เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

ทีมวิทยากรของสถาบันไอเอ็มซี ได้มีโอกาสไปบรรยาย และทำ Workshop ในหัวข้อ Digital Transformation ให้กับหลาย ๆองค์กร สิ่งหนึ่งที่ทีมงานจะนำมาให้ผู้เรียนทำเสมอในตอนท้ายก็คือ การเขียน Business Model Canvas (BMC) สำหรับการจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจ (Business Transformation) ในยุคของดิจิทัล เพราะการทำ Digital  Transformation  คือ การปรับกลยุทธ์และอาจต้องคิดโมเดลของธุรกิจใหม่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวช่วย มากกว่าที่จะคิดเพียงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในองค์กรเพียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ยังมีโมเดลธุรกิจเดิมๆซึ่งอาจกำลังเกิด Digital Disruption

Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจผ่านปัจจัยทั้ง 9 ด้านที่ครอบคลุมส่วนสำคัญๆ ต่อธุรกิจ BMC ถูกพัฒนา และนำเสนอโดย Alexander Osterwalder และ Yves Pigneur ในหนังสือชื่อ Business Model Generation (ปี พ.ศ. 2552) เพื่อเป็นเทมเพลตที่ช่วยออกแบบแบบจำลองธุรกิจหรือโมเดลธุรกิจ และทำให้สามารถช่วยประเมินธุรกิจในด้านต่าง ๆ 9 องค์ประกอบคือ

  1. Value Propositions คุณค่าของธุรกิจ
    Customer Segment กลุ่มของลูกค้าเป้าหมายของเรา
    3. Customer Relationships การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า
    4. Channels ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
    5. Key Activities กิจกรรมหลักที่ต้องทำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ
    6. Key Partners พาร์ทเนอร์หลักของเรา
    7. Key Resource ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ
    8. Revenue Streams รายได้ของของธุรกิจมาจากแหล่งใด
    9. Cost Structure  ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจ

BMC ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจต่าง ๆ อาจต้องกลับมาทบทวน Business Model ที่ดำเนินอยู่ ทั้งนี้รูปแบบธุรกิจแบบเดิมก็อาจเริ่มเปลี่ยนไปในยุคไอทีที่เข้ามาในช่วงก่อนหน้านี้ซึ่งมีเรื่องของอินเตอร์เน็ต และ Smartphone เข้ามา และกำลังเปลี่ยนไปอีกครั้งในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เราต้องทำ Digital Transformation

เลยอยากเขียนสรุปสั้นๆให้เห็นว่า องค์ประกอบแต่ละด้านของ Business Model Canvas มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในยุคดิจิทัล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปวางแผนปรับโมเดลธุรกิจในการทำ Digital Transformation ดังนี้

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงตั้งแต่ราว 30 ปีก่อน ที่คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานของมนุษย์ แต่ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมามีการพูดถึงอย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากความพร้อมของเทคโนโลยีที่พอเหมาะพอดี เกิด Digital Disruption ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลต่อรูปแบบของการทำธุรกิจ โมเดลธุรกิจ พฤติกรรมของลูกค้า ความต้องการของลูกค้า และสิ่งที่ลูกค้าให้คุณค่า รวมถึงกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม


ผู้บริหารหรือนักธุรกิจทุกคนจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ปรับตัว ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับกระแสคลื่นลมครั้งนี้ให้ทันเวลา แต่ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่าน เราจำเป็นต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเสียก่อน


เส้นทางสู่การเปลี่ยนผ่าน

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ไม่ใช่เพียงการสร้างเว็บไซต์ ซื้อเครื่องจักรสุดทันสมัย หรือแปลงข้อมูลของบริษัทให้เป็นไฟล์ดิจิทัล แต่หัวใจสำคัญก็คือ การคิดอย่างเป็นดิจิทัล มองกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างเป็นระบบ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น ดังที่ Michael Porter ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์ธุรกิจแห่ง Harvard Business School ได้อธิบายไว้ว่า “การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล คือ กลยุทธ์ที่จะนำพาธุรกิจเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจดิจิทัล” ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายไอที แต่เป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่เจ้าของกิจการและพนักงานทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันเรียนรู้ และลงมือทำไปด้วยกัน



เริ่มต้นจากการทบทวนคุณค่าของธุรกิจเดิมว่าจะขยับไปสู่การขับเคลื่อนแบบดิจิทัลได้อย่างไรบ้าง ทดลองโมเดลง่าย ๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานแล้วจึงค่อย ๆ ขยับขยายให้ใหญ่ขึ้น ตามมาด้วยการสื่อสารกับคนในองค์กรทุกฝ่าย ให้ปรับวิธีคิด เรียนรู้แนวคิดใหม่ เรียนรู้วิธีการใหม่ในการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไม่ลืมสร้างรับฟังความคิดเห็น สานความสัมพันธ์ ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด หมั่นกลับมาทบทวน เพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ความเป็นไปของบริบททางเศรษฐกิจและสังคมอันมีวิธีคิดแบบดิจิทัลเป็นพื้นฐาน

เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง: https://skyteam-it.com/digital-transformation-framework/




รู้รอบก่อนลงมือ

ศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลนั้นมีหลากหลายรูปแบบ หลายวิธีการแต่ที่จะขาดไปไม่ได้สำหรับทุกธุรกิจก็คือ องค์ความรู้พื้นฐานเหล่านี้


1. การสร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Build Data-Driven Culture)

ในแต่ละวันมนุษย์สร้างข้อมูลดิจิทัลขึ้นมามากมายมหาศาล การเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นจึงสำคัญยิ่งกว่าการกอบโกยเป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมดไว้แต่ไม่รู้จะนำไปใช้ได้อย่างไร เช่น การมีเบอร์โทรศัพท์ของลูกค้าตั้งแต่ปีแรกที่ก่อตั้งบริษัทจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้สร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้เท่าการรู้ว่าเบอร์โทรศัพท์ใดที่มีการใช้งานติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้งานในช่วงเวลาใดบ้าง และมีรายการสั่งซื้อสินค้าใดบ้าง


จากตัวอย่างง่าย ๆ ที่ยกมาข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า “การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” นั้นไม่ใช่เพียงมีข้อมูลแต่คือการนำข้อมูลที่ผ่านการคัดสรร และวิเคราะห์แล้วไปใช้สร้างกลยุทธ์ดึงดูดใจ สร้างแผนการผลิต วางระบบคลังสินค้า ออกแบบการจองคิวเข้ารับบริการ ฯลฯ ได้อีกมากมาย


เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง: https://www.revealbi.io/blog/reveal-data-driven-decision-making


2. ทักษะการเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล (Leadership in Digital World)

นอกจากวิสัยทัศน์ที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดเดาได้แล้ว ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการจำเป็นต้องมีทักษะของการเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ผู้ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มีร่วมกัน ได้แก่ คิดสร้างสรรค์ เชื่อในพลังของนวัตกรรม (Innovative) ไม่ยึดติดกรอบเดิม พร้อมกระโจนสู่ความเสี่ยงที่ประเมินไว้ (Disruptive) แน่วแน่ในทุกการตัดสินใจ ยืดอกรับผิดชอบเมื่อผิดพลาด (Bold in Leadership) เข้าอกเข้าใจผู้อื่น เชื่อมั่นในตัวเอง (Socially Adapt) มุ่งตรงไปที่เป้าหมาย มองหาความเป็นไปได้เสมอ (Determined)


เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง: https://www.linkedin.com/pulse/innovation-five-habits-digital-transformation-leaders-robbert-de-haan/



3. การบริหารโครงการยุคใหม่ (Modern Project Management)



เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง: https://www.smartsheet.com/triple-constraint-triangle-theory



ที่ผ่านมาการบริหารจัดการกระบวนการทำงานต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการโครงการเป็นสำคัญ​ แต่เมื่อต้องการจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นดิจิทัล การใช้เครื่องมือตัวช่วยจัดการโครงการที่ติดตามผลการทำงานอัตโนมัติ ประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนถึงจุดที่จะเกิดปัญหา เพื่อบริหารเวลา ค่าใช้จ่าย และความต้องการให้งานออกมามีคุณภาพดีได้อย่างแม่นยำ

เครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานรูปแบบใหม่ มีทั้งแบบที่ช่วยให้งานง่ายขึ้น เช่นระบบจัดการบัญชี ทำใบเบิกจ่าย ใบเสนอราคาที่เป็นแบบฟอร์มเฉพาะ คำนวณภาษีได้อย่างแม่นยำ ลดเวลาในการทำงานเดิมซ้ำ ๆ ระบบการสื่อสารในองค์กรที่ติดตามความคืบหน้าของงานได้อย่างละเอียด ไปจนถึงระบบ Automation ที่ทำงานได้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง

โจทย์ที่ท้าทายของระบบเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ที่ความยากง่ายในการใช้งาน แต่อยู่ที่การจัดการความรู้สึก ความเคยชินของพนักงานที่เคยทำงานเดิมซ้ำ ๆ มาตลอด ว่าจะสามารถลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเหล่านี้ได้อย่างไร



4. การทำธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (The Business of Platforms)

ในศตวรรษนี้ เราน่าจะเห็นตรงกันว่ามีการผลิตเกิดขึ้นมากเพียงพอสำหรับมนุษย์ทุกคนแล้ว แต่กระบวนการจัดจำหน่าย การซื้อขายแบบเดิม ๆ ทำให้เราหาสิ่งต้องการไม่เจอ หรือคนขายก็หาลูกค้าไม่พบ ประกอบกับเทรนด์ที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น การสร้างพื้นที่ตรงกลาง ที่ทำให้ความต้องการซื้อกับความต้องการขายมาบรรจบพบกัน จึงเป็นอีกรูปแบบที่หลายธุรกิจปรับตัวเข้ามาร่วมแข่งขัน เนื่องจากไม่ต้องเป็นผู้ดูแลกระบวนการผลิต ไม่ต้องสร้างคลังสินค้า ไม่ต้องจ้างพนักงานส่งของ แต่เปลี่ยนมาสร้างการเชื่อมต่อที่ตอบโจทย์แทน


ย้ำตรงนี้ว่าแพลตฟอร์มไม่ได้จำกัดรูปแบบว่าจะต้องเป็นแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์เสมอไป แต่หัวใจสำคัญคือ การสร้างพื้นที่ที่ตอบโจทย์การแลกเปลี่ยนและความเชื่อมั่นจากกลุ่มเป้าหมายทั้งสองฝั่ง



เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง: เอกสารประกอบการเรียนหัวข้อ Business of Platforms สอนและออกแบบโดย คุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับบริหารธุรกิจก่อสร้างรายแรกในเอเชีย

5. การระดมทุนยุคดิจิทัล (The Business of Platforms)

การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอดีตอาจเป็นเรื่องยาก แต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยให้ไอเดียแปลงเป็นความจริงที่จับต้องได้ง่ายขึ้น การระดมทุนในยุคดิจิทัลจึงไม่ต้องง้อธนาคารอีกต่อไป แต่เราสามารถพิชชิงไอเดียให้ผู้คนในโซเชียลมีเดียทั่วโลกได้รับรู้และร่วมลงทุนผ่านตัวกลางอย่างแพลตฟอร์มที่เป็น Funding Portal

การระดมทุนที่ง่ายขึ้นทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และผู้ประกอบการเริ่มต้น (Startup) ในยุคปัจจุบันมีโอกาสพัฒนาตัวเองได้อย่างมั่นใจ วัดกันด้วยไอเดียที่แปลกใหม่และทำเงินได้จริง ไม่ต้องรอพิสูจน์ผ่านกาลเวลาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป



เปลี่ยนธุรกิจจากแบบเดิมไปสู่ธุรกิจดิจิทัลทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง: https://ec.europa.eu/growth/tools-databases/crowdfunding-guide/what-is/explained_cs




มองให้ไกล ไปให้ถึง

เมื่อรู้แล้วว่าอะไรบ้างที่ต้องเปลี่ยนแปลง อีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านในอนาคต ว่าเราจะเลือกรับมาปรับใช้กับธุรกิจที่มีอยู่ได้อย่างไร Forbes เสนอเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่น่าจับตาสำหรับปี 2021 ไว้ดังนี้

  1. 5G มาถึงพอดีกับที่เกิดโรคระบาดไปทั่วโลก ซึ่งมีเงื่อนไขให้ผู้คนต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำงาน การใช้ชีวิตของเราทุกคนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งจะรวมไปถึงการพัฒนา Internet of Things (IoT) อย่างก้าวกระโดดอีกด้วย

  2. Customer Data Platforms (CDP) เป็นอีกโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ สำหรับโลกที่ข้อมูลของเราแต่ละคนกระจัดกระจายอยู่ตามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนับสิบนับร้อย แต่พฤติกรรมของเราแต่ละคนในแต่ละพื้นที่ล้วนแตกต่างกันออกไป การสร้างพื้นที่จัดเก็บข้อมูลลูกค้าสำหรับธุรกิจต่าง ๆ จากสารพัดแหล่งมารวมไว้ด้วยกัน จัดสรร แสดงผลให้นำไปใช้ได้ง่ายจึงเป็นอีกช่องทางสำหรับการจัดการข้อมูลให้เกิดผลสูงสุดต่อผู้ต้องการข้อมูล และสร้างรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลด้วย

  3. Cybersecurity เป็นอีกประเด็นที่ทุกธุรกิจต้องไม่ละเลย การให้ความสำคัญเรื่องระบบความปลอดภัยออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะมีรายงานว่ามีความพยายามแฮ็กข้อมูลจากธนาคารทั่วโลกมากถึง 238% แค่เพียงในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2020 และมีความพยายามเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลอีกกว่า 600% คาดว่าเป็นเพราะความรัดกุมที่ลดลงระหว่างที่พนักงานนำงานกลับไปทำที่บ้านนั่นเอง

  4. Quantum computing อาจจะเป็นชื่อเรียกที่ไม่คุ้นเคย แต่คาดกันว่านี่จะเป็นขั้นกว่าของการ Disrupt ทางเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นนำทฤษฎีทางกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) มาใช้ประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะยังอยู่ในช่วงทดลอง แต่โปรดติดตามอย่างใกล้ชิด หากมีการทดลองใช้งาน พัฒนาร่วมกับอุตสาหกรรมที่หลากหลายกว่านี้ เราน่าจะได้เห็นอีกก้าวที่มนุษยชาติจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัลที่ไม่เคยจินตนาการถึง