สมรรถภาพทางกาย แบ่ง ออก เป็น กี่ ประเภท และ มี ทั้งหมด กี่ องค์ประกอบ

ความหมายของสมรรถภาพ (physical fitness)

        คำว่า สมรรถภาพทางกาย   (physical fitness)   มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละยุคสมัยมีความต้องการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายเพื่อวัตถุประสงค์อะไร  พอสรุปได้ดังนี้

         ในปี ค.ศ. 1967 Clarke (อ้างถึงใน สุวิมล, 2526ก : 101) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายว่า หมายถึง “ความสามารถของบุคคลในการทำงานต่างๆ ได้เป็นเวลานาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อยก่อนกำหนด โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นพื้นฐานของสมรรถภาพทางกายคือความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ”
ค.ศ. 1969 Hart และ Shay (อ้างถึงใน สุพจน์, 2532 : 11) ได้กล่าวถึงความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .เป็นภาวะของร่างกายที่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง จะทราบได้จากการทดสอบซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ความแข็งแรง ความอดทน กำลัง ความเร็ว ความคล่องตัว ความอ่อนตัวและความสมดุล ถ้าบุคคลใดมีองค์ประกอบเหล่านี้อยู่ในระดับสูง ก็จะสามารถประกอบภารกิจประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ. . . 
จอห์นสัน  และสโตรเบอร์ก  ( Johnson  and  Stolberg , 1971 : 9-10 )  กล่าวว่า  สมรรถภาพทางกายนั้นเป็นความสามารถในการประกอบกิจกรรมหนักๆ ได้เป็นอย่างดี  และรวมถึงคุณลักษณะต่างๆ ของการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
1. สมรรถภาพของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ  (Cardio –Respiratory Fitness)
2. ความอดทน (Endurance)
3. ความแข็งแรง (Strength)
4. ความอ่อนตัว (Flexibililty)
5. สัดส่วนของร่างกายที่พอเหมาะ (Body Composition)           
Nieman (1986 : 34) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่าเป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวที่มีการใช้พลังงาน มีความสำคัญไม่ใช่เฉพาะแต่การทำงานในชีวิตประจำวันเท่านั้น ยังรวมไปถึงการประกอบกิจกรรมในเวลาว่าง โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและปราศจากอันตรายอีกทั้งเป็นการช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Ryan และ Fred (1989 : 494) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายไว้ว่า สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ประสิทธิผลที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับการพัฒนาเป็นขั้นตอน โดยอาศัยการปฏิบัติทางด้านสุขภาพและการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การพักผ่อน และการออกกำลังกาย สิ่งดังกล่าวนี้จะเป็นพื้นฐานในการป้องกัน การรักษา ตลอดทั้งการเสริมสร้างสมรรถภาพ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและมีการบำรุงรักษาให้คงอยู่ตลอดไป
American College of  Sports medicine (1992 : 9) ได้กล่าวถึง สมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถในการพยายามทำงานที่หนัก โดยปราศจากความเหน็ดเหนื่อยเกินไป บุคคลใดมีสมรรถภาพทางกายดี  มีพลังก็ไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์ แต่จะต้องรวมไปถึงความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรมนอกบ้านหรือที่ทำงานด้วย

นักการศึกษาและนักพลศึกษาของไทยหลายท่าน  กล่าวไว้ ดังนี้

เจริญทัศน์ จินตนเสรี (2521 : 5) กล่าวเอาไว้ว่า
. . .สมรรถภาพทางกายหมายถึงความสามารถของร่างกายในการปฏิบัติหน้าที่ประจำวัน ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อย อ่อนแอจนเกินไปสามารถสงวนและถนอมกำลังไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและเวลาว่าง เพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในชีวิตของตนเองด้วย. . . 
สุวิมล ตั้งสัจพจน์ (2526ก : 101) ได้กล่าวถึงสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า “สมรรถภาพ    ทางกาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานต่างๆ ได้เป็นเวลานาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อยก่อนกำหนด และร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันสั้น” 
วรศักดิ์ เพียรชอบ (2527 : 98) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .เป็นความสามารถของร่างกายในการที่จะในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวัน    ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป และสามารถสงวนและถนอมกำลังไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และใช้เวลาว่างเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในชีวิตของตนเองด้วย. . . 
วิริยา บุญชัย (2529 : 4) ได้กล่าวถึงสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .เป็นความสามารถของบุคคลในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่รู้สึกเหนื่อยและสมรรถภาพทางกายนั้น มีองค์ประกอบ คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด และการประสานงานของกล้ามเนื้อ. . . 
จรวยพร ธรณินทร์ (2534 : 6) ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานและเคลื่อนไหวของร่างกายได้ยาวนาน ไม่เหนื่อยง่าย ซึ่งสมรรถภาพทางกายประกอบด้วยความแข็งแรง ความอดทน ความอ่อนตัว ความคล่องตัว พละกำลัง และความสมดุลของกล้ามเนื้อ. . . 
อุทัย  สงวนพงศ์  ( 2547 : 35) ได้กล่าวถึง ความหมายของสมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมหรือทำงานได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกาย หมายถึงความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่หนักเป็นระยะเวลาติดต่อกันที่ยาวนานโดยไม่เหน็ดเหนื่อยก่อนกำหนด รวมทั้งร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากองค์ประกอบของสมรรถภาพคือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด ความแคล่วคล่องว่องไว ความเร็ว และการประสานงานของประสาทและกล้ามเนื้อ

สมรรถภาพทางกายคืออะไร มีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย.
สมรรถภาพทางกายของตนจะดีหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ของสมรรถภาพทางกาย ซึ่งกองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพกรมพลศึกษา ได้กล่าว สมรรถภาทางกายโดยทั่วไป ประกอบด้วยสมรรถภาพ ด้านย่อย ๆ 9 ด้าน.
1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ.
2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ.
4. พลังของกล้ามเนื้อ.
5. ความอ่อนตัว.

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธกับสุขภาพมีกี่องค์ประกอบ

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-Related Physical Fitness) 1. สัดส่วนร่างกาย (Body Composition) 2. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และการหายใจ (Cardiorespiratory Endurance) 3. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) 4. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) 5. ความอ่อนตัว (Flexibility)

Muscular Strength มีอะไรบ้าง

2. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular strength) คือ กำลังสูงสุดหรือแรงต้านของกล้ามเนื้อขณะใช้งานรูปแบบต่างๆ ในความพยายามครั้งหนึ่ง เช่น การยกน้ำหนัก การผลักประตูบานใหญ่ การยกเก้าอี้ เป็นต้น

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 6 ด้าน มีอะไรบ้าง

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานระหว่างประเทศ (ICSPFI) การชั่งน้ำหนัก 1) วิ่ง ใช้วัดความเร็ว.
วิ่ง 50 เมตร (วินาที) ... .
ยืนกระโดดไกล (ซม.) ... .
แรงบีบมือที่ถนัด (กก.) ... .
ลุก-นั่ง 30 วินาที (ครั้ง) ... .
ดึงข้อราวเดี่ยว (ครั้ง) ... .
วิ่งเก็บของ (วินาที).