ไกร กร่าง ยาง ยูงสูงระหง ต ลิง ปลิง ปริ ง ประยงค์ คันทรง ส่งกลิ่น ฝิ่นฝาง มี กี่ ชนิด

ไกร กร่าง ยาง ยูงสูงระหง ต ลิง ปลิง ปริ ง ประยงค์ คันทรง ส่งกลิ่น ฝิ่นฝาง มี กี่ ชนิด

Advertisement


 ข้อสอบข้อที่  ๔๑ - ๘๐

๔๑. เสียงของพยางค์ในข้อใดมีโครงสร้างต่างกับข้ออื่น

๑. ขวาน           . หลาม

๓. เผย              . ฝูง

๔๒. คำประพันธ์ต่อไปนี้ข้อใดมีพยางค์คำตายมากที่สุด

๑. พระภูมินทร์ล้นเกล้าของชาวไทย

๒. เสด็จไปทั่วแคว้นแดนสยาม

๓. พระเมตตาดุจฟ้าแสนงดงาม

๔. ทั่วสยามไม่แยกเผ่าเราคือไทย

๔๓. ข้อใดมีตำแหน่งคำครุคำลหุเหมือนข้อความต่อไปนี้ บารมี ธ มากล้น

๑. คนจะดีเพราะน้ำใจ              . สารนี้มิลบเลือน

๓. ฟ้าสีน้ำน้ำสีฟ้า                    . พรุ่งนี้เราจะรักกัน

๔๔. ข้อใดมีคำที่แสดงวัจนภาษา

๑.         แม้มากผิกิ่งไม้             ผิวใครจะใคร่ลอง

มัดกำกระนั้นปอง                    พลหักก็เต็มทน

๒.        นิ่งเงียบสงบงำ            บมิทำประการใด

ปรากฏประหนึ่งใน                  บุรว่างและร้างคน

๓.        ปรึกษาหารือกัน           ไฉนนั้นก็ทำเนา

จักเรียกชุมนุมเรา                     บแลเห็นประโยชน์เลย

๔.        ลูกข่างประดาทา          รกกาลขว้างไป

หมุนเล่นสนุกไฉน                    ดุจกันฉะนั้นหนอ

๔๕. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ

๑. เกาต์ แกรไฟต์ โพสการ์ด

๒. นิออน บาร์เรล พาราฟิน

๓. มอร์เตอร์ ไมครอน เมตริก

๔. คลอรีน ซิลิคอน แบคทีเรีย

๔๖. ข้อใดใช้คำถูกต้องตามความหมาย

๑. ปีนี้อากาศร้อนเหลือเกิน วันไหนไม่ได้เปิดแอร์ก็ร้อนตัวมาก ๆ เลย

๒. วัยรุ่นข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังใคร ๆ ได้ฟังก็ร้อนหูไปหมด

๓. เขาเพิ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัยจึงร้อนวิชาอยากพูดอยากแสดงให้คนรู้

๔. บ้านสวยหลังนั้นปิดเงียบเพราะเจ้าของร้อนเงินหนีไปต่างประเทศแล้ว

๔๗. คำซ้ำในข้อใดไม่มีความหมายเป็นพหูพจน์

๑. น้อง ๆ ของเขารักใคร่กันดี

๒. เขาป่วยต้องนอนพักเป็นเดือน ๆ

๓. ตอนเด็ก ๆ ฉันเคยไปอยู่ต่างจังหวัด

๔. สาว ๆ สมัยนี้รูปร่างอ้อนแอ้นกันทั้งนั้น

๔๘. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ

ข้าวเป็นธัญญาหารที่มีประโยชน์อยู่ทุกอณูของเมล็ดข้าว เนื้อข้าว รำข้าว

และจมูกข้าว เราจึงควรกินข้าวให้ครบทุกส่วนของเมล็ด เพื่อชีวิตที่แข็งแรงสดใส

ห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ และมีสุขภาพดีอายุยืนยาว

๑. ๓ คำ            . ๔ คำ

๓. ๕ คำ           . ๖ คำ

๔๙. ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ต่อไปนี้

ใครจักผูกโลกแม้          รัดรึง

เหล็กเท่าลำตาลตรึง                 ไป่หมั้น

มนตร์ยาผูกนานหึง                  หายเสื่อม

ผูกเพื่อไมตรีนั้น                       แน่นเท้าวันตาย

๑. คำซ้ำ

๒. คำซ้อน

๓. คำโทโทษ

๔. คำตายแทนคำเอก

๕๐. ข้อใดมีคำสมาสที่มีการสนธิ

๑. ธาตุเจดีย์     ธัญพืช    ธรรมจารี

๒. รัตนชาติ   ราชสาส์น   รมณียสถาน

๓. ภูมิลักษณ์     ภูษามาลา     ภิญโญภาพ

๔. พรรณนาโวหาร    พยุหเสนา    พรหมาสตร์

๕๑. ข้อใดไม่มีคำยืมจากภาษาต่างประเทศ

๑. ฝรั่งเป็นต้นตำรับอาหารกินเร็ว ยืนกินเดินกินก็ได้

๒. เมื่อเรารับมาก็ต้องกินตามอย่างเขาและรู้สึกว่าง่ายดี

๓. เราไม่ได้กินเพื่อประหยัดเวลาเอาไว้ทำการงานอย่างอื่น

๔. เป็นการกินเล่น ๆ กันในหมู่คนวัยที่ยังทำมาหากินไม่ได้มากกว่า

๕๒. ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต

๑. เราต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

๒. อย่าเลี้ยงลูกให้เป็นเทวดา

๓. ชื่อของเขาอยู่ในทำเนียบรุ่น

๔. ภรรยาของเขาทำงานอยู่ที่นี่

๕๓. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดไม่มีคำที่มาจากภาษาอังกฤษ

๑) เรตติ้งของรายการโทรทัศน์สัมพันธ์กับเวลาในการออกอากาศ / ) รายการ

ที่ออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ หรือช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มาก / ) จะมีโอกาส

ได้รับความนิยมมากกว่ารายการที่ออกอากาศในช่วงเวลาที่คนชมรายการน้อย /

๔) ช่วงเวลาที่มีผู้ชมทีวีมากก็คือช่วงหัวค่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรายการข่าว /

๑. ส่วนที่ ๑

๒. ส่วนที่ ๒

๓. ส่วนที่ ๓

๔. ส่วนที่ ๔

๕๔. คำภาษาอังกฤษในข้อใดไม่มีคำภาษาไทยใช้แทน

๑. ห้างสรรพสินค้าส่งแค็ตตาล็อกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังลดราคามาให้ดูที่บ้าน

๒. อยากโทรศัพท์บอกเพื่อนว่าอาจารย์ต้องการพบ แต่ผมไม่มีโฟนการ์ด

๓. ไดรไอซ์มีประโยชน์มาก ช่วยทำให้อาหารแช่แข็งไม่ละลายง่าย

๔. ตึกใหญ่หลังนั้นมีคนมาเช่าทำออฟฟิศกันมากมาย คุณสนใจไหม

๕๕. ข้อใดใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง

๑. น้องสาวฉันเป็นผู้หญิงสวย ที่บ้านจึงมีกระจกเงาหลายบานไว้ให้ส่อง

๒. เขาเป็นคนความจำดี อาขยานกี่บท ๆ ก็สามารถท่องจำได้หมดในเวลาไม่นาน

๓. คุณไปเที่ยวงานแสดงสินค้าเห็นไม้เท้าสวย ๆ ช่วยซื้ออันใหม่มาฝากคุณปู่ด้วย

๔. มหาวิทยาลัยจะจัดประกวดคำขวัญเนื่องในวันสถาปนา ใครจะส่งกี่ชิ้นก็ได้

๕๖. ข้อความต่อไปนี้มีคำสันธานและคำบุพบทกี่คำ

ทุกวันนี้โลกแคบลงจนสื่อสารกันได้ทันใจและเราก้าวทันโลกได้ตามวิถี

โลกาภิวัตน์ วิทยาการต่าง ๆ น่าจะสัมพันธ์กันได้มากขึ้น โลกของนักวิชาการ

มิใช่มีเพียงซีกตะวันออกกับซีกตะวันตกเท่านั้น

๑. สันธาน ๒ คำ บุพบท ๓ คำ

๒. สันธาน ๒ คำ บุพบท ๒ คำ

๓. สันธาน ๓ คำ บุพบท ๓ คำ

๔. สันธาน ๓ คำ บุพบท ๒ คำ

๕๗. ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง

๑. คุณสุนีย์ทะนุถนอมลูกสาวราวกับไข่ในหิน

๒. คุณสุเนตรได้ทีขี่แพะไล่ซื้อหุ้นธนาคารไว้เก็งกำไรหลายพันหุ้น

๓. คุณสุภาเป็นห่วงสุขภาพสามีจึงมักติดตามไปไหนมาไหนด้วยเสมอเป็น

                 เงาตามตัว

๔. คุณสุพรเป็นฆ้องปากแตกชอบนำเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผยของสมาคมเราไป

                 โพนทะนา

๕๘. สำนวนในข้อใดกล่าวถึงอุปนิสัยของคน

๑. โปรดสัตว์ได้บาป

๒. เงียบเป็นเป่าสาก

๓. ผ่อนสั้นผ่อนยาว

๔. กระดังงาลนไฟ

๕๙. ข้อใดใช้สำนวนต่างประเทศ

๑. ประเทศในแถบยุโรปล้วนเป็นถิ่นที่คนจำนวนมากต้องการบริโภคหอยทาก

๒. หญิงชาวแอฟริกาลองกินหอยทาก แล้วเธอก็ได้พบกับความประหลาดใจว่า

                 เธอชอบมันมาก

๓. บริษัทค้าหอยทากจ่ายค่าแรงให้แก่คนงานประมาณ ๔๕ บาทต่อหอยทาก

                 น้ำหนัก ๑๐ ปอนด์

๔. นักกินหอยทากจะใช้คีมคีบเปลือกหอยไว้ในมือข้างหนึ่ง ส่วนมืออีกข้างก็

                 ถือส้อมเล็ก ๆ ดึงเนื้อหอยออกจากเปลือก

๖๐. ข้อใดไม่เป็นประโยค

๑. นมแม่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ลูก

๒. การดื่มนมแม่ช่วยลดการติดเชื้อไวรัสในวัยทารก

๓. ปัจจุบันมีการโฆษณาให้แม่ดื่มนมวัวมาก ๆ โดยสื่อว่าลูกในท้องจะแข็งแรง

๔. แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งเป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารก

๖๑. ข้อใดเป็นประโยคความรวม

๑. ฉันก็อยากทำอะไรตามใจตัวเองบ้าง

๒. อะไรที่ดี ๆ ก็น่าจะทำเสียก่อน

๓. ร้านนี้อาหารอะไรก็อร่อยทั้งนั้น

๔. อะไรมาก่อนเราก็กินไปพลาง ๆ

๖๒. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น

() การบริโภคอาหารทะเลมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อร่างกายคนเรา () ในเนื้อ

ปลามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด () คนที่ชอบ

รับประทานกุ้งส่วนมากไม่รับประทานหางและเปลือก () ทั้งหางและเปลือกกุ้ง

เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและไคโตซาน

๑. ส่วนที่ ๑

๒. ส่วนที่ ๒

๓. ส่วนที่ ๓

๔. ส่วนที่ ๔

๖๓. ข้อใดใช้ภาษาต่างระดับกับข้ออื่น

๑. ศัตรูสำคัญของเห็ดขอนและเห็ดหูหนูคือไรไข่ปลาและราเขียว

๒. เห็ดขอนถึงจะเป็นเห็ดในสกุลของเห็ดหอมแต่รูปร่างหน้าตาเหมือนเห็ดนางรม

๓. การปลูกเห็ดขอนใช้วิธีเพาะด้วยขี้เลื่อยในถุงพลาสติกเช่นเดียวกับการเพาะเห็ด

     นางฟ้า

๔. เห็ดขอนมีดอกมากในสภาพอากาศร้อน ส่วนเห็ดนางรมและเห็ดนางฟ้าออกดอก

     ได้ดีในที่อากาศเย็น

๖๔. ข้อความต่อไปนี้ใช้ราชาศัพท์ผิดกี่คำ

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำรัสถึงความประทับ

พระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังสหพันธรัฐรัสเซียกับคนไทย

และนักเรียนไทยที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้าเฝ้าทูล

ละอองพระบาทที่โรงแรมบอลต์ชุก เคมพินสกี้ กรุงมอสโก เมื่อวันที่ ๔

กรกฎาคมที่ผ่านมา

๑. ๑ คำ

๒. ๒ คำ

๓. ๓ คำ

๔. ๔ คำ

๖๕. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดใช้เครื่องหมายไม้ยมกไม่ได้

๑. มีอะไรก็กินกินไปเถอะ

๒. โปรดนั่งตามที่ที่จัดไว้

๓. ขนมนี่ออกเค็มเค็มฉันไม่ชอบ

๔. แม่ทำอาหารอร่อยอร่อยไว้ให้กินเสียก่อนสิ

๖๖. ข้อความต่อไปนี้เป็นคำประพันธ์ชนิดใด

แสนสาวสุรางค์วรสนมก็ประดับดังดาราแวดลป้อมพระจันทร ณ อากาศเรืองรรังษี

๑. โคลง

๒. ฉันท์

๓. กาพย์

๔. กลอน

๖๗. ข้อใดมีสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะภายในวรรค

๑. ไส้ตันความป่วยเจ็บ

๒. ผ่าแล้วเย็บพอเยียวยา

๓. เร็วเรียกปลาหมอมา

๔. ให้ช่วยผ่าปลาไส้ตัน

๖๘. ข้อใดมีคำอัพภาส

๑. เหมือนหนึ่งน้ำพลอยพร้อยอยู่พรายพราย

๒. พระพายรำเพยพัดมารี่เรื่อยอยู่เฉื่อยฉิว

๓. พระทัยนางให้หวั่นหวาดพะวงหลัง

๔. ยะเหยาะเหย่าทุกฝีย่างไม่หย่อนหยุด

๖๙. ข้อใดเล่นเสียงพยัญชนะเด่นชัดที่สุด

๑. ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม

๒. เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน

๓. คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์

๔. รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจักเปรียบเทียบทันขวัญ

๗๐. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นที่สุดของคำประพันธ์ต่อไปนี้

โลกนี้มิได้อยู่ ด้วยมณี เดียวนา

ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง

ปวงธาตุต่ำกลางดี ดุลยภาพ

ภาคจักรพาลมิร้าง เพราะน้ำแรงไหน

๑. โวหารโลดโผน

๒. ความหมายลึกซึ้งชวนให้คิด

๓. การสรรคำสื่อภาพได้ชัดเจน

๔. เสียงสัมผัสสระและพยัญชนะที่ไพเราะ

๗๑. ข้อใดกวีใช้กลวิธีพรรณนาต่างกับข้ออื่น

๑. อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล

๒. กระถินกลิ่นหอมกลบ เช่นน้ำอบสุดามาลย์

๓. ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย

๔. กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม

๗๒. ข้อใดไม่แสดงจินตภาพการเคลื่อนไหว

๑. อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ

๒. บัดราชฟาดแสงพล พ่ายฟ้อน

๓. สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา

๔. หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว

๗๓. ข้อใดไม่แสดงจินตภาพการเคลื่อนไหว

๑. ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง

     อีเก้งเริงร้องลองเชิง

๒. ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคะนึงผึงโผง

      โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป

๓. ไกรกร่างยางยูงสูงระหง ตลิงปลิงปริงประยงค์

      คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง

๔. ลิงค่างครางโครกครอก ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน

     ชะนีวิเวกวอน นกหกร่อนนอนรังเรียง

๗๔. คำประพันธ์ต่อไปนี้สื่ออารมณ์ความรู้สึกใดของกวี

        ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมสุข                 แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา

ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา                            อยุธยาจะสาบสูญไป

จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว                ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส

นับวันแต่จะยับลับไป                          ที่ไหนจะคืนคงมา

๑. ว้าวุ่น           . คับแค้น

๓. ร้อนรน       . หดหู่

๗๕. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์

๑. นี่จนใจไม่มีเท่าขี้เล็บ ขี้เกียจเก็บเลยทางมากลางหน

๒. ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น

๓. เสียงสินธุดุดั้นลั่นพิลึก สะท้านสะทึกโถมฟาดฉาดฉาดฉาน

๔. เหมือนนกฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา

อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ ๗๖ - ๗๗

() เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน

() ครั้นยามเย็นเห็นเหมือนหนึ่งเมฆพลุ่ง เป็นควันฟุ้งราวกับไฟไกลหนักหนา

() ดูเหย้าเรือนหาเหมือนอย่างไทยไม่ หลังคาใหญ่พื้นเล็กเป็นโรงผี

() เราเป็นมนุษย์สุดรักต้องลักพา เหมือนอินทราตรึงส์ตรัยเป็นไรมี

๗๖. ข้อใดใช้ภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์

๑. ข้อ ๑            . ข้อ ๒

๓. ข้อ ๓          . ข้อ ๔

๗๗. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์ชนิดอุปมา

๑. ข้อ ๑            . ข้อ ๒

๓. ข้อ ๓          . ข้อ ๔

๗๘. ข้อใดไม่สะท้อนความเชื่อ

๑. เวรกรรมนำไปไม่รั้งรอ มิพอที่จะต้องพรากก็จากมา

๒. ใส่ดาลบ้านช่องกองไฟรอบ พ่อช่างลอบเข้ามากระไรได้

๓. เป่าลงด้วยพระเวทวิทยา มารดาก็ฟื้นตื่นโดยง่าย

๔. จุดเทียนสะกดข้าวสารปราย ภูตพรายโดดเรือนสะเทือนผาง

๗๙. ข้อใดสะท้อนค่านิยม

๑. ทุกวันนี้มีทรัพย์เขานับถือ เหมือนเราหรือเขาจะรักมิผลักไส

๒. หนึ่งบิดรมารดาคณาญาติ ให้ผุดผาดผาสุกเป็นนิจศีล

๓. เห็นคนทรงปลงจิตอนิจจัง ให้คนทั้งปวงหลงลงอบาย

๔. แม้นเนื้อเย็นเป็นเทพธิดา พี่ขออาศัยเสน่ห์เป็นเทวัญ

๘๐. ข้อใดเป็นคำกล่าวที่ไม่ต้องการคำตอบ

๑. เหตุใดวานรน้อยนี้ จึ่งล้างชีวีไม่บรรลัย

๒. จะเกิดไหนขอให้พบประสบกัน อย่าโศกศัลย์แคล้วคลาดเหมือนชาตินี้

๓. มาถามไถ่ไล่เอากิจจา คือจะปรารถนาสิ่งใด

๔. เป็นไฉนมาอยู่รักษาด่าน ไมยราพขุนมารโมหันธ์__

เฉลย

๑. ข     ๒.  ง        ๓. ง         ๔.  ค      ๕.  ก      ๖.  ค       ๗.  ก       ๘.  ก       ๙. ง       ๑๐.  ข

๑๑. ข   ๑๒.  ก     ๑๓. ง      ๑๔.  ค    ๑๕.  ง    ๑๖. ก     ๑๗. ง      ๑๘.  ข    ๑๙. ก     ๒๐.  ข

๒๑. ข   ๒๒. ค      ๒๓. ง     ๒๔. ค     ๒๕. ข    ๒๖. ค     ๒๗. ง     ๒๘. ค     ๒๙. ก     ๓๐. ก   

๓๑. ค   ๓๒. ข      ๓๓. ง     ๓๔. ก     ๓๕. ค     ๓๖. ก     ๓๗. ข    ๓๘. ก     ๓๙. ข     ๔๐. ง 

๔๑. ก   ๔๒. ค      ๔๓.ก     ๔๔.ค      ๔๕.ง      ๔๖.ค     ๔๗.ค     ๔๘.ข      ๔๙.ก     ๕๐.ง

๕๑.ข    ๕๒.ค       ๕๓.ค     ๕๔.ก      ๕๕.ง   .  ๕๖ก      ๕๗.ข     ๕๘.ค      ๕๙.ข     ๖๐.ง  

๖๑.ง     ๖๒.ก        ๖๓.ข     ๖๔.ค       ๖๕.ข      ๖๖.ข     ๖๗.ค      ๖๘.ง      ๖๙.ข      ๗๐.ข 

๗๑.ก     ๗๒.ง       ๗๓.ค     ๗๔.ง       ๗๕.ข     ๗๖.ค     ๗๗.ค     ๗๘.ข     ๗๙.ก      ๘๐.ข