แบบฝึกหัด วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 2000 1301 บทที่ 1

            วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากภาษาละติน คำว่า “Scientia” หมายถึง ความรู้ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์ว่าความรู้ที่ได้จากการสังเกตและค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติและจัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่ค้นคว้าไว้เป็นหลักฐานและได้เหตุผล และจัดเข้าเป็นระเบียบ

            ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้นหลังจากได้มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ค้นคว้า สืบเสาะ ตรวจสอบจนเป็นที่น่าเชื่อถือ จำแนกออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

1.      ข้อเท็จจริง (Fact)

2.      มโนมติหรือมโนทัศน์ (Concept)

3.      หลักการ (Principle)

4.      กฎ (Law)

5.      ทฤษฎี (Theory)

6.      สมมติฐาน (Hypothesis)

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นระบุปัญหา (Science the Problem)

2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Making the Hypothesis)

3. ขั้นพิสูจน์หรือทดลอง (Experimenetal)

4. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering the Data)

5. ขั้นสรุปผลการทดลอง (Conclusion)

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะสำคัญซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้

1. มีความละเอียด ถี่ถ้วน อุตสาหะ

2. มีความอดทน

3. มีเหตุผลไม่เชื่อสิ่งใดง่าย ๆ โดยปราศจากข้อเท็จจริงมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ

4. มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ยึดมั่นในความคิดของตนเพียงฝ่ายเดียว

5. มีความกระตือรือร้นที่จะค้นหาความรู้

6. มีความซื่อสัตย์สุจริต7. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

8. ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าใหม่ ๆ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 13 ทักษะ ดังนี้

1. ทักษะการสังเกต (Observation)

2. ทักษะการวัด (Measurement)

3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)

4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space/Space Relationship and Space/Time Relationship)

5. ทักษะการคำนวณ (Using Number)

6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communi­cation)

7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Infering)

8. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction)

9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulation Hypothesis)

10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)

11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)

12. ทักษะการทดลอง (Experimenting)

13. ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป (Interpreting Data and Conclusion)

สาระการเรียนรู้

          1. ความหมายของวิทยาศาสตร์

2. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4. เจตคติทางวิทยาศาสตร์

5. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

6. หน่วยและการวัดทางวิทยาศาสตร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

            1. บอกความหมายของวิทยาศาสตร์ได้

2. บอกประเภทของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้

3. ยกตัวอย่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประเภทข้อเท็จจริงกับทฤษฎีได้

4. อธิบายความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริง มโนมติ กับหลักการหรือกฎได้

5. ทำกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

6. ระบุขั้นตอน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

7. บอกลักษณะของเจตคติของวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาศาสตร์ได้อย่างน้อย 5 ข้อ

8. ยกตัวอย่างการใช้หน่วยการวัดในระบบเอสไอได้ถูกต้อง

9. อธิบายคำศัพท์ได้ 10 คำ

กิจกรรมการเรียนการสอน

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

          1. ครูอภิปรายถึงขอบข่ายสาระการเรียนรู้ วิธีการวัดผลและแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

            2. ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หน่วยและการวัดทางวิทยาศาสตร์

            3. นักเรียนตอบคำถามที่ครูถาม

            ขั้นสอน

          4. ครูอธิบายความหมายและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้สื่อ PowerPoint แล้วตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ

            5. แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้ส่งตัวแทนมาสรุปหน้าชั้นเรียน

            6. ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกเจตคติทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้ช่วยกันสรุป

7. ครูอธิบายเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งยกตัวอย่าง

8. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.1 การฝึกทักษะการสังเกต กิจกรรมที่ 1.2 การฝึกทักษะการจำแนกประเภท และกิจกรรมที่ 1.3 การฝึกทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

9. ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับหน่วยและการวัดทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันสรุป

10. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.4 การใช้หน่วยการวัดและคำอุปสรรค

ขั้นสรุปและการประยุกต์

11. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาในบทเรียน

12. ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้วิธีการถาม – ตอบ

13. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายบท ตอนที่ 1 และตอนที่ 2

14. ให้นักเรียนทำกิจกรรมการฝึกทักษะ โดยเน้นให้นักเรียนนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ในการทำกิจกรรม

สื่อการเรียนการสอน

            1. PowerPoint บทที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หน่วยและการวัดทางวิทยาศาสตร์

            2. แบบทดสอบท้ายบทที่ 1  

การวัดผลและประเมินผล

          วิธีวัดผล

            1. ตรวจแบบทดสอบท้ายบท

            2. ตรวจใบกิจกรรม

          3. การสังเกตและประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

            เครื่องมือวัดผล

          1. แบบประเมินผลการทำแบบทดสอบท้ายบท

            2. แบบประเมินกิจกรรม

            3. แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยครูและนักเรียนร่วมกันประเมิน

เกณฑ์การประเมินผล

            1. แบบประเมินผลการทำแบบทดสอบท้ายบทเกณฑ์ผ่าน 60% ขึ้นไป

            2. แบบประเมินกิจกรรม

            3. แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คะแนนขึ้นอยู่กับการประเมินตามสภาพจริง

บันทึกหลังการสอน

            ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้

…………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

            ผลการเรียนของนักเรียน

…………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

ผลการสอนของครู

…………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ……………………………….

(…………………………………..)

                                                                                                          ผู้สอน