องค์ประกอบของข้อมูลในการแปลตีความ มีอะไรบ้าง

�����ҹ��С���Ť��������Ἱ���

�����ҹ����Ť������¢ͧἹ���������� ���繵�ͧ�����������ͧ�鹷����ͧ���Сͺ�ͧἹ�����зӤ����������١��ͧ���¡�͹ ���ͷ����Ť���������������ª��ҡἹ��������ҧ����ó� ��੾��Ἱ������Ի����Ẻ�����鹫����Ἱ����鹰ҹ� ������������������š� �Ѩ�غѹ�ѡ�Ԫҡ����Դ��
���к�����ѭ�ѡɳ������ҡ�㹡�á�˹����˹觠 �蹠 �ԡѴ������ʵ�� (Geographic� Coordinates)� ���к���ҧ�ԧ����Ǿ���� ���˹觢ͧ�ش� � ����鹼�Ǿ�������ö� ��˹����¤���еԨٴ� (Latitude)� ���ͷ�����¡��Ҡ ��鹢�ҹ� �������ͧ�Ԩٴ� (Longitude) ����ͷ�����¡��Ҡ ����������¹
Ἱ����ʴ��ѡɳ����Ի���Ƞ �͡�ҡ�ʴ�����Һ�֧���˹觷���駠 ���зҧ� ��з�ȷҧ����Ӥѭ�ͧἹ��誹Դ����͠ �ʴ������٧��Ӡ ��з�Ǵ�çẺ��ҧ � �ͧ���Ի���Ƞ ����ʴ��ѡɳР ���Ի���Ⱥ�Ἱ��� �������Ըՠ ��
1.� ᶺ��� ��ᶺ��ᴧ�����٧��Ӣͧ���Ի���ȷ��ᵡ��ҧ�ѹ� �蹠 ����¹�ʴ�� ��鹷���Һ������ͧ���֧������ʴ�����dz����繷���٧� �չ�ӵ���繺���dz���������
2.� ��� �����¹�ҹ�鹵�������ҹ�鹠 ������ѡɳз�����ʧ��ͧ�Ҩҡ�ҧ��ҹ˹�� ����繷���٧�ѹ� �ѡɳ��Ҩ����� ����繷���Ҵ�Ҩкҧ� �Ը���¹�Ҩз����Թ��ҡ�ö֧�����٧�������¢��
3.� ����Ҵ��� �繡����¹�����������ʴ������٧��Ӣͧ���Ի���Ƞ �ѡɳ���鹨���������� �ҡ��ҹ�ѹ� ����˹���Ъ�ǧ��ҧ�ͧ����դ������µ�͡���ʴ���鹷�� ��͠ ������˹����§��͹��ҧ�Դ �ʴ����Ի���ȷ���٧�ѹ� �����ҧ�ѹ�ʴ�����繷���Ҵ
4.� Ἱ����Ҿ�ٹ� Ἱ��誹Դ��������Сͺ�Ѻᶺ�ՠ �з��������ѡɳ����Ի������Ѵਹ��觢��
5.� ��鹪�鹤����٧� ���������صԷ���ҡ仵����鹼���š� �������٧�ҡ�дѺ��ӷ��Żҹ��ҧ� ��ҡѹ� ��鹪�鹤����٧������鹨֧�ʴ��ѡɳ�����ٻ��ҧ�ͧ��鹷�� �� �дѺ�����٧˹����ҹ��

Ref : http://ebook.nfe.go.th/ebook/html/011/112.htm �13/02/2008

เนื่องจากการแปลเป็นการถ่ายทอดความหมาย หัวใจของกระบวนการคือการตีความ หรือการแยกความหมายออกมาจากองค์ประกอบทางภาษาที่ห่อหุ้มความหมายนั้นไว้ เราอาจมองว่าส่วนที่เป็นรูปธรรมของการสื่อสาร (คำ โครงสร้าง เสียง ฯลฯ) เป็นสิ่งห่อหุ้มหรือเป็นพาหะที่จะนำความหมายจากผู้พูดไปยังผู้ฟัง หน้าที่ของรูปธรรมในส่วนนี้คือการนำพา เมื่อเรารับข้อความมา ไม่ว่าจะด้วยการอ่านหรือการฟัง ข้อความนั้นจะเดินทางมาโดยบรรจุอยู่ในหีบห่อที่เป็นรูปธรรม ในตอนแรกที่รับหีบห่อมาเราไม่ทราบว่ามีอะไรบรรจุอยู่ภายใน แต่เราสามารถใช้ข้อมูลเดิมที่เรามีประกอบการคิดวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อความนั้น หากเราประสบความสำเร็จในการคิดวิเคราะห์จนเกิดความเข้าใจเท่ากับว่าเราสามารถแกะบรรจุภัณฑ์ออกได้อย่างหมดจด เหลือเพียงความหมายซึ่งเป็นเนื้อใน แต่หากเราแกะบรรจุภัณฑ์ไม่เรียบร้อย (อาจเพราะเครื่องมือไม่ดี-ข้อมูลไม่พอ หรือขาดทักษะการคิดวิเคราะห์) เนื้อในที่เราได้ก็จะขาดความสมบูรณ์และมีความผิดเพี้ยนไปจากเดิมเมื่อนำไปถ่ายทอดต่อ


องค์ประกอบของข้อมูลในการแปลตีความ มีอะไรบ้าง

การตีความคือการพิจารณาต้นฉบับเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เป็นการแยกส่วนที่เป็นนามธรรมของภาษาออกจากส่วนที่เป็นรูปธรรมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจแบ่งข้อมูลที่ใช้ออกเป็นสองกลุ่ม(Seleskovitch, 1978)คือ


1. ข้อมูลด้านภาษา เช่นข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของคำ โครงสร้างประโยค การออกเสียง

2. ข้อมูลด้านเนื้อหา เช่นข้อมูลทางสังคม ภูมิศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่ผู้พูดกล่าวถึง


หากเปรียบการตีความเป็นการถอดรหัส เครื่องมือที่ใช้ถอดรหัสคือข้อมูลและระบบปฏิบัติการที่ควบคุมการใช้เครื่องมือนั้นคือการคิดวิเคราะห์ของผู้แปล ความคิดที่ว่าแค่รู้ภาษาแล้วจะแปลได้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการแปลคือการถ่ายทอดข้ามภาษาและวัฒนธรรมซึ่งต้องใช้ทักษะอื่นนอกเหนือไปจากความสามารถทางภาษาเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ล่ามใช้ในการตีความ (ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านภาษาหรือเนื้อหา) ยังอาจแบ่งได้เป็น


1. ข้อมูลเก่า คือข้อมูลที่ล่ามรู้อยู่เดิม อาจเป็นข้อมูลที่รู้มานานแล้วหรือเป็นข้อมูลที่เพิ่งไปค้นหามาเพื่อ เตรียมตัวแปลก็ได้

2. ข้อมูลใหม่ คือข้อมูลที่ล่ามรับฟังขณะแปลและนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเก่า


เราอาจพิจารณามิติของข้อมูลที่ใช้ในการตีความได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้


องค์ประกอบของข้อมูลในการแปลตีความ มีอะไรบ้าง


แผนภูมิ 1 ข้อมูลที่ใช้ในการตีความ


กระบวนการตีความเริ่มขึ้นเมื่อล่ามรับฟังต้นฉบับและนำข้อมูลใหม่ที่ได้ยินขณะนั้นมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเดิมที่ตนมีอยู่หรือเตรียมมา ในสถานการณ์นี้สิ่งที่ล่ามควบคุมได้คือข้อมูลเก่าที่ตนมี สิ่งที่ล่ามควบคุมไม่ได้คือข้อมูลใหม่ที่ผู้พูดนำเสนอ ด้วยเหตุนี้การเตรียมตัวด้วยการหาข้อมูล (ทั้งด้านภาษาและเนื้อหา) ล่วงหน้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถตีความได้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ฉับไวและทันการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการแปล การรับข้อมูลใหม่เข้ามาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจเพิ่มต่อยอดขึ้นมาจากความเข้าใจเดิม หากวิเคราะห์สำเร็จข้อมูลใหม่จะสามารถประสานกับข้อมูลเดิมเกิดเป็นความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในเนื้อหานั้น ซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นข้อมูลเก่าที่ล่ามจะสามารถนำมาใช้รองรับการวิเคราะห์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อ ๆ ไปด้วย หมายความว่ายิ่งเรามีข้อมูล(ทั้งด้านภาษาและเนื้อหา)เกี่ยวกับเรื่องที่แปลมากเท่าไร โอกาสที่จะแปลได้สำเร็จจะมีมากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะมีพื้นฐาน(ข้อมูลเก่า)ที่มั่นคงยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ กระบวนการตีความจึงเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องที่ล่ามจะนำข้อมูลใหม่มาวิเคราะห์บนพื้นฐานของข้อมูลเก่าให้เกิดความเข้าใจตลอดเวลา


เมื่อเข้าใจแล้วข้อมูลใหม่นั้นจะไปอยู่รวมกับข้อมูลเก่า(กว่า)กลายเป็นความเข้าใจที่เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่องในเนื้อหาที่รับฟัง ดังแผนภูมิด้านล่าง และเป็นอย่างนี้ไปตลอดกระบวนการแปล


องค์ประกอบของข้อมูลในการแปลตีความ มีอะไรบ้าง


แผนภูมิ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลในการตีความ


ในแง่นี้เราจึงอาจกล่าวได้ว่าการตีความเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเก็บสะสมไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์อีกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ฐานข้อมูลของผู้สะสมมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมีประโยชน์ใช้งานเพิ่มขึ้นตามขนาด


เอกสารอ้างอิง


Seleskovitch, D. (1978). Interpreting for International Conferences. (Eric Norman McMillan & Stephanie Dailey, Trans.). Washington DC: Pen & Booth.