ภาษาเขมรเริ่มเข้ามาปะปนในภาษาไทยมากที่สุดในสมัยใด

สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย

การติดต่อสัมพันธ์กันทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย  ด้วยสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้ 

1.ความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติและถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์

ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศกับประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้แก่ พม่า ลาว มาเลเซีย เขมร มอญ  ญวน จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนมีความเกี่ยวพันกับชนชาติต่าง ๆ โดยปริยาย มีการเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน มีการแต่งงานกันเป็นญาติกัน จึงเป็นสาเหตุสำคัญให้ภาษาของประเทศเหล่านั้นเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย

2.ความสัมพันธ์กันทางด้านประวัติศาสตร์

ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่น  ซึ่งชนชาติอื่นเคยอาศัยอยู่ก่อน  หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น  มีการกวาดต้อนชนชาติอื่น เข้ามาเป็นเชลยศึก  หรือชนชาติอื่นอพยพเข้ามาอยู่ ในแผ่นดินไทยด้วยเหตุผล ต่าง ๆ และอาจจะกลายเป็นคนไทยในที่สุด ผลที่ตามมาก็คือคนเหล่านั้น ได้นำถ้อยคำภาษาเดิม ของตนเองมาใช้ปะปนกับ ภาษาไทย

3.ความสัมพันธ์กันทางด้านการค้า

จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ตลอดถึงญี่ปุ่น ยิ่งปัจจุบันการค้าขายระหว่างประเทศมีความสำคัญมากขึ้น มีการใช้ภาษา-ต่างประเทศในวงการธุรกิจการค้ามากขึ้น คำภาษาต่างประเทศมีโอกาสเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยได้ตลอดเวลาไม่มีวันสิ้นสุด

4. ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา

คนไทยมีเสรีภาพในการยอมรับนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อยอมรับนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย

5.ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี

เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย หรือเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย ย่อมนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีที่เคยยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมเดิมของตนมาประพฤติปฏิบัติในสังคมไทย นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น จนถึงปัจจุบันการหยิบยืมคำจากภาษาอื่นมาใช้ในการสื่อสารยังไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรายังติดต่อ สัมพันธ์ กับชาวต่างชาติ การหยิบยืมภาษาต่างประเทศมาใช้ในการสื่อสารจะต้องคงมีตลอดไป ภาษาไทยหยิบยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทั้งในส่วนของรูปคำและวิธีการสร้างคำใหม่จำนวนมากมาย เป็นเวลายาวนานจนคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้สึกว่าเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ  ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารจึงเป็นภาษา ต่างประเทศที่เข้ามามี อิทธิพลต่อคนไทยมากที่สุด

6.ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของประเทศที่เจริญแล้ว ทำให้เกิดเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับอำนวยความสะดวกแก่บุคคลในสังคมต่าง ๆ คนไทยก็ได้รับอิทธิพลจากความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของประเทศเหล่านี้มาเช่นเดียวกัน มีการสั่งซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากมาย ชื่อของเครื่องมือเครื่องใช้และถ้อยคำ

ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นได้เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เอนเตอร์ แผ่นดิสก์ ไอคอน เมาส์ เป็นต้น

7.การศึกษาวิชาการต่าง ๆ

การศึกษาของไทยมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น แต่ความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ ส่วนใหญ่รับมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ มีการใช้ตำราภาษาต่างประเทศ ประกอบการเรียนและศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมเดินทางไปศึกษาวิชาการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เมื่อกลับมาประเทศก็ได้รับเอาคำบางคำ ของภาษาต่างประเทศเหล่านั้นมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย

8.การศึกษาภาษาต่างประเทศโดยตรง

ในประเทศมีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิชาภาษาไทยในระดับสูง เพราะเรารับรูปคำและวิธีการสร้างคำจากภาษาเหล่านั้นมามากได้แก่ การศึกษาภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร และการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารโดยตรง เช่น การศึกษาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

9.ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนต่างชาติ

มีคนไทยจำนวนมากมายที่คบหาสมาคมกับคนต่างชาติและมีคนไทยจำนวนไม่น้อย ที่สมรสกับคนต่างชาติ ทำให้มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันในทางภาษา ใช้ทั้งภาษาไทย   และภาษาต่างประเทศ ในครอบครัวของตนเอง จึงทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามา ปะปนอยู่ในภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น

10.ความสัมพันธ์ทางการทูต

การเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทำให้มีการใช้ภาษาต่าง ๆ สื่อสารสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดการแพร่กระจายของภาษาต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไทย

                                         

ภาษาเขมรเริ่มเข้ามาปะปนในภาษาไทยมากที่สุดในสมัยใด