ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019)) คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  โดยวันที่ 1  มิถุนายน 2565 เป็นวันที่ พ.ร.บ. PDPA นี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับ


เหตุผลในการประกาศใช้ PDPA เนื่องมาจากเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ช่องทางสื่อสารต่างๆ มีหลากหลายขึ้น ทำให้การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็นำมาซึ่งความเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูล ตลอดจนสามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ด้วย จึงต้องมีกฎหมาย PDPA ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่รวมถึงการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

ข้อมูลส่วนบุคคล

คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม และข้อมูลนิติบุคคล ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ - นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ด้วย เช่น ข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ได้แก่

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) 
  • สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)
  • สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)
  • สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)
  • สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล (Right to erasure (also known as right to be forgotten) 
  • สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)
  • สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification) 


ดูรายละเอียดในแต่ละประเด็นได้ที่: PDPA ในฐานะเจ้าของข้อมูล เรามีสิทธิทำอะไรได้บ้าง?

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลที่ข้อมูลระบุไปถึง
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล สามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้

  • ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูส่วนบุคคล
  • จัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ การศึกษาวิจัยหรือการจัดทำสถิติ
  • ป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  • จำเป็นเพื่อปฏิบัติกฎหมาย หรือสัญญา
  • จำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลอื่น
  • จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ (Cross-border Personal Data Transfer)

ประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศ ที่รับข้อมูลส่วนบุคลต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ที่เพียงพอ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย/สัญญา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญเท่านั้น

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA

เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ (PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ การให้ข้อมูลแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนให้ข้อมูล เช่นการให้ข้อมูลเพื่อจัดส่งสินค้า หากมีการขอข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับการจัดส่ง เจ้าของข้อมูลก็มีสิทธิปฏิเสธการให้ข้อมูลนั้น และในส่วนของผู้เก็บข้อมูล ก็ต้องรู้ขอบเขตในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีระบบในการควบคุม/ยืนยันตัวตนในการเข้าถึงข้อมูล และจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายองค์กรเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม เพราะหากไม่ทำตาม PDPA อาจได้รับโทษดังนี้

เชื่อว่าธุรกิจตื่นตัวกับ “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) A.D. 2019 ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2021 กับพอสมควร เพราะโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนั้น อาจถูกปรับตั้งแต่ 5 แสนถึง 3 ล้านบาท ถูกจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่มาตราที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ทำตาม

นี่ยังไม่พูดถึงค่าสินไหมทดแทนที่เจ้าของข้อมูลส่วนตัวสามารถเรียกได้ตามที่ศาลเห็นสมควรด้วยนะ

ส่วนฝ่ายเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แน่นอนว่าอาจเป็นผู้เสียหายได้ หลักๆคือถ้าข้อมูลส่วนตัวถูกผู้ควบคุมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนตัว เอาไปใช้ หรือเปิดเผยโดยผิดวัตถุประสงค์ หรือไม่ได้รับความยินยอม เจ้าของข้อมูลส่วนตัวย่อมได้รับความเสียหาย (แต่แน่นอนว่ามีข้อยกเว้นที่ผู้ควบคุมหรือประมวลข้อมูลไม่ต้องรับผิดเช่นกัน)

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

จริงๆ พรบ.นี้มีรายละเอียดให้คุยอีกเยอะ และ พรบ.นี้ก็ไม่ใช่กฎหมายเดียวที่เอาไว้คุ้มครองข้อมูลส่วนตัว กฎหมายนี้ระบุชัดเจนถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนตัว เช่นผู้บริโภคสินค้าหรือบริการ แม่แต่คนเล่นอินเตอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ หน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนตัวและหน้าที่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนตัว เช่นเจ้าของเว็บไซต์ที่มีการติดตามพฤติกรรมของคนเข้าเว็บไซต์ของตัวเอง ระวางโทษต่างๆถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ทำตาม รวมถึงฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.นี้

แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายที่ว่ากันก่อน

ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร? มีอะไรบ้างที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล?

ตาม PDPA 2019 ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

และนี่คือตัวอย่างของข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล

  1. ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น
  2. เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่นๆที่ที่ข้อมูลส่วนบุคคล)
  3. ที่อยู่ อีเมล์ โทรศัพท์
  4. ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP Address, MAC Address, Cookie ID
  5. ข้อมูลทางชีวมิติ (Bio-metric) ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ ฟิลม์เอ็กซ์เรย์ ข้อมูลสแกนม่านตา ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง ข้อมูลพันธุกรรม
  6. ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่นทะเบียนรถ โฉนดที่ดิน
  7. ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิด สถานที่เกิด เชื้อชาติ สัญชาติ น้ำหนัก ส่วนสูง ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการจ้างงาน
  8. ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิลม์
  9. ข้อมูลการประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง
  10. ข้อมูลบันทึกต่างๆที่ใช้ติดตามสตรวจสอบกิจกรรมต่างๆของบุคคล เช่น Log Files
  11. ข้อมูลมที่ใช้ค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเตอร์เน็ต

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

ข้อมูลแบบไหนที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล?

ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ถ้าข้อมูลนั้นใช้ระบุตัวบุคคลไม่ได้ ก็ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลตาม พรบ.นี้ เช่น

  1. เลขทะเบียบบริษัท
  2. ข้อมูลสำหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์ แฟกซ์ที่ทำงาน ที่อยู่สำนักงาน อีเมลที่ใช้ทำงาน อีเมล์บริษัท เช่น [email protected]
  3. ข้อมูลนิรนาม ข้อมูลแฝง ข้อมูลที่ถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีกโดยวิธีทางเทคนิค
  4. ข้อมูลผู้ตาย
  5. ข้อมูลนิติบุคคล

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

ข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับเราเจ้าของข้อมูลเป็นหลัก

ข้อมูลต่อไปนี้ ถ้าสามารถบอกอ้อมๆได้ว่าเป็นตัวเรา ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวตามกฎหมาย PDPA 2019 ได้เหมือนกัน เช่น

  1. ชาติพันธุ์ เผ่าพันธุ์
  2. เพศ
  3. กลุ่ม สังกัด กลุ่มประชากร
  4. ครอบครัว ญาติมิตร
  5. ลักษณะทางกายภาพ
  6. ความรู้ ความเชื่อ
  7. ข้อมูล หรือสิ่งอ้างอิง การตั้งค่าอ้างอิง (Preference)
  8. ทรัพย์สิน กรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน
  9. สุขภาพร่างกาย จิตใจ
  10. สถานะทางการเงิน
  11. อาชีพ
  12. พฆติกรรมส่วนบุคคล
  13. กิจกรรม การสมาคม
  14. กีฬา นันทนาการ
  15. บุคลิกภาพ
  16. สมาชิกกลุ่ม ชมรม กิจกรรม

ข้อใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

อ่านถึงตรงนี้ อยากให้รู้ว่ากฎหมาย PDPA 2019 คุ้มครองข้อมูลของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าเป็นข้อมูลคนที่เสียชีวิตแล้ว กฎหมายนี้ไม่คุ้มครองนะ ต้องไปดูกฎหมายอื่น ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายนี้ คนหรือนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล (Data Controller) ก็ต้องมีหน้าที่ปฏิบัตตามกฎหมายนี้ต่อไป

แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก: หนังสือเรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection) โดย ดร. สุพิศ ปราณีตพลกรัง หน้า 27 – 30