การเสด็จประพาสต้นก่อให้เกิดผลดีอย่างไร

การเสด็จประพาสต้น คือ การเสด็จประพาสต้น หมายถึง การเสด็จประพาสต้นต่างประเทศของรัชกาลที่5

Show

 
เพื่อนต้น-ประพาสต้น

 "ประพาสต้น"หมายถึงการเสด็จเยือนราษฎรเป็นการส่วนพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำอย่างเงียบๆ ไม่กระโตกกระตากให้รู้ว่าพวกเขากำลังเข้าเฝ้าเจ้าชีวิต เพื่อจะได้ทรงสนทนาปราศรัยทำความคุ้นเคย และล่วงรู้ทุกข์สุขของราษฎรได้โดยตรง ไม่ผ่านข้าราชการปกครอง บางครั้งเมื่อทรงทราบถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านก็มีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองรับไปจัดการ หรือแม้แต่ทรงเปลี่ยนตัวข้าราชการปกครองเสียเองก็มี ส่วนชาวบ้านเหล่านั้นก็มิได้ทรงละเลยในภายหลัง ทรงขนามนามพวกเขาว่า "เพื่อนต้น" และพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอย่างสม่ำเสมอจนตลอดรัชกาล
"ประพาสต้น" เริ่มต้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๘) เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรด้วยทรงคร่ำเคร่งเหน็ดเหนื่อยกับพระราชภารกิจมากไป แพทย์ทูลให้ทรงพักผ่อนเปลี่ยนอากาศบ้างก็ทรงเห็นด้วย แต่มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปที่บางปะอินเฉยๆ หากทรงใช้เวลานี้ลงเรือเสด็จตามแม่น้ำลำคลองเข้าไปตามหมู่บ้านไม่ให้ชาวบ้านรู้ว่าเป็นใคร ปล่อยให้เข้าใจว่าเป็นเรือขุนนางมหาดเล็กตามเสด็จ ต่อจากนั้นก็ทรงใช้วิธีนี้เสด็จไปตามหัวเมืองต่างๆ แวะเยี่ยมเยียนราษฎรจนถึงที่อยู่เป็นประจำ
ธรรมเนียมนี้กลายมาเป็นชื่อว่า" ประพาสต้น" แต่คำนี้มาจากอะไรไม่สามารถชี้ชัดได้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงที่มาว่า "...ไปจนถึงวัดเพลงจึงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจวได้ลำ ๑ พระราชทานชื่อเรือว่า เรือต้น ได้ยินรับสั่งถามให้แปลกันว่า เรือต้น แปลว่าอะไร บางท่านแปลว่าเรือเครื่องต้น บางท่านแปลว่าเรือทรง อย่างในเห่เรือว่า ' ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย' ดังนี้ แต่บางท่านที่แปลเอาตื้นๆว่าหลวงนายศักดิ์เป็นคนคุมเครื่องมหาดเล็กตามเสด็จ หลวงนายศักดิ์ชื่ออ้น รับสั่งเรียกว่าตาอ้น ตาอ้น เสมอ คำว่า เรือต้นนี้ก็จะแปลว่าเรือตาอ้นนั้นเอง แปลชื่อเรือต้นเป็นหลายอย่างดังนี้ อย่างไรจะถูกฉันก็ไม่ทราบแน่ แต่วันนี้กว่าจะเสด็จกลับมาถึงเมืองราชบุรีเกือบยาม๑ ด้วยต้องทวนน้ำเชี่ยวมาก เหนื่อยบอบมาตามกัน เริ่มเรียกการประพาสวันนี้ว่าประพาสต้น เลยเป็นมูลเหตุที่เรียกการประพาสไปรเวตในวันหลังๆว่าประพาสต้นต่อมา" จดหมายเหตุของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เล่าเรื่องเหล่านี้ไว้น่าสนุก ทรงเล่าถึงหลายบ้านที่เสด็จไปเยี่ยมโดยเจ้าของบ้านก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ประทับเสวยร่วมวงกับเจ้าของบ้านอย่างกันเอง เจ้านายที่ตามเสด็จอย่างกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เคยถูกเมียเจ้าของบ้านเอ็ดเพราะทรงใช้จวักตักแกงขึ้นมาชิมโดยไม่ทรงทราบธรรมเนียมว่าเขาถือกัน สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเสด็จพลาดตกท้องร่องสวนวัดบางสามฟกช้ำดำเขียว เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ถูกหมาเฝ้าสวนริมคลองสองพี่น้องกัดเอา
ระหว่างเสด็จประพาส เจ้านายและขุนนางตามเสด็จก็ช่วยกันทำครัวเองไปตามมีตามเกิด หากมื้อไหนไม่ได้แวะบ้านใคร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกรมพระสมมติอมรพันธุ์ทรงทำหน้าที่คนล้างถ้วยชาม เช่นเดียวกับกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)และกรมหลวงนครราชสีมา ทุกพระองค์ทรงใช้ชีวิตกันอย่างสามัญชนทั่วไปเวลาเสด็จประพาสต้น
เจ้าของบ้านที่เสด็จไปเยือนนี้บางบ้านก็ไม่รู้จักพระเจ้าแผ่นดิน บางบ้านก็จำได้ อย่างบ้านยายผึ้งที่หลักหกใกล้คลองดำเนินสะดวก ตัวยายผึ้งไม่รู้ว่าใคร เห็นเรือก็เข้าใจว่าเป็นเรือขุนนางจึงร้องเชิญให้แวะพัก แล้วเลยมีน้ำใจหาข้าวปลามาเลี้ยง แต่นายฮวดลูกชายวัยหนุ่มของยายผึ้งจำได้จากพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งไว้บูชาก็เลยลงกราบ เป็นอันว่าความแตก จึงพระราชทานเงินเป็นค่าตอบแทนให้หลายเท่าของราคากับข้าว ส่วนนายฮวดภายหลังเรียกกันว่า "นายฮวดมหาดเล็ก" ได้ชื่อว่าเป็นคนหนุ่มเฉลียวฉลาดได้เข้าเฝ้าในพระนครอีกหลายครั้ง และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านในละแวกนั้นต่อมา
ไม่ใช่ว่าทุกบ้านจำพระเจ้าอยู่หัวได้ อย่างบ้านของนายช้างและอำแดงพลับ เป็นคหบดีมีหน้ามีตาอยู่ที่บางหลวงอ้ายเอียง เจ้าของบ้านต้อนรับแข็งขันแสดงอัธยาศัยดี มานั่งเคียงพระเจ้าอยู่หัวด้วยเข้าใจว่าเป็นข้าราชการคนหนึ่งจากเมืองหลวง จนเสด็จกลับไปแล้วถึงมารู้ในภายหลัง รีบหอบลูกเมียเครือญาติทั้งหมดมาตามหาถึงในพระนคร เพื่อขอขมาเจ้านายทั้งหมดที่เคยล่วงเกินโดยไม่รู้ความจริง หนึ่งร้อยกว่าปีให้หลัง บ้านของนายช้างและอำแดงพลับก็ยังตั้งอยู่ที่เดิม ลูกหลานยังจดจำเรื่องราวในอดีตได้จนทุกวันนี้
บรรดา "เพื่อนต้น" ที่ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าเฝ้าได้อีกหลายครั้ง ณ เรือนต้นใกล้พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นเรือนไทยบรรยากาศสบายๆ ไร้พิธีรีตอง แบบเดียวกับชีวิตที่พวกเขาคุ้นเคย เมื่อเสด็จกลับจากยุโรปใน ร.ศ. ๑๒๖ ก็ทรงมีไม้เท้าของนอกเป็นของฝากพระราชทานให้ทั่วทุกคน พวก " เพื่อนต้น" จึงมีไม้เท้าพระราชทานเป็นดังเครื่องยศสำหรับถือเมื่อเข้าเฝ้าในกรุงเทพฯ และเฝ้าตามหัวเมืองเวลาเสด็จประพาสไม่ว่าที่ใด
เมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกเพื่อนต้นเข้ามาทำบุญให้ทานในงานพระบรมศพ และเข้าถวายพระเพลิงเช่นเดียวกับข้าราชการอื่นๆ นอกจากนี้ พระราชทานเครื่องประดับไม้เท้าสลักพระนาม จ.ป.ร. ให้ติดไว้เป็นที่ระลึก ทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าได้ต่อไป เช่นเดียวกับเมื่อครั้งแผ่นดินก่อนทุกประการ 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในสยาม ภาพชุดนี้ได้บอกเล่าถึงการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์อย่างใกล้ชิด

ราษฎรพายเรือมารอรับเสด็จฯ (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา (๒๓๙๔-๒๔๑๑) วิถีชีวิตของชาวสยามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่เพียงแต่เฉพาะสามัญชน หากรวมถึงพระมหากษัตริย์และบรรดาเจ้านายพระราชวงศ์ด้วย

นายคนังปีนต้นไม้ (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ความสนใจที่มีต่อวัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ ทำให้แนวคิดและวิถีแห่งกษัตริย์มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่เป็นสมมติเทพอันสูงส่ง

เจ้านายฝ่ายหน้า (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระราชานุกิจต่างๆ เป็นไปตามแบบแผนโบราณราชประเพณีอย่างเคร่งครัด ก็มีความผ่อนคลายลง มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น

กระบวนเรือเสด็จประพาสต้น (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องยากที่พระราชวงศ์หรือพระบรมศานุวงศ์จะเสด็จประพาสหรือแปรพระราชฐานออกนอกพระนคร

เรือพระที่นั่งสุวรรณวิจิก (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

อย่างไรก็ต่าม ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เริ่มเสด็จประพาสและแปรพระราชฐานไปตามที่ต่างๆ เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ

ตำหนักพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

มีการสร้างพระตำหนักหลายแห่งนอกพระนครเพื่อเป็นที่ประทับ เช่น พระนครคีรี หรือเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี และพระราชวังบางปะอิน ที่พระนครศรีอยุธยา

บันไดทางขึ้นตำหนัก (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ศาลาโถง ๕ ยอด (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ราษฎรรอรับเสด็จฯ (1902/1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ก็ยิ่งเห็นชัดเจนมากขึ้น ด้วยพระองค์ได้เสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ พร้อมเหล่าเจ้านายพระราชวงศ์

ทหารเรือลำเลียงสัมภาระ (1905) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

“เสด็จประพาสต้น” คือเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์โดยมิให้ใครรู้จัก เพื่อจะได้ทรงใกล้ชิดและทราบทุกข์สุขที่แท้จริงของชาวบ้าน เป็นการเสด็จประพาสที่ทรงสนุกสนานสำราญพระราชหฤทัย ราษฎรมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าเหนือหัวที่ตนเคารพเทิดทูนอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองอย่างที่สุด

พลับพลาที่เกาะสีชัง (1892/1893) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

เรากำลังร่วมเดินทางไปในการเสด็จประพาสในครั้งกระนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่เกาะสีชัง ที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและบรรดาเจ้านายผู้โดยเสด็จ ประทับทรงพระเกษมสำราญท่ามกลางแสงแดดและอายทะเล

พระมหาธาตุ วัดเจดีย์เจ็ดยอด (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

หรือที่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง รวมทั้งโปรดให้จัดการแสดงละครโดยให้เจ้านายรับบทบาทต่างๆ

พระพุทธรูปในวัดพระแก้ว (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระพุทธรูป วัดพระแก้ว ในเขตเมืองโบราณไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร

บ้านหูกวาง (1906) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

และที่ นครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงแสดงเป็นเจ้าฟ้าเพชร (กลาง) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เป็นเจ้าฟ้าพร และพระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เดชะคุปต์) เป็นนายผล มหาดเล็ก (หน้า) เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙

ภาพพระองค์เจ้าอุรุพงศ์ (1902/1905) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ในช่วงปีที่เสด็จประพาสต้นทั้งสองครั้ง (พ.ศ. ๒๔๗๗ และ พ.ศ. ๒๔๔๙) และเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๕๐) อันเป็นช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงประสบกับความโทมนัสแสนสาหัส ด้วยทรงสูญเสียพระราชโอรสและพระราชธิดาหลายพระองค์ รวมถึง พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช

พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (1909) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช ประสูติในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสผู้ทรงสนิทเสน่หาและใกล้ชิดประดุจ “ธารพระกร” ซึ่งจะตามเสด็จพระองค์ไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จประพาสต้น หรือประพาสต่างประเทศ

พระเมรุงานพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ (1910) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช สิ้นพระชนม์ ด้วยทรงเป็นพระราชโอรสผู้ทรงสนิทเสน่หา ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงประสบกับความโทมนัสแสนสาหัส

พระเมรุงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ที่สวนมิสกวัน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒

ทุ่งเขาพนมขวด (1909) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

ทรงพระวิปโยคอาดูรถึงกับออกพระโอษฐ์ว่า “... จะทนอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ไหวด้วยรู้สึกไม่สบายมาก จึงจะออกไปอยู่เพชร สบายจึงจะกลับ...”

ถ้ำเขาหลวง (1909) โดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติBangkok Art and Culture Centre

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตหนึ่งปีหลังจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษรัชสมโภช พระราชโอรสสิ้นพระชนม์

เชิญชมนิทรรศการ เพื่อเพลิดเพลินไปกับ ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เครดิต: เรื่องราว

กระทรวงวัฒนธรรม
กรมศิลปากร
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
มูลนิธิสิริวัฒนภักดี
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ
Wet Plate and Alternative Process Thailand

เครดิต: สื่อทั้งหมด

เรื่องราวที่นำเสนอบางเรื่องเขียนขึ้นโดยบุคคลหรือหน่วยงานอิสระภายนอก ซึ่งอาจแสดงมุมมองที่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ที่อนุเคราะห์รูปภาพตามรายชื่อด้านล่าง

เรื่องราวจาก Bangkok Art and Culture Centre

การเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 มีผลดีอย่างไร

นอกจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น การเสด็จประพาสต้นยังทำให้เห็นความมีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเต็มใจต้อนรับผู้มาเยือนเห็นได้ชัดจากผู้ที่ถวายเลี้ยงพระยาหารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งๆที่ไม่รู้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นความจงรักภักดีของประชาชนต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเสด็จประพาสต้นมีจุดประสงค์เพื่ออะไร

การเสด็จประพาสต้น หรือภูมิหลังการเสด็จประพาสส่วนพระองค์โดยไม่มีหมายก าหนดการ ล่วงหน้า วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อทรงตรวจเยี่ยมราษฎรส่วนพระองค์ การเสด็จประพาสส่วนพระองค์ ของพระมหากษัตริย์ทรงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา แต่ค าว่า การเสด็จประพาสต้น เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

อะไรคือประโยชน์สำคัญที่สุดที่ได้รับจากการเสด็จประพาสต้น

การเสด็จประพาสต้น เป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน การประพาสต้นเพื่อสอดส่องทุกข์สุขของราษฎรนี้มิได้มีหมายกำหนดการ บางคราวทรงปลอมแปลงพระองค์เป็นสามัญชนเข้าไปปะปนกับราษฎร เพื่อที่จะได้ประจักษ์ในความเป็นอยู่ของราษฎรของพระองค์อย่างใกล้ชิดทะให้พระองค์ได้พบความจริงต่างๆ และทรงนำไปแก้ไขในทุกๆ เรื่อง ...

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อให้เกิดผลดีต่อชาติบ้านเมืองอย่างไร

สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้น นอกเหนือไปจากการเรียนรู้ความเจริญก้าวหน้าของโลกตะวันตกเพื่อนำมาปรับปรุงบ้านเมืองแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้าง “ภาพลักษณ์” ของ “ความศิวิไลซ์” ของไทยในการรับรู้ของมหาอำนาจและสาธารณชนในประเทศชาติตะวันตก แม้ว่าในทางการเจรจาอาจจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเมือง ...

การเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 มีผลดีอย่างไร การเสด็จประพาสต้นมีจุดประสงค์เพื่ออะไร อะไรคือประโยชน์สำคัญที่สุดที่ได้รับจากการเสด็จประพาสต้น การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อให้เกิดผลดีต่อชาติบ้านเมืองอย่างไร การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 และการเสด็จประพาสต้นก่อให้เกิดผลต่อชาติไทยอย่างไร ข้อใดคือลักษณะการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ในการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ราษฎรส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนในขบวนเสด็จเป็นใคร สาเหตุสําคัญของการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 คืออะไร เพื่อนต้น ในที่นี้มีความหมายว่าอย่างไร การเสด็จประพาสหัวเมืองของรัชกาลที่ 5 เพื่อจุดประสงค์ใด สาเหตุสำคัญของการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 คืออะไร ประพาสต้น หมายถึง