รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 รอยเลื่อนได้แก่

ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

by · Published 15 มิถุนายน 2014 · Updated 14 สิงหาคม 2014

รอยเลื่อน คือรอยแตกในหินที่แสดงการเลื่อน สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย ขนาดของรอยเลื่อนมีตั้งแต่ระดับเซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยกิโลเมตร

รอยเลื่อนขนาดใหญ่สามารถสังเกตได้ง่ายจากลักษณะภูมิประเทศ อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่ รอยเลื่อนอาจถูกฝังอยู่ใต้ดิน ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้จากบนพื้นผิวดิน ต้องอาศัยการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ช่วยในการหาตำแหน่งรอยเลื่อน

  • รอยเลื่อน จัดแบ่งตามลักษณะการเลื่อนได้เป็น รอยเลื่อนปกติ รอยเลื่อนย้อน และรอยเลื่อนตามแนวระนาบ
  • รอยเลื่อนที่พบหลักฐานว่าเคยเกิดการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในช่วง 10,000 ปี จะจัดว่าเป็น รอยเลื่อนมีพลัง (Active fault) ซึ่งมักจะพบอยู่ในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อย หรือตามแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก รอยเลื่อนมีพลังมีโอกาสที่จะขยับตัวและก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีกในอนาคต
  • รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย พบมากในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย แบ่งได้เป็น 14 กลุ่ม ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย (ข้อมูล กรมทรัพยากรธรณี 2555)
  • การศึกษารอยเลื่อนมีพลังนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ และจุดประสงค์ของการสำรวจ นอกจากการแปลความหมายจากลักษณะภูมิประเทศแล้ว การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สามารถช่วยในการหาตำแหน่งของรอยเลื่อนใต้ดินได้ เช่น การสำรวจความต้านทานศักย์ไฟฟ้า การสำรวจความผิดปกติสนามแม่เหล็กโลก หรือ การสำรวจคลื่นไหวสะเทือน เป็นต้น
  • สำหรับพื้นที่ตามแนวรอยเลื่อนมีพลังที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อย ก็จะมีการขุดร่องสำรวจใต้ชั้นดิน เพื่อดูว่าในอดีตมีการเลื่อนไปแล้วกี่ครั้งมากน้อยแค่ไหน ในระหว่างขุดก็จะมีการเก็บเศษซากพืชซากสัตว์ในชั้นดินไปตรวจหาอายุ เพื่อคำนวณหาช่วงเวลาที่รอยเลื่อนเคยขยับตัว ก่อนที่จะนำมาใช้ประเมินการขยับตัวครั้งต่อไปในอนาคต และจัดทำเป็นแผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย

รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 รอยเลื่อนได้แก่

แผนที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวประเทศไทย ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี (2556) จัดทำโดย วิชาการธรณีไทย GeoThai.net

Tags: รอยเลื่อนรอยเลื่อนมีพลังแผ่นดินไหว

กลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย สำหรับประเทศไทยมีการจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญไว้สามกลุ่ม ตามทิศทางการวางตัวและการเคลื่อนที่

ประเภทของกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทย[แก้]

กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้
  • กลุ่มรอยเลื่อนแม่ปิง ทอดตัวผ่านอำเภอตากฟ้า, อำเภอพยุหะคีรี, อำเภอเมือง (นครสวรรค์), อำเภอขาณุวรลักษบุรี, อำเภอคลองขลุง, อำเภอเมือง (กำแพงเพชร) ในแนวทิศตะวันตกเฉัยงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 161 กิโลเมตร[1]
  • กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ วางตัวอยู่ทางตะวันออกของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี อยู่ในร่องแม่น้ำกลอง และแควใหญ่ ไปจนถึงเขตแดนพม่า มีความยาวเฉลี่ยกว่า 500 กิโลเมตร เป็นรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวทั้งใหญ่และเล็กหลายครั้ง แต่ที่รุนแรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 มีขนาด 5.9 [2]
  • กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ทอดตัวผ่านอำเภอทองผาภูมิ, อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  • กลุ่มรอยเลื่อนแกลง ทอดตัวผ่านอำเภอพนัสนิคม, อำเภอบ้านบึง, อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์, อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีความยาวโดยประมาณ 98 กิโลเมตร

ในมหายุคมีโซโซอิกมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แต่ในยุคเทอร์เชียรีทิศการเคลื่อนที่จะกลับไปทางขวา

กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
  • กลุ่มรอยเลื่อนเชียงแสน ทอดตัวผ่านอำเภอแม่จัน, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 22 กิโลเมตร
  • กลุ่มรอยเลื่อนแพร่ ทอดตัวผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 25 กิโลเมตร
  • กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ทอดผ่านอำเภอเมือง, อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น, อำเภอนาน้อย, อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 150 กิโลเมตร
  • กลุ่มรอยเลื่อนระนอง ทอดตัวผ่านอำเภอเมือง, อำเภอกะเปอร์, อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง, เลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวโดยประมาณ 98 กิโลเมตร
  • กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทอดตัวผ่านอำเภอบ้านตาขุน, อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด, อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จากนั้นเลยไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ความยาว 148 กิโลเมตร
กลุ่มรอยเลื่อนแบบปกติวางตัวอยู่ในแนวเกือบเหนือใต้
  • กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา
  • กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์
  • กลุ่มรอยเลื่อนปัตตานี

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  2. รอยเลื่อนมีพลัง ในประเทศไทย

  • กรมทรัพยากรธรณี. ธรณีวิทยาประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่2. ซอยร่วมศิริมิตร ถนนวิภาวดีรังสิต. โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
  • แผ่นดินไหว..เขื่อนแตก..ไม่ง่าย??!!! ตั้งสติรับมือ...ปลอดภัย เก็บถาวร 2011-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • แผนที่ประเทศไทยแสดงแนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย โดยกรมทรัพยากรธรณี (พ.ศ. 2555)

ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังเท่าใด

ซึ่งตามหลักการแล้ว พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว มักจะอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลก โดยจากแผนที่ของกรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี 2555 ระบุว่า ในประเทศไทยมีรอยเลื่อน ที่ยังมีพลังทั้งสิ้น 14 รอยเลื่อน ประกอบด้วย 1.รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่าน จ.เชียงราย และ เชียงใหม่ 2.รอบเลื่อนแม่อิง พาดผ่าน จ.เชียงราย

รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยพบที่ภาคใด

ส่วนทางภาคตะวันตกของประเทศ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และทางภาคใต้ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน เช่นกัน คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย โดยในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน

รอยเลื่อนมีอะไรบ้าง

สาเหตุหนึ่งของการเกิดแผ่นดินไหวคือ การเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน (Fault) รอยเลื่อนสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ตามรูปแบบของแรงที่มากระท า ประกอบด้วย รอยเลื่อนปกติ (Normal Fault) เกิดจากแรงดึง (Tension) รอยเลื่อนย้อน (Reverse Fault) เกิดจากแรงอัด (Compression) และรอยเลื่อนตามแนวระนาบ (Strike Slip Fault) เกิดจากแรงเฉือน (Shear) จาก ...

ข้อใดคือรอยเลื่อนที่สําคัญที่พบในภาคใต้ของประเทศไทย

รอยเลื่อนที่พบอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย 1. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร