โครงกระดูกของร่างกายแบ่งเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง

จำนวนผู้เข้าชม: 2,356

โครงกระดูกของร่างกายแบ่งเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของบทเรียน

  • สามารถอธิบายหน้าที่สำคัญของกระดูกได้
  • อธิบายการแบ่งชนิดของกระดูกตามลัษณะรูปร่างได้
  • อธิบายการจัดระบบโครงกระดูกในร่างกายได้
  • อธิบายความแตกต่างและแหล่งที่พบของกระดูกอ่อนแต่ละชนิดได้
  • อธิบายการแบ่งชนิดของข้อต่อได้

หน้าที่สำคัญของกระดูก

  • ค้ำจุน (Support : ซัพพอร์ท) กระดูกช่วยทำหน้าที่เป็นโครงสร้างให้แก่ร่างกายเพื่อสามารถคงรูปร่างปกติอยู่ได้
  • ปกป้อง (Protection : โพรเทคเชิน) กระดูกช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครง (Ribs:ริบซ์) กะโหลก (Skull :สกัลล์) เป็นต้น
  • การเคลื่อนไหว (Movement : มูวเมนท์) การเคลื่อนไหวของเราจำเป็นต้องมีกระดูก โดยทำหน้าที่ร่วมกับข้อต่อและกล้ามเนื้อ
  • สะสมแร่ธาตุ (Mineral reservoir : มิเนอรัล เรสเซอร์เวอร์) แร่ธาตุที่สะสมในกระดูกได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น
  • ผลิตเม็ดเลือด (Hemopoiesis : ฮีโมพรอยซิส) เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด

การแบ่งชนิดของกระดูก (Classification of bones)

     เราสามารถแบ่งกระดูกออกได้ 5 จำพวก ตามลักษณะรูปร่างของกระดูก ดังนี้
     1. กระดูกยาว (Long bone : ลอง โบน) กระดูกจะมีลักษณะเป็นแท่ง เช่น กระดูกต้นแขน (Humerus:ฮิวเมอรัส) กระดูกแขนส่วนปลาย (Ulna and Radius : อัลน่าและเรเดียส) กระดูกต้นขา (Femur) กระดูกขาส่วนปลาย (Tibia-กระดูกหน้าแข่ง and Fibula- กระดูกน่อง) เป็นต้น
     2. กระดูกสั้น (Short bone : ซ้อท โบน) คือ กระดูกจะมีลักษณะ "กลมและสั้น" เช่น กระดูกมือ (Carpal bones : คาร์บอล โบน) หรือ กระดูกเท้า (Tarsal bones:ทาร์ซัล โบน)
     3. กระดูกแบน (Flat bone : เฟลท โบน) กระดูกจะมีลักษณะแบบ เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ (Skull bones:สกาลล์ โบน) กระดูกสะบัก (Scapula bones:สคาพูลา โบน) เป็นต้น
     4. กระดูกมีรูปร่างไม่แน่นอน (Irregular bone : อิวเรคกิวลา โบน) หรือกระดูกรูปแปลก เช่น กระดูกรูปฝีเสื้อ (Sphenoid : สพรีนอด์ย) กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible:แมนดิเบิล) กระดูกสันหลังง (Vertebrae : เวอร์ธิเบร์) เป็นต้น
     5. กระดูกในเอ็น (Sesamoid bone : เซซ่ามอด์ย โบน) คือกระดูกชนิดหนึ่งที่ฝั่งอยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกหัวเข่า (Patella:แพทเทล่า)

ส่วนประกอบของกระดูก (Bone structure)

     โครงสร้างของกระดูกที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ประกอบด้วย
     1. เยื่อหุ่มกระดูก (Periosteum : เพอริออสเตรียม) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบหนาแน่นหุ้มอยู่เกือบรอบของกระดูกทั้งหมด เยื่อหุ้มกระดูกประกอบด้วย 2 ชั้น คือ ชั้นนอก (Fibroblasts layer) และชั้นใน (Osteogenic layer : ออสทีโอเจนนิค เลเยอร์) ซึ่งชั้นในนี้จะเป็นส่วนสำคัญใหนการสร้างเซลล์กระดูกกรณีเมื่อมีกระดูกหัก
     2. กระดูกเนื้อแน่น (Compact bone : คอมเพค โบน) เป็นส่วนที่แข็งของเนื้อกระดูก มองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่กระดูก
     3. กระดูกเนื้อพรุน (Spongy bone : สปอนจี โบน) เป็นส่วนของเนื้อกระดูกที่เป็นรูพรุน พบอยู่ด้านในของกระดูก
     4. โพรงของไขกระดูก (Medullary cavity : เมดดูลลา คาวิตี้) มีลักษณะเป็นท่ออยู่ตรงกลางของแท่งกระดูก ภายในโพรงมีไขกระดูก (Bone marrow) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดในวัยเด็ก แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนนี้จะถูกแทนที่ด้วยไขมัน (สีออกเหลือง) เรียกกว่า "เยลโล่ โบน มาร์โร" (Yellow bone marrow)
    5. ช่วงกลางของกระดูก (Diaphysis :ไออะไพซิล) 
    6. ส่วนหัวและท้ายของกระดูก (Epiphysis : แอพพิไพซิล)
    7. ส่วนรอยต่อ (Metaphysis : เมธาไฟซิล) คือ ส่วนที่เป็นรอยต่อระหว่าง Diaphysis และ Epiphysis ส่วนนี้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตหรือความยาวของกระดูก ในวัยรุ่นและวัยเด็กตำแหน่งนี้จะถูกเพิ่มเซลล์ของกระดูกไปเรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายมีความสูงเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ส่วนนี้จะกลายเป็นกระดูกเนื้อแน่นไม่สามารถเพิ่มความยาวต่อไปได้อีก
    8. กระดูกอ่อน (Articular cartilage : อาร์ธิคูล่า คาร์ธิเลค) จะอยู่ตรงปลายสุดของแท่งกระดูก เป็นส่วนประกอบของผิวหน้าของข้อต่อกระดูก ซึ่งจะมีความเรียบเนียนช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้สะดวก

การจัดระบบโครงกระดูก

โครงกระดูกของร่างกายแบ่งเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง

ร่างกายมนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีกระดูกจำนวนทั้งสิ้น 206 ชิ้น แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กระดูกแกนกลางลำตัว (Axial skeleton : แอคเซียล สเคเลตัน) และกระดูกรยางค์ (Appendicular skeleton : แอบเพนดิคูล่า สเคเลตัน)

1. กระดูกแกนกลางลำตัว

     กระดูกแกนกลางลำตัวมีทั้งหมด 80 ชิ้น ได้แก่
     1.1 กระดูกกะโหลก (Skull : สกัลล์) ประกอบด้วยกระดูก 22 ชิ้น แบ่งย่อยออกเป็นส่วนต่าง ๆ คือ
         1.1.1 ส่วนกะโหลก (Cranial bone : กระดูกกะโหลก) มีจำนวน 8 ชิ้น คือ     
               1.1.1.1 กระดูกหน้าผาก (Frontal bone : ฟรอนทัล โบน) จำนวน 1 ชิ้น
               1.1.1.2 กระดูกกระหม่อม (Parietal bone : พารัยตัล โบน) จำนวน 2 ชิน
               1.1.1.3 กระดูกขมับ (Temporal bone : เทมโพรัล โบน) จำนวน 2 ชิ้น
               1.1.1.4 กระดูกท้อยทอย (Occipital bone : ออกซิพิทัล โบน) จำนวน 1 ชิ้น
               1.1.1.5 กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone : สฟีนอย์ด โบน) จำนวน 1 ชิ้น
         1.1.2 ส่วนใบหน้า (Facial bone : เฟเชียล โบน) มีจำนวน 14 ชิ้น คือ
               1.1.2.1 กระดูกจมูก (Nasal bone : เนซัล โบน) จำนวน 2 ชิ้น
               1.1.2.2 กระดูกกรามบน (Maxilla bone : แมคซิลล่า โบน) จำนวน 2 ชิ้น
               1.2.2.3 กระดูกแก้ม (Zygomatic bone : ไซโกมาติก โบน) จำนวน 2 ชิ้น
               1.2.2.4 กระดูกเพดานปาก (Palatine bone : พาเลไทน โบน) จำนวน 2 ชิน
               1.2.2.5 กระดูกกั้นโพรงจมูก (Vomer bone : โวเมอร์ โบน) จำนวน 1 ชิ้น
               1.2.2.6 กระดูกข้างในจมูก (Inferior nasal concha : อินฟีเรีย เนซอล คอนชา) จำนวน 2 ชิ้น 
     1.2 กระดูหู (Ear ossicles : เอีย ออสซิเคิล) เป็นกระดูกที่อยู่ในหูชั้นกลาง มีข้างละ 3 ชิ้น (รวม 6 ชิ้น) กระดูกฆ้อน (Malleus : มัลเลียส ทั่ง (Incus : อินคัส) และโกลน (Stapes : สเตเปส)
     1.3 กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone : ไฮออย โบน) มีจำนวน 1 ชิ้น
     1.4 กระดูกสันหลัง (Vertebral column : เวอร์ธิบรัล คอรัมน์) มีจำนวน 26-27 ชิ้น
         1.4.1 กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae : เซอร์วิคอล เวอร์ธิเบร) จำนวน 7 ชิ้น
         1.4.2 กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae : โธราซิก เวอร์ธิเบร) จำนวน 12 ชิ้น
         1.4.3 กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae : ลัมบาร์ เวอร์ธิเบร) จำนวน 5 ชิ้น
         1.4.4 กระดูกสันหลังส่วนก้น (Sacrum : เซกั้ม) เดิมมีจำนวน 5 ชิ้น แต่จะรวมกันเป็นชิ้นเดียว
         1.4.5 กระดูกสันหลังส่วนหาง (Coccyx : คอคซิส) เดิมมี 4 ชิ้น และรวมกันเหลือเพียง 1-2 ชิ้น
     1.5 กระดูกส่วนอก (Thorax: ธอร์แรซ) มีทั้งหมด 25 ชิ้น แบ่งเป็น
         1.5.1 กระดูกหน้าอก (Sternum: สเตอร์นัม) มี 1 ชิ้น
         1.5.2 กระดูกซี่โครง (Ribs: ริบส์) มี 24 ชิ้น หรือ 12 คู่

2. กระดูกระยางค์ (Appendicular skeleton: แอบเพนดิคูล่า สเคเลตัน)

     กระดูกระยางค์ มีทั้งหมด 126 ขิ้น แบ่งเป็น
     2.1 กระดูกแขน (Upper extrimities: อับเปอร์ เอ๊กซ์ทริมิตี่) มีข้างละ 32 ชิ้น ซึ่งกระดูกจะมีข้างซ้ายและขวา
         2.1.1 กระดูกไหปลาร้า (Clavicle: คลาวิเคิล) มี 1 ชิ้น
         2.1.2 กระดูกสะบัก (Scapula: สแคบพูล่า) มี 1 ชิ้น
         2.1.3 กระดูกต้นแขน (Humerus: ฮูเมอร์รัส) มี 1 ชิ้น
         2.1.4 กระดูกปลายแขนด้านใน (Ulna: อัลน่า) มี 1 ชิ้น
         2.1.5 กระดูกปลายแขนด้านนอก (Redius: เรเดียส) มี 1 ชิ้น
         2.1.6 กระดูกข้อมือ (Carpus: คาร์ปัส) มี 8 ชิ้น
         2.1.7 กระดูกฝ่ามือ (Matacarpus: เมธาคาร์ปัส) มี 5 ชิ้น
         2.1.8 กระดูกนิ้วมือ (Phalanges: ฟาเรนเจส) มี 14 ชิ้น
     2.2 กระดูกขา (Lower extremities: โลเวอร์  เอ๊กซ์ทริมิตี่) มีข้างละ  31 ชิ้น ซึ่งกระดูกจะมีข้างซ้ายและขวา
         2.2.1 กระดูกเชิงกราน (Pelvice bone: เพลวิซ โบน) มี 1 ชิ้น
         2.2.2 กระดูกต้นขา (Femur: ฟีเมอร์) มี 1 ชิ้น
         2.2.3 กระดูกสบ้า (Patella: พาเทลล่า) มี 1 ชิ้น
         2.2.4 กระดูกหน้าแข้ง (Tibia: ธิเบีย) มี 1 ชิ้น
         2.2.5 กระดูกน่อง (Fibula: ฟิบุล่า) มี 1 ชิ้น
         2.2.6 กระดูกข้อเท้า (Tarsus: ธาซัส) มี 7 ชิ้น
         2.2.7 กระดูกฝ่าเท้า (Metatarsus: เมธาธาซัส) มี 5 ชิ้น
         2.2.8 กระดูกนิ้วเท้า (Phalanges: ฟาเรนเจส) มี 14 ชิ้น

ระบบข้อต่อ (Articulation: อาร์ธิคูเลเชิล)

ระบบข้อต่อ (Joint or Articulation: จอยท์ หรือ อาร์ธิคูเลเชิล) ประกอบด้วยกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปมาประสานเข้าด้วยกัน โดยมีเอ็น (Ligament: ลิกาเมนท์) และพังผืดยึดข้อ (Fibrous capsule: ไฟบรัส แคบซูล) ทำหน้าที่ยึดกระดูกเข้าไว้ด้วยกัน ข้อต่อจะเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ ผลจากการเคลื่อนไหวของข้อต่อจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ชนิดของข้อต่อ (Classification of joints: คลาสซิฟิเคเชิน ออฟ จอยท์)

     การแบ่งชนิดของข้อต่อสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ 
     1. แบ่งตามการเคลื่อนไหว
        1.1 ข้อต่อที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย หรือข้อต่อติดแน่น (Synarthrosis: ไซนาร์ธอร์ซีส) เช่น ข้อต่อของกะโหลกศีรษะ (Skull joints: สกัล จอยท์) เชื่อมต่อด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่น (Dense connective tissue: เดนซ์ คอนเนคทีฟ ทิชชู) 
        1.2 ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย หรือข้อต่อกี่งติดแน่น (Amphiarthrosis: แอมไฟอาร์ธอร์ซีส) เช่น ข้อต่อของกระดูกเชิงกราน (Pubic symphysis: พูบิค ซิมไฟซีส) เป็นข้อต่อที่เชื่อมด้วยกระดูกอ่อน
        1.3 ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ (Diarthroses: ไดอาร์ธอร์ซีส) เช่น ข้อต่อของหัวไหล่ เป็นต้น
     2. แบ่งตามโครงสร้างที่ใช้ยึดกันของข้อต่อ แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ 
        2.1 ข้อต่อชนิดเส้นใย (Fibrous joint: ไฟบรัส จอยท์)  ข้อต่อชนิดนี้จะถูกยึดด้วยพังผืด (Fibrous connective tissue: ไฟบรัส คอนเนคทีฟ ทิชชู) ทำให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อยหรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย แบ่งออกเป็น 3 แบบ
            2.1.1 รอยประสานกระดูก (Suture: ซูเชอร์) พบได้ที่รอยต่อของกะโหลกศีรษะแต่ละชิ้น จะเห็นเป็นรอยประกบของกระดูกเป็นลายเส้น ข้อต่อชนิดนี้จะมีคงทนและแข็งแรง
            2.1.2 ข้อต่อเอ็นยึด (Syndesmosis: ซินเดสโมซีส) เป็นข้อต่อที่มีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหน้าแน่นขึงไว้ พบได้ในกระดูกแบบยาว เช่น ระหว่างกระดูกเรเดียสและกระดูกอัลน่า (Radius and Ulna) ข้อต่อชนิดนี้จะเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
            2.1.3 ข้อต่อเบ้าฟัน (Gomphosis: กอมโฟซีส) เป็นข้อต่อของรากฟันและเบ้าฟัน ที่ยึดติดด้วยเยื่อหุ้มรากฟัน (Periodontal membrane: เพอริโอดอนทัล เมมเบรน)
    2.2 ข้อต่อชนิดกระดูกอ่อน (Cartilaginous joint: คาร์ธิลาจินัส จอยท์) ชนิดนี้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย มีอยู่ 2 แบบ
            2.2.1 ข้อต่อกระดูกอ่อนชนิดใส (Hyaline cartilage: ไฮอาลีน คาร์ธิเลจ) คือ ข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสองชิ้นเข้าด้วยกันโดยกระดูกอ่อนไฮยาลีน ซึ่งจะมีสีใส ๆ สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เช่น รอยต่อของกระดูกซี่โครงกับกระดูกอ่อนซี่โครง
            2.2.2 ข้อต่อกระดูกอ่อนชนิดขุ่น (Fibrocartilage: ไฟโบร์คาร์ธิเลจ) จะต่างจากชนิดไฮอาลีนตรงที่มีลักษณะขุ่นกว่า เช่น ข้อต่อ่ของกระดูกสันหลัง (Intervertebral joint)
        2.3 ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้สะดวกที่สุด (Synovial joint) ข้อต่อชนิดนี้จะมีลักษณะคือ มีกระดูกอ่อนคลุมปลายกระดูกที่จะร่วมกันเป็นข้อต่อ มีแคบซูลหุ้มรอบ ๆ ข้อต่อ และเสริมความแข็งแรงด้วยเอ็นยึดข้อต่อ (Ligament) ในข้อจะมีช่องโพรง (Synovial cavity: ซินโนเวีย คาวิตี้) ในโพรงจะมีน้ำบรรจุอยู่ (Synovial fluid: ซินโลเวีย ฟลูอิด) ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวจะช่วยให้ข้อต่อชนิดนี้มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าข้อต่อชนิดอื่น เช่น 

Reference:

  • ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. กายวิภาคสาสตร์ทั่วไป, เชียงใหม่, คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553. كيفية لعب بلاك جاك

โครงกระดูกของร่างกายแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม

โครงกระดูกมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่ โครงกระดูกแกน และโครงกระดูกรยางค์ โครงกระดูกแกนประกอบด้วยกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกอก กะโหลกศีรษะ และกระดูกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนโครงกระดูกรยางค์ ซึ่งเชื่อมกับโครงกระดูกแกน ประกอบด้วยกระดูกโอบอก กระดูกเชิงกราน และกระดูกของรยางค์บน และรยางค์ล่าง

ระบบโครงร่างมีอะไรบ้าง

ระบบโครงร่าง ของมนุษย์ (Skeletal System) ประกอบด้วยกระดูก (Bone) กระดูกอ่อน (Cartilage) เอ็นยึดข้อต่อ (Ligament) และข้อต่อ (Joint) โดยมีกระดูกเป็นส่วนที่แข็งแรงและทนทานที่สุด

ระบบโครงกระดูกมีความสําคัญอย่างไร

มนุษย์เรามีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น หรือคิดเป็นประมาณ 20% ของร่างกาย โดยโครงกระดูกแบ่งออกเป็น กระดูกแกน และกระดูกรยางค์ซึ่งช่วยพยุงร่างกาย รักษารูปร่างให้ทรงตัวได้ เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ นอกจากนี้กระดูกยังเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ที่ทำหน้าที่ กระดูกเป็นเหมือนเสื้อเกราะ ที่ช่วยป้องกันอวัยวะภายใน

ในกระดูกมีอะไรบ้าง

กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่มีโครงสร้างซับซ้อนมาก องค์ประกอบหลัก คือ คอลลาเจนไฟเบอร์ ประมาณ 20% โดยน ้าหนัก แคลเซียมฟอสเฟตประมาณ 70% โดยน ้าหนัก น ้า และสารอินทรีย์อื่นๆ เช่น โปรตีน น ้าตาล และไขมัน ประมาณ 10% โดยน ้าหนัก คอลลาเจนมีเนื้อพื้น (matrix) ซึ่งอยู่ใน รูปไมโครไฟเบอร์ลักษณะเหมือนตาข่าย และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ ...