ข้อใดเป็นประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1.  ความหมายและความสำคัญ              การประเมินผล หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผลของการดำเนินงาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่าได้ผลตามที่กำหนดไว้เพียงใด มีบทบาทความสำคัญในการให้ข้อมูลด้านความคืบหน้า ชี้ปัญหา และข้อขัดข้องด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการหรือการบริหารโครงการ บทบาทที่กล่าวนี้จะให้ประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารได้ดีหากได้รับการสนับสนุนให้มีระบบการติดตามและประเมินผลขึ้นในองค์กรเพราะการประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านการจัดการ 2.  แนวทางในการประเมินผล              การประเมินผลโครงการ มีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้              2.1 การศึกษาและวิเคราะห์โครงการ เพื่อทำความเข้าใจโครงการอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ดังนี้  (1) สถานการณ์ทั่วไป (2) วัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ และ (3) แผนการปฏิบัติการงาน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประเมินโครงการที่ต้องการจะรู้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติม โดยอาจศึกษาได้จากเอกสารโครงการ การพูดคุยกับเจ้าหน้าที่โครงการ รวมทั้งการออกไปดูการดำเนินโครงการในพื้นที่              2.2 วัตถุประสงค์ในการประเมินผล โดยทั่วไปจะเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความต้องการของผู้ประเมินผลรวม 2 นัย คือ (1) โครงการมีความก้าวหน้าตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเพียงใด และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร และ (2) เมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้ว โครงการประสบผลสำเร็จหรือไม่ เพียงใด และโครงการสมควรกระทำต่อเนื่องหรือไม่              2.3 ข้อมูลที่จะต้องรวบรวม ต้องกำหนดว่าจะใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ที่นำมาวิเคราะห์แล้วสามารถตอบ อธิบายหรือชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประเมินผลนั้นได้ การพิจารณาข้อมูลที่ต้องการรวบรวมนั้นควรแยกพิจารณาไปตามวัตถุประสงค์ในการประเมินผลแต่ละข้อ วิธีการที่ผู้เขียนนิยมใช้ในการกำหนดข้อมูลที่จะต้องรวบรวม คือ การใช้ตัวชี้วัด (Indicators) มาช่วย เช่น เราต้องการประเมินผลในส่วนผลกระทบระยะสั้น (Effect) ของโครงการ ในเรื่องเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ ตัวชี้วัดในเรื่องนี้ก็คือ ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่) เพิ่มขึ้น ซึ่งในการนี้เราจะต้องเก็บข้อมูล ผลผลิตเฉลี่ย 2 ข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน คือ ผลผลิตเฉลี่ยก่อนโครงการกับผลผลิตเฉลี่ยหลังโครงการ หรือผลผลิตเฉลี่ยของกลุ่มในโครงการกับผลผลิตเฉลี่ยของกลุ่มนอกโครงการ              2.4 แหล่งของข้อมูลและการสำรวจข้อมูลด้วยกลุ่มตัวอย่าง พิจารณาว่าข้อมูลเหล่านั้นสามารถหาได้จากใครหรือจากที่ไหน จะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ หรือข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือข้อมูลที่เก็บรวบรวมชั้นต้นหรือชั้นแรกด้วยตนเอง หรือจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อมูลที่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ทำการรวบรวมและเรียบเรียงไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น ข้อมูลที่ได้จากรายงานต่าง ๆ              2.5 เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องกำหนดว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นด้วยเครื่องมือชนิดใด และใช้วิธีใดในการเก็บรวบรวมข้อมูล การที่จะใช้เครื่องมือหรือวิธีการใดนั้นจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะรวบรวม และบุคคลที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเครื่องมือที่เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์              2.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดที่จะทำให้ได้ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแปลความ ผู้ที่ทำการรวบรวมข้อมูลจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลให้ได้ตามที่กำหนด และข้อมูลที่ได้จะต้องมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นมีเทคนิคแตกต่างกันออกไปตามชนิดของเครื่องมือ    และวิธีการใช้เครื่องมือนั้น ๆ การสัมภาษณ์ เป็นต้น              2.7 การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้ยังไม่อยู่ในรูปที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการตรวจสอบ เรียบเรียงหรือประมวล และทำการวิเคราะห์เสียก่อนจึงจะได้ข้อมูลที่สามารถอ่านได้ง่าย เพื่อที่จะได้แปลความและนำเสนอต่อไป              2.8 การแปลความและการรายงาน การแปลความเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล   และการวิเคราะห์มาอธิบาย ให้ความหมายและชี้แนะ หรือตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆ โดยแสดงให้ทราบถึงข้อเท็จจริงตามตัวเลขที่ได้รับและทำให้ออกมาเป็นภาษาสามัญที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ตรงกัน จุดสำคัญของการแปลความก็คือ จะต้องตอบ อธิบายหรือชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมินผลได้ชัดเจนและครบถ้วน จากนั้นนำมาจัดทำเป็นรายงานซึ่งในการเขียนรายงานนั้นผู้เขียนจะต้องคำนึงถึง  (1) ผู้อ่านว่าเป็นใคร มีพื้นความรู้ในเรื่องที่ทำการประเมินผลแค่ไหน  (2) การนำผลของการประเมินไปใช้ประโยชน์  (3) รูปแบบการรายงาน เช่น จัดทำรายงานแบบย่อ แบบละเอียด หรือรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้การเขียนรายงานผู้เขียนต้องพยายามเขียนให้ได้ความชัดเจน กะทัดรัด มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และที่สำคัญคือ ต้องซื่อตรง 3.  การประเมินสภาวะเร่งด่วน              3.1 ความหมาย การประเมินสภาวะเร่งด่วน เป็นเทคนิคและวิธีการในการประเมินผลที่นำมาใช้ในกรณีที่ผู้บริหารต้องการคำตอบอย่างเร่งด่วน ซึ่งผู้ประเมินผลไม่สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากระบบมาทำเป็นคำตอบได้ เพราะข้อมูลจากระบบข้อมูลที่วางแผนไว้นั้น จะได้มาตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผน หรืออีกกรณีหนึ่ง ผู้ประเมินไม่ได้วางแผนการเก็บข้อมูลประเภทที่จะนำมาทำเป็นคำตอบให้ผู้บริหาร              3.2 ประโยชน์ของการประเมินสภาวะเร่งด่วน ได้แก่ ได้คำตอบที่รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายต่ำ              3.3 วิธีการที่ทำให้การประเมินผลมีความรวดเร็ว วิธีการที่จะทำให้การประเมินผลมีความรวดเร็วได้นั้นมีลักษณะ ดังนี้  (1) ขอบเขตของการประเมินผลไม่กว้าง  (2) คำถามที่ต้องการคำตอบมีไม่มาก (3) จำนวนตัวอย่างต้องจำกัดให้น้อยลง  (4) ถ้ามีความจำเป็นต้องไปตรวจสอบพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ให้น้อยลง   และ (5) พยายามใช้ตัวบ่งชี้ทางอ้อม              3.4. เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล                     การประเมินสภาวะเร่งด่วน มีเทคนิคและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลายวิธี ดังนี้                     (1) การเลือกตรวจเยี่ยมสถานที่โครงการ                          (2) การสัมภาษณ์หมู่                          (3) เลือกสัมภาษณ์เฉพาะรายอย่างละเอียด                     (4) การสุ่ม สอบถามข้อมูลจากเกษตรกรเป็นบางราย                     (5) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ                     (6) ใช้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ              3.5 ขั้นตอนการประเมินสภาวะเร่งด่วน                    การประเมินสภาวะเร่งด่วน แบ่งขั้นตอนการประเมินผลออกเป็นสองขั้นตอน ได้แก่                    3.5.1 การวางแผน ในขั้นตอนการวางแผนนี้ ประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้ (1) ศึกษาคำถามให้ชัดเจน เพื่อตอบให้ตรงกับคำถาม  (2) กำหนดตัวบ่งชี้ (Indicators) ซึ่งจะเป็นคำตอบ โดยคำตอบนี้อาจอยู่ในรูปของ ร้อยละ จำนวน หรืออื่น ๆ  (3) กำหนดแหล่งที่มาของข้อมูล (4) ทำแบบสอบถามกรณีที่ใช้ Information Survey และทำ Check List ในกรณีที่จะสัมภาษณ์ (5) กำหนดวิธีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล (6) กำหนดรูปแบบรายงาน  (7) กำหนดแผนปฏิบัติ ทำเป็น Implementation Schedule โดยใช้ Gantt Chart หรือทำเป็นหมายกำหนดการ โดยการกำหนดกิจกรรมการประเมินผลและระยะเวลา ในแผนปฏิบัติจะประกอบด้วย การเก็บข้อมูลตามเทคนิคที่กำหนดไว้ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล ทำรายงาน เสนอรายงาน

                  3.5.2 การปฏิบัติตามแผน เมื่อได้วางแผนไว้อย่างดีแล้ว ผู้ประเมินผลจะต้องปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ คือ (1) เก็บรวบรวมข้อมูลตามเทคนิคที่กำหนดไว้  (2) ประมวลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล  (3) จัดทำข้อเสนอแนะ (4) จัดทำรายงานสรุป  และ (5) นำเสนอรายงาน

ข้อใดเป็นประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน *

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน.
เชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานเข้าการเลื่อนตำแหน่ง สิ่งจูงใจต่าง ๆ อาทิ เงินเดือน โบนัส รางวัลต่าง ๆ และ การพัฒนาสายงาน/อาชีพ อย่างยุติธรรม.
พิจารณาความรู้ความสามารถ และ คุณสมบัติเหมาะสมกับงานที่ทำหรือไม่ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร อาทิ อบรม หรือ ย้ายงานเพื่อให้เหมาะกับศักยภาพ.

การประเมินผลการทำงานก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร

การประเมินผลพนักงานที่สมเหตุสมผล ถูกต้อง เที่ยงตรง และยุติธรรม จะทำให้พนักงานเข้าใจศักภาพของตัวเอง เข้าใจสถานะของธุรกิจ เกิดการพัฒนาในการทำงาน วางแผนการทำงานไปให้ถูกทิศทางได้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนการทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น อีกด้านหนึ่งผลประเมินที่ดีย่อมส่งผลต่อการปรับเงินเดือนหรือโบนัส นั่นเป็นอีกแรงจูงใจสำคัญ ...

องค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานคือข้อใด

โดยพิจารณาองค์ประกอบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบด้านผลสัมฤทธิ์ของงาน(KPI) และองค์ประกอบด้านพฤติกรรมหรือสมรรถนะ(Competency) ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละองค์ประกอบจะต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบันหรือหน่วยงาน โดยสัดส่วนหรือค่าน้ำหนักจะขึ้นอยู่กับประเภทและ ...

หลักการประเมินผลการปฏิบัติงานข้อใดสำคัญที่สุด

“ความสอดคล้อง (Relevance) เป็นเกณฑ์ข้อแรกที่สำคัญที่สุด เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการประเมินคือ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กร และการออกแบบการประเมินควรมีประเด็นที่ทำให้บุคลากรทุกคนในองค์กร สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กร”