กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บทมีกี่วรรค

    หนึ่งบทมีสองบาท บาทละ 11 คำ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 ทิ้งสัมผัสวรรคที่ 4 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายบาทแรกของบทต่อไป ดังตัวอย่าง

กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บทมีกี่วรรค

กวีอาจเพิ่มความไพเราะของกาพย์ยานีด้วยการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 ก็ได้

วิธีการเขียนกาพย์ยานี 11 ตามกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง ให้คล้องจอง ถูกสัมผัสทุกจุด ได้ทั้งคณะและพยางค์ การอ่านกาพย์ยานี 11 พร้อมทั้งตัวอย่างกาพย์ยานี 11 ต่างๆมากมาย

วันนี้เว็บติวฟรีก็นำเอาความรู้ดีๆมาฝากกันอีกเช่นเคย โดยคราวนี้เป็นเรื่องการเขียน กาพย์ยานี11 ที่หลายๆคนบอกว่าเขียนยากจัง หาคำที่สัมผัสคล้องจอง ให้ลงพอดีๆใน 11 คำนี้ยากเหลือเกิน แต่ถ้าคุณทำตามนี้ล่ะก็ รับรองว่าจะเขียนได้อย่างแน่นอน

การเขียนกาพย์ยานี11

กาพย์ยานี11 คือ การแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” อาจทำให้สารตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษรหรือที่ตัวหนังสือ ที่แท้จริงคือ เครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเอง

กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บทมีกี่วรรค
กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บทมีกี่วรรค

คณะ

กาพย์ยานี ได้ชื่อว่ายานี 11 เพราะ จำนวนพยางค์ใน 2 วรรค หรือ 1 บรรทัด รวมได้ 11 พยางค์

1 บท มี 4 วรรค วรรคหน้า 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์

สัมผัสระหว่างวรรค ใน 1 บท มีสัมผัส 2 คู่ สังเกตจากแผนผังและตัวอย่าง
สัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

พยางค์

พยางค์หรือคำ วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำจึงเรียกว่า “กาพย์ยานี 11” ทั้งบาทเอกและบาทโทมีจำนวนคำเหมือนกัน

สัมผัส

  1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 1 , 2 และคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
  2. คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  3. คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป (สัมผัสระหว่างบท)

การอ่านกาพย์ยานี 11

การอ่านกาพย์ยานี 11 จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้ วรรคแรกมี 5 คำ
วรรคหลังมี 6 คำ การอ่านจึงเว้นเป็นจังหวะตามวรรคคือวรรคหน้าเว้นจังหวะ 2/3 คำ
ส่วนวรรคหลังเว้นจังหวะ 3/3 คำ

ประวัติกาพย์ยานี 11

กาพย์ มีที่มาไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นคำประพันธ์เดิมของไทย หรือรับมาจากชาติอื่น ตำรากาพย์เก่าแก่ที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ กาพย์สารวิลาสินี และ กาพย์คันถะ แต่งเป็นภาษาบาลี ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง แต่สันนิษฐานกันว่าแต่งขึ้นในล้านนาสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา และเปลี่ยนแปลงมาจากกาพย์มคธเป็นกาพย์ไทยโดยบริบูรณ์ ประมาณรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

พัฒนาการของกาพย์ยานี 11

กาพย์ยานีในยุคแรก ๆ บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างบาท และสัมผัสระหว่างบทเท่านั้น สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับ

สมัยอยุธยายุคกลางและยุคปลายได้เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่ 2 แล้ว ต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กวีผู้ชำนาญเชิงกาพย์ ทรงเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 – 3 วรรคแรก และคำที่ 3 – 4 ในวรรคหลัง อย่างเป็นระบบ ทำให้จังหวะอ่านรับกันเพิ่มความไพเราะมากขึ้น และส่งอิทธิพลมาถึงกวีสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สุนทรภู่ ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งที่ประยุกต์กาพย์ยานีของกรุงศรีอยุธยา โดยให้ความสำคัญกับสัมผัสเป็นหลัก มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 รวมทั้งให้ความสำคัญกับน้ำหนักคำและน้ำเสียงด้วย

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกินกาพย์ยานี โดยละทิ้งสัมผัสไปมากแต่มาเล่นน้ำหนักของคำและทรงใช้สัมผัสอักษรแทนสัมผัสระหลายครั้ง และน่าจะเป็นตัวตั้งสำหรับกาพย์ยุคหลังๆ ครั้งที่นายผี (อัศนี พลจันทร) สร้างสรรค์กาพย์ยานีรูปใหม่

ในยุคกึ่งพุทธกาล นายผี หรือ อัศนี พลจันทร ได้สั่นสะเทือนวงการกาพย์ด้วยลีลาเฉพาะตัว โดยทิ้งสัมผัสในไปมาก หันมาใช้สัมผัสอักษรแทน เน้นคำโดดอันให้จังหวะสละสลวยจนคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์กลายๆ

« การแสดงของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลชุมชนหัวดง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ” ชุดประเทศพม่า” ในงานจัดนิทรรศการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2555 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 เมือวันที่ 31 สิงหาคม 2555

กาพย์ยานี๑๑ »

4 ก.ย.

กลอนสี่

Posted 04/09/2012 by anongbuachan in กลอนสี่, ภาษาไทย. ให้ความเห็น

             

กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บทมีกี่วรรค
    กลอนสี่               
กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บทมีกี่วรรค
 

     

 

 

 

กลอนสี่ เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ

ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ คือ

กลอน 4 แบบที่ 1
กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

O O O O           O O O O
O O O O           O O O O
สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)

ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
เหวยเหวยอีจันทรา     ขึ้นหน้าเถียงผัว
อุบาทว์ชาติชั่ว            ไสหัวมึงไป
นางจันทาเถียงเล่า    พระองค์เจ้าหลงไหล
ไล่ตีเมียไย        พระไม่ปรานี
เมียผิดสิ่งใด     พระไล่โบยตี
หรือเป็นกาลี     เหมือนที่ขับไป
— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง
กลอน 4 แบบที่ 2
คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

O O O O    O O O O
O O O O    O O O O
O O O O    O O O O
O O O O    O O O O
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)

กาพย์ยานี ๑๑ ใน ๑ บท มีกี่บาท

กาพย์ยานี ๑๑ เป็นคำประพันธ์ไทย ประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีรูปแบบดังนี้ บทหนึ่งมีสองบาท เรียกว่า บาทเอกและบาทโท บาทละ ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ แบ่งการอ่านได้๒/๓ วรรคหลัง ๖ คำ แบ่งจังหวะ การอ่านได้ ๓/๓ ตัวอย่างการแบ่งจังหวะการอ่านกาพย์ยานี 11.

กาพย์ยานีมีกี่วรรค

กาพย์ยานี ได้ชื่อว่ายานี 11 เพราะ จำนวนพยางค์ใน 2 วรรค หรือ 1 บรรทัด รวมได้ 11 พยางค์ 1 บท มี 4 วรรค วรรคหน้า 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ สัมผัสระหว่างวรรค ใน 1 บท มีสัมผัส 2 คู่ สังเกตจากแผนผังและตัวอย่าง สัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

กาพย์ยานี 11 วรรคหลังมีกี่คำ

1. บทหนึ่งมี2 บาท บาทหนึ่งมี2 วรรค วรรคแรกมี5 คำ วรรคหลังมี6 คำ รวมเปน 11 คำ จึงเรียกวา กาพยยานี11.

กาพย์ฉบัง 1 บทมีกี่วรรค

หนึ่งบทมี 18 คำ 3 วรรค วรรคละ 6 - 4 - 8 คำตามลำดับ บังคับสัมผัสท้ายวรรคแรกกับวรรคที่สอง สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายวรรคแรก ไปยังท้ายวรรคแรกในบทต่อไป ดังตัวอย่าง ๏ เมื่อนั้นเบื้องบั้นเขียวขาว หมอกมัวดินดาว ครวนชรอ่ำชรอื่อลมฝน