การเขียนตําแหน่งทางวิชาการ ครู

มาตฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

January 30, 2021January 30, 2021 ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด ว3/2564, วิทยฐานะ

มาตฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว3 ลงวันที่ 26 มกราคม 2564)

การเขียนตําแหน่งทางวิชาการ ครู
การเขียนตําแหน่งทางวิชาการ ครู

โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กำหนดให้ ก.ค.ศ.จัดทำมาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐนะ และมาตรฐานตำแหน่งทางวิชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้เป็นบรรทัดฐานทุกตำแหน่ง ทุกวิทยฐานะ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานอาศัยตามความในมาตรา 9 (4) และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ก.ค.ศ. จึงกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ ให้เหมาะสมเพื่อยกระดับคุณภาพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในอันที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้น ไว้ดังนี้

  • วิทยฐานะ
วิทยฐานะครู มีอะไร? บ้างมาดูกัน

08/11/2021 วันที่แก้ไข: 08/11/2021

15028

1

Facebook

Twitter

Email

พิมพ์

LINE

Copy URL

การเขียนตําแหน่งทางวิชาการ ครู

วิทยฐานะ ครู มีอะไร? บ้างมาดูกัน

ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา

ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่

  1. ครูผู้ช่วย ในราชการส่วนท้องถิ่นมีตำแหน่ง ครูผู้ดูแลเด็ก (หรือ ครู ผดด.) และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (หรือ หน.ศผด.) ซึ่งเทียบเท่าครูผู้ช่วย
  2. ครู
  3. อาจารย์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  5. รองศาสตราจารย์
  6. ศาสตราจารย์

ทั้งนี้ตำแหน่งตามข้อ 3-6 จะมีได้เฉพาะในสถานศึกษาที่สอนระดับปริญญา

ครูตามข้อ 1 และ 2 แบ่งระดับอัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ดังนี้

  • ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม ปัจจุบันการบรรจุข้าราชการครูมิได้เริ่มที่ ซี 3-4 ดังแต่ก่อน)
  • ครู คศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 2 ระดับ 6)
  • ครู คศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ แต่งตั้งจากครู คศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม)
  • ครู คศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม)
  • ครู คศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 หรือ คศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 เดิม)
  • ครู คศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าระดับ 10 ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน โดยได้รับการขยายระดับให้สูงขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในมาตราที่ 39 ให้เทียบเท่าอธิบดีกรม หรือ รองเลขาธิการ)

ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา

ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่

  1. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
  2. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
  3. รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  4. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  5. ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

บุคลากรทางการศึกษาอื่น

ประกอบด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!

[รวม: 2 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

  • แท็ก
  • วิทยฐานะ
  • วิทยฐานะครู

Facebook

Twitter

Email

พิมพ์

LINE

Copy URL

บทความก่อนหน้านี้สรุปลักษณะการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย

บทความถัดไปเงินวิทยฐานะครู และเงินประจำตำแหน่งครู

การศึกษาไทย

เคยสังสัยไหมครับว่า ค.ส. ย่อมาจากคำว่าอะไร และครู ค.ศ. 3 จะแปลเป็นภาอังกฤาว่าอย่างไร และ พนักงานราชการ ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า "Government Employee" ใช่หรือไม่

ลองอ่านที่ผมค้นคว้า/เรียบเรียงมาสิครับแล้วจะกระจ่าง มากขึ้น

ผมอ้างอิงจากแหล่ง 3 แหล่ง คือ

1. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

2. ตามการระบุถึงใน พรบ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุลลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

3. พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557

ตามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551นั้น ได้มีการระบุถึงตำแหน่งของข้าราชการที่ทำงานสายวิชาการ (Knowledge Worker Positions) เอาไว้พอสมควร ทว่าในส่วนของข้าราชการครูนั้น เราควรยึดเอาตาม พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 นะครับ

คำว่า ค.ศ. คือ คำย่อของ "ครูและบุคลากรทางการศึกษา" ตาม พระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 (Government Teachers and Education Personnel Act B.E. 2547 )

ครูอัตราจ้าง (Contract Teachers)

ครูผู้ช่วย (Assistant Teachers)

ครู ค.ศ 1 (Practitioner Level) หรือ ครูระดับปฏิบัติการ (K 1 Teachers)

ครูชำนาญการ (ค.ศ. 2) Professional Level Teachers (K 2 Teachers)

ครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ. 3) Senior Professional Level Teachers (K 3 Teachers)

ครูเชี่ยวชาญ (ค.ศ. 4) Expert Level Teachers (K 4 Teachers)

ครูเชียวชาญพิเศษ (ค.ศ. 5) Advisory Level Teachers (K 5 Teachers)

ส่วน พนักงานราชการ ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับคำแปลที่ว่า เป็น "government employee"

Would you like to be a government employee?

ส่วนครูผู้ช่วยคือ ครูประเภทหนึ่งครับ ผมและหลาย ๆ คน ขอแปลว่า assistant teacher 

ซึ่งจะแตกต่างจาก คำว่า teaching assistant หรือ teacher's aide (TA) บางครั้งฝรั่งจะใช้คำว่า education assistant (EA) แปลง่าย ๆ ว่า ผู้ช่วยครู ครับ ยังไม่ได้เป็นครู