ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

หน่วยการเรียนรู้ที่  5   โลกของอาชีพ

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดเป็นอาชีพประเภทการผลิต เกี่ยวกับงานตกแต่งบ้าน

ก.   อาชีพทำเทียนหอมไล่ยุง                         ข.   อาชีพปลูกไม้ประดับ

ค.   อาชีพทำกรอบรูป                                      ง.   อาชีพทำของที่ระลึก

2.  อาชีพการให้บริการ ได้แก่ข้อใด

ก.   ตัดหญ้า  ตกแต่งสวนในบ้าน                    ข.   ตกแต่งกระถางให้สวยงาม

ค.   เปิดร้านขนมเบเกอรี่                                  ง.   ประดิษฐ์โคมไฟ

3.  นักเรียนมีแนวทางในการเลือกอาชีพอย่างไร

ก.   ศึกษาข้อมูลงานจากสถานที่ประกอบการหรือสื่อมวลชน

ข.   เป็นอาชีพที่ตนเองมีพื้นฐานความถนัด

ค.   เป็นอาชีพที่มั่นคง และสุจริต

ง.   ถูกทุกข้อ

4.  นักเรียนสามารถเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกของอาชีพได้อย่างไร

ก.   เยี่ยมชมสถานที่ประกอบการจริงบ่อยๆ

ข.   ฝึกทักษะอาชีพประเภทการขายสินค้าบ่อยๆ

ค.   ใช้เทคโนโลยีในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ

ง.   การเลือกเรียนต่อในสายที่นำไปสู่อาชีพที่เหมาะสมกับตนเองตามความสามารถ

5. องค์ประกอบหลักในการพิจารณาเลือกอาชีพ คือข้อใด

ก.   เป็นอาชีพที่ตนเองถนัด มีความมั่นคงและสุจริต

ข.   เป็นอาชีพที่สังคมยอมรับและมีผลตอบแทนสูง

ค.   เป็นอาชีพที่ครอบครัวทำสืบทอดกันมา

ง.   เป็นพื้นฐานของการศึกษาในอนาคต

6.  ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบอาชีพประสบความล้มเหลว

ก.   ผู้ประกอบอาชีพมีความเกียจคร้าน

ข.   ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือท้องตลาด

ค.   เป็นอาชีพที่มีคู่แข่งในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก

ง.   ผู้ประกอบอาชีพไม่มีความถนัดในอาชีพเป็นพื้นฐาน

7.  การศึกษาข้อมูลลักษณะของงานที่นำไปประกอบอาชีพ มีประโยชน์อย่างไร

ก.   ใช้เป็นแนวทางในการเลือกประกอบอาชีพ

ข.   ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกอาชีพ

ค.   ใช้ในการวางแผนเลือกศึกษาต่อ

ง.   ถูกทุกข้อ

8.  นักเรียนสามารถวิเคราะห์ตนเองในการตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างไร

ก.   ศึกษาข้อมูลลักษณะงาน มีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างไร

ข.   ศึกษาลักษณะงานในอาชีพจากสถานประกอบการจริง

ค.   พิจารณาความสนใจ ความสามารถ ความถนัด ของตนเอง

ง.   พิจารณาจากประโยชน์ที่ได้รับจากการตัดสินใจเลือกทำงาน

9.  ข้อใดจัดเป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อประกอบอาชีพสุจริต

ก.   ความยุติธรรม                                      ข.   ความขยันและอดทน

ค.   ความเมตตากรุณา                               ง.   ความเห็นแก่ตัว

10.  การสร้างอาชีพของนักเรียนในวัยเรียน มีความสำคัญอย่างไร

ก.   เป็นการสำรวจความพร้อมของตนเอง

ข.   เป็นการฝึกฝนทักษะกระบวนการทำงาน

ค.   เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ตรงแก่นักเรียน

ง.   เป็นแนวทางการประกอบอาชีพอิสระตามความสนใจ และความถนัด

เฉลย

1. ค  2. ก  3. ง  4. ง  5. ค  6. ก  7. ง  8. ค  9. ข  10. ง

หน่วยที่ เรียนรู้สู่อาชีพ

1.แนวทางในการเลือกอาชีพ

2.เจตคติในการประกอบอาชีพโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

3.งานบ้านสู่งานอาชีพ

1.แนวทางในการเลือกอาชีพ

ความหมายและความสำคัญของอาชีพ

อาชีพ หมายถึง การทำงานซึ่งมีผลตอบแทนออกมาในรูปของรายได้เพื่อบุคคลนำไปดำรงชีพทั้งของตนและครอบครัว งานที่ทำนั้นต้องเป็นงานที่สุจริต ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวม โดยไม่ทำให้ตนเอง และผู้อื่นเดือดร้อน

 ความสำคัญของการประกอบอาชีพ

1. ทำให้มีรายได้ประจำเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยซื้อหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต

2.ทำให้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

3.ทำให้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองและวงศ์ตระกูล เป็นที่ยอมรับของบุคคลในสังคม

4ทำให้มีหลักฐานมั่นคง เป็นที่เคารพนับถือของบุคคลอื่นๆ

5.ทำให้รู้จักใช้เวลาว่าให้เป็นประโยชน์ จะได้ไม่ประพฤติตนไร้สาระ

6.ทำให้บุคคลเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ที่สามารถพึ่งตนเองได้ และยังทำประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนร่วมด้วย

          การประกอบอาชีพ  เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของครอบครัว  เพราะการประกอบอาชีพจะสร้างรายได้ให้กับครอบครัว  การประกอบอาชีพที่สุจริตย่อมมีคุณค่าทางสังคมและครอบครัว  ช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประกอบอาชีพและครอบครัว สร้างความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว  อาชีพมี 2 ลักษณะ คืออาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง

1.      อาชีพอิสระ หมายถึง 

คำว่า " อาชีพอิสระ " ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่าง ๆ กัน โดยมีระดับของเงื่อนไขมากน้อยต่างกันไป อาทิเช่น

อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่ประกอบกันเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะที่ต้องการ การฝึกฝนอบรมพอสมควร  เช่น อาชีพทำของที่ระลึกด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น การปลูกผัก การเลี้ยงปลา การประกอบอาหารเป็นต้นและผู้ประกอบการอิสระ หมายถึง ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่เป็นธุรกิจ

อาชีพอิสระ เป็นอาชีพที่สามารถดำเนินการเองได้โดยลงทุนน้อย ใช้ความคิด กำลังกายค่อนข้างมาก เน้นการพึ่งตนเอง   คำว่าอาชีพอิสระมีความหมายคล้ายกันกับอาชีพส่วนตัว ธุรกิจขนาดย่อม การประกอบการขนาดย่อม เป็นต้น

อาชีพอิสระหมายถึง ธุรกิจเป็นอิสระ มีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดและไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลอื่น หรือธุรกิจอื่น

อาชีพอิสระหมายถึง อาชีพส่วนตัวทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นระบบ และภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นระบบ

เจ้าของกิจการเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรูปของกำไร ไม่ใช่เงินเดือน

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่มีลักษณะ ดังนี้

          1. เจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง รับเงินเดือนจากนายจ้าง แต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า

          2. เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน

          3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานโดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

ความสำคัญของการประกอบอาชีพอิสระ

1. เปิดโอกาสให้มีการประกอบอาชีพผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ

มีความคิดสร้างสรรค์ มีแนวคิด มีความกล้าเสี่ยง

        2.ก่อให้เกิดการจ้างงานการประกอบอาชีพอิสระโดยการทำธุรกิจหรือกิจการขนาดเล็กทำให้เกิดการว่าจ้างแรงงานในชุมชน

ทั้งแรงงานที่ไร้ฝีมือและมีฝีมือโดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือจะได้รับการพัฒนาในการทำงานเฉพาะด้าน ทำให้มีความชำนาญ มีประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มขึ้น

        3.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหือกิจการขนาดใหญ่การประกอบอาชีพอิสระโดยการทำธุรกิจหือกิจการขนาดเล็ก

เป็นแหล่งที่ช่วยในการผลิตวัตถุดิบเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าของธุรกิจหรือกิจการขนาดใหญ่

        4.แหล่งระดมเงินทุนการประกอบอาชีพอิสระโดยการทำธุรกิจหรือกิจการขนาดเล็กทำให้เกิดการระดมเงินทุน

จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ

        5.พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมถ้ามีผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวนมากจะทำให้เกิดการแข่งขันกัน

มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการว่างงาน ประชาชนมีรายได้

คุณสมบัติกับการประกอบอาชีพอิสระ

1. กล้าเสี่ยง อาชีพอิสระเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว จึงต้องมีการลงทุนในขณะที่ถ้าเป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร

ซึ่งการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร ดังนั้น

ก่อนที่จะตกลงใจประกอบอาชีพจึงต้องพิจารณาวิเคราะห์และไตร่ตรองอย่างดีเสียก่อน

        2. ความคิดสร้างสรรค์ การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใดๆ

เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง ดังนั้น

ในการปรับปรุงสินค้าหรือบริการสามารถทำได้อย่างมีอิสระ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไนในการดำเนินธุรกิจ

        3. ความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องมีความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการของตนเอง

ให้อยู่รอดและฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

        4. ความอดทน การดำเนินธุรกิจย่อมมีกำไรและขาดทุน โดยเฉพาะเมื่อเริ่มประกอบการอาจต้องประสบปัญหา

และอุปสรรคบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา ผู้ปกระกอบการจึงต้องพร้อมที่จะยอมรับข้อผิดพลาด

และนำมาแก้ไขด้วยความอดทนไม่ท้อถอย

        5. มีวินัยในตนเอง การประสบความสำเร็จในอาชีพซึ่งเราเป็นเจ้าของกิจการเอง จำเป็นต้องมีวินัย

มีกฎระเบียบ การทำงานสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ

        6. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่มีเกียรติหรือไม่

ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักในงานที่ทำและให้เกียรติกับงานนั้นๆ เสมอ

        7. มีความรอบรู้ การประกอบอาชีพอิสระจะต้องรับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ประโยชน์ของการรับรู้ข่าวสารจะทำให้สามารถปรับปรุงธุรกิจของตนเอง

ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ผลที่ได้คือกำไรนั่นเอง

        8. มีมนุษย์สัมพันธ์ การประกอบอาชีพอิสระจะต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์อันดี เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง

ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บุคคลรอบข้างหรือคู่แข่งขันก็ตาม เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีจะทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานอย่างยิ่ง

        9. มีความซื่อสัตย์ ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า

การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจในการขายสินค้าหรือบริการและกลับมาใช้บริการอีกเป็นหัวใจสูงสุด

เพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจและต่อตนเองในที่สุด

        10. มีความรู้พื้นฐาน ในการเริ่มทำธุรกิจการที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เราควรได้รู้จักสิ่งที่ทำอย่างน้อยให้รู้ว่าทำอะไร

ซื้อวัตถุดิบจากไหน ตลาดอยู่แหล่งใด และหากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม จะหาได้จากที่ไหน

        11. มีการพัฒนาตนเอง ให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการประกอบอาชีพอิสระ

เมื่อมีความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพอิสระแล้ว อีกทั้งยังต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการประกอบอาชีพนั้นๆ

เช่น หากเป็นช่างเสริมสวยก็ต้องพัฒนาตนเองให้ดูสวยงาม เมื่อลูกค้าเห็นจะได้ดูน่าเชื่อถือหรือหากเลือกที่จะขายอาหาร

ผู้ขายก็ควรแต่งกายให้ดูสะอาด ไม่สูบบุหรี่ขณะทำอาหาร เป็นต้น

2. อาชีพรับจ้าง

อาชีพรับจ้าง หมายถึง การประกอบอาชีพที่มีรายได้จากค่าจ้างแรงงานในกิจการที่ตนไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เป็นลูกจ้างทำงานตามที่นายจ้างหรือเจ้าของกิจการเป็นผู้กำหนด เช่น ข้าราชการ พนักงานบริษัท เป็นต้นอาชีพเหล่านี้จึงไม่มีอิสระทางด้านความคิด การตัดสินใจต้องขึ้นอยู่กับนายจ้างเป็นสำคัญ ส่งผลให้อาชีพรับจ้างพัฒนาได้ล่าช้ากว่าอาชีพอิสระ รายได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่จ้าง นายจ้าง และระยะเวลาการทำงาน

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

ลักษณะงานอาชีพรับจ้าง

 การประกอบอาชีพรับจ้างแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. อาชีพรับราชการ เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

ข้าราชการได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ซึ่งได้มาจากค่าภาษีเงินได้ที่รัฐบาเก็บจากประชาชนที่ประกอบอาชีพมีรายได้ มีระยะเวลาในการทำงานที่แน่นอน โดยทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์และหยุดงานวันเสาร์และวันอาทิตย์ การประกอบอาชีพรับราชการโดยทั่วไปจะมีการสอบคัดเลือกบุคคลก่อนที่จะเข้าไปทำงาน โดยสอบข้อเขียนเพื่อนวัดความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน และสอบสัมภาษณ์เพื่อดูความสามารถและทัศนคติในการทำงาน

2. อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 พนักงานรัฐวิสาหกิจจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนซึ่งได้มาจากงบประมาณรายได้ของแผ่นดิน มีระยะเวลาในการทำงานที่แน่นอน โดยทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์และหยุดงานวันเสาร์และวันอาทิตย์ การประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยทั่วไปจะมีการสอบคัดเลือกคัดเลือกบุคคลก่อนที่จะเข้าไปทำงานเหมือนกับข้าราชการ โดยสอบข้อเขียนเพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน และสอบสัมภาษณ์เพื่อดูความสามารถและทัศนคติเกี่ยวกับงาน เมื่อสอบคัดเลือกผ่านจึงจะได้เข้าทำงาน อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงและความก้าวหน้าค่อนข้างสูง

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

3.อาชืพพนักงานบริษัท

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำงานภายใต้บริษัทที่ตนเองทำงาน พนักงานบริษัทจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ซึ่งได้จากผลกำไรจากการประกอบการบริษัท และมีระยะเวลาในการทำงานที่แน่นอน การประกอบอาชีพพนักงานบริษัทส่วนใหญ่จะมีการคัดเลือกบุคลลที่จะเข้ามาทำงานโดยทำแบบทดสอบและการสัมภาษณ์เพื่อดูความสามารถและทัศนะคติเกี่ยวกับงาน

4. อาชีพรับจ้างที่ทำงานเป็นกลุ่ม เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น กรรมกรก่อสร้าง พนักงานบริการอาหาร โดยมีลักษณะและในการทำงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างแต่ละอาชีพเช่น กรรมกรก่อสร้างต้องทำงานทุกวันตั้งแต่ 08.00-17.00 น

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

5.อาชีพรับจ้างที่ทำงานคนเดียว

เป็นกลุ่มอาชีพที่ทำงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งทำงานคนเดียว เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย ลูกจ้างร้านค้าทั่วไปเป็นต้น

ข้อใด จัด เป็นตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการ ทำงาน เพื่อประกอบอาชีพสุจริต

2.เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ

         เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีของบุคคลที่มีต่ออาชีพ เห็น คุณค่าและความสําคัญของอาชีพที่เป็นผลมาจากประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ ซึ่งความรู้สึก ดังกล่าว จะเป็นตัวกําหนดให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรมหรือมีแนวโน้มตอบสนองต่ออาชีพในทางที่ดี โดย มุ่งเน้นไปในทางสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต และสร้างความภาคภูมิใจจากการได้รับการ ยอมรับทางสังคมเป็นสําคัญ

ความสำคัญของเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

เจตคติ หมายถึง กรอบแนวความคิดซึ่งเป็นที่เข้าใจของตนเองในการประเมินค่าบุคคล วัตถุ สิ่งของต่างๆ ครั้งแรกว่า ชื่นชอบหรือไม่ชื่นชอบ

อาชีพสุจริต หมายถึง การประกอบการงานหรือกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ในการเลี้ยงอาชีพ ลักษณะเป็นงานประจำเพื่อเลี้ยงชีพตนเอง ครอบครัว หรืออาชีพใดก็ตามที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น อาชีพค้าขายสินค้าที่ไม่ผิดกฎหมาย อาชีพรับราชการโดยไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง อาชีพรับจ้าง พนักงานบริษัท พนักงานรัฐวิสาหกิจ แม่ค้าหาบเร่ เป็นต้น

  ดังนั้น เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต จึงหมายถึงการมีกรอบแนวความคิดและความรู้สึกที่ดี รัก และชื่นชอบต่อการประกอบอาชีพระดับสูงหรือระดับต่ำที่ชอบด้วยกฎหมาย ศีลธรรมหรือจารีตประเพณีที่ดีงาม และเป็นที่ยอมรับของสังคม ถึงแม้ว่าการประกอบอาชีพสุจริตจะได้รับผลตอบแทนอันเป็นรายได้ที่ไม่สูงมากนักในบางอาชีพ เช่น พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ รับจ้าง ลูกจ้างรายวัน เป็นต้น แต่ก็เป็นอาชีพที่สุจริต สามารถทำได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน ทำแล้วมีความสบายใจ ภูมิใจ มีความสุข แตกต่างจากผู้ที่ประกอบอาชีพไม่สุจริต เช่น ค้าขายของผิดกฎหมาย ค้ายาเสพติด ถึงแม้ว่าบางคนจะมรายได้มากแต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ผลที่ตามมา คือ ต้องเสี่ยงชีวิต ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างคนปกติได้ ต้องคอยหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจ คอยระวังการขัดแย้งกันเอง และในที่สุดต้องถูกตำรวจจับดำเนินคดี ต้องติดคุก ชีวิตหมดสิ้นอิสรภาพ หรือถึงกับต้องเสียชีวิต สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวและญาติพี่น้อง เป็นต้น

เจตคติที่ดีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำงานประกอบอาชีพสุจริต เจตคติที่ดีต่อการทำงานส่งผลให้ภาระงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยที่ตัวเราไม่มีความรู้สึกยากลำบากหรือเบื่อหน่ายในการทำงาน แต่กลับมีความสุขกับการทำงานที่ได้รับมอบหมายทุกครั้ง และผลของการมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานนั้นจะช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพสุจริต ทำให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

ตัวชี้วัดของเจตคติ คือ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือพฤติกรรมที่บ่งบอกให้รู้ว่า เรามีความรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ มีความรู้สึกที่ดี เช่น รัก ชอบ ชื่นชม ศรัทธาต่ออาชีพหรือมีความรู้สึกที่ไม่ดี เช่น ไม่รัก ไม่ชอบ ทำงานอาชีพของตนด้วยความจำเป็น และจำใจ เป็นต้น

ดังนั้น การประกอบอาชีพสุจริตใดๆ ที่ให้ประสบความสำเร็จได้ เราต้องมีเจตคติที่ดีในอาชีพนั้นๆ ตัวชี้วัดของเจตคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพสุจริต มีดังนี้

1. ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณธรรมสำคัญที่ทุกคนควรยึดถือไว้เป็นคุณธรรมประจำใจและนำไปปฏิบัติเป็นนิจ การแสดงถึงความซื่อสัตย์สุจริตที่เห็นได้ชัดเจน คือ ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองก่อนเป็นอันดับแรก ผลของความซื่อสัตย์สุจริต จะเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ร่วมงานและผู้ที่เราต้องติดต่อประสานงานด้วย ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

   2. ความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบในการทำงาน ไม่เกี่ยงงานหนักงานเบา ทำงานเสมอต้นเสมอปลาย มีการบริหารเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี จะทำให้งานที่ับผิดชอบเสร็จทันตามกำหนดเวลา และผลงานออกมาดี นอกจากนี้จะต้องมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวด้วยจะทำให้ประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว

   3. การตรงต่อเวลา จัดว่าเป็นความรับผิดชอบพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน เริ่มตั้งแต่การมาทำงานทันเวลา เลิกงานตามเวลาที่หน่วยงานกำหนด และใช้เวลาในการทำงานอย่างเต็มที่ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามที่กำหนด เพราะหากทำงานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร

    4. ความขยันและอดทน ในชีวิตการทำงานจะต้องมีทั้งที่ประสบความสำเร็จ และอุปสรรค ดังนั้นคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของผู้ที่ทำงาน นั่นก็คือ ต้องมีความขยันและอดทนต่อความเหนื่อยยากในการทำงาน นอกจากนี้ ความขยันจะช่วยให้เรามีรายได้มาใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตอย่างสม่ำเสมอ และสามารถเก็บเป็นเงินออมในอนาคตได้

    5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน ผู้ประกอบอาชีพสุจริตต่างๆ จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพของตนเองเพื่อการพัฒนาอาชีพให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอและในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ โดยการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาพัฒนาในงานของตน เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพขายอาหารสำเร็จรูป ต้องมีการคิดให้เหนือคู่แข่งโดยการคิดค้นสูตรอาหารใหม่ๆ บรรจุภัณฑ์ให้ดูน่ารับประทาน ให้ความสำคัญกับสุขภาพ มีการศึกษาความต้องการของกลุ่มลูกค้าและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงก็จะทำให้เพิ่มมูลค่าการขายได้

    6. ความตั้งใจ มุ่งมั่นพยายาม การจะทำงานแบบมืออาชีพจะต้องเอาใจใส่ต่องานที่ทำหรืองานที่ได้รับมอบหมาย ต้องรู้จักวางแผน บริหารจัดการงาน และตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในงานที่ทำอยู่เสมอ เพื่อนำมาพัฒนางานของตนให้ดีขึ้นกว่าเดิม และหากเกิดความผิดพลาดในงานจะต้องตรวจสอบ พยายามปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดจนกว่างานจะประสบความสำเร็จ

     7. ความร่วมมือ ในการทำงานร่วมกันจะต้องให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงาน มีการทำงานเป็นทีม ร่วมกันคิด วางแผน แบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน มีการรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ร่วมสร้างความสามัคคีในกลุ่ม จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ

   8. การปรับปรุงสมรรถนะ ความสำเร็จในชีวิตการทำงานและการประกอบอาชีพจะเกิดขึ้นได้ต้องรู้จักปรับปรุงแก้ไข พัฒนาสมรรถนะกาารทำงานของตนเองให้มีความสามารถอยู่ในระดับที่สูงขึ้นอยู่เสมอ

    9. การมีมารยาท มีนิสัยการทำงานที่ดีในการทำงานต้องให้ความเคารพซึ่งกันและกันรู้จักรุ่นพี่ รุ่นน้อง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน แสดงความเคารพ พูดจาด้วยมิตรไมตรี สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

     ในการทำงานนั้น ความสำเร็จ คือ ผลงาน เกียรติยศ รายได้ เป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถและความรับผิดชอบในการทำงานที่มีคุณภาพในเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริง สร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง และคนรอบข้าง

3.งานบ้านสู่งานอาชีพ

          1. รู้จักตนเอง

         1.1  บุคลิกภาพคือลักษณะและคุณสมบัติทั้งร่างกายและจิตใจ  ได้แก่  รูปร่าง  หน้าตา  กิริยา  การแสดงออก  อารมณ์  น้ำเสียง  การพูดจา  ไหวพริบ  ความเชื่อมั่น  รวมทั้งรู้จักทักษะ  ความสามารถพิเศษ  ความถนัดที่แท้จริง   ทัศนคติ  และค่านิยมของตนเองด้วย  การค้นพบตนเองในด้านนี้มีวิธีการมากมาย   วิธีง่ายที่ไม่เสียเวลามาก  ได้แก่  การทำแบบทดสอบต่าง ๆ ซึ่งจะมีแบบทดสอบความสนใจ  ความถนัด  ค่านิยม  บุคลิกภาพ  ฯลฯ

1.2  ความชอบหรือความสนใจ

ในการเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง  เราควรนำเอาผลการสำรวจในด้านต่าง ๆ   มาประมวลเพื่อประกอบการพิจารณา  เช่น  มีบุคลิกภาพแบบใด  ความสามารถด้านใด  ชอบทำกิจกรรมอะไร  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราพิจารณาตนเองได้ว่าเราควรประกอบอาชีพอะไร  ซึ่งหากเลือกอาชีพใดได้ตรงกับคุณสมบัติของตัวเองแล้ว  จะทำให้ประกอบอาชีพนั้นอย่างมีความสุข  มีผลงานที่มีประสิทธิภาพน่าพอใจ  คนแต่ละคนมีความชอบและความสนใจที่แตกต่างกัน  ความสนใจนี้จะสังเกตได้จากการที่นักเรียนชอบทำกิจกรรมใดอยู่เสมอ ๆ  หรือบ่อย    กว่ากิจกรรมอื่น

1.3  ความถนัด

การที่บุคคลจะวางแผนในอนาคตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับตัวเองได้นั้น   สิ่งหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยสำคัญ  คือบุคคลต้องรู้จักความถนัดของตนเอง  ทุกคนมีความถนัดในแต่ละด้านแตกต่างกันไป   เมื่อเราทำสิ่งใดได้ดีก็จะทำให้เรามีความสุข   และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง  การรู้จักจุดด้อยของตัวเองจะช่วยให้เราพัฒนาได้ถูกต้อง  และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงด้านที่ไม่ถนัด  ความถนัดและความสนใจมักเป็นสิ่งที่คู่กันไป  ความถนัดนี้อาจสังเกตได้จากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดหรือสิ่งใดแล้วทำได้ดี   คล่องแคล่ว   ทำแล้วประสบความสำเร็จ

1.4  สติปัญญาและความสามารถ

การที่จะดูว่าสติปัญญาหรือความสามารถดีไม่ดี  อาจดูได้จากระดับคะแนนหรือผลการเรียนที่ผ่านมาในสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนดูว่าในแต่ละวิชาที่สอบไปแล้วได้ระดับคะแนนหรือผลการเรียนเป็นอย่างไร   ถ้าได้ระดับการเรียนหรือผลการเรียนในวิชานั้นสูง   ก็แสดงว่าระดับสติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนวิชานั้นสูง   แต่ถ้าระดับคะแนนหรือผลการเรียนในวิชานั้นต่ำ  ก็แสดงว่าสติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนวิชานั้นต่ำ

ส่วนหนึ่งที่เราควรรู้คือ   รู้ว่าตนเองมีความสามารถด้านใดบ้าง   เพราะสิ่งนี้จะช่วยทำให้เรา  เลือกแนวทางเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด  เราควรคำนึงว่าเราไม่จำเป็นต้องเก่งในด้านที่เหมือนกับคนอื่น  เพียงแต่มีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว   แต่เชี่ยวชาญในทักษะด้านนั้นๆ  มากก็เพียงพอแล้ว

1.5  เป้าหมายในชีวิต

ควรตั้งเป้าหมายในอนาคตว่า  ต้องการประกอบอาชีพใด  เพื่อจะได้ศึกษาต่อในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับอาชีพที่นักเรียนสนใจ  มีความถนัดและสอดคล้องกับบุคลิกภาพของตน  นักเรียนควรใส่ใจที่จะวางเป้าหมายให้กับชีวิตตนเอง  ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสาขาวิชาเรียน  การเลือกอาชีพ   ส่วนใหญ่จะเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด  เรียนตามเพื่อน   ตามความนิยมของสังคม  สิ่งเหล่านี้ทำให้เราไม่ทราบว่า  จะทำอย่างไรกับอนาคตตนเอง  การวางแผนชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ   เราควรรู้ว่าตนเองต้องการทำอะไรกับชีวิตตนเอง   จะไปที่ไหนและไปอย่างไร   ทั้งนี้การวางแผนชีวิตต้องอยู่บนรากฐานของความเป็นจริงของแต่ละบุคคลด้วย

1.6  สภาพทางเศรษฐกิจและครอบครัว

พิจารณาว่าฐานะทางบ้านเป็นอย่างไร  พอที่จะส่งเสียให้ศึกษาต่อได้เพียงใด  เพราะการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปนั้น  บางสาขาวิชาจำเป็นต้องใช้ทุนในการศึกษามาก  แต่บางสาขาวิชาอาจใช้เวลาในการศึกษาระยะสั้น ๆ  ใช้ทุนในการศึกษาไม่มาก  ทั้งนี้แล้วแต่สถานศึกษาหรือสาขาวิชาที่เลือกเรียน

1.7  ค่านิยม

การที่บุคคลจะวางแผนอนาคตได้อย่างถูกต้องกับเหมาะสมกับตนเองได้นั้น  สิ่งหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยสำคัญมากก็คือ   ต้องรู้ค่านิยมในงานที่ตนยึดไว้เป็นหลักสำคัญ  ค่านิยมในตนเองมีผลต่อการเลือกแนวทางต่าง ๆ  ในชีวิตของเราเสมอ   การสำรวจค่านิยมในงาน  จะช่วยชี้นำไปสู่อาชีพที่ตรงกับความต้องการของเรา  มี่โอกาสประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานสูง   แต่ทั้งนี้เราควรนำคุณสมบัติในด้านอื่น ๆ  มาปาระกอบกับค่านิยมของตนเองด้วย  เพื่อช่วยให้การพิจารณาอาชีพที่เราควรเลือกทำเมื่อจะไปประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย

       1.8  รูปร่างและลักษณะของร่างกาย

สถานศึกษาหลายแห่งกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับรูปร่าง  และลักษณะของทางร่างกายไว้ด้วย  เช่น  สถานศึกษาด้านทหาร  ตำรวจ  พลศึกษา  จะต้องเป็นคนที่มีสุขภาพดี  คือ  มีร่างกายสมบูรณ์  แข็งแรง  (มีส่วนสูง  สัมพันธ์กับน้ำหนัก)  มีลักษณะสมชาย   และต้องไม่พิการทางสายตา  เป็นต้น