การหาคุณภาพของแบบทดสอบ วัดผล สัมฤทธิ์ ทางการ เรียน

        7. ความยุติธรรม คำถามของแบบทดสอบต้องไม่มีช่องทางชี้แนะให้นักเรียนที่ฉลาดใช้ไหวพริบในการเดาได้ถูกต้องและไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่เกียจคร้านซึ่งดูตำราอย่างคร่าวๆตอบได้ และต้องเป็นแบบทดสอบที่ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ใช้สำหรับรวบรวม ข้อมูลหรือคะแนน เพื่อนำข้อมูลหรือคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มาประเมินหาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนที่สร้างขึ้น

ขั้นตอนการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด กับจุดประสงค์การ

เรียนรู้ในเรื่องที่ต้องการสร้างแบบทดสอบ >>> ดูจากแผนการจัดการเรียนรู้ >>> ประเมินแผนฯใดบ้าง?

3. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 35 ข้อ ต้องการจริง

จำนวน 20 ข้อ โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์

4. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ

5. ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยวิธีของ

โรวิเนลลี่ (Rovinelli) และ แฮมเบลตัน (R.K. Hambletan) ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2537)

ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดหาจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

ให้คะแนน 0 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดหาจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

6. นำคะแนนที่ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นมาหาค่า IOC ของข้อสอบรายข้อ ดังนี้

คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ทำการทดสอบหาความเชื่อมั่น

7. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบกับนักเรียน

ที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง

8. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการแก้ไขแล้วไปทดลองกับนักเรียนที่มี

ลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง นำผลการทดลองมาหาคุณภาพของข้อสอบ หาค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (B) แล้วเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากระหว่าง .20 ถึง .80 หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับอีกครั้ง

ก่อนที่จะนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปใช้จริงๆนั้น ต้องมีการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาวิจัยเรียกว่า try out โดยปกติมักจะหาค่ากันอยู่สามชนิด ได้แก่ ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (KR 20) ซึ่งในปัจจุบันพี่น้องเพื่อนครูเราไม่จำเป็นต้องมานั่งคำนวณมือแล้ว เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณได้ ทำให้ลดเวลาในการคำนวณ เพิ่มความถูกต้องในการคำนวณ และได้ผลเป็นที่ยอมรับจากบุคลากรหลายๆฝ่ายด้วยเช่นกัน แต่มีบางประเด็นที่ควรพิจารณาดังนี้ การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน