โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง

โครงงานเรื่องห้องเรียนคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการสร้างผลงานด้านคอมพิวเตอร์   โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ กลุ่มข้าพเจ้าสนใจและศึกษา เรื่อง ห้องเรียนคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ ซึ่งเป็นหัวข้อในการสร้างผลงานด้านคอมพิวเตอร์  เพื่อให้นักเรียน รวมถึงบุคลทั่วไปที่ต้องการศึกษา เรื่องห้องเรียนคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ  ได้พัฒนาความรู้ของตนเอง และนอกจากนี้ยังมี เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจศึกษาและพัฒนาต่อไปได้อีก

กิตติกรรมประกาศ

 

โครงงาน   เรื่อง ห้องเรียนคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ ประกอบวิชา  การสร้างผลงานด้านคอมพิวเตอร์ สามารถดำเนินงานไปอย่างมีระบบ ตามขั้นตอนที่วางไว้ จนทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากการเรียนการสอนและการให้คำปรึกษาแนะนำ จากครูที่ปรึกษาประจำวิชา ซึ่งให้ความรู้ทางด้านวิชาการและตลอดจนการให้คำแนะนำในการทำโครงงาน เรื่องห้องเรียนคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ พร้อมทั้งยังอธิบายวิธีการทำและโปรแกรม พัฒนา เพื่อใช้ประกอบกับโครงงาน จากคำแนะนำของครูที่ปรึกษา ทำให้กลุ่มข้าพเจ้า มีแนวทางในการดำเนินงานและทำงานกันได้อย่างเป็นระบบ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงขอขอบพระคุณมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

  1. สามเณรนพรัตน์ จันทร์ดี
  2. สามเณรกิตติคุณ บุญมา
  3. สามเณรภานุพันธ์ ล้ำเลิศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

หน้า

บทคัดย่อ…………………………………………………………………………………………………………                                (1)

กิตติกรรมประกาศ……………………………………………………………………………………………                  (2)

สารบัญ……………………………………………………………………………………………………………                              (3)

บทที่

1    บทนำ………………………………………………………………………………………………….                                 1

แนวคิดและความสำคัญ……………………………………………………………………..                      1

วัตถุประสงค์…………………………………………………………………………………….                  1

หลักการและทฤษฎี…………………………………………………………………………….   1

วิธีการดำเนินงาน………………………………………………………………………………   2

     แผนการปฏิบัติงาน……………………………………………………………………………                      2

วัสดุอุปกรณ์……………………………………………………………………………………..                    3

     งบประมาณ……………………………………………………………………………………..                    4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ…………………………………………………………………      4

2    วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………………………………                      5

โครงงานคอมพิวเตอร์

ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์…………………………………………..           5

องค์ประกอบของโครงงานคอมพิวเตอร์…………………………………………          6

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์………………………………………………..        7

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content2.html

) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะ Blogger ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “โรคทาลัสซีเมีย” เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร  เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน

กิตติกรรมประกาศ


         โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ ครูวิราวรรณ   ราชบวร  คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้ ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

                                                                                          คณะผู้จัดทำ


บทที่ 1


บทนำ


ที่มาและความสำคัญ

        โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ และพบผู้ที่เป็นพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ

        ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำ จึงมีความคิดที่จะทำสื่อการเรียนการสอน ในเรื่อง โรคธาลัสซีเมีย ผ่านทางเว็บบล็อก (Blogger) เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน ให้แก่ผู้ที่สนใจหรือกำลังศึกษาในเรื่องดังกล่าว ให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเว็บบล็อก (Blogger) สำหรับนักเรียน,นักศึกษา,ครู อาจารย์ และผู้ที่สนใจ

2. เพื่อเป็นทางในการประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนในวิชาอื่นต่อไป  

ขอบเขตของการจัดทำโครงงาน

        เป็นการผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเว็บบล็อก (Blogger)  สำหรับนักเรียน,นักศึกษา,ครู อาจารย์ และผู้ที่สนใจ  และเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนในวิชาอื่นต่อไป            


    นิยามศัพท์เฉพาะ

1.  พยาธิสรีรวิทยา หมายถึง ธาลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการสังเคราะห์เฮโมโกลบินที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในอัตราการสร้างสายโปรตีนโกลบิน การที่มีอัตราการสร้างสายโกลบินชนิดหนึ่งๆ หรือหลายชนิดลดลงจะรบกวนการสร้างเฮโมโกลบินและทำให้เกิดความไม่สมดุลในการสร้างสายโกลบินปกติอื่น

2.  สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้

3.  การสร้างเว็บบล็อค หมายถึง โปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะสำหรับการจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทำ Slide Show การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น

   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ได้ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

2.  ได้ทราบวิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้องต่อไป

3.  ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับโรคมะเร็ง



บทที่ 2


เอกสารที่เกี่ยวข้อง


ความหมายของ Weblog

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บบล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก

  Blog คืออะไร

Blog เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเป็นได้หลากหลายอย่างแล้วแต่เจ้าของอยากให้เป็น ตั้งแต่ไดอารีส่วนตัว สถานที่สำหรับใช้ในการทำงานร่วมกัน (collaborative work space) หรือสภากาแฟสำหรับคุยเรื่องการเมือง แหล่งรวมข่าวสารความเป็นไป แหล่งรวมลิงค์ ไปจนถึงสมุดบันทึกความเป็นไปของโลกใบนี้ สรุปก็คือ "Blog" เป็นที่ซึงเราเอาไว้เขียนเรื่องราวที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเรื่องที่เขียนเข้าไปใหม่ จะอยู่ส่วนบนสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม สามารถอ่านเรื่องราวใหม่ๆได้ และยังสามารถที่จะเสนอแนะหรือติชมได้ ในกรณีที่เจ้าของ Blog นั้นๆ อนุญาต

ที่จริงแล้ว Blog ได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า ปีแล้ว แต่เพิ่งจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วงปีที่ผ่านมานี้เอง และได้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับการใช้เว็บไซต์ ตลอดจนมีการประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้คนนับล้านๆทั่วโลกได้มีโอกาสสื่อสาร และติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมี Group Blogs ที่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ blog ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกันสำหรับกลุ่มคน อย่างเช่น ทีมงาน สมาชิกครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนต่างๆ โดยที่ Group Blogs นี้จะเป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสาร Links และไอเดียต่างๆ

ผู้ที่ใช้งาน Blog หรือเจ้าของ Blog เราจะเรียกว่า "Blogger" สามารถเข้าไปอัพเดต blog ของตนเอง ณ ที่ใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึง Intenet ได้ โดยไม่แน่ว่าในอนาคต ThaiBlogOnline อาจจะให้เจ้าของ blog สามารถอัพเดต blog ของตนเองผ่านทาง SMS มือถือก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังสามารถโพสรูปภาพ เสียง และวีดีโอไปยัง blog ได้อีกด้วย

  Weblog ทำอะไรได้บ้าง

อนุญาตให้ผู้ใช้งานหรือ blogger สามารถโพสรูปภาพ ในรูปแบบ jpeg, gif และ png ได้ สามารถโพสไฟล์ Macromedia Flash (.swf) ได้ และไฟล์มัลติมีเดีย mpeg, mpg, avi, mp3, wma ได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาของต้นเองได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่ง HTML หรือ Javascipt แต่อย่างใด เพราะทูลที่เรานำมาให้ใช้งานนั้น เป็นทูลแบบ WYSIWYG (what you see is what you get) อย่างเช่น ปรับขนาดตัวหนังสือ เปลี่ยนสี ขึ้นย่อหน้า ใส่รูป ด้วยการคลิ้กเมาส์ไปที่ทูลบาร์ต่างๆ เสมือนกับการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปอย่าง Microsoft Word เป็นต้น

  ประโยชน์ของ Weblog

Blog มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดังนี้

          1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง

          2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ

          3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ

          4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงค์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น

          5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้

          6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น www.terrystrek.com

          7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง

  ผู้คิดค้น Weblog

บางคนอาจรู้แล้วแต่บางคนก็ยังไม่รู้ว่า Web blog นั้นมีความเป็นมาอย่างไรกันแน่ ผมมีเรื่องราวของ web blog มาเล่าให้ฟัง… Web blog หรือ Blog เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสมัยที่เริ่มมีการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ(www) เมื่อปี 1992 เจ้าหน้าที่ของ CERN (สถาบันวิจัยนิวเคลียร์ภาคพื้นยุโรป) ได้คิดค้นและสร้างเว็บมาเพื่อแจ้งข่าวสารใหม่ๆในวงการเว็บ รวมถึงข่าวสารเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นใหม่ โดย ลิงค์ ไปยังเว็บอื่นพร้อมทั้งอธิบายด้วยว่าเว็บนั้นว่าเกี่ยวกับอะไร และมีอะไรน่าสนใจ เรียกได้ว่าเป็นเว็บแบบ What ‘s New

หลังจากนั้นใน ปี 1997 Mr.Jorn Barger ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บ robotwisdow.com ซึ่งเป็น Blog รุ่นแรกๆ ก็ได้คิดค้นคำว่า web blog ขึ้น จากนั้นก็เริ่มมี weblog ก็เกิดขึ้นตามมาเรื่อยๆ

จนกระทั่งในปี 1999 โดย mr.Peter Merhole เจ้าของเว็บ peterme.com ได้ประกาศว่าจะอ่าน Weblog ว่า วี-บล็อก” หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blog  นับตั้งแต่นั้นมา blog ก็เป็นที่นิยมกันมาขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีเดียวกันนี้ เริ่มมีเว็บไซต์ที่ให้บริการช่วยสร้าง blog ให้กับผู้ใช้แบบฟรี นั่นคือ Blogger.com กับ Pitas.com  นับเป็น blog site รุ่นแรกๆ ที่ให้บริการสร้าง blog ของตนเองแก่ผู้ใช้ โดยการสมัครเป็นสมาชิกพร้อมกับให้ใช้เครื่องมือในการสร้าง blog ของตนเองผ่านทางเว็บเบราวเซอร์ เช่น IE , Firefox เป็นต้น ทำให้มีผู้ใช้สร้าง blog ของตนเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นหลายหมื่นหลายแสน blog

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีโปรแกรมประเภท ช่วยสร้าง blog (Blogware) ฟรีประเภท Opensource เช่น Be2evolution, WordPress (ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก) เป็นต้น จนกลายเป็นข่าวดังตั้งแต่ปี 2002 มีข่าวเกี่ยวกับ blog ลงในเว็บไซต์ของ CNN, BBC ยิ่งทำให้มีคนนิยมสร้าง blog กันมากขึ้น แม้แต่บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่อย่าง ไมโครซอฟต์ เองก็ได้เปิดให้บริการ blog ฟรี ให้กับผู้ใช้ ผ่านทางเว็บไซต์ http://home.services.spaces.live.com/



 โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

เป็นโรคที่มีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อและแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดยีนผิดปกตินี้ไปยังลูก พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ประมาณร้อยละ ของประชากร และพบผู้ที่มียีนแฝง (พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร

ผู้ที่เป็นพาหะหรือมียีนแฝงธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร

ผู้ที่เป็นพาหะหรือผู้ที่มียีนแฝงของธาลัสซีเมียอยู่ในตัว จะเป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปยังลูกได้ตามแบบแผนการถ่ายทอดของยีน

ทำอย่างไรเมื่อพบว่าคุณเป็นพาหะของโรค

เมื่อตรวจเลือดพบยีนแฝงธาลัสซีเมีย ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณแต่งงานไม่ได้ ก่อนแต่งงานชวนคู่ของคุณไปตรวจเลือดหายีนธาลัสซีเมีย ปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย แต่ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ และตรวจเลือดพบยีนธาลัสซีเมีย ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นเลือดจางธาลัสซีเมีย และวางแผนในการมีลูกคนต่อไป

เด็กที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย มีอาการอย่างไร

เด็กที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จะมีอาการ ซีด ตาเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต แคระแกรน หน้าตาอาจเปลี่ยนแปลง จมูกแบน ฟันบนยื่น และท้องป่อง ร่างกายเติบโตช้ากว่าปกติ กระดูกเปราะหักง่าย จะเจ็บป่วยบ่อยๆ ทำให้ขาดเรียนเป็นประจำ ทั้งยังเป็นภาระของครอบครัว เพราะจะต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาพยาบาลไปอีกนาน เพราะโรคนี้รักษายาก

ลูกของคุณมีโอกาสเสี่ยงแค่ไหนต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง

กรณีที่ ถ้าคุณ และคู่ของคุณเป็นพาหะ หรือ มียีนแฝง ทั้ง คน ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ลูกของคุณมีโอกาสเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียร้อยละ 25 มียีนแฝงร้อยละ 50 ปกติร้อยละ 25

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


กรณีที่ ถ้าคุณ และคู่ของคุณมียีนแฝง คนใดคนหนึ่ง ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ลูกของคุณมีโอกาสมียีนแฝง ร้อยละ 50 ปกติ ร้อยละ 50

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


กรณีที่ ถ้าคุณ หรือ คู่ของคุณเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียคนใดคนหนึ่ง อีกคนปกติ ในการตั้งครรภ์ทุกครั้ง ลูกของคุณ ทุกคนจะมียีนแฝง หรือ เท่ากับร้อยละ 100

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


กรณีที่ ถ้าคุณหรือคู่ของคุณเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย คนใดคนหนึ่ง และอีกคนมียีนแฝงในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ลูกคุณมีโอกาสเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ร้อยละ 50 มียีนแฝงร้อยละ 50

จะทราบอย่างไรว่าคนที่เราแต่งงานด้วยมียีนแฝงหรือไม่

ผู้ที่มียีนแฝงของโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จะมีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดีเหมือนบุคคลทั่วไป ซึ่งมองภายนอกคุณจะไม่รู้เลยว่า บุคคลนั้นมียีนแฝงหรือไม่ คุณอาจสืบประวัติครอบครัวดูว่ามีใครบ้างที่เป็นโรคนี้ ถ้าพบว่ามีลูกคนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้ นั่นแสดงว่า พ่อ-แม่จะต้องมียีนแฝงทั้ง คน ถ้าคนที่คุณจะแต่งงานด้วยเป็นลูกของครอบครัวนี้ คนรักของคุณอาจมียีนแฝงได้

ดังนั้นมีทางเดียวที่คุณจะรู้ได้ คือ ชวนคู่รักของคุณไปตรวจเลือด เสียค่าตรวจเพียงเล็กน้อย ถ้าผลเลือดที่ตรวจพบว่าคู่รักของคุณมียีนแฝง คุณยังมีทางเลือกที่จะไม่ให้ลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียได้ (อย่าลืมตรวจเลือดตัวเองด้วย)

ผู้มียีนแฝงจะแต่งงาน มีลูกได้หรือไม่

แม้จะพบว่าคุณเป็นพาหะ ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะแต่งงานไม่ได้ ก่อนวันแต่งงานชวนคู่ของคุณไปตรวจเลือดหายีนธาลัสซีเมีย ปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

เพราะผู้ที่มียีนแฝง สามารถถ่ายทอดโรคนี้ไปสู่ลูกได้ ดังนั้นคุณและคู่ของคุณ จึงควรวางแผนก่อนมีลูก แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าควร มีลูกได้หรือไม่

เมื่อเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

แม้ว่าโรคนี้ยังรักษาให้หายขาดได้ยาก ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่ควรตื่นตกใจเพราะบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรง การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติดังนี้

1.  รับประทานผักสด ไข่ นม หรือ นมถั่วเหลืองมากๆ

2.  ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก

3.  ควรตรวจฟัน ทุก เดือน เนื่องจากฟันผุง่าย

4.  หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือ การเล่นรุนแรง

5.  งดดื่มสุรา หรือ ของมึนเมา

6.  ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้ และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรไปพบแพทย์

 ผู้ที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียมีโอกาสหายหรือไม่

ผู้ป่วยโรคนี้ที่ยังอายุน้อย และไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ตับม้ามไม่โตมาก ถ้ามีพี่หรือน้องที่มีเม็ดเลือดขาวที่เข้ากันได้ ก็อาจจะพิจารณาการปลูกถ่ายไขกระดูกทำให้หายจากโรคนี้ได้





บทที่ 3


วิธีดำเนินงานโครงงาน


ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การทำสื่อการเรียนการสอน ด้วยเว็บบล็อก (Weblog) เรื่อง โรคธาลัสซีเมีย ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขึ้นตอนดังต่อไปนี้


วัสดุและอุปกรณ์


-   โปรแกรม Microsoft Word 2007

-   เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  

-   เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com ,   www.google.com


วิธีการดำเนินโครงงาน

        1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา
        2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานในการสร้างสื่อเพื่อการศึกษา
        3. จัดทำโครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
        4. ศึกษาการสร้างสื่อเพื่อการศึกษา 
        5. ออกแบบสร้างสื่อเพื่อการศึกษา 
        6. จัดทำโครงงานสร้างสื่อ 
        7. เผยแพร่ผลงานลงสื่อ
        8. สรุปรายงานโครงงาน จัดทำรูปเล่ม


   ขั้นตอนการสร้างเว็บบล็อก  (Blogger)


ขั้นตอนที่ 1  เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 2  จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 3  ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 4   คลิกที่ปุ่มสร้างบล็อกใหม่

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 5  พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปจากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป เลือกแม่แบบตามใจชอบ

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 6   คลิกปุ่มตามรูป

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 7   ใส่ข้อมูลต่างๆ

โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


ขั้นตอนที่ 8   คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึก





บทที่ 4


ผลการดำเนินงาน


ผลการดำเนินงาน

            การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog)  เรื่อง  โรคธาลัสซีเมีย นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป  ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

4.1 ผลการพัฒนาเว็บบล็อก    

            การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง โรคธาลัสซีเมียนี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ http://epidermis02.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://epidermis02.blogspot.com/ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebookของผู้จัดทำที่ชื่อ TakdanaiDahmi ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว 

4.2  ตัวอย่างการนำเสนอหน้าเว็บบล็อก


โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง


โครงงานเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง




บทที่ 5


สรุปผลและข้อเสนอแนะ


 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน


วัตถุประสงค์ของโครงงาน

- เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง โรคธาลัสซีเมีย

-  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

-  เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป   


วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา

        - โปรแกรม Microsoft Word 2010

        - เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  

        - เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com ,   www.google.com

สรุปผลการศึกษา


         ในการจัดทำโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง โรคธาลัสซีเมีย ( thalassemia )ผู้จัดทำโครงงาน ได้นำความรู้ในด้านต่างๆที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย  นำเสนอออกมาในรูปแบบของเว็บบล็อก ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้จากเว็บบล็อกนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้อเสนอแนะ

          1. เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือBloggerเป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำ เว็บไซต์ได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถนำไปเขียนเว็บบล็อกได้หลายรูปแบบ

 2.  ควรเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ๆ เพื่อทันต่อสถานการณ์

 3.  ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การศึกษาสื่อเพื่อการศึกษา

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา


      เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา เข้าพร้อมกันก็จะทำให้ช้า จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย