เป็น ใจ ประนอมกันเข้า หมาย ถึง

ประวัติย่อ และคารมคำคมของโจโฉ

เป็น ใจ ประนอมกันเข้า หมาย ถึง

ประวัติย่อของโจโฉ

    

โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เฉาเชา ตามสำเนียงกลาง (อังกฤษ: Cao Cao ; จีน: 曹操; พินอิน: Cáo Cāo; เวด-ไจลส์: Ts'ao² Ts'ao¹; พ.ศ. 698 – 15 มีนาคม พ.ศ. 763) เป็นขุนศึกและอัครมหาเสนาบดีลำดับรองสุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ทั้งเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญที่สุดในสมัยสามก๊ก และเป็นผู้วางรากฐานรัฐเวย เมื่อถึงแก่อสัญกรรมแล้วจึงได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดิอู่แห่งเวย หรือ พระเจ้าเว่ยบู๊ตี้ (Wei Wudi)

     วรรณกรรมมักแสดงภาพโจโฉว่าเป็นทรราชโหดร้ายป่าเถื่อน แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว โจโฉได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปกครองที่ชาญฉลาดและเป็นนายทัพที่ปรีชาสามารถ รักและดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาประหนึ่งครอบครัวตนเอง นอกจากนี้ โจโฉยังมีฝีมือดีในทางโคลงกลอนและศิลปะการต่อสู้ด้วย ปรากฏว่าเขาได้ฝากผลงานเป็นพิชัยสงครามไว้มากมาย

     ผลงานทางพิชัยสงครามชิ้นสำคัญคือตำราพิชัยสงครามโจโฉหรือ เมิ่งเต๋อเซินซู ซึ่งเป็นตำราที่มีบันทึกในนิยายสามก๊กว่าถูกเผาทำลายไปแล้ว แต่ในบันทึกของตำราพิชัยสงครามหลี่จิ้งนั้นระบุว่าเขาใช้เนื้อหาในตำรานี้เป็นแนวคิดหนึ่งในการทำศึกและพระเจ้าถังไท่จงก็ศึกษาตำรานี้ด้วย ดังนั้นจึงอาจยังมีฉบับคัดลอกตกทอดต่อมาหรือบางทีอาจจะไม่ได้ถูกเผาทำลายไปจริงๆเหมือนที่เขียนไว้ในนิยาย

คำคม โจโฉ

  • “ท่านอุปมาดังนกน้อย เป็นไฉนจึงจะมาล่วงรู้ความคิดพญาครุฑ ซึ่งมีหนังสือตั๋งโต๊ะมานั้น ท่านจับตัวเราได้แล้วก็ให้เร่งส่งขึ้นไปยังเมืองหลวงเอาความชอบเถิด อย่าลวงถามมาถึงความคิดเราเลย”
  • “เราเอาเปรียบผู้อื่นดีกว่าที่จะให้ผู้อื่นเอาเปรียบเรา”
  • “โจโฉได้ฟังดังนั้นจึงคิดแต่ในใจว่า ซึ่งจะทำการใหญ่กับหัวเมืองทั้งปวงนี้ อุปมาดังคิดกับเด็กเลี้ยงโค จึงจัดทหารพรรคพวกของตัวเองได้ประมาณหมื่นเศษ แล้วพาแฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน โจหอง โจหยิน ลิเตียน งักจิ้น กับทหารทั้งปวงรีบตามตั๋งโต๊ะ ไปทั้งกลางวันกลางคืน”
  • “โจโฉจึงว่าเราเสียทหารครั้งนี้ ก็จนความคิดอยู่แล้ว แลเตียนซีให้หนังสือมาว่าแก่เราดังนี้ อุปมาเหมือนจักษุมืดมีผู้มาช่วยนำทางให้”
  • “ฝ่ายโจโฉรู้กิตติศัพท์ซึ่งอองหลิบพูดกับเล่าง่าย ครั้นเวลาค่ำจึงใช้คนสนิทให้ไปว่ากับอองหลิบว่า ท่านมีน้ำใจสัตย์ซื่อต่อแผ่นดิน อันราชสมบัติแลการบ้านเมืองนั้นลึกซึ้งใหญ่หลวงนัก อย่าเพ่อให้ท่านล่วงทำนายไปก่อน”
  • “ฝ่ายลิโป้เห็นทหารทั้งปวงรุมกันเข้ามัดผูก เจ็บปวดเหลือกำลังจึงร้องว่า มหาอุปราชโปรดช่วยข้าพเจ้าด้วย โจโฉจึงว่าอันธรรมดาเสือจำจะผูกให้มั่นคง ซึ่งจะคลายออกนั้นไม่ได้”
  • “อันเทศกาลนี้เป็นฤดูฝน มังกรจึงสำแดงฤทธิ์ฉะนี้ อุปมาเหมือนคนมีสติปัญญากว้างขวาง ถ้าจะทำการสิ่งใดคะเนการตามสมควร แม้เห็นว่าการใหญ่ก็ทำให้ใหญ่ ประมาณการน้อยก็ทำแต่น้อย ทุกวันนี้ผู้ใดมีสติปัญญากว้างขวาง เหมือนมังกรสำแดงฤทธิ์ฉะนี้บ้าง ท่านจงบรรยายให้แจ้ง”
  • “โจโฉได้ยินดังนั้นก็ตบมือหัวเราะแล้วตอบว่า อันเตียวสิ้ว เตียวฬ่อ หันซุยนั้นมีแต่ชื่อ จะหยิบเอาความคิดสิ่งใดก็ไม่ได้ ท่านเอามาว่าไยให้เสียปาก อันผู้มีสติปัญญานั้น ถ้าจะคิดสิ่งใดก็กว้างขวางโอบอ้อมอารี อุปมาเหมือนบุคคลกลืนแก้วอันเป็นทิพย์ไว้ในท้อง ถ้าไปสถานที่ใดถึงเวลาค่ำมืด ก็เล็ดลอดสว่างไปด้วยรัศมีแก้ว ถ้าคิดการสิ่งใดก็รู้จักที่หนักที่เบาที่เสียที่ได้ ยักย้ายถ่ายเทมิให้ผู้ใดล่วงรู้ถึง จึงจะนับได้ว่ามีสติปัญญาลึกซึ้ง”
  • “เล่าปี่นั้นเป็นคนมีสติปัญญา ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกำลังมากขึ้น อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปีกยังไม่ขึ้นพร้อม แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนี้ ถ้าขนขึ้นพร้อมแล้วก็จะบินไปทางไกลได้ ซึ่งจะจับตัวนั้นเห็นจะได้ความขัดสน อ้วนเสี้ยวนั้นมีทหารมากก็จริง แต่สติปัญญาน้อย ถึงจะคิดประการใดเราก็ไม่กลัว”
  • “โจโฉเห็นหนังสือดังนั้น จึงทอดใจใหญ่แล้วคิดว่าธรรมดาชาติลูกเสือแล้วย่อมร้ายกาจ ซึ่งผู้ใดจะหมายทำอันตรายแก่ลูกเสือนั้นก็ไม่ได้ จำจะยกบุตรหญิงน้องโจหยินให้เป็นภรรยาซุนของผู้น้องซุนเซ็ก จึงจะได้เป็นเกี่ยวดองกันกับซุนเซ็ก”
  • “โจโฉได้ฟังเขาฮิวว่าดังนั้นก็มิได้โกรธ จึงหัวเราะแล้วว่าท่านไม่รู้หรือ อันการสงครามจำอาศัยเล่ห์กล จึงจะได้ชัยชนะแก่ข้าศึก”
  • “ขณะนั้นโจโฉจึงว่าแก่ทหารทั้งปวงว่า เล่าปี่ครั้งนี้อุปมาเหมือนปลาขังอยู่ในถัง เสือตกอยู่ในหลุม ถ้าแลจะละเสียให้เล็ดลอดหนีไปได้บัดนี้ ก็เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงในมหาสมุทร ทหารทั้งปวงจงช่วยกันเขม้นขะมัก จับตัวเล่าปี่ให้จงได้ ทหารทั้งปวงต่างคนต่างรีบขึ้นหน้าขับกันตามไป”
  • “ฝ่ายทหารหันซุยเห็นโจโฉยกออกมา ก็คิดว่าโจโฉจะเลิกทัพไป ไม่เคยเห็นโจโฉต่างคนก็ต่างเบียดเสียดกัน ออกมานอกค่ายร้องบอกกันอึงไปว่า มาดูโจโฉ โจโฉก็ขับม้าขึ้นไปหน้าทหารแล้วร้องว่า กูมีจักษุสองข้าง มีปากอันเดียวกับจมูกอันหนึ่ง เหมือนทั้งปวง ใช่จะมีปากสองข้างแลจักษุสี่ก็หาไม่ แต่ว่าประหลาดหน่อยหนึ่งด้วยมีอำนาจมาก คนที่มีปัญญาแลความคิด ผู้ใดจะมาดูก็มาเถิด”
  • “โจโฉได้ฟังดังนั้นก็โกรธจึงว่า ในขอบขัณฑสีมานี้เราเล็งดูมิได้เห็นผู้ใด ที่จะมีทหารเหมือนเรา บรรดาบ้านเมืองทั้งปวง ซึ่งขัดแข็งมิได้คำนับต่อเรานั้น จะอุปมาก็เหมือนหย่อมหญ้า ถ้าจะยกทหารไปแห่งใดก็จะเหยียบเสียเป็นผงคลี ผู้ใดมิอาจต่อด้วยทหารเราได้ แม้จะตีเมืองไหนก็ได้เมืองนั้นท่านรู้หรือไม่”
  • “โจโฉได้ฟังดังนั้นก็ทำทอดใจใหญ่แล้วแกล้งว่า อันธรรมดาคนนี้เดิมคิดว่าจะหาแต่หนึ่ง ครั้นได้หนึ่งแล้วก็คิดกำเริบจะหาสองต่อขึ้นไปเพราะโลภ แต่ได้เมืองฮันต๋งแล้วยังมิหนำจะซ้ำไปตีเอาเมืองเสฉวน ซึ่งเป็นทางกันดารอีกเล่า”
  • “ฝ่ายขุนนางทั้งปวงจึงทูลว่า ขอให้ท่านหาหมอปิศาจมาแต่งเครื่องเซ่นวัก พลีกรรมเสียแล้วก็จะหาย โจโฉทอดใจใหญ่แล้วจึงว่า โบราณว่าไว้ว่ากรรมมาถึงตัวแล้ว จะทำประการใดก็หาพ้นไม่ บัดนี้กรรมมาถึงแล้วใครจะมาช่วยเราได้ โจโฉก็หาให้เซ่นผีไม่”
  • “ตัวเป็นน้องภรรยาเขา บังอาจทำชู้กับภรรยาน้อยของพี่เขย แล้วคิดอ่านล้างชีวิตเขาเสีย ด้วยประสงค์หญิงผู้เดียว ตัวเป็นคนมิได้มีสัตย์กตัญญู ถ้าเราจะไม่เอาโทษบัดนี้ คนทั้งปวงก็จะดูเยี่ยงอย่างสืบไป”
  • “การลัดนิ้วมือเดียวไม่ควรที่จะเถียงกันอื้ออึง อย่างธรรมเนียมแผ่นดินแต่ก่อนก็มีมา พระมหากษัตริย์เชื่อฟังตั้งแต่งขันทีเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ ราชการเมืองก็ผันแปรไปมีเนืองๆ มาอยู่ ครั้งนี้ขันทีสิบคนซึ่งหยาบช้านั้น มีสติปัญญาเป็นใหญ่อยู่คนเดียวสองคนดอก ถ้าจะคิดจับเอาแต่นายใหญ่นั้นฆ่าเสีย ก็จะได้โดยง่าย ทำไมจะให้ร้อนถึงหัวเมือง ยกเป็นกระบวนทัพเอิกเกริกมาเล่า”
  • “แต่ก่อนปู่แลบิดาเราเป็นขุนนาง ได้กินเบี้ยหวัดอยู่ ครั้งนี้บ้านเมืองเป็นจลาจลเพราะขันทีสิบคนแลตั๋งโต๊ะทำการหยาบช้า ครั้นจะนิ่งอยู่มิคิดการ ก็เหมือนหนึ่งหารู้จักคุณแผ่นดินไม่ อันเราไปอยู่ด้วยตั๋งโต๊ะนี้ หวังจะล้างมันเสีย ซึ่งทำไม่สมคิดทั้งนี้ก็เป็นกรรมของเรา แลวิบากของอาณาประชาราษฎรทั้งแผ่นดิน”
  • “เราจะทำสงครามครั้งใหญ่นี้ อย่าได้คิดแก่งแย่งกันให้เสียราชการ จงมีใจประนอมกัน การทั้งปวงจึงจะสำเร็จ”
  • “อันอย่างธรรมเนียมศึกนั้น ถ้าผู้ใดมีความชอบในการสงคราม ก็จะปูนบำเหน็จตามสมควร ถ้าผู้ใดกระทำความผิดก็จะลงโทษ ซึ่งจะมาถืออิสริยยศกลางศึกดังนี้ไม่สมควร”
  • “ครั้งนี้กุยแกถึงแก่ความตาย อุปมาเหมือนเทพดาทำลายชีวิตเราเสีย”
  • “อันธรรมดาว่าสงคราม จะหมายชนะฝ่ายเดียวนั้นไม่ได้ ย่อมแพ้บ้าง ชนะบ้าง”
  • “บัดนี้เราแจ้งว่าบุตรของท่านคนหนึ่งดี มีสติปัญญาไปอยู่ด้วยเล่าปี่อันเป็นขบถต่อแผ่นดินหาควรไม่ ประดุจหนึ่งเอาแก้วไปทิ้งไว้ที่ตม สำหรับแต่จะอับไป ทุกวันนี้เราคิดเสียดายมิรู้แล้ว อนึ่งก็มีใจเอ็นดูแก่ท่านนัก จึงให้ไปรับมา หวังจะให้มีหนังสือไปถึงชีซี บุตรท่านให้มาอยู่ทำราชการด้วยเรา”
  • “ตัวเราไม่รู้จักน้ำใจคนนั้นจะทำการไปได้หรือ ประการหนึ่งทหารเราจัดเจนแต่ทางบก ไม่ชำนาญในการเรือ เราทำทั้งนี้ปรารถนาจะเอาใจไว้ จะได้ฝึกสอนทหารเราให้สันทัด แล้วกำจัดเมื่อปลายมือ จะยากง่ายอะไรเล่า”
  • “บัดนี้เล่าปี่ไปตั้งอยู่ ณ เมืองกังแฮแล้ว เหมือนหญ้าแพรกถ้ามิรีบชำระเสียก็จะงอกมาก ออกเป็นพืดติดผูกพันกันไป”
  • “บัดนี้เราก็แจ้งอยู่ในกลศึกต่างๆ จึงได้เป็นนายถึงเพียงนี้ ซึ่งตัวคิดอ่านทำกลอุบายมาลวงเรา เรารู้เกินกว่าความคิดตัวอีก ถ้าตัวจะคิดเล่นฉะนี้ จงไปลวงเด็กเลี้ยงโคนั้นเถิด”
  • “ธรรมดาเกิดมาแล้วก็จะตายให้เร่งเล่นให้สนุกสบาย แต่ประหลาดด้วยฝูงกานั้น เพราะว่าหารังแลกิ่งไม้จะจับอาศัยมิได้ จึงบินร้องมาผิดเวลาดังนี้ อันธรรมดาภูเขาก็มักสูง ธรรมดาน้ำในมหาสมุทรก็ลึก ฝ่ายน้ำใจคนทั้งปวงเล่าก็รักที่จะหาความสุข”
  • “เล่าปี่ กับ ขงเบ้ง นั้น มิได้คะเนในกำลังของตัวว่าเหมือนมดแลปลวก องอาจคิดจะทำลายภูเขาอันใหญ่นั้น ยังจะสมความคิดหรือ”
  • “เล่าปี่ อุปมาเหมือนมังกรอยู่ในหนอง แต่กำเนิดมายังไม่พบน้ำลึก บัดนี้ได้เมืองเกงจิ๋วมีกำลังมากขึ้น เหมือนมังกรออกได้ถึงทะเลใหญ่ นานไปเมื่อหน้าเห็นเราจะกำจัดขัดสน”
  • “อันเมืองฮันต๋งนั้น เหมือนอยู่ในเงื้อมมือเรา เตียวฬ่อนั้นเหมือนลูกไก่ เราจะหักเข้าตีเอาเมือง ตัวบังเต๊กก็จะพลอยตายเสียด้วย จงเร่งคิดอ่านเข้ามานบนอบเราโดยดี จะได้พ้นความตาย”
  • “ขาไก่นี้เปรียบดังการสงครามครั้งนี้ ครั้นจะเลิกละเสียก็อัปยศ จะทำเอาชัยชนะก็ไม่สะดวก”
  • “ตัวเสียทีแก่เราแล้ว เหตุใดไม่มาอ่อนน้อมต่อเรา จะให้อาวุธถึงคอก่อนหรือ จึงจะรู้สำนึก”
  • “ตัวกูมีคุณได้เลี้ยงดูมึงถึงขนาด เหตุใดมาทรยศคิดร้ายต่อกูเป็นหลายครั้ง”