ความ หมาย และความสำคัญของการบริหารสำนักงาน

บทที่ 1

ความหมายและลักษณะของการจัดการสำนักงาน

       

ความหมายของ สำนักงาน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สำนักงาน หมายถึง สถานที่ทำการของรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทห้างร้าน เป็นต้น เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน สำนักงานทนายความ

Show

       คำว่า สำนักงาน ตรงกับภาษาอังกฤษคือ office หมายถึง สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานของพนักงานในหน่วยงาน ทั้งที่เป็นภาคเอกชนและรัฐบาล

       คำว่า การจัดการสำนักงาน ตรงกับภาษาอังกฤษ คือ office management หมายถึง การดำเนินการเพื่อการวางแผน การจัดการ

  ความสำคัญของสำนักงาน

 

1.เป็นสถานที่ในการดำเนินการในด้านต่างๆ
 2.เป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูลข่าวสาร
 3.เป็นศูนย์กลางความจำ
 4.เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลและข่าวสาร
 5.เป็นสถานที่เพื่อใช้ในการทำงานและสนับสนุนสายงานหลัก
 6.เป็นสถานที่อำนวยการสำหรับผู้บริหาร

ประเภทของสำนักงาน

งานสำนักงานประกอบด้วยการทำงานหลายๆอย่าง โดยสามารถแบ่งประเภทของงานสำนักงานได้ดังนี้
1.งานทะเบียน  (Recording) หรืองานด้านเอกสารซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตเอกสาร
2.งานคำนวณ   (Calculating)  หรืองานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านค่าใช้จ่าย
3.การจัดการเอกสาร  (Document Managing) งานสำนักงานจะมีเอกสารเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
4.งานให้บริการและงานติดต่อสื่อสาร  (Sercvice and Communication) งานติดต่อสื่อสารเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นต่างๆ
5.งานพัสดุ  (Office supplies) หมายถึง งานจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการปฎิบัติงานสำนักงาน
6.งานอาคารสถานที่  Building and Location) หมายถึง งานด้านการจัดผังสำนักงาน การออกแบบ
7.งานจัดทำแผยและวิธีปฎิบัติงาน  (Plan and Operating Procedure) หมายถึง การวางแผนสำหรับการปฎิบัติงานด้านต่างๆ

ลักษณะของงานสำนักงาน

1.งานสำนักงานเป็นงานประเภทที่ให้บริการเเก่หน่วยงานต่างๆ ได้แก่ การต้อนรับ
2.งานสำนักงานเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน
3.งานสำนักงานเป็นงานที่ไม่สามารถจำกัดปริมาณของงานได้
4.งานสำนักงานเป็นงานที่ให้ความสะดวก
5.งานสำนักงานเป็นงานที่มีส่วนก่อให้เกิดผลกำไรแก่องค์การในทางอ้อม
6.เป็นงานที่มีลักษณะส่วนใหญ่ของงานสำนักงาน
7.เป็นงานส่วนใหญ่ของงานทั้งมวลในองค์การ
8.เป็นงานที่มีลักษณะเป็นเอกสาร
9.เป็นงานที่ต้องใช้คุณภาพในการปฎิบัติงาน
10.สำนักงานเป็นลักษณะของศูนย์รวมข้อมูล

องค์ประกอบของสำนักงาน

1. อาคารสถานที่  สถานที่ตั้งของสำนักงานเพื่อใช้สำหรับปฎิบัติงานต่างๆ
2.เครื่องใช้สำนักงานและวัสดุอุปกรณือื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร
3.ผู้ปฎิบัติงาน  บุคลากรในสำนักงาน

บุคลากรภายในสำนักงาน

1.ผู้บริหาร  (Manager)
2.เจ้าหน้าที่ในสายงาน  (Staff)
3.เลขานุการ  (Secretary)
4.เสมียน  (Clerk)

วัตถุประสงค์ของการจัดการสำนักงาน

1.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
2.เพื่อการจัดระบบและวิธีการปฎิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
3.เพื่อการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการปฎิบัติงานต่างๆ
4.เพื่อจัดให้มีการควบคุมบุคลากรให้ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.เพื่อการจัดให้มีข้อมูลที่จำเป็นต่อการปฎิบัติงาน
6.เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากร
7.เพื่อช่วยสนับสนุนให้บุคลากรปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
8.เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน
9.เพื่อช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในสำนักงาน

งานจัดการสำนักงาน

งานด้านการจัดการสำนักงานเป็นงานระดับบริหารสำหรับผู้บริหารในการปฎิบัติงานและดูแลปฎิบัติงานในสำนักงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ ดังนี้
1.การวางแผน (Planning)
2.การจัดองค์การ (Organization)
3.การอำนวยการ (Directing)
4.การควบคุม (Controlling)

ผู้บริหารสำนักงาน

ผู้บริหารสำนักงานคือ ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการสำนักงานโดยมีหน้าที่ในการวางแผน การจัดองค์กร

หน้าที่ของผู้บริหารสำนักงาน

1.ผู้รับผิดชอบต่ออาคารสำนักงาน
2.รับผิดชอบต่อเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน
3.รับผิดชอบต่อการจัดองค์การ
4.รับผิดชอบต่อการควบคุมภายในสำนักงาน
5.รับผิดชอบต่อการติดต่อสื่อสาร
6.รับผิดชอบต่อการบริหารงานบุคคลในสำนักงาน
7.รับผิดชอบต่อการจัดระบบและวิธีปฎิบัติ

คุณสมบัติของผู้บริหารงาน

1.มีความรู้เฉพาะด้านเกี่ยวกับการจัดการสำนักงาน
2.มีประสบการณ์ในการทำงาน
3.มีความเป็นผู้นำ
4.มีไหวพริบดี
5.มีความมั่นคงทางอารมณ์
6.มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
7.มีความสามารถในการมอบหมายงาน
8.มีวิสัยทัศน์
9.มีความรู้เกี่ยวกับงานสำนักงาน

บทที่ 2

แนวความคิด ปรัชญา และวิธีการปฎิบัติงานด้านการจัดการ

ความหมายของการจัดการสำนักงาน หมายถึง กระบวนการในการบริาหารงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

ความสำคัญของการจัดการสำนักงาน

1. เพื่อให้การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ
2. เพื่อให้การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ทฤษฎีและแนวความคิดในการจัดการ

แบ่งตามวิวัฒนาการทางการจัดการ ได้3 ยุค

1. ยุคการจัดกาสมัยเดิม
 1.1. แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
 1.2. แนวความคิดการจัดการเชิงกระบวนการ
 1.3. แนวความการบริหารระบบราชการ

2. ยุคการจัดการสมัยใหม่
 2.1. แนวความคิดทางการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ
 2.2. แนวความคิดการจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์

3. ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน
 3.1. แนวความคิดการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์
 3.2. แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ

กิจนิสัยที่ดีในการทำงาน

-ความตรงต่อเวลา
-ความรับผิดชอบ
-ความมีระเบียบวินัย
-ความซื่อสัตย์
-ความระมัดระวัง
-ความถูกต้องแม่นยำ
-การทำงานเสร็จทันเวลา
-การประหยัด
-การรายงาน
-การพูดจา


บทที่ 3

การแก้ปัญหาและปรับปรุงระบบสำนักงาน

ปัญหาในการปฏิบัติงานสำนักงาน

  ปัญหาในการปฏิบัติงาน สำนักงาน อันมีสาเหตุมาจากระบบสำนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดปัญหาที่บุคลากรสํานักงานไม่สามารถแก้ไขได้เอง  แก้ไขได้เองก็เป็นปัญหาซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำให้การปฏิบัติงานเกิดความล่าช้าและเกิดความล้มเหลว สำหรับปัญหาในการปฏิบัติงานได้แก่
1. เกิดความซ้ำซ้อนกันในการทำงาน  ทำให้มีบุคลากรมากกว่า 1 คนทำงานเดียวกัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและอาจเกิดความขัดแย้งกันในการปฏิบัติงาน ปัญหานี้มีสาเหตุมาจากการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่บุคลากรไม่ชัดเจน และซ้ำซ้อน
2. การปฏิบัติการล่าช้าเนื่องจากมีระบบขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ยุ่งยากและมากเกินไปจนทำให้ต้องเสียเวลาขั้นตอนบางอย่างอาจเกิดความจำเป็นและสูญเปล่า
3. การแบ่งงานที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้มีบุคลากรที่มีงานมากเกินไปจนไม่สามารถทำเสร็จได้ทันภายในเวลาที่กำหนดในขณะที่บางคนมีงานน้อยทำให้มีเวลาว่างมาก
4. เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าไม่มีประสิทธิภาพและเกิดการแย่งชิงกัน
5. การจัดบุคคลไม่เหมาะสมกับงาน ให้บุคลากรทำงานที่ไม่มีประสบการณ์ไม่มีความรู้ไม่มีความเข้าใจ ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพล่าช้าและขาดกำลังใจในการทำงาน
6. มีความซ้ำซ้อนกันในการบังคับบัญชาทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความสับสนในการ ปฏิบัติตามคำสั่งเนื่องจากมีผู้บังคับบัญชามากกว่า 1 คน
7. มีปริมาณผลผลิตน้อยเนื่องจากบุคลากรปฏิบัติงานไม่ถูกต้องเพราะไม่มีมาตรฐานในการทำงานที่แน่นอนจึงมีการปฏิบัติงานที่สูญเปล่าทำให้ได้ผลผลิตน้อย
8. เกิดอุปสรรคและความขัดแย้งในการประสานงาน เนื่องจากการกำหนดโครงสร้างสำนักงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความผิดพลาดในการประสานงาน
9. การปฏิบัติงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ อาจมีสาเหตุมาจากการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน การมุ่งเป้าหมายส่วนตนเพียงอย่างเดียว การขาดทรัพยากรในการปฏิบัติงานและอื่นๆ

 แนวทางในการแก้ไขปัญหาสำนักงาน

 1. ปรับปรุงการทำงานของบุคลากร เมื่อพบปัญหาในการปฏิบัติงาน การพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการปรับปรุงการทำงานของบุคลากรเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจเกิดจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของบุคลากร วิธีการปรับปรุงงานให้ง่าย ที่นิยมใช้กันคือการใช้หลัก pdca
      1. P l a n- วางแผน คือการวางแผนงานทุกอย่างก่อนเริ่มปฏิบัติการ เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
      2. D o- ปฏิบัติ คือการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ การปฏิบัติงานทันทีไม่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดินพอกหางหมู
      3. C h e c K- ตรวจสอบ คือการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานทั้งในระหว่างปฏิบัติเพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน และการตรวจสอบหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบว่าในการปฏิบัติงานนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด มีข้อบกพร่องอย่างไร
      4. A c t i o n- ปรับปรุงการทำงาน คือนำผลที่ได้จากการตรวจสอบมาหาวิธีการในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.  จัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากร ปัญหาของการปฏิบัติงานส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง ขาดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ จึงสามารถแก้ไขได้โดยการจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากร โดยการพิจารณาถึงเรื่องที่เกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง จึงสมควรจัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากร
3. การจัดหาทรัพยากรให้เพียงพอ ในกรณีที่ขาดแคลนทรัพยากรในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องพิจารณาถึงปริมาณที่เหมาะสมและจัดหาทรัพยากรมาให้เพียงพอต่อการใช้งาน แต่บางครั้งปัญหาของการขาดแคลนทรัพยากรอาจจะมาจากระบบการจัดการทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม แม้จะสรรหาทรัพยากรมามากพอแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่ระบบการจัดการ
4. การสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่ เพื่อจัดบุคลากรให้ได้ทำงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความถนัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ โดยจะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของบุคลากรแต่ละคน และอาหารที่มีเพื่อการจัดสรรงานให้เหมาะสม
5. ระบบการทำงาน หากแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆข้างต้นแล้วไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สาเหตุของปัญหาอาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบ
6. การปรับปรุงระบบสำนักงาน เป็นวิธีการสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาเมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาโดยวิธีการอื่นได้ และปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากระบบสำนักงานมีความบกพร่อง ไม่มีประสิทธิภาพจึงต้องการปรับปรุงระบบใหม่ทั้งหมดโดยที่เรียกว่าวิธีนี้ว่า การรื้อระบบ

ความหมายของการปรับปรุงระบบสำนักงาน

การการปรับปรุงหมายถึง การแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
การปรับปรุงระบบสำนักงาน หมายถึง การแก้ไขระบบสำนักงานให้ดียิ่งขึ้นโดยการพิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ภายในสำนักงาน และแก้ไขข้อบกพร่องให้ดียิ่งขึ้น สำหรับคำว่า ปรับปรุงระบบสำนักงานนั้นเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องหรือปัญหาเฉพาะส่วน แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากและความบกพร่อง ทั้งระบบ ก็จำเป็นต้องมีการปรับรื้อระบบสำนักงานใหม่ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนระบบภายในสำนักงานใหม่ทั้งหมดเรียกว่า การรื้อระบบ

การปรับปรุงระบบสำนักงาน

การปรับปรุงระบบสำนักงานเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาสำนักงานที่เกิดจากความบกพร่องของระบบโดยการแก้ไขระบบสำนักงานในส่วนที่พบปัญหาหรือส่วนที่บกพร่องทำให้เกิดปัญหา เพื่อปรับปรุงให้ระบบมีคุณภาพมากขึ้น
การวิเคราะห์ระบบ   System nalysis
คือการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบสำนักงานนำมาพิจารณาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา ความบกพร่องหรือข้อเสียต่างๆ

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ระบบ

 1. ช่วยให้เข้าใจวิธีการทำงาน โครงสร้างองค์กร และระบบการทำงานต่างๆ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้การปฏิบัติงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 2. เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรว่าเป็นไปตามมาตรฐาน และปฏิบัติตามระบบของสำนักงานหรือไม่
 3. เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
 4. เพื่อการพัฒนาระบบสำนักงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนการปรับรื้อระบบ

แบ่งขั้นตอนในการรื้อระบบออกเป็น 5 ขั้นด้วยกันคือ
1. กำหนดสิ่งที่จะต้องทำ
2. กําหนดวิสัยทัศน์ที่เป็นไปได้ด้วยการสร้างแบบจำลองการบริหารให้ชัดเจน
3. ชี้ให้เห็นกระบวนการหลักของหน่วยงาน
4. ออกแบบกระบวนการใหม่
5. นำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติ

ปัจจัยความสำเร็จในการปรับรื้อระบบ

1. การวิเคราะห์การทำงาน
2. การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ
3. การดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
4. การให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง
5. การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
6. การวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 4

บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน

บทบาทสำนักงาน

บทบาทของสำนักงานแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ
1. ระดับพื้นฐาน
2. ระดับสูง
บทบาทระดับพื้นฐาน
ประกอบด้วยหน้าที่หลักของสำนักงาน 7 งานคือ
1. งานเอกสาร
2. การติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์
3. การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพในสำนักงาน
4. การวิเคราะห์และจัดระบบงาน
5. การควบคุมระบบในสำนักงาน
6. การบริหารทรัพยากรมนุษย์
7. งานการเงินและบัญชี


บทบาทระดับสูงขึ้น

 1. การร่วมมือกันระหว่างสำนักงานกับแผนกต่างๆ ในองค์กร ในการทำหน้าที่พื้นฐานโดยให้บริการสำนักงานย่อยในแผนกต่างๆ
2. การประสานงานใกล้ ชีทของสำนักงานกับฝ่ายบริหารในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเสนอข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การวางแผน และจัดทำนโยบายต่างๆ ขององค์กรเพื่อรับรองการขยายตัวของสำนักงาน

หน้าที่ของสำนักงาน
1 จัดให้มีการบริการและการควบคุมเพื่อเป็นศูนย์ในการติดต่อประสานงาน
2 จัดระบบและวิธีปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ
3 รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ข้อมูลข่าวสารนั้นต้องเป็นจริงครบถ้วนและเชื่อถือได้

บทบาทสำนักงานอัตโนมัติ
สำนักงานอัตโนมัติหมายถึงสำนักงานที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงานที่มีความทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานสำนักงาน และการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องในการปฏิบัติงาน

บทบาทและหน้าที่ของสำนักงานในองค์กรการภาครัฐ
บทบาทและหน้าที่ของสำนักงานในภาครัฐแต่ละส่วนจะแตกต่างกัน แต่สำหรับวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสำนักงานในภาครัฐ มีวัตถุประสงค์โดยรวมเพื่อการดำเนินกิจการในภาครัฐ การให้บริการแก่ประชาชน การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของประชาชนให้มีความสะดวกราบรื่น และเป็น ระเบียบเรียบร้อย

บทที่ 5

การบริหารจัดการสำนักงาน

ลักษณะของการวางแผนงานในสำนักงาน

1 มีความยืดหยุ่น
2 มีความถูกต้อง
3 มีความชัดเจน
4 มีความสอดคล้อง
5 มีลำดับการทำงาน

ประเภทของการวางแผน

1. ประเภทของการวางแผนจำแนกตามระดับการของบริหารงาน
2. การจำแนกประเภทของการวางแผนตามระยะเวลา
3. ประเภทของการวางแผนจำแนกตามหน้าที่ของหน่วยงานธุรกิจ

ขั้นตอนการวางแผนงานสำนักงาน

1 ขั้นเตรียมการ
2 ขั้นวางแผน
3 ขั้นปฏิบัติตามแผน
4 ขั้นประเมินผล
5 ขั้นปรับปรุงการจัดการองค์กร

การจัดการองค์กร หมายถึงเป็นการจัดระเบียบและวิธีการในการปฏิบัติงานของกิจกรรมต่างๆภายในองค์การโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของงานอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ของแต่ละงานซึ่งอาจจัดทำเป็นรูปแบบของแผนภูมิโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้ทราบถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ให้ขึ้น

การอำนวยการ  หมายถึงกิจกรรมต่างๆอันเป็นหน้าที่ของผู้บริหารเพื่อให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรในบังคับบัญชาให้สามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์

การมอบหมายงาน

การมอบหมายงานหมายถึงการที่ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับผิดชอบและปฏิบัติซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ผู้บังคับบัญชาได้กำหนดไว้
ประโยชน์ในการมอบหมายงาน
ช่วยทำให้งานสำเร็จเร็วมากขึ้น
สร้างแรงจูงใจให้กับผู้รับมอบหมายงาน
ช่วยลดแรงกดดัน
ได้รับการชื่นชมว่าเป็นบุคคลที่พยายามพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ช่วยสร้างโอกาสความก้าวหน้าให้ตนเองและผู้อื่น

หลักเกณฑ์ในการมอบหมายงาน

พิจารณาอาหารที่จะมอบหมาย
พิจารณาความรู้ความสามารถทักษะและประสบการณ์
พิจารณาทีมงานสำหรับงานที่จะต้องทำเป็นทีม
พิจารณาทรัพยากรและจัดการทรัพยากร
ให้ความสำคัญกับงานที่มอบหมาย
ให้ความไว้วางใจในการทำงานและเปิดโอกาสในการตัดสินใจ
เปิดโอกาสในการแก้ไขงาน
ประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประสานงาน

การประสานงานหมายถึงการติดต่อระหว่างกันในการปฏิบัติงานเพื่อการทำงานร่วมกันโดยได้รับความร่วมมือร่วมใจกันในการทำงานตามหน้าที่ซึ่งมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันเปื้อนในการทํางานเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

หลักการประสานงานการประสานงานให้มีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึงหลักการประสานงานที่ถูกต้องประกอบด้วยหลัก การต่างๆดังนี้


จัดระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี
จัดระบบความร่วมมือที่ดี
จัดระบบการประสานงานที่ดี
จัดให้มีการประสานงานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรให้สอดคล้องกัน
จัดให้มีการประสานงานในรูปกระบวนการบริหารที่ครบวงจร
การประสานงานเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการบริหาร
จัดการประสานงานทุกระดับชั้น

การจูงใจ

เป็นวิธีการที่มีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมหลายๆด้านเพื่อให้บุคคลอันเป็นเป้าหมายยอมรับและปฏิบัติตามความต้องการด้วยความเต็มใจได้แก่การจูงใจลูกค้าของพนักงานขายการจูงใจบุคลากรการจูงใจผู้ร่วมงานเป็นต้น สำหรับภาวะผู้นำการจูงใจมีความสำคัญหลายประการดังนี

ทำให้การมอบอำนาจหน้าที่ของผู้นำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชา
ช่วยเสริมสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ช่วยบุคลากรมีความจงรักภักดีต่อองค์กร
ทำให้เกิดความสามัคคี
เพื่อช่วยในการควบคุม
ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน

เทคนิคการจูงใจ

  เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและแสดงความสามารถอย่างเต็มที่
  สร้างสัมพันธภาพที่ดี
  การชมเชย
  ให้การสนับสนุน
ให้โอกาสในความก้าวหน้า
การให้รางวัล
การให้ความช่วยเหลือ
การสร้างบรรยากาศในการทำงาน

การตัดสินใจ

การตัดสินใจหมายถึงการพิจารณาทางเลือกสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากหลายๆทางเลือกเพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุด หรือเหมาะสมที่สุดสำหรับนำไปใช้ในการดำเนินกิจการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยใช้เครื่องมือและกระบวนการต่างๆในการวิเคราะห์ทางเลือก

กระบวนการตัดสินใจเป็นขั้นตอนที่นำมาใช้ในการตัดสินใจซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารมีการตัดสินใจอย่างระเบียบทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพโดยการกระบวนโดยกระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย
 การกำหนดประเด็นปัญหา
 การสร้างทางเลือก
 การประเมินทางเลือก
 การตัดสินใจและการนำไปใช้
 การประเมินผล

การควบคุมสำนักงาน
การติดตามการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่

วัตถุประสงค์ของการควบคุมการสำนักงาน

1 เพื่อให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นไปตามแผนงานอย่างถูกต้อง
2 เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานมีมาตรฐานช่วยป้องกันความเสียหาย
3 เพื่อช่วยในวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อทำให้ทราบว่าบุคลากรปฏิบัติงานอย่างถูกต้องหรือไม่
4 ช่วยจูงใจพนักงานให้มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
5 เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานให้จะให้ใช้ทรัพย์สินขององค์กรอย่างถูกต้อง

การวัดผลงาน

การวัดผลงาน หมายถึงวิธีการในการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานในการปฏิบัติงานซึ่งจะทำให้ทราบว่าบุคลากรสามารถปฏิบัติได้ตรงกับมาตรฐานหรือไม่

บทที่ 6

การจัดผังสำนักงาน

วัตถุประสงค์ในการวางผังสำนักงาน

1 เพื่อใช้เนื้อที่ภายในสำนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2 การไหลของงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3 เพื่อให้สำนักงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
4 เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
5 เพื่อให้บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
6 เพื่อสร้างความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
7 เพื่อให้มีความสะดวกในการบริหารงาน
8 เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกแบบแผนผังสำนักงาน

รูปแบบการจัดแผนผังสำนักงาน

รูปแบบการจัดแผนผังสำนักงานคือการจัดพื้นที่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในสำนักงานการจัดโต๊ะทำงานเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆสำหรับการปฏิบัติงานสำนักงานสามารถแบ่งรูปแบบออกเป็น 4 รูปดังนี้
1 การจัดสำนักงานแบบเปิด
2 การจัดแผนผังสำนักงานแบบใช้แผงกั้น
3 การจัดแผนผังสำนักงานแบบเน้นทัศนียภาพ
4 การจัดแผนผังสำนักงานแบบแยกห้อง

การวางแผนผังสำนักงาน
การวางแผนผังสำนักงานคือการกำหนดพื้นที่ใช้สอยภายในสำนักงานสำหรับการปฏิบัติงานการจัดวางเครื่องมือเครื่องอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้มีการใช้พื้นที่ภายในสำนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลักการในการวางแผนผังสำนักงาน

1 การจัดสายการไหลของงาน
2 การจัดการบังคับบัญชา
3 การจัดการสื่อสารและการประสานงาน
4 การกำหนดเนื้อที่สำหรับการปฏิบัติงาน
5 การจัดวางเครื่องมืออุปกรณ์
6 การจัดทางเดินที่เหมาะสม
7 จัดสถานที่สำหรับบุคคลภายนอกที่เข้ามาติดต่อ
8 การคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากร
9 การจัดแสงสว่างอุณหภูมิเสียง
10 การจัดความเป็นส่วนตัวให้แก่บุคลากร

การจัดแสงสว่าง
1 งานที่ต้องเพ่งมาก
2 งานธรรมดา

การจัดเครื่องใช้สำนักงานและการตกแต่งสำนักงาน

เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องใช้สำนักงานถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดผังสำนักงานเพื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ในสำนักงานจะต้องประกอบด้วยเครื่องใช้สำนักงานจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งโต๊ะทำงานสำหรับบุคลากรซึ่งจะต้องจัดให้บุคลากร 1 คนมีโต๊ะทำงานที่ 1 ตัวเพราะฉะนั้นอย่างน้อยที่สุดภายในสำนักงานจะต้องประกอบด้วยโต๊ะทำงานจำนวนเท่ากับบุคลากรในทำงานส่วนที่เหลือนั้นคือเครื่องใช้สำนักงานอย่างอื่นที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานสำคัญ

เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องตกแต่งสํานักงานเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับตกแต่งสำนักงานให้มีความสวยงามช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงานแต่ผู้ที่เข้ามาติดต่อและเพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานให้บุคลากรในสำนักงานรู้สึกผ่อนคลายซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ในการเกิดประโยชน์ใดๆในการทำงานได้แต่มีผลทางจิตวิทยาโดยจะช่วยให้บุคลากรมีกำลังใจในการบริการ

ความสะอาดและความเป็นระเบียบ

1 ทำให้การทำงานของบุคลากรไม่มีอุปสรรคขัดขวางการทำงาน
2 ช่วยให้ถูกสุขลักษณะบุคลากรในสำนักงานมีสุขภาพกายและใจ ที่ดี
3 ช่วยจูงใจให้บุคลากรอยากทำงานเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
4 ช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้มาติดต่อสำนักงาน

บทที่ 7

การจัดสายการดำเนินงาน

ความหมายและความสำคัญของการจัดสาย การดำเนินงาน

การจัดสายการดำเนินงานหมายถึงการแบ่งหน่วยงานภายในองค์กรเพื่อการปฏิบัติงานต่างๆโดยการจัดให้งานที่เหมือนกันหรือคล้ายกันอยู่ในหน่วยงานเดียวกันและจัดสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานต่างๆเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ

ความสำคัญของการจัดสายการดำเนินงาน

การจัดรายการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารสำนักงานโดยสามารถสรุปความสำคัญได้ดังนี้
1 เพื่อการบังคับบัญชา
 2 เพื่อการปฏิบัติ
3 เพื่อการติดต่อประสานงาน
4 เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
5 เพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล

การกำหนดหน้าที่และโครงสร้างของงานสำนักงาน

1 กิจกรรมหลักขององค์การ
2 ความสำคัญของงานสำนักงานต่อผู้บริหาร
3 ลักษณะการใช้เครื่องใช้สำนักงาน
4 การจัดการบริหารงานขององค์การ

โครงสร้างสำนักงาน
ในการดำเนินงานของสำนักงานจำเป็นต้องมีโครงสร้างเพื่อให้ทราบสายงานภายในสำนักงานว่ามีระบบงานเป็นอย่างไรโครงสร้างสำนักงานมักจะจัดทำอยู่ในรูปแบบ แผนภูมิเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

ประเภทโครงสร้างขององค์การ

1 โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก
2 โครงสร้างองค์การแบบงานหลักและที่ปรึกษา

การวางรูปงานสำนักงาน
คือการนำเอางานของทุกแผนกทุกฝ่ายมาแจกแจงให้ทราบอย่างแน่ชัดว่าหน่วยงานประกอบด้วยแผนกงานใดขึ้นตรงต่อเวลาใดทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายและนโยบายของหน่วยงานทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 การจัดแผนกงานในสำนักงาน

1 การแบ่งแผนกตามงานหน้าที่
2 การจัดแบ่งแผนกงานตามประเภทของผลิตภัณฑ์
3 การจัดแผนกงานตามโครงการ
4 การจัดแผนกงานตามพื้นที่
5 การจัดแผนกงานตามลูกค้า

บทที่ 8

การบริหารงานเอกสาร

ความหมายและความสำคัญของเอกสารและการบริหารเอกสาร

ความหมายของเอกสารตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2542 หมายถึงหนังสือที่เป็นหลักฐาน กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งทำให้ปรากฏความหมายด้วยอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นด้วยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น

เอกสาร หมายถึงกระดาษหนังสือหรือวัตถุอื่นๆที่จัดทำขึ้นมาเป็นเอกสารต่างๆสำหรับการดำเนินงานของกิจการซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแบบฟอร์ม จดหมายหนังสือในรูปแบบอื่นๆ
การบริหารงานเอกสาร หมายถึง การดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสารภายในสำนักงานเพื่อการผลิตการใช้งานการจัดเก็บและการทำลายเอกสารตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนสิ้นสุดกระบวนการใช้งานเอกสาร

การจัดเก็บเอกสารหมายถึงกระบวนการในการจัดเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยการรวบรวมเอกสารต่างๆมาเก็บไว้ด้วยการและการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกและการค้นหาและการนำไปใช้ในครั้งต่อไป

วงจรชีวิตของเอกสาร

1 การผลิต

2 การใช้ประโยชน์

3 การจัดเก็บ
4 การเรียกใช้หรือการสืบค้น
5 การกำหนดสภาพ

กระบวนการบริหารงานเอกสาร

1 การวางแผน
2 การกำหนดหน้าที่และโครงสร้างของงานเอกสาร
3 การออกแบบระบบการจัดการเอกสาร
4 การเก็บรักษา
5 ควบคุมเอกสาร
6 การทำลายเอกสาร

 ประเภทเอกสาร

1 เอกสารภายนอก
2 ส่งเอกสารภายใน
3 เอกสารสำหรับติดต่อภายในสำนักงาน

การทำลายเอกสาร

1 เอกสารที่เก็บรักษาไว้นั้นเป็นเอกสารอะไรบ้างต้องเก็บนานเท่าไหร่เอกสารใดบ้างที่สามารถทำลายทิ้งได้
2 มีวิธีการจัดทำไรกับเอกสารที่สามารถทำลายได้อย่างไร
3 มีมาตรการและขั้นตอนในการทำลายเอกสารอย่างไร

บทที่ 9

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารงานเอกสาร

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ เอกสารที่ถูกบันทึกลงในสืื่อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปใช้งานหรือจัดเก็บในรูปแบบของไฟล์เอกสาร ซึ่งสามารถจัดทำเป็นไฟล์ต่างๆ ตามควารมต้องการในการใช้งาน

   ประโยชน์ของจดอิเล็กทรอนิกส์

1.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
2.ช่วยลดพื้นที่ในกสรจัดเก็บเอกสาร
3.ช่วยลดเวลาในการปฎิบัติงานโดยไม่ต้องเดินเอกสาร
4.ช่วยลดเวลาในการจัดเก็บเอกสาร
5.ช่วยให้หมีความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

รูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

1.รูปแบบเอกสารข้อความ เป็นเอกสารที่ผลิตจากเครื่องมือต่างๆในรูปแบบข้อความ
2.รูปแบบเอกสารภาพ

 การนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในสำนักงาน

เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการดูแลการจัดเอกสาร การสืบค้นเพื่อนำไปใช้งาน และการรักษาความลับขององค์การ ระบบการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จึงมีความสำคัญเช่นเดียวกับเอกสารทั่วไป
  

   กระบวนการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

1.การผลิต
2.การควบคุม
3.การจัดเก็บ
4.การเรียกใช้
5.การทำลาย

 การสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

1.การผลิตเอกสารด้วยโปรแกรม microsoft word
2.การสร้างตาราง
3.การแทรกรูปภาพ
4.การแทรก clip art
5.การแทรก shapes
6.การแทรก smartart
7.การแทรกแผนภูมิ

  การจัดระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

1.ไฟล์ คือ หน่วยข้อมูลต่่างๆ ที่จัดเก็บไว้สำหรับเรียกใช้งาน
2.โฟล์เดอร์ คือ หน่วยสำหรับการจัดเก็บเอกสารไฟล์ข้อมูลต่างๆ เปรียบเสมือนกับแฟ้มเอกสารที่ใช้สำหรับจัดเก็บเอกสารต่างๆ

บทที่ 10

เครื่องใช้สำนักงาน

เครื่องใช้สำนักงาน

          เครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยในการปฏิบัติงานของพนักงานในสำนักงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความถูกต้องชัดเจน สร้างความประทับใจให้แก่ผู้รับอันจะนำไปสู้ความสำเร็จในการติดต่อ

ประโยชน์ในการใช้เครื่องใช้สำนักงาน

1. การลดต้นทุนในการทำงาน
2. การลดความเบื่อหน่าย
3. การลดความเมื่อยล้า
4. การสร้างความสวยงาม
5. การเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้อง
6. ความสามารถในการควบคุม
7. ช่วยลดงานที่ทำค้าง

การเลือกเครื่องใช้สำนักงาน

1. ความจำเป็นในการใช้งาน
2. ความเหมาะสม
3. ความเชื่อถือได้
4. รายละเอียดต่างๆ ของเครื่องใช้สำนักงาน
5. ราคา
6. ต้นทุนในการทำงาน
7. ความปลอดภัยในการใช้งาน
8. การบำรุงรักษา
9. บริการหลังการขาย

   วิธีการจัดหาเครื่องใช้สำนักงาน

1. การซื้อ
2. การเช่า
3. การเช่าซื้อ


   ประเภทของเครื่องใช้สำนักงาน

1. เครื่องพิมพ์ดีด
2. เครื่องคำนวณเลข
3. เครื่องถ่ายเอกสาร
4. เครื่องโทรสาร
5. เครื่องคอมพิวเตอร์
6. เครื่องพิมพ์
7. เครื่องปรุกระดาษไข
8. เครื่องอัดสำเนา
9. เครื่องอัดสำเนาดิจิตอล

บทที่ 11

สำนักงานจำลองและการฝึกปฎิบัติงานสำนักงาน

สำนักงานจำลอง

          สำนักงานที่ถูกสร้างขึ้นเลียนแบบสำนักงานของหน่วยงานโดยมีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการฝึกปฏิบัติอย่างครบถ้วน


การจัดสำนักงานจำลอง

          การจัดสำนักงานจำลองขึ้นในสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบจะต้องทำการวางแผนไว้ล่วงหน้าในการจัดหาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จัดทำโครงสร้างและแผนผังสำนักงานให้มีสภาพเหมือนสำนักงานจริง โดยนำเอาแบบอย่างของสำนักงานแห่งใดแห่งหนึ่งที่เห็นว่าดีและเหมาะที่จะเป็นแบบอย่าง


   การฝึกปฏิบัติงานในสำนักงาน

1. เพื่อการเรียนรู้งาน
2. เพื่อฝึกฝนทักษะในการปฏิบัติงาน
3. เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับงาน
4. เพื่อการนำเอาวิชาความรู้ที่มีมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
5. เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ


   ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานสำนักงาน

1. ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาธุรกิจ
2. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานสำนักงาน
3. ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้สำนักงาน
4. ความสามารถในการบริหารจัดการ
5. ความสามารถในการสื่อสาร
6. ความสามารถในการสร้างมนุษยสัมพันธ์


   ข้อพึงปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติงานในสำนักงาน

1. ข้อพึงปฏิบัติต่อลูกค้าและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ข้อพึงปฏิบัติต่อบุคลากรด้วยกัน
3. ข้อพึงประพฤติปฏิบัติส่วนตัว
4. ข้อพึงปฏิบัติเมื่อเกิดปัญญา
5. การประพฤติปฏิบัติหน้าที่ที่ขัดต่อผลประโยชน์ขององค์การ