กลยุทธ์การ สื่อสาร ทางการ ตลาด มี อะไรบาง

เพราะมนุษย์เราจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา และการสื่อสารนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างการเข้าถึงให้กับธุรกิจของเรา เพื่อการสื่อสารดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจะต้องมีการวางแผน หรือที่เรียกว่า Marketing Communication Plan ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ขั้นตอนการทำให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้การสื่อสารการตลาดหลงทางและพลาดเป้า โดยเราได้สรุป 7 ขั้นตอนการวางแผนการตลาดมาให้ตามนี้ 

1.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ

สำหรับขั้นตอนแรก เหมาะกับคนที่ไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไร หรือไม่รู้จะทำอะไรใน Marketing Communication Plan ขอแนะนำว่า ก่อนจะลงมือวางแผน Marketing Communication Plan ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจว่าตอนนี้เป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง

  • ชื่อเสียงของธุรกิจเป็นอย่างไร
  • เอกลักษณ์ของแบรนด์มีคนจดจำได้ไหม 
  • ประสบการณ์ของลูกค้าเขารู้สึกกับแบรนด์เราแบบไหน
  • แนวโน้มการตลาดสถานะการแข่งขันในตลาดตอนนี้เราเป็นรองหรือครองอันดับแชมป์

รวมทั้งมองหาดูว่าตอนนี้ธุรกิจของเรามีจุดเจ็บปวด หรือ Pain Point อะไรบ้างที่ต้องการแก้ไขอะไรบ้าง เช่น ตอนนี้แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จักหรือยังโนเนมอยู่, แบรนด์เจอกับปัญหาดราม่าหรือภาวะวิกฤต (Brand Crisis) ฯลฯ ลองมองหาปัญหาที่ธุรกิจกำลังเจออยู่ เพื่อวางแผน Marketing Communication Plan เบื้องต้น 

เว้นเสียแต่ถ้าคุณมีธงในใจหรือมีเป้าหมายอยู่แล้วว่าอยากทำ Marketing Communication Plan เกี่ยวกับหัวข้ออะไรก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้ 

2.ตั้งวัตถุประสงค์การสื่อสารทางการตลาด

ให้การวางกลยุทธ์ไม่หลุดไม่ฟุ้งก็ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า ทำ Marketing Communication Plan เพื่ออะไร เช่น ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ต้องการประชาสัมพันธ์หรือโปรโมทโปรโมชั่น/แคมเปญใหม่ ฯลฯ

 หรือถ้าคิดวัตถุประสงค์ Marketing Communication Plan ไม่ออกอาจจะเริ่มจากถามคำถามว่า  

  • เราต้องการประสบความสำเร็จใน…เรื่องอะไร
  • ทำไมเราถึงต้องการประสบความสำเร็จใน…เรื่องนั้น?
  • ทำไม…เรื่องนั้นนั้นถึงสำคัญ?

นึกไม่ออกว่าจะสร้างวัตถุประสงค์ยังไง เดี๋ยวยกตัวอย่างสถานการณ์ธุรกิจเจอปัญหาเจอเรื่องดราม่า Brand Crisis ในโลกโซเชียล และสร้างผลกระทบที่ทำให้แบรนด์ถูกลดทอนความน่าเชื่อถือ และส่งผลต่อยอดขาย

  • เราต้องการประสบความสำเร็จในเรื่อง.. แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูดีขึ้นเพื่อกลบกระแสดราม่า
  • เราต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์อีกครั้ง เพื่อเผชิญหน้ากับวิกฤตได้อย่างยั่งยืน
  • เรื่องนี้สำคัญเพราะจะช่วยให้แบรนด์รอดพ้นจากวิกฤตที่เกิดขึ้น

     

เมื่อเราได้ข้อสรุปแบบนี้ก็จะทำให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าควรวางวัตถุประสงค์กู้วิกฤตเรียกความเชื่อมั่นของแบรนด์ให้กลับคืนมา และอย่าลืมกำหนดระยะเวลาการสื่อสาร Marketing Communication Plan ให้ชัดเจน และก็เป็นอะไรที่ทำได้จริง ไม่มโนไปเองนะ

3.ตั้งกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ

อย่างที่รู้กันว่าคนเรานั้นใช้ภาษาสื่อสารแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ Marketing Communication Plan ไม่แป้ก เราควรเริ่มต้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ (Persona) เพื่อให้การสื่อสารทางการตลาดทรงพลังมากที่สุด การตั้งกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ให้ชัดเจน เช่นกำหนดเพศ อายุ รายได้ การศึกษา อาชีพ พฤติกรรม ความชอบ ความเชื่อ ฯลฯ กำหนดเป้าหมายหลักของบริษัทฯออกมาให้ก่อนลงมือวางแผนกลยุทธ์ Marketing Communication Plan 

เมื่อเรารับรู้แล้วว่า การตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการทำ Marketing Communication ให้ตรงจุด ตรงประเด็น ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งตรงกับกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการสื่อสารด้วย เพราะถ้าเราสื่อสารผิดกลุ่มถึงแม้จะสร้างการรับรู้ได้ก็จริง แต่อาจจะไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการได้

4.วางแผนกลยุทธ์สื่อสารการตลาด กำหนดงบประมาณ

ให้การทำ Marketing Communication Plan เกิดขึ้นจริง มาถึงขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำแล้ว คือการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ธุรกิจ วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมาย เข้าด้วยกันเพื่อวางกลยุทธ์เฉพาะ (Specific tactics) ตลาดเพื่อให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งกำหนดงบประมาณ Marketing Communication Plan ให้ชัดเจน และกำหนดเวลาในการโปรโมทสื่อสารพร้อมกับสร้างแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ด้วย 

5.ผลิตเนื้อหา หรือคอนเทนต์และข้อความที่ต้องการสื่อสาร

มาถึงขั้นตอน Marketing Communication Plan การลงมือทำเมื่อมีกลยุทธ์ รู้เป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ก็ลงมือตามแผนที่วางไว้ ด้วยการสร้างสรรค์คอนเทนต์ แคปชั่น ภาพ (Artwork) ต่าง ๆ ให้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และตอบโจทย์ที่ต้องการ โดยจะต้องเลือกภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น ภาษาเข้าใจง่าย ภาษาทางการ ภาษากึ่งทางการ หรือภาษาท้องถิ่น แบบไหนต้องเลือกให้ตรงกับแผน  Marketing Communication Plan ด้วยล่ะ ซึ่งจุดนี้จะทำให้แต่ละแบรนด์มีการสื่อสารที่แตกต่างกันนั้นเอง

6.เลือกช่องทางโปรโมทคอนเทนต์หรือข้อความนั้น

มาถึงการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ เพื่อให้เข้าถึงได้มากที่สุด สร้างการรับรู้ได้สูงสุด หลังจากลงมือผลิตคอนเทนต์หรือข้อความที่ต้องการสื่อสาร Marketing Communication Plan ครบจบก็มาเลือกช่องทางโปรโมทให้กลุ่มเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้พบเห็น ผ่านการสื่อสารในช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายพบเห็นและนิยมใช้งานเป็นประจำ เช่น หนังสือพิมพ์ อีเมลทางการตลาด เว็บไซต์ โทรทัศน์ ข้อความ SMS โซเชียลมีเดีย (Facebook, LINE OA, YouTube, TikTok, Twitter) รวมทั้งช่องทางการยิงแอดต่าง ๆ ก็กำหนดให้เหมาะสมตามกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยจะต้องเลือกใช้สิ่งที่คุ้มค่าที่สุด ไม่เกินงบที่วางเอาไว้ และได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

7.ตั้งเป้าหมายและวัดผลประเมินผล

กลยุทธ์ Marketing Communication Plan จะทรงพลังได้ถ้าเรามีเป้าหมายและมีการวัดผลประเมินผลการสื่อสารทางการตลาด โดยเราจะต้องตรวจสอบเป็นระยะว่าสิ่งที่สื่อสารออกไปนั้นเป็นอย่างไร มีกระแสตอบรับแบบไหน เป็นไปในทิศทางที่ดีหรือเปล่า เพื่อปรับปรุงและแก้ไขให้กลยุทธ์การสื่อสารดียิ่งขึ้น อาจจะเริ่มจากการลองทำแบบสำรวจ แบบสอบถาม หรือลงมือเก็บข้อมูล Social Listening ก็ช่วยได้เยอะ

เพื่อให้การสื่อสารทางการตลาดเฟอร์เฟคที่สุด จำไว้ว่า Marketing Communication Plan จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อวางแผนและมีเป้าหมายชัดเจนก่อนลงมือทำ รวมทั้งมีการวัดผลลัพธ์อยู่เสมอ