื่ม ควรงดที่จะขับรถในทุกๆ กรณี ไม่ว่าจะดื่มมาก หรือดื่มน้อยก็ตาม ยกเว้นในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดื่ม หรือได้ดื่มไปแล้วในปริมาณไม่เกินจากที่กล่าวมา และมีความจำเป็นต้องขับ คุณควรเว้นระยะเวลาหลังจากดื่มไปแล้วอย่างน้อย 30 นาที - 1 ชั่วโมง และระหว่างนั้นให้ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพื่อให้แอลกอฮอล์ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และสิ่งสำคัญอย่างสุดท้ายคือ ไม่ควรดื่มหลายชนิดปนกัน เพราะปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณได้รับจะยิ่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ

แม้คุณจะพอทราบแล้วว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ไม่เกินจากที่กฎหมายกำหนดอยู่ที่ปริมาณไหน แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ คำว่าเมาไม่ขับ ยังคงเป็นประโยคที่เราอยากฝากไว้ให้กับทุกคน ทุกเทศกาล และทุกๆ วัน อยากดื่มเมื่อไร เปลี่ยนมาใช้บริการรถสาธาณะก็จะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้างคร้าบ

ท่านที่เป็นคอทองแดงทั้งหลาย เคยสังเกตกันหรือไม่ว่าระหว่างดื่มเบียร์เรามีความต้านทานต่อความเมาได้กี่แก้ว ลองหาคำตอบจากที่นี่ดูค่ะ

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

ปกติแล้วร่างกายของเรามีความเร็วในการกำจัดแอลกอฮอล์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายทั่วไป รูปร่าง ขนาด และน้ำหนัก บางคนร่างกายกำจัดได้เร็ว ก็อาจจะเมาช้า หรือหากดื่มบ่อย ๆ ในปริมาณมาก ๆ ก็ทำให้ร่างกายมีเอนไซม์ Acetylator ซึ่งช่วยในการย่อยสลายแอลกอฮอล์มากขึ้น

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

ส่วนปริมาณแอลกอฮอล์ของเครื่องดื่มแต่ละชนิดก็มีไม่เท่ากัน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้ สุราขนาด 30 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 40 ค็อกเทลขนาด 100 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 30 ไวน์ขนาด 100 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 14 และเบียร์ขนาด 285 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 5

เบียร์ที่คุณดื่มเป็นปกติใน 1 แก้ว จะมีขนาด 285 มิลลิลิตร และมีดีกรีแอลกอฮอล์ 5 % ซึ่งหากคุณดื่มเบียร์ 3 แก้ว ร่างกายจะยังไม่สูญเสียการทำงาน ยังมีความรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน ถ้าดื่มในระดับเพิ่มขึ้นถึงแก้วที่ 9 ร่างกายจะตอบสนองช้าลง เริ่มส่งผลเสียต่อการควบคุมตัวเอง

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

ถ้าฝืนดื่มต่อไปถึง 13 แก้ว จะเกิดอาการง่วงซึม อาจเกิดอาการเมา อ่อนเพลีย อาเจียนได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับเบียร์ถึง 17 แก้ว จะส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของฮอร์โมน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท ทำให้เสียการควบคุม การมองเห็น ได้ยินไม่ชัด ร่างกายจะตอบสนองช้าลง ตัดสินใจช้าลง

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

ซึ่งหากคุณดื่มจนหนักถึงขั้นนี้แล้ว ยังฝืนตัวเองใช้ยานพาหนะบนท้องถนนร่างกายที่ถูกทรงตัวหลังพวงมาลัย ก็เปรียบเหมือนม้าที่พร้อมพยศทะยานคันเร่ง และไม่สามารถบังคับการทรงตัวได้ ทำให้รถส่ายไปมา ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาหลังจากนี้จะเป็นอุบัติเหตุรถชน ซึ่งส่งผลเสียอันร้ายแรงต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของตัวคุณเองและผู้อื่น

ดังนั้นไม่ว่าจะดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดก็ตาม ไม่ควรให้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อยู่เหนือการควบคุมของร่างกาย และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการงดขับรถทุกครั้งที่ดื่มค่ะ วันนี้เรามา “ดื่ม..ไม่ขับ” หรือ “เมา..ไม่กลับ” กันดีกว่าค่ะ

     การลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ควรลดปริมาณการดื่มลง หากจำเป็นต้องดื่มควรระมัดระวังไม่ดื่มปริมาณมากในระยะเวลาสั้น ๆ และไม่ควรดื่มจนเกินลิมิตของตนเอง และเมื่อลดจำนวนการดื่มได้แล้วก็พยายามเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้

แบ่งปันเกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพทั้งโรคภัยไข้เจ็บ วิธีออกกำลังกาย เคล็ดลับลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง อยู่กินของอร่อยไปได้อีกนาน ๆ

ขึ้นชื่อว่าเป็นแอลกอฮอล์แล้ว คงไม่มีแอลกอฮอล์ชนิดไหนที่ดีต่อสุขภาพถึงขนาดที่หมอแนะนำให้ดื่มกันเป็นประจำราวกับนมอย่างแน่นอน แต่เราก็มีวิธีที่จะกินเหล้า และดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพมากจนเกินไป จากนพ.ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสมิติเวช มาฝากกัน

กินเหล้า ตับไม่พัง ขึ้นอยู่กับปริมาณ และชนิดที่ดื่ม

การดื่มแอลกอฮอล์ให้ถูกชนิด ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถให้ประโยชน์กับร่างกายได้เช่นกัน

เบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่มาก ราวๆ 5% หรือ 5 ดีกรี

ไวน์ มีแอลกอฮอล์ราว 10% หรือ 10 ดีกรี

เหล้าต่างๆ มีแอลกอฮอล์ราวๆ 35-40% หรือ 35-40 ดีกรี

วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ มีแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง ราวๆ 40-50% หรือ 40-50 ดีกรี

ขนาดมาตรฐานที่เรามักเรียกกัน คือ 1 ดริ๊งค์ (drink) หรือ 1 แก้วที่มีปริมาณเครื่องดื่มราว 10-14 กรัม หากทำการคำนวณโดยนำปริมาณเครื่องดื่มหน่วยซีซี (cc.) x จำนวนดีกรี x 0.789 (ความถ่วงจำเพาะของแอลกอฮอล์) จะได้ออกเป็นจำนวนแอลกอฮอล์ที่ดื่มไปเป็นหน่วยกรัม ต่อ 1 ดริ๊งค์ หรือ 1 แก้ว

เช่น ไวน์ 100 cc x 10 ดีกรี x 0.789 = 7.89 กรัม คือจำนวนแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปต่อ 1 แก้ว

เมื่อคำนวณคร่าวๆ จะได้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่เราสามารถดื่มได้คร่าวๆ ดังนี้

เบียร์ = ครึ่งแก้วเบียร์ใหญ่ หรือ 3-4 กระป๋องเล็ก หรือไม่เกิน 200-300 cc ต่อวัน

ไวน์ = ก้นแก้วไวน์ หรือราวๆ 100 cc

เหล้า = 2 ใน 3 ของแก้วเป๊ก (แก้วเหล้าเล็กๆ)

จำนวนนี้ถือเป็น 1 ดริ๊งค์ของแอลกอฮอล์ในแต่ละชนิด

ดื่มมาก ดื่มน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง?

  1. หากแบ่งแยกตามเพศ ผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว ในขณะที่ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้ว สาเหตุที่ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์ได้น้อยกว่า เพราะมีการกระจายไขมันต่อแอลกอฮอล์น้อยกว่า แอลกอฮอล์ดูดซึมได้เร็วกว่า

  2. กรรมพันธุ์ แต่ละคนจะมีระบบเผาผลาญไม่เหมือนกัน และไม่เท่ากัน อาจมีคนที่คออ่อน และคนคอแข็ง ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนนั้นๆ

  3. โรคประจำตัว หากเป็นโรคตับอยู่แล้ว ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งเพิ่มอันตรายต่อโรคตับให้มากขึ้น

  4. ช่วงเวลารับประทานอาหาร ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง อาจทำให้เมาได้เร็ว และทำร้ายตับได้มากกว่า

ดื่มแอลกอฮอล์เท่าไร เสี่ยงโรคตับ?

หากดื่มแอลกอฮอล์เกิน 4-5 ดริ๊งค์ต่อวันติดต่อกันเกิน 5 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคตับได้ โดยอาการเริ่มแรกอาจพบเพียงไขมันสะสมที่ตับ หากยังดื่มในปริมาณมากๆ เหมือนเดิมติดต่อกันถึง 10 ปี อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคตับแข็งได้

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการเป็นโรคตับแข็งของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย กรรมพันธุ์ ปริมาณที่ดื่ม และพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ อีกด้วย

ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม ให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้

ดื่มไม่เกินปริมาณที่แนะนำ มีประโยชน์อะไรบ้าง?

  1. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

  2. ลดคอเลสเตอรอล

  3. ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

  4. บางรายงานกล่าวว่า ป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกชนิดของแอลกอฮอล์ที่ควรดื่มก็สำคัญ

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ให้ประโยชน์มากที่สุด คือ

  • ไวน์แดง เพราะไวน์แดงมีสารบางชนิดที่มีผลต่อหลอดเลือดหัวใจที่ทำให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น

  • ไวน์ขาว

  • เหล้าต่างๆ

  • เบียร์ ให้ผลเสียต่อร่างกายมากกว่า เพราะเบียร์จะทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ตัวบวม

 

ดื่มมากๆ ทีเดียว VS ดื่มน้อยๆ แต่ทุกวัน

มีรายงานว่า การดื่มมากๆ ทีเดียว ดื่มหนักในปริมาณมากๆ รวดเดียว เป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และตับอักเสบเฉียบพลันได้ ถ้ามีโรคประจำตัวอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ ก็อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคเหล่านั้นได้เช่นกัน ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้

หากดื่มน้อยๆ แต่ทุกวัน และดื่มในปริมาณที่เกินกว่าที่แนะนำ จะทำให้ตับค่อยๆ แย่ลง เกิดพังผืด จนกลายเป็นตับแข็งในอนาคตได้

เคล็ดลับการดื่มแอลกอฮอล์ ให้เสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด

  1. ดื่มตามปริมาณที่กำหนด

  2. ไม่จำเป็นต้องดื่มทุกวัน ถ้าอยากดื่มทุกวันต้องไม่ดื่มมากเกินไป

  3. เลือกดื่มไวน์ มากกว่าเหล้า และเบียร์ เพราะมีประโยชน์มากกว่า

  4. ควรรับประทานอาหารลงท้องก่อนดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะได้ไม่ถูกดูดซึมเร็วเกินไป

  5. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับได้เช่นกัน


สิ่งที่คุณหมออยากเตือน คือ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากรวดเดียว เพราะเสี่ยงตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และตับอักเสบที่ทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว และพบได้บ่อยครั้งในคนไทย หากพบว่าตัวเองเป็นคนดื่มแล้วตัวแดงง่าย แปลว่าร่างกายของเรากำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้ไม่เร็วมากพอ ไม่ควรดื่มซ้ำ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้หากมีสัญญาณของพิษสุราเรื้อรัง และแอลกอฮอล์ลิซึ่ม เช่น ตื่นเช้ามาก็อยากดื่มเลย หรือถ้าไม่ได้ดื่มจะหงุดหงิดงุ่นง่าน โมโหร้าย ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :รายการ S Life By Samitivej

ภาพ :GettyImages

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เหล้าแอลกอฮอล์เบียร์ไวน์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เครื่องดื่มตับโรคตับตับแข็งตับอักเสบตับอ่อนตับอ่อนอักเสบตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันดื่มสุขภาพกายดูแลสุขภาพสุขภาพความเสี่ยงอันตรายโรคโภชนาการ

เบียร์ 1 ขวดมีกี่ดีกรี

3. ภายหลังดื่ม เบียร์ (8 ดีกรี) 1 ขวด หรือ 2 กระป๋อง (630 มิลลิลิตร) ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะอยู่ในช่วงระหว่าง 45-60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น โดยประมาณ แต่ทั้งนี้การจะเกินหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ดื่มเป็นสำคัญ หากผู้ดื่มน้ำหนักอยู่ที่ 60-69 กิโลกรัม ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะอยู่ที่ 50 มิลลิกรัมเปอเซ็นต์ รอด!

กินเหล้ากี่แก้วถึงจะเมา

เบียร์ 2 กระป๋องขึ้นไป, ไวน์ 2 แก้วขึ้นไป, เหล้า 2 แก้วชอตขึ้นไป พบว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดถึงเกณฑ์เมาแล้วขับ โดนตำรวจจับได้จ้า เบียร์ 6-9 กระป๋อง, ไวน์ 6-9 แก้ว, เหล้า 6-9 แก้วชอต ทำให้กลายร่าง เมาเหมียนหมา คลื่นไส้ อ้วก พูดไม่รู้เรื่อง

เบียร์มีกี่ดีกรี

เบียร์ เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่มาก ราวๆ 5% หรือ 5 ดีกรี ไวน์ มีแอลกอฮอล์ราว 10% หรือ 10 ดีกรี เหล้าต่างๆ มีแอลกอฮอล์ราวๆ 35-40% หรือ 35-40 ดีกรี

แอลกอฮอล์ในเหล้า กี่เปอร์เซ็น

ส่วนปริมาณแอลกอฮอล์ของเครื่องดื่มแต่ละชนิดก็มีไม่เท่ากัน โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้ สุราขนาด 30 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 40 ค็อกเทลขนาด 100 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 30 ไวน์ขนาด 100 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 14 และเบียร์ขนาด 285 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 5.