องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลได้แก่อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

การสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ

ความจำเป็นของการสื่อสารข้อมูล
ในยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องโดยเอกเทศ คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเพียงอย่างเดียวไม่มีหน้าที่ ในการสื่อสารข้อมูล
ต่อมาเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางมากขึ้นพบว่าการใช้งานใน บางกรณีจำเป็นต้องมีจุดป้อนข้อมูลหรือเรียกดูข้อมูลหลายจุดพร้อมกัน ดังนั้นจึงเกิดระบบการใช้งานที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multi-user system) แต่กรณีนี้ยังเป็นการประมวลผลจากหน่วยประมวลผลกลางเพียงเครื่องเดียวแต่มี การติดตั้งเครื่องปลายทาง (Terminal) สำหรับป้อนข้อมูลและเรียกดูข้อมูลพร้อมกันได้หลายจุดเท่านั้น จึงยังไม่ถือเป็นระบบการสื่อสารข้อมูล
ในยุคต่อมา เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาใช้งานที่อยู่ในระบบงานเดียวกันจึงพบ ว่ามีความจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำการประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ต่าง เครื่องกันเข้าด้วยกัน แรก ๆ ที่ทำโดยวิธีนิผลลัพท์ที่ได้จากอุปกรณ์ส่งออกของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไป ป้อนใหม่เป้นข้อมูลเข้าของคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เมื่อต้องทำด้วยวิธีการที่ไม่สะดวกเช่นนี้บ่อย ๆ เข้าจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลขึ้น

องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.    ระบบคอมพิวเตอร์
2.    อุปกรณ์เชื่อมต่อ
3.    ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4.    เกณฑ์วิธี (Protocol) คือข้อกำหนดหรือระเบียบวิธีสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้น ๆ
5.    สื่อนำข้อมูล (Media) เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิบใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น

ระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึงการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่อง (หรือสองระบบ) ขึ้นไปโดยเป็นการรับส่งข้อมูลผ่านระบบสายหรือระบบไร้สายก็ได้ แต่ข้อมูลที่รับส่งกันนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบรหัสดิจิตอล หรือสามารถแปลเป็นรูปแบบรหัสดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ฝ่ายรับข้อมูลสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
การสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภท
1.    การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ
2.    คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
3.    การรับและส่งผ่านสารสนเทศ
4.    การแบ่งเวลาเครื่อง
การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ โดยใช้เทอร์มินัลส่งและรับสารสนเทศผ่านสายโทรศัพท์ชักันมากในธุรกิจการเงิน การธนาคาร และงานพัสดุ
คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ใช้ในกรณีที่ต้องการฐานข้อมูลหรือส่งแฟ้มข้อมูล ระหว่างศูนย์คอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์อีกศูนย์หนึ่งผ่านเครือ ข่ายโทรศัพท์
การรับและส่งผ่านสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษทำหน้าที่เป็นสวิตซ์รับและส่งสารสนเทศตามจุดหมาย ปลายทางที่กำหนดทำให้สามารถบริการสารสนเทศจำนวนมาก ในเวลาจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแบ่งเวลาเครื่อง วิธีใช้เป็นการสื่อสารข้อมูลระดับสูง มีความซับซ้อนด้านเทคนิควิธีโดยเฉพาะระบบควบคุมศักยภาพของระบบนี้ได้แก่ การติดต่อสื่อสารสนเทศกับผู้ใช้ทางไกลตอบรับทันทีที่ผุ้ใช้ปลายทางร้องขอ บริการผู้ใช้หลายคนไดในเวลาเดียวกันอนุญาตให้ผู้ใช้ปลายทางใช้โปรแกรมแตก ต่างได้
องค์ประกอบการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ มี 3 ประการดังนี้
1.    อุปกรณ์การแสดงสารสนเทศ ได้แก่ จอภาพคอมพิวเตอร์เทอร์มินัลชนิดต่าง ๆ เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลกลาง ฯลฯ
2.    อุปกรณ์ส่งผ่านสารสนเทศ ได้แก่ อุปกรณ์ประเภทสาย (Wire) เช่น เคเบิล สาย Coaxial สายโทรศัพท์ Twisted-pair สายใยแก้วนำแสง Optical Fiber
3.    อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ได้แก่ โมเด็ม (Modem) อุปกรณ์ประเภท Line Driver และ Multiplexer
สรุประบบการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลเป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในรูปแบบของ สัญญาณแล้วแพร่กระจายผ่านช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรศัพท์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
บทบาทและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ คน สามารถทำงานร่วมกันได้ ตามตัวอย่างต่อไปนี้
1.    ห้างค้าปลีกสมัยใหม่มีจุดรับชำระเงินหลายชุด แต่ละจุดมีเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) ที่สามารถตัดสต๊อกสินค้าที่ขายออกจากฐานข้อมูลสินค้าคงคลังได้ทันที เครื่องเก็บเงินที่มีเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นส่วนประกอบนี้ความจริงเป็น คอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายโดยใช้ฐานข้อมูล ร่วมกัน โดยที่ระบบนี้เป็นระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ ดังนั้นการที่ห้าง ฯ สามารถตั้งจุดรับชำระเงินจำนวนมาก เพื่อบริการลูกค้าได้รวดเร็วก็มาจากบทบาทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อ สารข้อมูลนั่นเอง
2.    เครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ หรือเครื่องเอทีเอ็ม (ATM) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระบบแวน (WAN) ที่มีเครื่องลูกข่ายคือตู้เอทีเอ็มจำนวนมากกระจายกันอยู่ทั่วประเทศเครื่อง ลูกข่ายของแต่ละนาคารต่อเชื่อมกับเครื่องแม่ข่ายของธนาคารนั้น และเครื่องแม่ข่ายของธนาคารต่าง ๆ ก็ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายด้วยเมื่อเจ้าของบัญชีเงินฝากทำรายการถอนเงิน ที่ตู้เอทีเอ็มตู้หนึ่งข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ตู้เอทีเอ็มตู้ หนึ่ง ข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายที่ตู้เอทีเอ็มนั้น หากพบว่าเป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารอื่น ก็จะส่งข้อมูลต่อไปยังธนาคารเจ้าของบัญชีเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยข้อมูลจะถูก ส่งกลับมาที่ตู้เอทีเอ็มนั้นอีกครั้งพร้อมกับคำสั่งให้จ่ายเงินหรือไม่ให้ จ่ายเงิน
ตู้เอทีเอ็มจึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของสิ่งอำนวยความสะดวกในสังคมยุคใหม่ ที่เป็นผลโดยตรงมาจากบทบาทและประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ข้อมูล

การสื่อสารและเครือข่ายสื่อสาร
ความหมายของ “การสื่อสาร” การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) หมายถึง “พร้อมกัน” หรือ “ร่วมกัน” หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง “ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน” ทางด้านความคิด เรื่องราวเหตุการณ์ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสาร
ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราวการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง “ระบบ” เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ การสื่อสารยังหมายถึงการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทาง ข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย
เครือข่ายสื่อสาร (Network) โดยทั่วไป จะหมายถึงรูปแบบของระบบสื่อสารและการเชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านส่งสัญญาณ การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายเป็นการแบ่งปันการให้ทรัพยากรของระบบ เช่น สายส่งสัญญาณ ทำให้การลงทุนของระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เครือข่ายสื่อสารที่เล็กที่สุดจะต้องมีจุดรับส่งอย่างน้อย 3 จุด โครงแบบของเครือข่ายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 3 แบบ คือ
–    แบบ Star
–    แบบ Bus
–    แบบ Ring
แบบ Star มี หลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลางทำหน้าที่เป็นตัวสวิ ตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางลักษณะ การเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉ

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลได้แก่อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

แบบ Bus ลักษณะการทำงานของเครือขายแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียก ว่า “บัส” (BUS) แบบ BUS นับว่าเป็นแบบที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบดูแลรักษาและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม เติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลได้แก่อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

แบบ Ring เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารผ่านไปในเครือข่ายโดยที่ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ใน เครือข่ายในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวนหรือ RING~ นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลได้แก่อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มคอมพิวเตอร์ (มากกว่าสองเครื่อง หรือ สองระบบขึ้นไป) ที่มีการเชื่อมต่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์มากไปกว่าการสื่อสารข้อมูล เช่น อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการประมวลผลข้อมูลร่วมกัน หรือมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามขอบเขตการต่อเชื่อมว่าต้องการใช้ในระยะใกล้หรือไกลประเภทสำคัญ ๆ ดังนี้
1.    เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
2.    เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
3.    เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN)
4.    เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)

เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)  ลักษณะสำคัญของเครือข่ายแลน คือ อุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับสัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่หลายสิบล้านบิตต่อวินาที จนกว่าพันล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสาร ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อย และสามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากในเวลาจำกัดได้ เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ ในองค์กรและมีแนวโน้มที่จะทำให้ทรัพยากรและการประมวลผลในองค์กรเชื่อมโยง เป็นระบบเดียวทำให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งองค์กร
เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกัน เข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก

เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN) เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น สารวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ
เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศมีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อมผิดพลาดของ การรับส่งสัญญาร เครือข่ายแวนเป็นเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้

เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN)  เป็นเครือข่ายให้บริการสำหรับเมืองใหญ่ ๆ ที่พัฒนาจากระบโทรทัศน์ทางสายหรือเคเบิ้ลทีวีในสมัยก่อน ระบบนี้ใช้สายโคแอ็กเชียลความเร็วสูงในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปให้สมาชิกตาม บ้านต่อมาพัฒนาให้รับส่งข้อมูลได้โดยทั่วไป รับส่งสัญญาณภาพเสียง และข้อมูล โดยมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์รับส่งที่สามารถแยกสัญญาณนี้ออกจากกันทำให้บริการ ได้ทั้งเคเบิลทีวี วิทยุทางสายและเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)  ได้รับการพัฒนามาจากเครือข่ายแวน เพื่องานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่เรียกว่า อาร์พาเน็ต ในปี ค.ศ. 1983 ได้ใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานในการสื่อสารได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้เครือข่ายในองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมใช้งานกลายเป็นเครือข่ายทางไกลที่เชื่อมอยู่ระหว่างเครือข่ายจำนวน มาก อินเตอร์เน็ตทำให้เปิดโลกทรรศน์ของผู้ได้กว้างไกลทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “โลกไร้พรมแดน”
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกซึ่ง เกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไปเครือข่าย เหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้ กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อเดียวกัน ทั้งหมดเรียกว่า “ทีซีพี/ไอพี” ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยีสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบสลับวงจรและสลับข้อมูล

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ ประโยชน์ได้มากมายทั้งนี้เพราะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการเชื่อมโยง อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ตัวอย่างประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังต่อไปนี้
การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน บนเครือข่ายมีสถานีที่เป็นเครื่องให้บริการซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสาร หรือข้อมูลใช้งาน แล้วให้ผู้ใช้ซึ่งเป็นเครื่องขอใช้บริการเรียกใช้ข้อมูล การเรียกใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ทำให้การปรับปรุงข้อมูล การขอดู และการเรียกค้นกระทำได้ทันที เช่น เมื่อฝ่ายขายขายสินค้า ก็มีการลดจำนวนสินค้าออกจากบัญชีสินค้าคงคลัง เมื่อฝ่ายผลิตขอดูข้อมูลก็ได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ทันทีว่ามีสินค้า เหลือเท่าไหร่ เนื่องจากเราสามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน
การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย นอกจากที่เราจะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้แล้ว เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด และเป้นการประหยัดทรัพยากรเราสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ เช่น สมมติเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 5 เครื่องทุกเครื่องสามารถสั่งพิมพ์กับเครื่องเดียวกันได้
การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนที่อยู่บนเครือข่าย จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันตลอดจนสามารถโอนย้ายข้อมูล ระหว่างกันได้แต่การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ผู้บริหารเครือข่ายหรือองค์กรกำหนดไว้
สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่คือการลดปริมาณการใช้กระดาษโดยการหันมาใช้ระบบการ ทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด ปัจจุบันสำนักงานส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำพิมพ์งานเอกสาร ดังนั้นถ้ามีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร การสื่อสารส่งงานระหว่างกันที่เป็นกระดาษก็สามารถใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ แทนได้ ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นระบบการทำงานที่ทุกสถานีงานเปรียบเสมือนโต๊ะทำ งาน การทำงานแบบสำนักงานอัตโนมัติทำให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว
สรุปประโยชน์ของเครือข่ายคมพิวเตอร์มีดังต่อไปนี้
1.    การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
2.    การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย
3.    การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย
4.    สำนักงานอัตโนมัติ

https://sites.google.com/site/destinyraisa/thekhnoloyi-sarsnthes-laea-kar-suxsar/xngkh-prakxb-khxng-rabb-sarsnthes

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง

องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่ ผู้ส่ง (sender) ผู้รับ(receiver) ข่าวสาร(message) สื่อกลาง(media) และโพรโทคอล(protocol)

องค์ประกอบของการสื่อสารในงานสารสนเทศ คืออะไร

องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) 2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) 3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)

การสื่อสารข้อมูลหมายถึงอะไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของระบบสื่อสาร มี 3 องค์ประกอบ อะไรบ้าง

องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล.
1) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นต้นทางของการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมูล ... .
2) ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นปลายทางของการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูล ... .
3) สื่อกลาง (Message) เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลข่าวสารจากต้นทางไปยัง.