เพลงบาทสกุณี ใช้บรรเลงในโอกาสใด

หน้า |1

หน้า |2

แบบทดสอบก่อนเรยี น เรือ่ ง เรยี นรู้เพลงหน้าพาทย์

คำช้แี จง : ใหน้ กั เรยี นทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ ในขอ้ ที่คิดวา่ ถูกตอ้ งท่สี ุด

1. ข้อใดกลา่ วถงึ “เพลงหน้าพาทย์” ไดถ้ กู ตอ้ งที่สุด
ก. เพลงหน้าพาทยเ์ ป็นเพลงท่ีมีบทร้องประกอบการแสดง
ข. เพลงหนา้ พาทย์เป็นเพลงท่ีใชป้ ระกอบอากปั กริ ยิ าของตัวละคร
ค. เพลงหนา้ พาทย์เป็นเพลงทีพ่ บโดยทั่วไปกับการแสดงพน้ื เมืองต่าง ๆ
ง. เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงทใี่ ชเ้ ฉพาะกับตวั ละครท่ีเปน็ เทพเจา้ เท่านัน้

2. เพลงหนา้ พาทย์สำหรับการแสดงโขน ละครจำแนกออกเปน็ กป่ี ระเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท

3. เพลงองคพ์ ระพริ าพ จัดอยใู่ นเพลงหน้าพาทย์ประเภทใด
ก. เพลงหน้าพาทย์ทวั่ ไป
ข. เพลงหนา้ พาทย์ชน้ั กลาง
ค. เพลงหนา้ พาทย์ธรรมดา
ง. เพลงหน้าพาทยช์ ั้นสงู

4. ข้อใดไมส่ ัมพนั ธ์กนั
ก. พระมหากษัตริย์ – เพลงพญาเดิน
ข. พระลกั ษมณ์ – เพลงบาทสกณุ ี
ค. นักพรต – เพลงเสมอเถร
ง. นางกำนัล – เพลงแผละ

5. “เพลงเสมอตนี นก” หมายถงึ เพลงใด
ก. เพลงบาทสกุณี
ข. เพลงคุกพาทย์
ค. เพลงรัวสามลา
ง. เพลงชำนาญ

หน้า |3

6. เพลงหนา้ พาทย์ใดใชแ้ สดงอิทธิฤทธิ์
ก. โลม
ข. ทยอย
ค. คกุ พาทย์
ง. ชำนาญ

7. เพลงหน้าพาทย์ชน้ั กลางใช้บรรเลงประกอบกิริยาบคุ คลหรอื ส่งิ ใด
ก. ผู้แสดงที่เป็นตัวเอก มียศศักดส์ิ งู
ข. เทพพระเจา้ ผู้สงู ศกั ด์ิ
ค. องค์พระพิราพ
ง. พราหมณ์

8. เพลงใดคือเพลงทใี่ ช้จดั ทพั ตรวจพล
ก. เพลงชำนาญ
ข. เพลงสาธุการ
ค. เพลงปฐม
ง. เพลงตระนมิ ติ

9. เพลงหน้าพาทยเ์ สมอเขา้ ท่ี ใช้สำหรบั เชญิ ใคร
ก. นางกำนัล
ข. สดายุ
ค. ฤๅษี
ง. เทวดา-นางฟา้

10. เพลงหน้าพาทยใ์ ดทใ่ี ช้สำหรบั สัตว์ปกี
ก. เพลงโล้
ข. เพลงแผละ
ค. เพลงกลองโยน
ง. เพลงโลม

หน้า |4

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง เรียนรู้เพลงหน้าพาทย์

1. ข 6. ค
2. ข 7. ก
3. ง 8. ค
4. ง 9. ค
5. ก 10. ข

หน้า |5

แผนผงั การเรยี นรู้ เลม่ ท่ี 1 เรยี นรเู้ รอ่ื งเพลงหนา้ พาทย์

01 ความเปน็ มาของเพลงหนา้ พาทย์
02 ความหมายเพลงหน้าพาทย์
03 ประเภทเพลงหน้าพาทย์
04 โอกาสท่ใี ช้เพลงหน้าพาทย์

หน้า |6

ความเปน็ มาของเพลงหน้าพาทย์

เพลงหน้าพาทย์สันนิษฐานไดว้ ่า ปรากฏขึ้นครั้งแรกในการแสดงหนังใหญ่ หุ่นโขนและละคร
ซึ่งเป็นมหรสพที่เก่าแก่ที่สุดของไทย มักเล่นเป็นเรื่องราว และมีหลักฐานที่ชัดเจนตั้งแต่สมัยกรุงศรี
อยุธยา กล่าวคือ “ก่อนการแสดงหนังใหญ่นั้น จะต้องมีการบรรเลงเพลงโหมโรง ซึ่งเป็นเพลงท่ีไม่มี
บทรอ้ ง และลักษณะการแสดงหนังใหญ่มกี ารใช้ดนตรีสอ่ื ความหมายประกอบอากัปกริ ิยาของตัวละคร
มเี พยี งการพากย์เปน็ หลกั ในการสอื่ สารเรื่องราวที่ผ้แู สดงสือ่ ให้ผู้ชมรู้ถึงเน้ือเรื่องและเหตุการณ์ในเรื่อง
เมื่อพากย์จบแต่ละบทต้องตามด้วยการบรรเลงประกอบอากัปกิริยาของตัวละครตามเน้ือเร่ืองเสมอ”
จึงสันนิษฐานว่าเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่ที่กล่าวมานั้น คือเพลงที่เรียกกันว่า
“เพลงหน้าพาทย”์

จากหลักฐานในบุณโณวาทคำฉันท์ ที่กล่าวถึงการเล่นหนังใหญ่เรื่องรามเกียรติ์เช่นเดียวกับ
การแสดงโขน มีการพากย์สามตระ เปิดหน้าพระของการแสดงหนงั ใหญ่ และปล่อยลิงหัวค่ำก่อนเร่ิม
การแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ และอีกตอนหนึ่งของบุญโณวาทคำฉันท์ พบหลักฐาน
การแสดงโขนซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะแสดงตอนกลางวันหลังจาก นักดนตรีปี่พาทย์บรรเลงเพลง
จะเชิญครแู ล้วมีการปลอ่ ยลิงหวั ค่ำออกมาสู้กนั จึงน่าจะสันนิษฐานไดว้ า่ “เลน่ ตามขนบหนังใหญ”่

หน้า |7

ความหมายของเพลงหนา้ พาทย์

คำว่า “เพลงหน้าพาทย์” เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงทั้งประกอบการแสดง และการประกอบ
พิธีกรรม ในทางด้านการเรียนการสอนทางนาฏศิลป์จึงได้มีนักวิชาการให้ความหมายของเพลง
หน้าพาทย์ไวห้ ลายท่าน อาทเิ ชน่

ราชบณั ฑติ ยสถาน (2556 : 1290) กล่าวไวว้ า่ หนา้ พาทย์ น.เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการ
แสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละคร หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้
มารว่ มชมุ นมุ ในพิธไี หวค้ รหู รือพิธมี งคลตา่ ง ๆ เชน่ เชดิ ใช้

มนตรี ตราโมท (2531 : 34) กล่าวไว้ว่า เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยา
ไม่วา่ จะเป็นกิรยิ าของมนุษย์ สัตว์ วตั ถุ หรือธรรมชาติ ท้งั กิริยาท่มี ีตวั ตนหรือกิริยาสมมติ และตลอดทั้ง
กิริยาทีเ่ ปน็ ปัจจุบนั หรืออดีต เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาทั้งหลายเหล่านี้ ถือว่าเป็นเพลงหนา้ พาทย์
ทง้ั สนิ้

จตุพร รัตนะวราหะ (2519 : 9) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์โขนยักษ์ ให้ความหมาย
เพลงหน้าพาทย์ไว้ว่า เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่ใช้ในลีลาของเครื่องดนตรี โดยเฉพาะทำนอง
และจังหวะ จำกัดอยู่ในแบบแผนทีก่ ำหนดไว้ หรือเพลงที่ใช้บรรเลงสำหรบั ประกอบกริยาเคลื่อนไหว
ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคล่ือนไหวของมนษุ ย์ สัตว์ หรือวัตถุธรรมชาติใด ๆ ก็ตาม เพลงที่ใช้ประกอบ
กริ ยิ าอาการเหลา่ นีเ้ ป็นเพลงหน้าพาทยท์ ้งั ส้นิ

จรูญศรี วีระวานิช (2526) กล่าวไว้ว่า เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์
และเป็นเพลงที่บรรเลงตามท่วงทำนองและจังหวะของดนตรีเท่านั้น ท่วงทำนองเพลงอาจมีท้ัง
อ่อนหวาน เศร้าโศก ตื่นเต้น แต่เดิมไม่มีเนื้อร้อง และเพลงหน้าพาทย์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เพลงครู

หน้า |8

ประเมษฐ์ บณุ ยะชยั (ม.ป.ป : 63) ไดก้ ลา่ วถงึ เพลงหน้าพาทยไ์ ว้ว่า เพลงหนา้ พาทย์ หมายถึง
เพลงที่ใช้ประกอบกริ ยิ าอาการของตัวละครหรือประกอบการสมมุติภาพเหตุการณท์ างธรรมชาติ เช่น
ลมพายุพัด ฟา้ รอ้ ง ฟ้าผา่ ฝนตกหนกั เปน็ ตน้

สุขสันติ แวงวรรณ (2540) กล่าวไว้ว่า เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ
อากัปกิริยา อารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของตัวละคร เพลงหน้าพาทย์นี้มีการกำหนดจังหวะ
และทำนองไวอ้ ย่างมีแบบแผน รวมท้ังโอกาสท่ีจะนำมาใชก้ ็มีการกำหนดไวด้ ้วย ตลอดจนท่ารำก็มีการ
กำหนดท่ารำไว้เปน็ มาตรฐานเช่นกัน เพลงหนา้ พาทย์ทใ่ี ช้ประกอบการรำแตล่ ะเพลง ในเพลงเดียวกัน
ถ้าทำอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น ในเพลงตระนิมิต ผู้แสดงเป็น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวพระ ตัวนาง ก็จะทำ
ตามกระบวนทา่ รำของตนท่ีแตกตา่ งกนั แต่จะรำในเพลงเดียวกัน จงั หวะเดยี วกัน และก็จะจบพร้อมกัน

สมศกั ดิ์ ทดั ติ (2540 : 266) ได้ใหค้ วามหมายของเพลงหน้าพาทย์ไวว้ ่า หน้าพาทย์ เปน็ เพลงท่ี
บรรเลงประกอบอิริยาบถต่าง ๆ ของตัวโขน ละครนั้น ถ้าไม่มีบทร้องแล้วย่อมถือว่าเป็นเพลง
หน้าพาทย์ได้ทงั้ สน้ิ และเพลงหน้าพาทย์มีความสำคญั ศิลปนิ จะเคารพกันว่าเปน็ เพลงครู การถ่ายทอด
และการร่ายรำต้องกระทำด้วยความเคารพอย่างสูง ถ้าเกิดข้อผิดพลาดก็จะถือว่าเป็นโทษแก่ตน
จะต้องมพี ธิ ีกรรมเพ่ือขอสมาลาโทษกับครูดว้ ยวธิ กี ารตา่ ง ๆ แตเ่ ดิมจึงมีการแบ่งแยกประเภทของเพลง
ร้องและเพลงหน้าพาทย์ไว้ชัดเจน ปัจจุบันนำเพลงหน้าพาทย์บางเพลงมาใส่ทำนองร้องด้วย เช่น
ตระนมิ ติ ตระบองกัน และชำนาญ ซ่งึ บางครัง้ ใส่เนื้อร้องไว้หนึง่ เที่ยวและรำอีกหนงึ่ เทย่ี ว

ศุภชัย จันทร์สุวรรณ (2553) กล่าวถึงเพลงหน้าพาทย์ไว้ว่า เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงที่ใช้
ประกอบกริ ิยาของตวั ละครทงั้ ท่ีเปน็ ตวั ตน และไม่เป็นตัวตน หรือกิรยิ าสมมุตทิ ้ังท่ีเป็นอดตี และปัจจุบัน
โดยกำหนดท่วงทำนองและจังหวะไว้อย่างมีแบบแผน ไม่มีบทร้อง ดังนั้นท่ารำจึงไม่มีความหมาย
เกี่ยวกับการตีบทหรือแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา หากแต่การแสดงบางครั้งครูก็จะให้เราทำบท
ในเพลงหน้าพาทย์ด้วย เชน่ เพลงตระนิมติ ทท่ี างฝ่ายนาฏศิลป์เรยี กกันว่า ตระแปลง น้นั ใช้รำตอนทต่ี วั
ละครจะแปลงกาย ช่วงแรกก่อนจะเข้ากระบวนท่ารำตามขนบจะมีการรำทำบทเพื่อบอกว่า
เราจะแปลงกายเป็นเทวดา หรือเปน็ กวาง หรือเป็นผหู้ ญิง ที่เหน็ ชัดเจนคอื ตอนทแี่ ปลงเป็นกวางทอง

สรุปได้ว่า “เพลงหน้าพาทย์” หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาอาการของตัวละครในการ
แสดงนาฏศิลป์ไทยหรือการแสดงออกของสิง่ ต่าง ๆ ไม่ว่าสิ่งน้ันจะมชี ีวิตหรือไม่กต็ าม หรือแม้แต่จะมี
ตัวตนหรือไม่มีตัวตน รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในจินตนาการ โดยทั่วไปเพลงหน้าพาทย์ไม่มีบทร้อง
ในภายหลงั การบรรจบุ ทร้องเข้าไปด้วย

หน้า |9

ประเภทเพลงหนา้ พาทย์

เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง และการประกอบพิธีกรรม ซึ่งมี
นกั วิชาการหลายทา่ น ไดจ้ ำแนกประเภท อาทิเช่น

มนตรี ตราโมท (2481 : 36) ได้แบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์ไวเ้ ปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี
1. เพลงไหว้ครู ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ ที่มีระบุชื่อไว้ในตำราซึ่งว่าด้วยการ

ไหว้ครู เชน่ ตระพระปรคนธรรพ โปรยข้าวตอก เป็นต้น
2. เพลงหน้าพาทย์พิเศษ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ ซึ่งอยู่นอกตำราไหว้ครู

สำหรับประกอบการแสดงโขน ละคร และอน่ื ๆ เช่น เพลงพญาเดนิ ดำเนินพราหมณ์ เปน็ ต้น
จตุพร รตั นวราหะ (2519 : 16) ได้แบ่งประเภทของเพลงหนา้ พาทยอ์ อกเป็น 3 ประเภท ดังน้ี
1. เพลงครู ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในตำราว่าด้วยการไหว้ครูของ

นายธนติ อยูโ่ พธ์ิ (อดตี อธบิ ดกี รมศลิ ปากร)
2. เพลงหนา้ พาทยพ์ ิเศษ ไดแ้ ก่ เพลงทอ่ี ยูน่ อกตำราไหวค้ รู ใชป้ ระกอบการแสดงโขน

ละคร และอนื่ ๆ เช่น เพลงพญาเดนิ เพลงดำเนนิ พราหมณ์ เป็นตน้
3. เพลงโหมโรง ได้แก่ เพลงโหมโรงเช้า โหมโรงกลางวัน โหมโรงเยน็

ปราณี สำราญวงศ์ (ม.ป.ปป) ได้แบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. หน้าพาทย์ธรรมดา หรือหน้าพาทย์เบื้องต้น ได้แก่ เชิด กราว เสมอ ปฐม รัว ลา

โอด ฯลฯ
2. หน้าพาทย์ชั้นกลาง ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับตัวเอกโขน ละคร

หรือตวั แสดงท่มี ยี ศศกั ดส์ิ ูง เชน่ ตระนมิ ิต ตระบองกนั ชำนาญ เสมอเถร เสมอมาร ฯลฯ
3. หนา้ พาทย์ชน้ั สงู หรือหน้าพาทย์พิเศษ หรือหน้าพาทย์ครู ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์

เฉพาะเทพเจ้า หรือตัวแสดงที่มียศศักดิ์สูงหรือตัวเอกในการแสดงโขน ละคร เช่น บาทสกุณี

ห น ้ า | 10

พราหมณเ์ ข้า พราหมณ์ออก ดำเนนิ พราหมณ์ หรอื เพลงหนา้ พาทยท์ ี่บรรเลงในพิธีไหวค้ รู เชน่ ตระเชิญ
ตระพระปรคนธรรพ ตระนารายณบ์ รรทมสนิ ธ์ุ องคพ์ ระพริ าพ เปน็ ต้น

ณรงค์ชยั ปฎิ กรชั ต์ (2522 : 25) ได้แบ่งเพลงหนา้ พาทย์ตามลักษณะไว้ 2 ประเภท คือ
1. เพลงหน้าพาทยช์ ้ันสูง ซงึ่ ถือวา่ เปน็ เพลงครู ใช้บรรเลงในโอกาสเฉพาะ มีความขลัง

ความศักดิส์ ทิ ธ์ิ อยู่ในทำนอง เชน่ เพลงองคพ์ ระพิราพ ตระนารายณบ์ รรทมสนิ ธุ์ ตระพระปรคนธรรพ
ตระนิมิต ตระนอน ตระบองกัน สาธุการ บาทสกุณี พราหม ณ์เข้า พราหมณ์ออก คุกพาทย์
เสมอสามลา เสมอเถร เสมอมาร เสมอผี ฯลฯ

2. เพลงหน้าพาทย์ปกติ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธี และการ
แสดงท่ัวไป เช่น เพลงช้า เพลงเร็ว เชิด เสมอ รัว ลา โอด ปฐม โล้ ชบุ เหาะ ทยอย

จากการแบ่งประเภทเพลงหน้าพาทย์ขา้ งต้น สรุปได้ว่า เพลงหน้าพาทย์มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ
คือ เพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบพิธีไหว้ครู และเพลงหน้าพาทย์สำหรับการแสดงโขน ละคร
ซึ่งแต่ละประเภทนั้นสามารถจำแนกออกเป็น เพลงหน้าพาทย์ชัน้ ปกติ เพลงหน้าพาทย์ชัน้ กลาง และ
เพลงหน้าพาทย์ชน้ั สูงตามความเหมาะสม

ห น ้ า | 11

โอกาสทีใ่ ช้เพลงหนา้ พาทย์

จากการแบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์นั้น พบว่าเพลงหน้าพาทย์มี 2 ประเภท คือ
เพลงหน้าพาทย์สำหรบั ประกอบพธิ ีไหว้ครู และเพลงหนา้ พาทยส์ ำหรับการแสดงโขน ละคร ตามความ
เหมาะสม และตามขนบธรรมเนียมทปี่ ฏิบตั ิสบื กนั มา ดังน้ี

จตุพร รัตนวราหะ (2519 : 17) ไดจ้ ดั เพลงหนา้ พาทย์ท่ใี ชใ้ นโอกาสตา่ ง ๆ ดงั น้ี
1. กิริยาไป มา มีเพลงเสมอ เชิด บาทสกุณี (เสมอตีนนก) พญาเดิน รุกร้น ชุบ เหาะ

โคมเวียน เข้ามา่ น และกลม
2. ใช้ในการยกพล มีเพลงกราวนอก กราวใน และกราวกลาง
3. ใชใ้ นเวลาแสดงความสนกุ สนาน รื่นเรงิ มีเพลงกราวรำ สีนวล เพลงชา้ เพลงเรว็ ฉยุ ฉาย

แม่ศรี
4. เมอ่ื ตอนจะแผลงฤทธิ์ ใชเ้ พลงคุกพาทย์ รัวสามลา ชำนาญ ตระบองกัน ตระนมิ ิต
5. เพลงท่ใี ชใ้ นการตอ่ สู้ มเี ชิดกลอง เชิดนอก เชิดฉ่งิ (แผลงศร)
6. แสดงความรัก ใชเ้ พลงกล่อม เพลงโลม
7. เมอื่ จะนอน ใชเ้ พลงตระนอน ตระบรรทมไพร

นฤมล ขันสัมฤทธิ์ (2545 : 12-34) ได้จัดลำดับการใช้เพลงหน้าพาทย์บรรเลงประกอบ
ในโอกาสต่าง ๆ ตามความสำคัญและความเหมาะสม ไว้ในคู่มือการสอนวิชานาฏศิลป์ไทย (ละคร)
เรอ่ื ง หนา้ พาทย์ โดยเป็นลำดับขั้น ดังน้ี

1. บรรเลงประกอบพระราชพิธีของหลวง เชน่ พระราชพธิ ีทรงผนวช พระราชพิธีถวายผ้า
พระกฐนิ พระราชพิธพี ชื มงคลจรดพระนงั คลั แรกนาขวัญ เปน็ ต้น

2. บรรเลงประกอบพธิ ีทางศาสนา เช่น ทำขวัญนาค โกนจุก เทศนม์ หาชาติ เปน็ ตน้

ห น ้ า | 12

3. บรรเลงประกอบชุดโหมโรงประเภทต่าง ๆ เช่น โหมโรงเช้า โห มโรงกลางวัน

โหมโรงเย็น

4. บรรเลงประกอบพธิ ไี หวค้ รูโขน ละคร

5. บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร

ตวั อยา่ ง การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ในพระราชพธิ ขี องหลวงและพธิ ที างศาสนา เช่น

พระราชพิธีทรงผนวช ใชเ้ พลงกราวรำ เพลงสาธกุ าร

พระราชพิธีถวายผา้ พระกฐิน ใช้เพลงชา้ , สระหม่า เพลงสาธุการ เพลงกราวรำ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ใช้เพลงช้า เพลงสาธุการ เพลงกราวรำ

เพลงพญาเดนิ เพลงเชิดฉาน เพลงโคมเวียน เพลงปลูกตน้ ไม้

พธิ ีทำขวัญนาค ใชเ้ พลงโหมโรง เพลงเวียนเทยี น เพลงรวั สามลา เพลงกราวใน , เชดิ

พิธีโกนจุก ใช้เพลงโหมโรงเย็น เพลงช้า เพลงกลม เพลงกราวใน , เชิด เพลงโหมโรงเช้า

เพลงลงสรง เพลงฉงิ่ พระฉัน เพลงพระเจา้ ลอยถาด

พิธีเทศน์มหาชาติ ใช้เพลงโหมโรง เพลงสาธุการ ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประจำ

13 กัณฑ์ เพลงกราวรำ และเพลงเชิด การบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการเทศนา เรื่อง มหาเวสสันดร

ชาดก ซึ่งถอื ว่าเป็นพิธีสำคญั ทางศาสนามีท้งั หมด 13 กณั ฑ์ โดยการบรรเลงป่ีพาทยน์ ัน้ จะบรรเลงเพลง

ทมี่ ีความหมาย และสัมพันธ์เน้ือเร่ือง คือ

1) จบกัณฑ์ 1 ทศพร ใช้เพลงสาธุการ

2) จบกณั ฑ์ 2 หิมพานต์ ใชเ้ พลงตวงพระธาตุ

3) จบกัณฑ์ 3 ทานกณั ฑ์ ใชเ้ พลงพระยาโศก

4) จบกัณฑ์ 4 วนประเวสน์ ใชเ้ พลงพระยาเดิน

5) จบกณั ฑ์ 5 ชชู ก ใชเ้ พลงเซ่นเหล้า (คา้ งคาวกินกล้วย)

6) จบกณั ฑ์ 6 จลุ พน ใชเ้ พลงรัวสามลา

7) จบกณั ฑ์ 7 มหาพน ใช้เพลงเชดิ กลอง

8) จบกัณฑ์ 8 กุมาร ใช้เพลงเชดิ ฉงิ่ โอด

9) จบกัณฑ์ 9 มทั รี ใช้เพลงทยอยโอด

10) จบกณั ฑ์ 10 สกั กบรรพ ใชเ้ พลงเหาะ

11) จบกณั ฑ์ 11 มหาราช ใชเ้ พลงกราวนอก

12) จบกัณฑ์ 12 ฉกษตั รยิ ์ ใชเ้ พลงตระนอน

13) จบกณั ฑ์ 13 นครกัณฑ์ ใช้เพลงกลองโยน - เชดิ กราวรำและเชิด

ห น ้ า | 13

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการโหมโรงนัน้ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญท่ีเป็นจารีตประเพณี
ท่ีปฏบิ ัติสืบต่อกันมาถงึ ปัจจุบัน การบรรเลงเพลงโหมโรงสำหรับการแสดง และมหรสพตา่ ง ๆ มีหลาย
ประเภท ได้แก่ โหมโรงเช้า โหมโรงกลางวัน โหมโรงเย็น โหมโรงละคร โหมโรงหุ่นกระบอก
และโหมโรงเสภา เปน็ ต้น ในการบรรเลงนัน้ การเรยี งลำดับเพลงหน้าพาทยท์ ี่ใช้ในโหมโรงแต่ละชุดจะมี
ความแตกต่างกนั ออกไป ตวั อยา่ งเช่น

โหมโรงเช้า ใช้สำหรบั ทำบญุ เลีย้ งพระ ประกอบดว้ ยเพลง สาธุการ เหาะ รัว กลม ชำนาญ
โหมโรงกลางวัน ใช้ในการแสดงที่เร่ิมตั้งแต่เช้า และหยุดพักเที่ยงถึงเวลาบ่ายก็แสดงตอ่
ประกอบด้วยเพลง กราวใน เสมอข้ามสมุทร รัวสามลา เชิด ชุบ ลา ตระบองกัน รุกร้น ปลูกต้นไม้
ใช้เรือ เหาะ โล้ แผละ เชดิ ฉาน ลา รวั
โหมโรงเย็น ใช้บรรเลงก่อนเริ่มงานมงคลต่าง ๆ ประกอบด้วยเพลง สาธุการ ตระ
รวั สามลา เขา้ ม่าน ปฐม ลา เสมอ เชิด กลม ชำนาญ กราวใน ลา

เพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครู

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครูแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครูโขน ละคร และการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบ

พิธไี หวค้ รดู รุ ิยางค์ไทย

1) การบรรเลงเพลงหนา้ พาทยป์ ระกอบพธิ ีไหว้ครโู ขน ละคร

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ในพธิ ีการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการอัญเชิญเทพยดา

ครู อาจารย์ ลำดับการเรียกเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครูน้ันขึ้นอยู่กับผู้ประกอบพิธีแต่ละท่านจะเป็น

ผูเ้ รยี ก อาจจะเหมือนหรอื แตกตา่ งกันออกไป

การเรียกเพลงหน้าพาทย์ที่มีหลักฐานว่าเก่าแก่ที่สุดนั้น ประเมษฐ์ บุณยะชัย

(2534 : 78) ไดก้ ล่าวไวใ้ นเอกสารประกอบการสอนนาฏศิลป์ไทยวิจักขณ์ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในปี พ.ศ. 2397 ครูเกษ เป็นผู้ประกอบพิธี นับเป็นพระราชพธิ ี

ไหว้ครูครอบละครหลวง มหี ลกั ฐานปรากฏเปน็ ครัง้ แรก มีลำดบั ขั้นตอนการเรียกเพลงหนา้ พาทย์ ดังนี้

1) เพลงสาธกุ ารกลอง (รวั ธรรมดา)

2) เพลงตระประคนธรรพ (รัวเฉพาะ)

3) เพลงตระเชญิ (รัวธรรมดา)

4) เพลงโคมเวยี น (รวั ธรรมดา)

5) เพลงโหมโรง วา (รวั ธรรมดา)

6) เพลงตระบรรทมสินธ์ุ (รัวธรรมดา)

ห น ้ า | 14

7) เพลงแผละ (รวั ธรรมดา)

8) เพลงกลม (รัวธรรมดา)

9) เพลงกราวนอก (รวั ธรรมดา)

10) เพลงกราวใน (รัวธรรมดา)

11) เพลงชา้ เพลงเร็ว ลา (รวั ธรรมดา)

12) เพลงเชิดฉิ่ง (รวั ธรรมดา)

13) เพลงคุกพาทย์ (รัวธรรมดา)

14) เพลงองค์พระพริ าพ (ปฐมแลว้ รัวธรรมดา)

15) เพลงลงสรง

16) เพลงเชดิ

17) เพลงรำดาบ (รวั เฉพาะ)

18) เพลงเสมอผี (รวั ธรรมดา)

19) เพลงเสมอมาร (รวั ธรรมดา)

20) เพลงนั่งกนิ (รัวธรรมดา)

21) เพลงเซน่ เหล้า

22) เพลงโปรยขา้ วตอก

23) เพลงพราหมณเ์ ข้า (รวั เฉพาะ)

24) เพลงเสมอสามลา (รวั เฉพาะ)

25) เพลงมหาชยั

26) เพลงเสมอเถร (รวั เฉพาะ)

27) เพลงพราหมณอ์ อก (รัวเฉพาะ)

28) เพลงเวยี นเทยี น (รัวธรรมดา)

29) เพลงกราวรำ

30) เพลงเชิด

31) เพลงเสมอเขา้ ท่ี (รวั ธรรมดา)

32) เพลงกราวรำ

หมายเหตุ รัวเฉพาะ คือ เพลงรัวธรรมดาที่ประดิษฐ์ทำนองให้แตกต่างกันออกไป

เพอื่ ให้สัมพนั ธ์กบั เพลงหน่งึ โดยเฉพาะ

ห น ้ า | 15

นอกจากเพลงหน้าพาทย์ในพระราชพิธีไหว้ครูครอบละครหลวง ตามฉบับของครูเกษ
ในปี พ.ศ. 2397 แล้วครูอาคม สายาคม ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมสิลปากร ได้รับมอบให้เป็นผู้
ประกอบพิธีไหว้ครูโขน ละคร โดยท่านใช้หลักวิธีการตามแบบฉบับพระยานัฏกานุรักษ์เป็นเกณฑ์
ตามลำดบั ผนวกกับแบบฉบับของพระยาสนุ ทรเทพระบำ ซ่งึ สืบผ่านมาทางคุณครูหลวงวิลาศวงงาม

ประเมษฐ์ บุณยะชัย (2534 : 80) กล่าวว่า แบบแผนสำคัญการเรียกเพลงหน้าพาทย์
ฉบับบสมบูรณ์ที่สุด คือ ครูอาคม สายาคม ประกอบพิธีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2521
ในพิธีบวงสรวงสังเวย ไหว้ครูเพื่อการแสดงละครเรื่องสมเด็จพระสุริโยทัย ณ ศาลาผกาภิรมย์
พระตำหนกั สวนจิตรลดา

2) การบรรเลงเพลงหนา้ พาทยป์ ระกอบพิธไี หวค้ รดู นตรีไทย
การบรรเลงเพลงหน้าพาทยป์ ระกอบพิธีไหวค้ รดู นตรไี ทย มีจดุ มุ่งหมายเพอ่ื เป็นการ

อัญเชิญเทพยดา ครู อาจารย์ เช่นเดียวกับพิธีไหว้ครูทางด้านนาฏศิลป์ไทย แต่การใช้เพลงหนา้ พาทย์
จะมกี ารลำดับเพลงไมเ่ หมอื นกนั

เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขน ละคร
เพลงหนา้ พาทยท์ ใี่ ช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครนั้นจะใชป้ ระกอบบทบาทท่ีแสดง

อารมณ์ ความรู้สึก อากัปกิริยา รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตัวละครที่เป็นเทวดา มนุษย์
ยักษ์ ลิง รวมทั้งตัวละครที่เป็นสัตว์ต่าง ๆ ก็มักจะมีการใช้เพลงหน้าพาทย์ที่แตกต่างกันออกไป
เพลงหนา้ พาทย์ประกอบการแสดงแบ่งตามโอกาสทใ่ี ช้ประกอบการแสดงโขน ละครเป็น 2 ลำดบั คอื

1) เพลงหนา้ พาทย์ทใ่ี ช้แสดงอารมณ์
2) เพลงหนา้ พาทย์ท่ใี ช้แสดงอากปั กริ ยิ า

เพลงหน้าพาทย์ท่ีใช้แสดงอารมณ์

อารมณ์ ใชเ้ พลง
อารมณ์รกั เพลงโลม : ใช้สำหรบั เกี้ยวพาราสี เล้าโลมด้วยความรัก ความเสน่หา นยิ ม
ใชค้ กู่ บั เพลงตระนอน
อารมณร์ น่ื เรงิ เพลงกราวรำ : ใช้ในความหมายเยาะเย้ย ฉลองความสำเร็จหรือ
สนกุ สนาน ดใี จ ภมู ใิ จ สนุกสนานได้ชัยชนะ
เพลงช้า เพลงเร็ว : ใชแ้ สดงความยินดี เบิกบานในการไป มาอย่างงดงาม
แช่มช้อย เม่อื ไปถงึ ทหี่ มายจะใชเ้ พลงลา
เพลงสีนวล : ใช้สำหรับท่วงทีเยื้องยาตรนาดกราย หรือความรื่นเริง
บนั เทิงใจของอสิ ตรี

ห น ้ า | 16

อารมณ์ ใช้เพลง

อารมณ์โศกเศรา้ เสียใจ เพลงทยอย : ใช้แสดงความโศกเศร้า เสียใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยการร้องไห้

เช่น การแสดงพระเวสสันดรชาดก ตอนนางมัทรีเดินร้องไห้ตามหา

พระกมุ ารทงั้ สอง

เพลงโอด : ใช้แสดงความโศกเศร้า เสียใจ ร้องไห้ มีทั้งโอดชั้นเดียว

โอดสองช้ัน

อารมณ์โกรธ เพลงคุกพาทย์ และเพลงรัวสามลา : ใช้แสดงอารมณ์โกรธ ดุดัน

น่าเกรงขาม หรอื ใช้ในการแผลงอิทธิฤทธิ์ สำแดงเดช

เพลงหน้าพาทย์ทใี่ ช้แสดงอากปั กริ ิยา

อากัปกิริยา ใชเ้ พลง

กิริยาการกิน อาบน้ำ เพลงนง่ั กิน : โดยทั่วไปใชใ้ นพธิ ีไหว้ครู เมื่อเชญิ ครู หรอื เทพยดามาพร้อม

นอน กันในพธิ ีแล้วได้เวลาถวายเคร่อื งกระยาบวชสังเวย

เพลงเซ่นเหล้า : ใช้ประกอบการกินอาหาร ดื่มสุรา ใช้ในพิธีไหว้ครูโขน

ละคร หรอื ใช้บรรเลงตอนภตู ผปี ีศาจออก

เพลงลงสรง : ใช้ประกอบกริ ิยาอาบนำ้

เพลงลงสรงโทน : ใช้บรรเลงเมื่ออาบน้ำเสร็จ และนำเครื่องหอม

เครอ่ื งแตง่ ตัวขน้ึ มาแต่ง

เพลงตระนอน : ใช้ประกอบการนอน จะเป็นนอนคนเดียว หรือมากกว่า

กไ็ ด้ ใช้กบั ตัวแสดงพระ นาง ยักษ์ ลิง

เพลงตระบรรทมไพร : ใช้ประกอบการนอนขณะท่คี ้างในปา่

เพลงตระบรรทมสินธ์ุ : ใช้สำหรับพระนารายณ์บรรทมองค์เดียวเท่าน้ัน

เรียกเพลงนี้อยา่ งเต็มว่า “ตระนารายณ์บรรทมสินธ์ุ” เปน็ การแสดงกิริยา

การบรรทมของพระนารายณ์ อยบู่ นหลังพญานาคราชกลางเกษียรสมทุ ร

กริ ิยาไป มา เพลงเสมอ : ใช้ประกอบกริ ยิ าไป มาใกล้ ๆ เชน่ เดินออกจากทอ้ งพระโรง

ในระยะใกล้ ไกล เขา้ ฉาก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คอื

เสมอตามลักษณะตัวละคร หมายถึง เพลงเสมอที่มีชื่อตามลักษณะ

ผแู้ สดง ได้แก่

- เพลงเสมอมาร : ใช้สำหรับพญายักษ์ที่มียศศักดิ์สูง เช่น

สหัสสะเดชะ ทศกัณฐ์ และท่ีมีตำแหน่งรองลงมา เปน็ ต้น

ห น ้ า | 17

อากัปกริ ยิ า ใชเ้ พลง
กริ ิยาไป มา - เพลงเสมอสามลา : ใช้สำหรบั พญายักษใ์ หญห่ รือตัวละครท่ีมี
ในระยะใกล้ ไกล (ตอ่ )
ยศศกั ดส์ิ งู แสดงถงึ การไปมาด้วยความสง่างามและภาคภมู ิ
- เพลงเสมอเถร : ใชส้ ำหรับฤๅษแี ละนกั พรต ผทู้ รงศลี
- เพลงเสมอตีนนก หรือเพลงบาทสกุณี : ใช้สำหรับตัวแสดงท่ี

เป็นทา้ วพระยา มหากษตั ริย์มีฐานะสูงศักด์ิ ใช้ไดท้ ง้ั พระ นาง
และยักษ์ ได้แก่ พระราม พระลักษมณ์ อิเหนา สีดา และ
ทศกณั ฐ์เพราะถือวา่ เป็นพญายักษ์ แต่ปัจจุบันเพลงบาทสกุณี
ไม่นิยมใช้กับพญายักษ์ แต่มักนิยมใช้เฉพาะพระและนาง
เท่าน้ัน
- เพลงเสมอเข้าที่ : เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้สำหรับเชิญ
ฤๅษี ครู อาจารย์ หรอื ใชใ้ นพิธีไหวค้ รู
- เพลงเสมอข้ามสมุทร : เปน็ เพลงหน้าพาทย์ทีแ่ สดงให้เห็นถึง
การเดินทางทง้ั กองทพั
- เพลงเสมอผี : ใช้สำหรบั พญายม ภูตผีปศี าจ หรอื พธิ ีไหว้ครู
- เพลงพราหมณ์เข้า : ใช้สำหรับพิธีไหว้ครูการเข้าสู่พิธี
เพื่อที่จะทำพิธีเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา ใช้สำหรับฤๅษี พระ
และยกั ษ์ ผูส้ งู ศักด์ิ
- เพลงพราหมณ์ออก : ใช้สำหรับพิธีไหว้ครูเมื่อเสร็จสิ้นการ
ประกอบพิธี แล้วจะออกจากสถานที่ประกอบพิธีนั้น ๆ
สำหรับใชป้ ระกอบการแสดง
- เพลงดำเนนิ พราหมณ์ : ใชใ้ นการไป มา ระยะใกลข้ องฤๅษี ชี
พราหมณ์
เสมอตามสัญชาติตวั ละคร หมายถึง เพลงเสมอที่มีลีลา ท่วงทำนอง
ของเพลงลอ้ เลยี นสำเนียงภาษาของชาติต่าง ๆ เช่น มอญ ลาว พม่า และ
แขก เป็นต้น โดยบรรเลงประกอบกิริยาไป มาของตัวละครตามสัญชาติ
นน้ั ๆ ไดแ้ ก่
- เสมอมอญ
- เสมอลาว
- เสมอพม่า
- เสมอแขก

ห น ้ า | 18

อากปั กริ ยิ า ใช้เพลง
กิริยาไป มา เพลงเชิด : ใช้สำหรับตัวละครที่ไป มาในระยะไกล หรือรีบด่วน
ในระยะใกล้ ไกล (ต่อ) การโลดไล่ ติดตาม ตลอดจนการต่อสู้ รบราฆ่าฟันกัน เพลงเชิดนี้แบ่ง
ออกเปน็ หลายประเภท ไดแ้ ก่

- เพลงเชิดช้ันเดียว : ใช้บรรเลงประกอบการโลดไล่ ติดตาม
ต่อสู้ เนื่องจากทำนองดนตรีอยู่ในอัตราชัน้ เดียว จังหวะของ
กลองเป็นไปอย่างกระชั้นชิด สม่ำเสมอ ช่วยให้ผู้ดูเกิด
อารมณ์สนุกสนาน ตน่ื เตน้ ชวนให้ติดตาม

- เพลงเชิดสองชั้น : ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร
เชน่ เดียวกบั เชิดอัตราช้นั เดียว แต่จังหวะของเพลงจะช้ากว่า
เล็กน้อย เพื่อตัวละครแสดงลีลาท่ารำไดอ้ ย่างสง่า ผ่าเผยว่า
จะไปยงั ทีต่ า่ ง ๆ ตามบทบาท

- เพลงเชิดฉาน : ใช้ในการติดตามจับระหว่างมนุษย์กับสัตว์
เช่น พระรามตามกวาง ยา่ หรันตามนกยงู

- เพลงเชิดนอก : ใชใ้ นการติดตามจับระหวา่ งสัตว์กับสัตว์ เช่น
หนมุ านจบั นางสพุ รรณมัจฉา

- เพลงเชิดจีน : ใช้ในการหลอกล่อ เลี้ยวไล่ไป มาในการ
ติดตามจับ เช่น เมขลา รามสูร พระลอตามไก่ ย่าหรันตาม
นกยูง

- เพลงฉะเชิด : ใช้บรรเลงประกอบท่ารำโดยเฉพาะของเจ้า
เงาะในเร่อื ง สังขท์ อง เมอ่ื ตอ้ งการไป มาในระยะทางไกล

เพลงเหาะ : ใช้สำหรับเทวดา นางฟา้ ไป มาในทต่ี ่าง ๆ ด้วยกิริยารวดเร็ว
จะเปน็ เดี่ยว หรือหมู่ก็ได้ เชน่ ระบำดาวดึงส์ ระบำนันทอุทยาน
เพลงโคมเวียน : ใช้สำหรับเทวดา นางฟ้าไปมาเป็นหมู่ มีระเบียบ เช่น
ระบำสบี่ ท
เพลงกลองโยน : ใช้สำหรับขบวนแห่ หรือขบวนกองทัพของ
พระมหากษัตริย์ทไ่ี ปมาอยา่ งชา้ ๆ เช่น ระบำพรหมาสตร์
เพลงพญาเดิน : ใช้สำหรับการไป มาของตัวเอก ตัวแสดงผู้สูงศักดิ์
หรือพระมหากษัตริย์ในลักษณะเดี่ยว หรือหมู่ เช่น การแสดงละครนอก
เร่อื งสังข์ทอง ตอนตีคลี นอกจากน้ันใชบ้ รรเลงประกอบการรำอาวุธได้

ห น ้ า | 19

อากัปกริ ิยา ใชเ้ พลง
กริ ยิ าไป มา เพลงกลม : ใช้สำหรับการไป มาของเทพเจ้า เช่น พระนารายณ์
ในระยะใกล้ ไกล (ต่อ) พระวิษณุกรรม พระอรชุน สำหรับมนุษย์ที่ใช้เพลงกลม ได้แก่ เจ้าเงาะ
ในเร่อื งสงั ขท์ อง เพราะเหาะเหนิ เดนิ อากาศได้อยา่ งเทวดา
กริ ิยาการต่อสู้ ตดิ ตาม เพลงเข้าม่าน : ใช้สำหรับการเข้า ออกในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งของ
ตัวเอก หรือท้าวพระยามหากษัตริย์ ถ้าตัวละครมีบทบาทจะต้องเดิน
กิริยาการจดั ทพั ออกมาแสดงบนเวทีใช้เพลง “ต้นเข้าม่าน” แต่เมื่อตัวละครจบบทบาท
ตรวจพล การแสดงแล้วจะเดินเข้าโรง ใช้เพลง “ปลายเข้าม่าน” เช่น การแสดง
ละคร ในเรื่องอิเหนา ตอนวหิ ยาสะกำคลั่ง
เพลงชุบ : ใช้สำหรับนางกำนัล คนรับใช้ เช่น การแสดงโขน เรื่อง
รามเกียรติ์ ชุดศึกกุมภกรรณ ทศกัณฐ์ใช้นางกำนัลไปเชิญกุมภกรรณ
นางกำนัลใช้เพลงชบุ ในการเดนิ ทาง
เพลงโล้ : ใช้สำหรับการเดินทางไป มาทางน้ำ เช่น การแสดงโขน เรื่อง
รามเกียรต์ิ ชดุ นางลอย
เพลงแผละ : ใช้สำหรบั การไป มาของสตั วป์ กี เชน่ ครฑุ นก กา ยุง
เพลงชา้ : ใชส้ ำหรบั การไป มาอย่างปกติ ไมเ่ ร่งรีบ เป็นการแสดงลีลาการ
เดินทางอย่างสง่างาม ในลักษณะเดี่ยวหรือหมู่ก็ได้ เช่น การแสดงละคร
ในเรื่องอเิ หนา ตอนเชดิ หนงั และศึกชี
เพลงเชิด หรือเชดิ กลอง : ใชส้ ำหรบั การตอ่ สู้ ยกทพั
เพลงเชิดฉิ่ง : ใช้สำหรับการค้นหา การลอบเข้าออกในสถานที่ใดที่หนึ่ง
การไล่หนีจับกัน การเหาะลอยในอากาศ การใช้อาวุธแผลงศร ขว้างจักร
เปน็ ตน้
เพลงเชดิ นอก : ใชส้ ำหรบั การโลดไล่จับกันของตัวละครทไี่ ม่ใชม่ นุษย์ เชน่
การแสดงโขน เรอ่ื งรามเกยี รต์ิ ชดุ หนุมานจบั นางสพุ รรณมัจฉา
เพลงเชิดฉาน : ใช้สำหรับการโลดไล่จบั กนั ของตวั ละครที่เป็นมนุษย์และ
สัตว์
เพลงปฐม : ใช้สำหรับการจัดทัพของบรรดาแม่ทัพนายกอง เช่น ฝ่าย
พลับพลาพระราม ตวั แสดง คอื สุครีพแมท่ ัพใหญ่เปน็ ผรู้ ำ ส่วนฝ่ายลงกา
ทศกณั ฐ์ ตัวแสดง คอื มโหทรเปน็ ผูร้ ำ

ห น ้ า | 20

อากปั กริ ยิ า ใช้เพลง
กิรยิ าการจดั ทพั เพลงกราวนอก : ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของมนษุ ย์ และวานร
ตรวจพล (ตอ่ ) เพลงกราวกลาง : ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของมนุษย์ ในการแสดง
ละคร
กิริยาการแสดง เพลงกราวใน : ใชส้ ำหรับการตรวจพลยกทัพของฝา่ ยยักษ์
อทิ ธฤิ ทธ์ิปาฏิหาริย์ เพลงตระนิมิต : ใช้สำหรับการแปลงกาย หรือเนรมิตด้วยอิทธิฤทธิ์
เวทมนตร์ ใช้ได้ทง้ั พระ นาง ยักษ์ ลิง
เพลงตระบองกนั : ใช้สำหรับเนรมติ ประสิทธ์ิประสาทพร หรอื แปลงตัว
เพลงชำนาญ : ใช้สำหรับเนรมิต ประสิทธิ์ประสาทพร หรือแปลงตัว
เช่นเดียวกบั เพลงตระบองกนั
เพลงตระสันนิบาต : ใช้สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ และเชิญ
เทพยดามาชมุ นุมเพอ่ื ความเปน็ สริ มิ งคล เช่น พิธีไหวค้ รู นอกจากนั้นยังใช้
ประกอบการแสดงเกี่ยวกบั การแปลงกายได้อีกด้วย
เพลงคุกพาทย์ และรัวสามลา : ใช้สำหรับแผลงฤทธิ์ประกอบกิริยา
โกรธเคือง เกรี้ยวกราด ดุดัน หรือประกอบสภาพดินฟ้าอากาศวิปริต
น่าสะพรงึ กลวั

สรุปได้ว่า โอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ แบ่งได้ 2 โอกาส คือ ใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น
พธิ ีไหว้ครู , ประกอบการเทศน์ เร่อื งพระเวสสนั ดรชาดก เป็นตน้ และใชป้ ระกอบการแสดงโขน ละคร
แบ่งออกได้ คือ ประกอบอารมณ์ และประกอบอากัปกิริยาตามความเหมาะสม และโอกาสของ
การแสดง

ห น ้ า | 21

แบบฝึกหดั
ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรือ่ ง เรยี นรู้เรอื่ งเพลงหนา้ พาทย์

ชื่อ...................................................................................... ช้ัน........................... เลขที.่ .................
คำชีแ้ จง : ให้นกั เรียนจดั ประเภทของเพลงหนา้ พาทย์จากข้อความที่กำหนดใหถ้ ูกตอ้ ง

เพลงสีนวล เพลงทยอย เพลงชำนาญ เพลงเชดิ
เพลงพญาเดิน เพลงตระบองกนั เพลงช้า,เพลงเร็ว เพลงโล้
เพลงตระนมิ ิต เพลงกราวรำ เพลงเสมอ เพลงโอด

การร่ายเวทมนตร์คาถา/แปลงตวั การเดินทางไป/มา
เพลงตระนิมติ 12111111111111.......... เพลงตระนมิ ติ 12111111111111..........
.............................................................. ..............................................................
.............................................................. ..............................................................
............................................................... ...............................................................

ความโศกเศร้า/เสยี ใจ ความร่ืนเริง/สนกุ สนาน
เพลงตระนิมิต12111111111111.......... เพลงตระนิมติ 12111111111111..........
.............................................................. ..............................................................
.............................................................. ..............................................................
............................................................... ...............................................................

ห น ้ า | 22

เฉลยแบบฝึกหดั
ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรือ่ ง เรยี นรเู้ รอื่ งเพลงหน้าพาทย์

ชอ่ื ...................................................................................... ชั้น........................... เลขท่ี..................
คำช้ีแจง : ให้นักเรยี นจัดประเภทของเพลงหนา้ พาทยจ์ ากข้อความท่กี ำหนดให้ถกู ตอ้ ง

เพลงสีนวล เพลงทยอย เพลงชำนาญ เพลงเชิด
เพลงพญาเดิน เพลงตระบองกัน เพลงชา้ ,เพลงเร็ว เพลงโล้
เพลงตระนมิ ติ เพลงกราวรำ เพลงเสมอ เพลงโอด

การร่ายเวทมนตร์คาถา/แปลงตวั การเดนิ ทางไป/มา
เพลงตระนมิ ิต เพลงพญาเดิน
เพลงชำนาญ เพลงโล้
เพลงตระบองกัน เพลงเสมอ
เพลงแผละ
ความโศกเศรา้ /เสียใจ
เพลงโอด ความร่นื เรงิ /สนุกสนาน
เพลงทยอย เพลงกราวรำ
เพลงสีนวล

เพลงชา้ ,เพลงเร็ว

ห น ้ า | 23

แบบทดสอบหลังเรยี น เรอ่ื ง เรยี นรเู้ พลงหนา้ พาทย์

คำช้แี จง : ใหน้ กั เรยี นทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ ในข้อทีค่ ดิ วา่ ถกู ตอ้ งทีส่ ุด

1. ขอ้ ใดกล่าวถึง “เพลงหน้าพาทย์” ได้ถูกต้องทีส่ ุด
ก. เพลงหนา้ พาทย์เป็นเพลงท่ีมบี ทรอ้ งประกอบการแสดง
ข. เพลงหนา้ พาทย์เป็นเพลงที่ใชป้ ระกอบอากัปกิรยิ าของตวั ละคร
ค. เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงที่พบโดยทั่วไปกบั การแสดงพื้นเมอื งต่าง ๆ
ง. เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงที่ใช้เฉพาะกับตัวละครท่ีเปน็ เทพเจา้ เทา่ น้ัน

2. เพลงหนา้ พาทย์สำหรับการแสดงโขน ละครจำแนกออกเป็นกปี่ ระเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท

3. เพลงองค์พระพิราพ จัดอยูใ่ นเพลงหน้าพาทย์ประเภทใด
ก. เพลงหน้าพาทย์ท่วั ไป
ข. เพลงหนา้ พาทย์ชัน้ กลาง
ค. เพลงหนา้ พาทยธ์ รรมดา
ง. เพลงหนา้ พาทยช์ ั้นสงู

4. ขอ้ ใดไมส่ ัมพนั ธก์ นั
ก. พระมหากษัตรยิ ์ – เพลงพญาเดนิ
ข. พระลักษมณ์ – เพลงบาทสกณุ ี
ค. นกั พรต – เพลงเสมอเถร
ง. นางกำนลั – เพลงแผละ

5. “เพลงเสมอตีนนก” หมายถงึ เพลงใด
ก. เพลงบาทสกุณี
ข. เพลงคกุ พาทย์
ค. เพลงรวั สามลา
ง. เพลงชำนาญ

ห น ้ า | 24

6. เพลงหนา้ พาทยใ์ ดใชแ้ สดงอิทธฤิ ทธิ์
ก. โลม
ข. ทยอย
ค. คกุ พาทย์
ง. ชำนาญ

7. เพลงหน้าพาทยช์ ้ันกลางใช้บรรเลงประกอบกริ ิยาบคุ คลหรือส่งิ ใด
ก. ผู้แสดงท่ีเป็นตวั เอก มียศศักดิส์ งู
ข. เทพพระเจ้าผ้สู ูงศกั ดิ์
ค. องค์พระพิราพ
ง. พราหมณ์

8. เพลงใดคอื เพลงทใี่ ช้จัดทพั ตรวจพล
ก. เพลงชำนาญ
ข. เพลงสาธกุ าร
ค. เพลงปฐม
ง. เพลงตระนิมติ

9. เพลงหนา้ พาทยเ์ สมอเขา้ ที่ ใช้สำหรบั เชิญใคร
ก. นางกำนลั
ข. สดายุ
ค. ฤๅษี
ง. เทวดา-นางฟ้า

10. เพลงหน้าพาทย์ใดทใ่ี ช้สำหรบั สัตว์ปีก
ก. เพลงโล้
ข. เพลงแผละ
ค. เพลงกลองโยน
ง. เพลงโลม

ห น ้ า | 25

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรอื่ ง เรียนรู้เพลงหน้าพาทย์

1. ข 6. ค
2. ข 7. ก
3. ง 8. ค
4. ง 9. ค
5. ก 10. ข

ห น ้ า | 26


เพลงหน้าพาทย์ต่อไปนี้จะใช้บรรเลงในโอกาสใดบ้าง

เพลงหน้าพาทย์ คือเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร หรือใช้สำหรับอัญเชิญพระเป็นเจ้า ฤษี เทวดา และครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้มาร่วมในพิธีไหว้ครู และพิธีที่เป็นมงคลต่างๆ อากัปกิริยาของตัวโขนละครต่างๆ นั้น เป็นกิริยาที่มองเห็นได้ เพราะกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กิริยาเดิน วิ่ง นั่ง นอน กิน เศร้าโศก ร้องไห้ ...

บาทสกุณี ใช้ตอนไหน

น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงในลักษณะต่าง ๆ กันคือ รัวธรรมดาหรือรัวลาเดียว ใช้บรรเลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการแสดงโขนละครเป็นต้น และใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ, รัวเฉพาะ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์บางเพลง เช่น รัวท้ายเพลงบาทสกุณี รัวท้ายเพลงปลูก ...

การแสดงอิทธิฤทธิ์ โกรธ ใช้เพลงใด

ตัวละครแสดงอิทธิฤทธิ์หรือแสดงอาการโกรธ ใช้เพลงรัวสามลาหรือ เพลงคุกพาทย์ ๓. ฉากการจัดทัพและกรีธาทัพ ใช้เพลงปฐม ถ้าเป็นทัพพระรามจะให้ตัวสุครีพ แม่ทัพใหญ่ออกมา แสดงท่าตรวจพล ส่วนทัพทศกัณฐ์จะให้ตัวมโหทรออกมารำ ตอนยกพล ฝ่ายพระรามใช้เพลงกราวนอก ฝ่ายทศกัณฐ์ใช้เพลงกราวใน

เพลงสาธุการใช้บรรเลงในโอกาสใดบ้าง

เพลงสาธุการ เป็นเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่งที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม อันเป็นมงคลที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา มีความหมายในเชิงนอบน้อมบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งมีบทบาทส าคัญอย่างมากต่อการศึกษาวิชาดนตรีไทย โดยเฉพาะ กลุ่มเครื่องปี่พาทย์ เพราะเป็นเพลงเริ่มแรกของนักดนตรีปี่พาทย์ที่จะต้องร ่าเรียน กัน เป็นระเบียบที่ยึดถือปฏิบัติ ...