การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องวางแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการองค์กรกันใหม่เพื่อตามการเปลี่ยนแปลงของสนามธุรกิจให้ทัน แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อองค์กรและต่อพนักงานทุกคน และนี่เองเป็นที่มาของการบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Change Management) ที่จะทำอย่างไรให้การเปลี่ยนแปลงเกิดผลดีที่สุด 

การบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Change Management) คืออะไร 

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) คือ วิธีการบริหารจัดการรูปแบบหนึ่งซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปกลยุทธ์การบริหารจัดการองค์กร รวมถึงการวางแผน และระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ซึ่งทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบตามมา ดังนั้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง (change Management) จึงนำมาใช้เพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในทางที่ดีและลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด 

การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

การให้พนักงานทำงานจากที่บ้านก็เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญรูปแบบหนึ่ง

เข้าใจการบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Change Management) มากขึ้นด้วยการแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ 

1. การบริหารการเปลี่ยนแปลงรายบุคคล (Individual Change Management) 

การบริหารการเปลี่ยนแปลงรายบุคคล (Individual Change Management) คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเน้นเปลี่ยนแปลงพนักงานเป็นสำคัญ โดยต้องใช้ความเข้าใจว่า การที่พนักงานคนหนึ่ง ๆ จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จนั้นเขาต้องการอะไร และยังต้องรู้ด้วยว่าจะช่วยพนักงานคนนั้นก้าวผ่านจุดเดิมไปได้อย่างไร

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงรายโครงการ (Project-Based Change Management)

การบริหารการเปลี่ยนแปลงรายโครงการจะเน้นกลุ่มก้อนของพนักงานที่ทำงานร่วมกันในโครงการต่าง ๆ  ซึ่งจำเป็นต้องระบุโครงการที่ต้องการเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน 

3. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร (Organizational Change Management)

การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กรนั้นต้องชัดเจนในองค์รวมทั้งหมดคือ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ความต้องการของลูกค้า และเงื่อนไขต่าง ๆ ของสังคม ผนวกรวมกับกลยุทธ์การบริหารจัดการอื่น ๆ  จากนั้นระบุแผนการปฏิบัติงานของการเปลี่ยนแปลง เพื่อสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเดินไปในทิศทางเดียวกัน 

การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

8 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

อ้างอิงจากขั้นตอนที่ได้รับการยอมรับกันอย่างสากล และคิดค้นโดยดอกเตอร์ John Kotter ผู้เชี่ยวชาญจาก Harvard Business School โดยมีดังนี้

1. สร้างความตระหนักถึงวิกฤตที่กำลังเผชิญ 

ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือการตระหนักถึงวิกฤตที่องค์กรกำลังพบเจอหรือจะพบเจอในอนาคต เพราะสิ่งนี้ทำให้พนักงาน “ทุกคน” ในองค์กรเข้าใจว่า “ทำไม” องค์กรต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของคู่แข่ง เพื่อที่จะนำมาอธิบายว่า “ทำไม” พวกเราต้องเปลี่ยนแปลง 

2. สร้างทีมเฉพาะกิจสำหรับบริหารการเปลี่ยนแปลง

แม้ท้ายที่สุดการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) เป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร การตั้งทีมเฉพาะกิจสำหรับบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงช่วยให้การเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นมั่นคงขึ้น โดยหลักสำคัญที่สุดในการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจมีอยู่ 2 ข้อหลักคือ 

  1. เลือกสมาชิกที่มีความสามารถพอที่จะนำพาการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้สำเร็จ ซึ่งสามารถดูจากผลงานของโครงการต่าง ๆ ในอดีตก็ได้ 
  2. เลือกสมาชิกที่มีอิทธิพลหรือสามารถจูงใจพนักงานคนอื่น ๆ โดยรวมได้ สิ่งนี้เปรียบเสมือนการเดินเรือที่หางเสือต้องใหญ่พอจึงจะนำพาเรือไปในทางที่ถูกต้องได้ 

การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

ทีมที่ดีทำให้บริหารการเปลี่ยนแปลงได้มีประสิทธิภาพ

3. ชัดเจนในวิสัยทัศน์ 

วิสัยทัศน์ที่ดีจะต้องบอกให้พนักงานทุกคนรับรู้ได้ว่าองค์กรกำลังจะมุ่งหน้าไปทิศทางใดและมีเป้าหมายคือที่ไหน เมื่อคิดถึงวิสัยทัศน์แล้วมีจุดสำคัญที่ควรคำนึงดังนี้ 

  • สร้างภาพให้ชัดเจน
  • ระบุความคาดหวังของทั้งองค์กรและพนักงาน 
  • เป็นไปได้จริง 
  • เข้าใจง่าย 
  • มีความยืดหยุ่น 

หากถ้าวิสัยทัศน์สามารถสื่อทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้ ก็จะทำให้ทุกคนเห็นเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน 

4. เผยแพร่วิสัยทัศน์ 

เมื่อได้ครบทั้งสามข้อแล้ว ขั้นต่อไปคือเผยแพร่วิสัยทัศน์ให้ถึงพนักงานทุกคน กลเม็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในขณะที่สื่อสารไปยังพนักงานคือ ข้อมูลที่ครบถ้วนผนวกรวมกับความรู้สึกจริงใจที่เห็นว่าพนักงานเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ 

5.สร้างเสริมความสมัครใจ 

การเปลี่ยนแปลงขององค์กรมีหลายส่วนที่ไม่ใช่หน้าที่ปฏิบัติของพนักงานโดยตรง พนักงานยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดิม ดังนั้นเพื่อให้วิสัยทัศน์ทั้งหมดเป็นจริงได้ ต้องแฝงไปด้วยความอยากทำโดยสมัครใจของทุกคนที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง 3 ข้อต่อไปนี้เป็นขั้นตอนย่อยของผู้นำเพื่อสร้างเสริมความสมัครใจของพนักงานต่อวิสัยทัศน์ขององค์กร

  • สร้างรายการปฏิบัติที่นำพาสู่เป้าหมายของวิสัยทัศน์
  • สร้างเครื่องมือหรือกลไกที่จะประเมินผลการปฏิบัติไปสู่เป้าหมาย 
  • สร้างแบบอย่างผ่านการปฏิบัติของผู้นำ 

6. สร้างความสำเร็จระยะสั้น 

เป้าหมายที่มีในวิสัยทัศน์อาจจะใช้เวลานานกว่าจะไปถึง การสร้างความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระยะสั้นจึงช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานทุกคนท่ามกลางถนนสู่การเปลี่นแปลง เช่น นำเครื่องมือทางธุรกิจที่ใช้ได้ผลส่งต่อไปยังทุก ๆ แผนกขององค์กร หรือ รวมข้อมูลสำคัญของแต่ละแผนกเข้าสู่ศูนย์กลางเพื่อนำมาใช้ร่วมกัน หากทำสิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้สำเร็จก็ย่อมสร้างการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ให้เห็นได้แล้ว

    การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

    ความสำเร็จระยะสั้นสร้างขวัญและกำลังใจ

    7. ใช้ประโยชน์จากความสำเร็จที่ผ่านมา 

    ความสำเร็จระยะสั้นที่เกิดขึ้นทำให้ทุกคนรู้สึกเข้าใกล้เป้าหมาย เราสามารถหยิบยกความสำเร็จเหล่านี้มาสื่อสารกับพนักงานในองค์กรได้ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในความสำเร็จที่พนักงานทุกคนกำลังร่วมกันสร้าง ขั้นตอนนี้จะช่วยผลักดันองค์กรได้ดียิ่งขึ้น เช่น สื่อสารว่าจากกิจกรรมที่ทำสำเร็จในครั้งก่อน ทำให้แผนก A, B และ C สร้างผลลัพธ์ได้เพิ่มขึ้น ด้วยเครื่องมือที่เกิดขึ้นของแผนก D เป็นต้น

    8. ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่ ๆ สู่องค์กรทีละเล็กทีละน้อย 

    นำประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ได้จากความสำเร็จระยะสั้นมาผนวกรวมเข้ากลับการทำงานขององค์กร ตัวอย่างเช่น “การรวมข้อมูลสำคัญของแต่ละแผนกเข้าสู่ศูนย์กลางเพื่อนำมาใช้ร่วมกัน” ในความสำเร็จระยะสั้น นำสิ่งนี้มาสื่อสารและผนวกรวมเป็นวิธีการทำงานใหม่ ๆ อย่างช้า ๆ  โดยต่อไปจะมีการนำข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ มาแชร์และใช้ร่วมกันสม่ำเสมอ เพื่อแทนที่วิธีการแบบเก่า ๆ ที่แต่ละแผนกมีข้อมูลเป็นของตัวเองเท่านั้น เป็นต้น

    เครื่องทุ่นแรงสำหรับบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

    การเปลี่ยนแปลงที่องค์กรอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทใด หรือใช้การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) แบบใด สิ่งจำเป็นที่สำคัญที่สุดคือ การสื่อสาร “การเปลี่ยนแปลง” ให้พนักงานทุกคนได้รับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพราะหากพนักงานไม่เข้าใจร่วมกันแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงทำได้ยาก 

    อย่างไรก็ตามยังมีเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาใช้สื่อสารในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วถึงพนักงานทุกคนได้ทุกที่ทุกเวลาทุกลำดับขั้นซึ่งมีชื่อว่า “Teachme Biz” แพลตฟอร์มที่องค์กรชั้นนำหลายพันองค์กรทั่วโลกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารองค์กร ด้วยรูปแบบที่สร้างง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย และสื่อสารง่าย ถึงบรรทัดนี้คงถึงเวลาของคุณแล้ว หากการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณ Teachme Biz นับเป็นเครื่องทุ่นแรงหนึ่งที่สามารถพาคุณและองค์กรก้าวผ่านวิกฤตปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์

    การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึง

    Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ

    ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น คลิก สมัครเข้าร่วมเวิร์คช็อปออนไลน์กับ “Teachme Biz” ฟรี!  

    การเปลี่ยนแปลงในองค์การ หมายถึงอะไร

    (Organizational Change) การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมาย ถึง การเคลื่อนไหวขององค์การออกจาก สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสู่บางสิ่งที่ปรารถนา ในอนาคตเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพ ขององค์การ สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมี

    การเปลี่ยนแปลงองค์การมีอะไรบ้าง

    การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ขององค์การทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งรวมถึงการออกแบบ โครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณ รัตน์, 2549) การเปลี่ยนแปลงองค์การสามารถแบ่งออก เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (Structural Change) 2) การลดต้นทุน ( ...

    การเปลี่ยนแปลงหมายถึงอะไร

    ค าว่า “การเปลี่ยนแปลงหมายถึง กระบวนการหรือการกระทาที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งเกิดจากการปรับตัวขององค์การเพื่อการด ารงอยู่ อาทิสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นใน องค์การ ความรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมขององค์การ ปริมาณการผลิต ตลอดจนการเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร

    กระบวนการเปลี่ยนแปลงในองค์การมีกี่ระยะ

    การเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาชื่อดัง ได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการ ให้การเปลี่ยนแปลง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreezing) ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Changing) และระยะรักษาสภาพใหม่ให้อยู่กับองค์การได้ถาวร (Refreezing)