ถ้าทุกคนไม่สนใจในการอนุรักษ์ดนตรีไทยจะเป็นอย่างไร

การอนุรักษ์ดนตรีไทย

ถ้าทุกคนไม่สนใจในการอนุรักษ์ดนตรีไทยจะเป็นอย่างไร
ถ้าทุกคนไม่สนใจในการอนุรักษ์ดนตรีไทยจะเป็นอย่างไร
         การอนุรักษ์ดนตรีไทย  

เครื่องดนตรีไทย 

คือ สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับทำเสียงให้เป็นทำนอง หรือจังหวะ วิธีที่ทำให้มีเสียงดังขึ้นนั้นมี อยู่ ๔ วิธี คือ

  • ใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายสำหรับดีด เรียกว่า "เครื่องดีด"
  • ใช้เส้นหางม้าหลายๆ เส้นรวมกันสีไปมาที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายแล้วใช้เส้นหางม้าสีให้เกิด เสียงเรียกว่า "เครื่องสี"
  • ใช้มือหรือไม้ตีที่สิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่ใช้ไม้หรือมือตี เรียกว่า "เครื่องตี"
  • ใช้ปากเป่าลมเข้าไปในสิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่เป่าลมเข้าไปแล้วเกิดเสียงเรียกว่า "เครื่องป่า"

เครื่องทุกอย่างที่กล่าวแล้วรวมเรียกว่า เครื่องดีด สี ตี เป่า

"จะเข้" 

      จะเข้เป็นเครื่องดีดที่วางนอนตามพื้นราบ ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงภายใน ไม้แก่นขนุนเป็นดีที่สุด ด้านล่างมีกระดานแปะเป็นพื้นท้อง เจาะรูระบายอากาศพอสมควร มีเท้าตอนหัว ๔ เท้า ตอนท้าย ๑ เท้า รวม เป็น ๕ เท้า มีสาย ๓ สาย สายเอก (เสียงสูง) กับสายกลางทำด้วยเอ็นหรือไหม สายต่ำสุด ทำด้วย ลวดทองเหลืองเรียกว่า สายลวด ขึงจากหลักตอนหัวผ่านโต๊ะและนม ไปลอดหย่อง แล้วพันกับ ลูกบิดสายละลูก มีนมตั้งเรียงลำดับบนหลัง ๑๑ นม สำหรับกดสายให้แตะเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการ การดีดต้องใช้ไม้ดีดทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เหลากลม เรียวแหลม ผูกพันติดกับนิ้วชี้ มือขวา ดีดปัดสายไปมา ส่วนมือซ้ายใช้นิ้วกดสายตรงสันนมต่างๆ ตามต้องการ

ถ้าทุกคนไม่สนใจในการอนุรักษ์ดนตรีไทยจะเป็นอย่างไร

วิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย(จะเข้)

๑.ควรเก็บใส่ตู้ และคลุมด้วยผ้าที่เย็บเป็นรูป

๒.เมื่อใช้บรรเลงเสร็จแล้ว ไม่ควรลดสาย(สายเอ็น)เพราะสายจะเข้กับหยองจะเสียดสีกันทำให้หย่องสึก

๓.หากนมจะเข้หยุดให้ใช้กาวลาเท็กซ์ติดไว้ในตำแหน่งเดิม

๔.เมื่อใช้บรรเลงมากๆ หรือใช้มาแล้ว เป็นเวลานานๆ จะทำให้เสียงเบาและมีเสียงแทรงซ้อนให้เปลี่ยนสายใหม่

๕.การใส่แหนต้องเป็นผิวไม้แก่ๆหนุนสายสายเอกและสายทุ้ม และเปลี่ยนเข้าออกหาตำแหน่งเสียงที่ดีที่สุดบนโต๊ะรองแหนและรอยสายลวด ใช้ลวดที่ใช้แล้วหนุนจะดังกังวานกว่าผิวไม้

วิธีอนุรักษ์ดนตรีไทย

1.ช่วยกันสืบสานดนตรีไทย

2.ใช้เวลาว่างโดยการเล่นดนตรีไทย

3.ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น

4.ฟังดนตรีไทย

5.ควรฝึกฝนลูกหลานให้เล่นดนตรีไทยสืบต่อไป.

6.จัดกิจกรรมอนุรักษ์ดนตรีไทย.

7.เชิญชวนกันมาตั้งกลุ่มอนุรักษ์ดนตรีไทย

8.ใช้ดนตรีไทยให้ถูกต้อง

9.ร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยใช้ดนตรีไทย

10.เล่นดนตรีไทย

ถ้าทุกคนไม่สนใจในการอนุรักษ์ดนตรีไทยจะเป็นอย่างไร

ดนตรีไทยควรอนุรักษ์ไว้ เครื่องดนตรีไทยนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับเป็นวัฒนธรรมของประเทศไทย ต้องยอมรับเลยว่าบรรพบุรุษของเรานั้นได้อนุรักษ์เอาไว้ในเรื่องของดนตรีไทยเพื่อให้คนรุ่นใหม่หนังสืบทอดต่อมา ซึ่งดนตรีไทยนั้นถือว่าเป็นเอกลักษณ์หลักสำหรับประเทศไทยเลยที่เราควรอนุรักษ์ไว้ ต้องชื่นชมคนเมื่อก่อนที่ให้เรานั้นมีความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์ดนตรีไทยส่งเสริมให้ดนตรีไทยนั้นดำรงอยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลายาวนาน เดี๋ยวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามีแนวทางอย่างไรบ้างที่สามารถอนุรักษ์ดนตรีไทย เพราะว่าในปัจจุบันนั้นเริ่มจะมีการลดน้อยลงอย่างมากสำหรับการเล่นดนตรีไทย

ดนตรีไทยควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อการศึกษา

เป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบันนั้นที่มีโรงเรียนมากมายที่ให้ความสำคัญกับดนตรีไทยเป็นจำนวนมาก เพื่อรักษาดนตรีไทยเอาไว้ให้อยู่คู่กับคนไทย และดนตรีไทยนั้นก็มีเอกลักษณ์เป็นส่วนตัวก็คือการเล่นดนตรีไทยแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละในภูมิภาคนั้นก็มีการเล่นดนตรีไทยแตกต่างกัน ซึ่งในคนรุ่นใหม่มั้งสามารถรักษาดนตรีไทยเอาไว้ถือว่าเป็นมรดกเลย 

รณรงค์เป็นสิ่งสำคัญ

ในประเทศไทยนั้นให้ความสำคัญอย่างมากสำหรับการรณรงค์โครงการดนตรีไทย เราต้องช่วยกันรักษาดนตรีไทยเอาไว้ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นทุนในการตั้งงบในการดนตรีไทย เพื่อให้คนรุ่นหลังนั้นได้มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย แล้วยังรณรงค์ให้มีการแลกเปลี่ยนต่างประเทศความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่อวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงของประเทศ

การเผยแพร่

ซึ่งในปัจจุบันนั้นต้องยอมรับเลยว่าการเผยแพร่ดนตรีไทยเริ่มลดน้อยลง ดึงมีหน่วยงานที่สำคัญเข้ามาดูแลในการโปรโมทดนตรีไทยไม่ว่าจะเป็น วิทยุ อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ สื่อต่างๆ เพื่อให้ทุกคนนั้นสามารถรับความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยได้ทั่วถึงในมุมกว้าง และยังทำให้หลายคนนั้นรู้จักดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น