อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/e-learning2/chapters/Kinetics/Rate%20of%20Reaction.htm)

Show

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี = ปริมาณสารที่เปลี่ยนแปลง

                                                            เวลา

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี = ปริมาณสารตั้งต้นที่ลดลง

                                                             เวลา

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี = ปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น

                                                             เวลา

ชนิดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย หมายถึง อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่คำนวณจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร
(ที่มา:http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/e-learning2/chapters/Kinetics/Rate%20of%20Reaction.htm)

          2. อัตราการเกิดปฏิกิริยา ณ ขณะใดขณะหนึ่ง หมายถึง อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่คำนวณจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ( หาจากค่าความชันของกราฟระหว่างปริมาณสารกับเวลา)

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:https://krumuaykanya.files.wordpress.com/2016/08/4d8d7-rate.png)

การเกิดปฏิกิริยาเคมี

           การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ได้ผลิตภัณฑ์ของสารที่แตกต่างจากสารเดิมโดยอาจสังเกตจากการเปลี่ยนสีของสาร การเกิดตะกอน หรือการเกิดกลิ่นใหม่
ทฤษฎีที่ใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมี มีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

          1. ทฤษฎีการชน (The Collision Theory) ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นต้องมาปะทะกันหรือมาชนกัน และการชนกันนั้นมีทั้งการชนที่ประสบผลสำเร็จ ดังภาพ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:http://cdn1.askiitians.com/Images/201498-123317887-252-14.23.jpg)

            2. ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์หรือทฤษฎีสภาวะทรานซิชัน (The Activated Complex Theory or The Transition State Theory) เป็นทฤษฎีที่ดัดแปลงมาจากทฤษฎีการชน โดยทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงการชนอย่างมีประสิทธิภาพของสารตั้งต้นในลักษณะที่เหมาะสม โดยจะเกิดเป็นสารประกอบใหม่ชั่วคราว ที่เรียกว่า สารเชิงซ้อนกัมมันต์ (Activated Complex) ซึ่งในระหว่างการเกิดสารชนิดนี้พันธะเคมีของสารตั้งต้นจะอ่อนลง และเริ่มมีการสร้างพันธะใหม่ระหว่างคู่อะตอมที่เหมาะสม จนในที่สุดพันธะเก่าจะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง และจะมีพันธะใหม่ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ ดัง แบบจำลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/React_Rate.htm)

พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยา

 

การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้

1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน ( Endothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะมากกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้างพันธะ โดยในปฏิกิริยาดูดความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ จึงทำให้สิ่งแวดล้อมเย็นลง อุณหภูมิลดลง เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกเย็น ดังภาพ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:http://schools.birdville.k12.tx.us/cms/lib2/tx01000797/centricity/domain/912/chemlessons/Lessons/Energy/image002.jpg)

2. ปฏิกิริยาคายความร้อน ( Exothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะน้อยกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้างพันธะ โดยในปฏิกิริยาคายความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าผลิตภัณฑ์ จึงให้พลังงานความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกร้อน ดังภาพ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:http://images.tutorvista.com/cms/images/44/hammond-postulate-on-reaction-curve.png)

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา

1.   ธรรมชาติของสาร   เนื่องจากสารมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งแตกต่างกัน โดยปกติสารประกอบไอออนิกจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์ ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์

2.   ความเข้มข้นของสารตั้งต้น   กรณีที่สารตั้งต้นเป็นสารละลาย ถ้าสารตั้งต้นมีความเข้มข้นมากจะเกิดเร็ว เนื่องจากตัวถูกละลายมีโอกาสชนกันมากขึ้นบ่อยขึ้น   ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเพิ่มปริมาตรของสารละลายโดยความเข้มข้นเท่าเดิม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเท่าเดิม

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:http://igcsechemistryrevision.weebly.com/uploads/2/4/2/1/24217817/7322522.png?460)

3.   พื้นที่ผิวสัมผัส กรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นของแข็ง สารที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะทำปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากสัมผัสกันมากขึ้น  ใช้พิจารณากรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะของแข็ง ดังภาพ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(ที่มา:https://www.pathwayz.org/Node/Image/url/aHR0cHM6Ly9pLmltZ3VyLmNvbS9aejZnUmE5LnBuZz8x)

4. ความดัน กรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้าความดันมากปริมาตรก็ลดลง และปฏิกิริยาก็จะเกิดได้เร็ว เนื่องจากอนุภาคของสารมีโอกาสชนกันมากขึ้นบ่อยขึ้นในพื้นที่ที่จำกัดนั่นเอง ดังภาพ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคืออะไร หาได้อย่างไร

(http://igcsechemistryrevision.weebly.com/uploads/2/4/2/1/24217817/8412159.png?512)

5. อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของสารในระบบจะมีพลังงานจลน์สูงขึ้นและมีการชนกันของโมเลกุลมากขึ้น

ความหมายการเกิดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีคือข้อใด

อัตรการเกิดปฏิกิริยาเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยา (reaction rate, r) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือสารผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์กับเวลา

ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้าวัดได้อย่างไร

ความเข้มข้นของสารตั้งต้นจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เราวัดปริมาณของสารในสารละลายได้ จากความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยากัน ดังนั้น ในระหว่างเกิดปฏิกิริยาความเข้มข้นของสาร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วหรือช้า โดยสามารถทราบได้ว่า สารตัวใดมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาจากข้อมูลของผลการทดลอง

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีวัดได้จากสิ่งใด

การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถหาได้จากสารทุกตัวในปฏิกิริยา แต่มักจะใช้ตัวที่หาได้ง่ายและสะดวกเป็นหลัก ซึ่งจะมีวิธีวัดอัตราการเกิดเป็นปฏิกิริยาหลายอย่าง เช่น วัดจากปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น วัดจากความเข้มข้นที่เปลี่ยนไป วัดจากปริมาณสารที่เปลี่ยนไป

การเกิดปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้อย่างไร

คือ กระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสาร ใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสาร ...