การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ พื้นดินหนาตัวขึ้นจากการทับถมจากซากพืช และมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนิดพืชและสัตว์ในระบบนิเวศ ตัวเลข I-VII ระบุถึงขั้นต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิบนเกาะแรงกิโทโท

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ เป็นประเภทหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่เชิงนิเวศ ซึ่งเกิดในพื้นที่ซึ่งไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน อาทิ พื้นลาวาจากการปะทุของภูเขาไฟ[1][2]

กระบวนการ[แก้]

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมินั้นเริ่มจากผู้บุกเบิก เช่น ไลเคน, สาหร่าย และฟังไจ ซึ่งผู้บุกเบิกเหล่านี้จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้น โดยพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นนี้ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่มาก่อนเท่านั้น หลังจากพวกผู้บุกเบิกเจริญเติบโตแล้ว จะค่อย ๆ เปลี่ยนชนิดของสิ่งมีชีวิตไปเรื่อย ๆ กลายเป็นมอส, หญ้า, ไม้พุ่ม, พื้ชยืนต้น และกลายเป็นสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุดในที่สุด ซึ่งสังคมสิ่งมีชีวิตขั้นสุดนั้นจะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น ป่าดงดิบ

อ้างอิง[แก้]

  1. "พจนานุกรมชีววิทยาออนไลน์". ชีววิทยาออนไลน์ (Biology Online). สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554.
  2. วอล์กเกอร์, ลอว์เรนซ์ อาร์.; เดล โมรัล, โรเจอร์. "การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ". สารานุกรมวิทยาศาสตร์ชีวิต. doi:10.1002/9780470015902.a0003181.pub2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558.

การเปลี่ยนแปลงแทนที่

ในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ  พบว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น  กลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิมที่เคยพบอาจสูญหายไปกลายเป็นอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาแทนที่ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ  (ecological succession)

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ

                จากตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำนี้อาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งต่างๆทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีอะไรยั่งยืนคงทนอยู่ได้ตลอดกาล ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ประเภทของการเปลี่ยนแปลงแทนที่

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกเป็น การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary succession)  เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เริ่มจากบริเวณที่ปราศจากสิ่งมีชีวิตมาก่อนเช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นบนก้อนหินหรือหน้าดินที่ถูกเปิดขึ้นใหม่ในการตัดช่องเขาทำถนน  จนกระทั่งเกิดสิ่งมีชีวิตพวกมอส  และไลเคนขึ้นมาเป็นกลุ่มแรก เมื่อสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกตายไปก็จะทับถม กลายเป็นชั้นบางๆของดินเกิดขึ้น  จากนั้นก็เริ่มเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ 2  เช่น  หญ้าหรือพวกวัชพืชป่าเกิดขึ้นแทนที่  เมื่อกลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายไปก็จะทับถมเป็นชั้นดินที่หนาขึ้นเรื่อยๆ  และความอุดมสมบูรณ์ของรุธาตุในดินก็เริ่มมีมากขึ้นจนทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าขึ้นมาแทนที่ อาทิ  ไม้ล้มลุก  ไม้พุ่ม  จนกระทั่งในที่สุดเกิดเป็นสังคมพืช  ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพืชชนิดต่างๆ  เกิดขึ้นเป็นลำดับกลายเป็น  สังคมสมบูรณ์  (climax  community)  และมีความสมดุล 

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

ประเภทที่สองเป็น การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (secondary succession)   เป็นการเกิดแทนที่ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในพื้นที่เดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในบริเวณที่ถูกไฟไหม้บริเวณที่เคยหักล้างถางพงเพื่อทำไร่แล้วปล่อยให้รกร้างภายหลัง หรือ ป่าที่ถูกตัดโค่น เป็นต้น ในขั้นต้นของการแทนที่จะเกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นเกิดขึ้นแทนที่ ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และการปลูกโดยมนุษย์ ในขั้นที่เกิดขึ้นเองนั้น มักจะเริ่มด้วยหญ้าและเป็นต้นไม้เล็ก ไปจนถึงต้นไม้ใหญ่ ซึ่งการแทนที่ในขั้นทดแทนนี้ จะใช้เวลาน้อยกว่าการแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในขั้นบุกเบิก ทั้งนี้เพราะการแทนที่ในขั้นทดแทนนี้ เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณนั้นมีดินและธาตุอาหารอยู่พร้อมแล้ว

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิในพื้นที่ที่เคยทำไร่ข้าวโพด

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

ก.  ในช่วงปีแรก  :  พื้นที่ในไร่ยังคงมีซากของต้นข้าวโพดหลงเหลืออยู่

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

ข. ในช่วงปีที่ 2 :  พบว่ามีต้นหญ้ารุกรานเข้ามาในพื้นที่ และขึ้น กระจายไปทั่ว

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

ค.  ในช่วงปีที่ 3  :  ต้นหญ้าเจริญเติบโตสมบูรณ์ และมีพวกต้นแห้ว กระเทียมขึ้นแซมอยู่ในไร่

  

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ

 ง.  ในช่วงปีที่ 10 :  มีไม้พุ่มและไม้ยืนต้นเกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงแทนที่มีลักษณะสําคัญอย่างไร

ในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ พบว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น กลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิมที่เคยพบอาจสูญหายไปกลายเป็นอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาแทนที่ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ (ecological succession)

สิ่งมีชีวิตชนิดใด เป็นผู้บุกเบิกในการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมินั้นเริ่มจากผู้บุกเบิก เช่น ไลเคน, สาหร่าย และฟังไจ ซึ่งผู้บุกเบิกเหล่านี้จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้น โดยพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นนี้ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่มาก่อนเท่านั้น หลังจากพวกผู้บุกเบิกเจริญเติบโตแล้ว จะค่อย ๆ ...

การเปลี่ยนแปลงแทนที่หมายถึงอะไร

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ (ecological succession) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิม กลายเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่มาแทนที่ เมื่อ สภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง

สิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่พบในการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิคือสิ่งมีชีวิตกลุ่มใด

การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นจากการที่บริเวณนั้นไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย และถูกยึดครองโดยสิ่งมีชีวิตเป็นครั้งแรก เช่น เริ่มต้นจากก้อนหินหรือดินที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ จากนั้นเริ่มมีสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกเกิดขึ้นมา ได้แก่ พวกมอสและไลเคน