เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

เศรษฐศาสตร์

ตระหนักถึงความจำกัดของทรัพยากรของประเทศไทย และสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาสาระ

  1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์ ตามแนวพุทธ
  2. ลักษณะของวิชาเศรษฐศาสตร์
  3. ความเป็นมา ความสำคัญ ของวิชาเศรษฐศาสตร์
  4. 4. ประเภทของวิชาเศรษฐศาสตร์
  5. 5. ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
  6. 6. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

วิชาเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ขาดแคลน เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

จากความเป็นมา “economics” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “oikonomia” แปลว่า การบริหารจัดการของครัวเรือน ( skilled  in the management  household)

เศรษฐศาสตร์หมายถึง เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆเพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัด

โดยธรรมชาติมนุษย์มีความต้องการตลอดเวลา และไม่มีที่สิ้นสุด  แต่จำนวนสินค้าและบริการมีจำกัด  ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างสินค้า บริการและความต้องการ  จึงเกิดการเลือกที่จะต้องตอบสนองความต้องการ  ในการเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้หมดโอกาสที่จะทำสิ่งอื่นไปโดยปริยาย เราเรียกว่าสูญเสียโอกาส       จึงกล่าวว่าเมื่อตัดสินใจเลือกจะเกิดต้นทุนเกิดขึ้นพร้อมกันเราเรียกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส ดังนั้นการที่จะเลือกเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีต้นทุนต่ำสุด

     สรุปได้ว่า 1. ความต้องการมีไม่จำกัด (unlimited wants)      2. ทรัพยากรมีจำกัด (scarcity resources)..ทำให้เกิดความขาดแคลน

  1. จึงเกิดการเลือก (choice) 4. เมื่อเกิดการเลือกสิ่งที่ตามมาคืออะไร…………………..

สินค้าและบริการ(goods and services)      เป็นสิ่งที่มีอรรถประโยชน์(utility)คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจโดยไม่คำนึงว่าผิดกฏหมายหรือผิดศีลธรรม

สินค้าไร้ราคาหรือทรัพย์เสรี(free  goods) มีตามธรรมชาติ เกินความต้องการของมนุษย์ ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด

สินค้าทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐทรัพย์(economic  goods) สินค้าที่มีต้นทุนการผลิต มีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ ต้องซื้อหรือจ่ายค่าตอบแทน

การศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆต้องเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย ในลักษณะที่เป็นส่วนย่อยและส่วนรวมของระบบเศรษฐกิจเพื่อเข้าใจการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้ดียิ่งขึ้น

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

แบ่งเป็น 2 สาขา

เศรษฐศาสตร์จุลภาค  microeconomics เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อย ครัวเรือนหรือธุรกิจเพียงหน่วยใด หน่วยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคา การจำหน่ายจ่ายแจก  เน้นไปทางการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล หรือกลุ่มของบุคคลเนื้อหาส่วนใหญ่ของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฏีราคา(price theory)

เศรษฐศาสตร์มหภาค macroeconomics       เป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนร่วม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคมเช่นรายได้ประชาชาติ  ระดับราคาสินค้า การกระจายรายได้ การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระหว่างประเทศ

นักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ 

อัลเฟรด   มาร์แชล    ผู้ริเริ่มทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็คนแรก เขียนผลงานพฤติกรรมผู้บริโภค  ผู้ผลิต (เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต)

จอห์น  เมนาร์ด  เคนส์  ผู้ริเริ่มทฤษฏี ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นคนแรก  ได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค” โดยเสนอ นโยบายวิธีแก้ปัญหาการว่างงาน การเงิน การคลัง การออม การลงทุน

อดัม   สมิธ  ชาวอังกฤษได้รับสมญา “บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์” เขียนหนังสือ “An  inquiry  in to the Nature and causes of the Wealth of Nations”  หรือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ The Wealth of Nations  เป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกกล่าวถึงทำอย่างไรประเทศจึงจะร่ำรวย พูดถึงเรื่องกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างสังคมกับธุรกิจให้ผลประโยชน์ร่วมกัน เรื่องกลไกของตลาด  การกำหนดมูลค่าของราคาสิ่งของ  การบริหารการคลัง  การกระจายรายได้  การค้าระหว่างประเทศ  ประเทศ ไทยมีหนังสือเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์เล่มแรกคือ  “ทรัพย์ศาสตร์เบื้องต้น”

เ รียบเรียงโดย พระยาสุริยานุวัตร เมื่อ พ.ศ. 2454 ต่อมาเปลี่ยนชื่อ เป็น “เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคเบื้องต้น เล่ม 1”

เราศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพราะอะไร?..เพื่อได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งสาเหตุและผลกระทบต่อบุคคล สังคม เพื่อรู้แนวทางที่จำนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผล

ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

  1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม
  2. เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด
  3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
  4. ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้

การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

–  การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แบบใดที่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุใด

  1. เศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง หรือ เศรษฐศาสตร์พรรณา (Positive หรือ descriptive economics) การศึกษาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจหรือระบบเศรษฐกิจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือสาเหตุ ทำให้เราสามารถพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาณการณ์ทั่วๆไปได้ โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม ไม่นำเอาจริยธรรม ค่านิยม ความคิดทางสังคมมาพิจารณาร่วมด้วย  เช่น กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ การศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริงจะศึกษาเพียงว่า  น้ำในแม่น้ำเน่าก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นจำนวนเท่าไร   จะไม่ชี้แนะว่ารัฐบสลควรจะดำเนินการเช่นไร เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะการศึกษาสามารถให้ข้อสรุปที่เป็นกฏเกณฑ์ได้
  2. เศรษฐศาสตร์ตามที่ควารจะเป็น หรือเศรษฐศาสตร์นโยบาย (normative หรือ policy  economics)  การศึกษาที่กล่าวถึงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจโดยมีการสอดแทรกข้อเสนอแนะที่เห็นว่าถูกหรือควรจะเป็นลงไปด้วย โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม

สอดแทรกความต้องการของสังคม มีการนำเอาค่านิยม จริยธรรม แนวคิดทางสังคมเข้าร่วมพิจารณา  เช่น รัฐบาลต้องการเพิ่มภาษีสินค้ารถยนต์ นอกจากศึกษาถึงผลกระทบต่างๆแล้วสิ่งที่อาจเกิดขึ้นยังศึกษาว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่  ให้ข้อชี้แนะแก่รัฐบาลว่าควรหรือไม่ควรขึ้นภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือไม่ เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็นจะให้ข้อสรุปที่แตกต่างกันแล้วแต่การวินิจฉัยของบุคคลว่าอะไรถูก อะไรควร ไม่อาจกำหนดเป็นกฏเกณฑ์ที่ตายตัวได้

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น1


รูปภาพ

                                                    

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

กราฟเศรษฐศาสตร์/เศรษฐกิจ

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

ความรู้เบื้องต้นเกกี่ยวกับเศรษศาสตร์

https://www.youtube.com/watch?v=JjRMzZ6zzxI

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

เศรษฐศาสตร์  หมายถึง  ศาสตร์หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิธีการนำทรัพยากรซึ่งมีอยู่จำกัดมากระทำให้เกิดสินค้าและบริการ  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัด
เพื่อให้เราสามารถเข้าใจความหมายของเศรษฐศาสตร์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง  ทรัพยากร สินค้าและบริการ และความต้องการ ซึ่งเกี่ยวพันกับ
เศรษฐศาสตร์อย่างใกล้ชิด ดังนี้
    ๑.ทรัพยากร ในที่นี้ความหมายครอบคลุมถึง ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมายถึงแรงงาน ทรัพยากรเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ที่ดิน แม่น้ำ ลำคลอง แร่หินต่าๆ และทรัพยากรซึ่งมนุษย์
เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น เครื่องงจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

   ๒.สินค้าและบริการ หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผลิตโดยอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้ เนื่องจากสินค้าและบริการเป็นสิ่
งที่เกิดขึ้นจากกาผลิต จึงอาจจะเรีียกว่า ผลผลิต
   ๓.ความต้องการ หมายถึง ความอยากได้หรืออยากเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความต้องการของมนุษย์มีหลายลักษณะ  บางลักษณะเป็นความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เช่น ต้องการมีบ้าน
มีรถยนต์ มีโทรทัศน์ เมื่อมีแล้วความต้องการก็อาจไม่หมดไป แต่ต้องการที่จะมีบ้านหลังใหญ่มากกว่าเดิม ต้องการมีรถยนต์เพิ่มอีก ๑ คัน

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหรับมนุษย์  เนื่องจาเป็นวิชาที่มีขอบข่ายครอบคลุมการจัดการทรัพยากรที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตมนุษย์  ตั้งแต่ระดับบุคคล  ระดับครอบครัว  และระดับประเทศ  มนุษย์ทุกคนจะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข  ย่อมต้องการสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถสนองความต้องการ  หรืออำนวยประโยชน์แก่ตนได้  และภายใต้เงื่อนไขที่ทรัพยากรในโลกมีจำนวนจำกัด  การมีความรู้ตวามสามารถในการจัดสรรทรัพยากรให้สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดในลักษณะที่ประหยัดที่สุด  และให้ประโยชน์สูงสุดต่อบุคคลและต่อส่วนรวม  จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
         ในระดับบุคคล  มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครัวเรือนหริอหัวหน้าครอบครัว  ในฐานะผู้บริโภคจะต้องรู้วิธีการจัดหาสิ่งต่าง ๆ  เพื่อสนองความต้องการของตนและสมาชิกในครัวเรือนได้โดยตรง  สามารถจัดสรรเงินและเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ตนต้องการได้อย่างเหมาะสม  บุคคลในฐานะแรงงานจะต้องสามารถเลือกและตัดสินใจทำงานหารายได้ไว้เพื่อจับจ่ายใช้สอย  ส่วนบุคคลในฐานะผู้ประกอบการ  นักธุรกิจ  หรือผู้ผลิตจะต้องสามารถเลือกและตัดสินใจที่จะประกอบการหรือทำการผลิตสินค้าและบริการที่ให้ผลตอบแทนสูง  และสามารถสนองความต้องการบริโภคอุปโภคของบุคคลอื่นในสังคม
         การทำงาน  การประกอบธุรกิจ  การซื้อขายแลกเปลี่ยน  และกิจกรรมอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรดังกล่าว  จะต้องดำเนินภายใต้กฎระเบียบของสังคม  ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับส่วนอื่น ๆ ของสังคม  อาทิ  ประเพณี  ค่านิยม  วัฒนธรรม  การศึกษา  สาธารณสุข  การเมือง  การปกครอง  สวัสดิการสังคม  ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ทั้งนี้โดยมีคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่รัฐบาลเป็นผู้คอยกำกับดูแล
        หากมนุษย์สามารถตัดสินใจในการจับจ่ายใช้สอย  การทำงานและการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล  ย่อมก่อให้เกิดความผาสุกในการดำรงชีวิต  ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องราวขององค์ประกอบและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ตามสถานภาพที่ตนมีความเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  มนุษย์ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจจากประสบการณ์และความคุ้นเคย  แต่การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจอย่างเป็นเรื่องเป็นราวตามที่นักวิชาการได้นำมาสรุปเป็นบทเรียนและเรียกกันว่าวิชาเศรษฐศาสตร์  ซึ่งปรากฏในรูปแนวคิด  ทฤษฎีต่าง ๆ ทั้งที่เป็นพื้นฐานขั้นต้นและขั้นสูง  ย่อมช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้และเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจทั้งในระดับตรัวเรือนและระดับประเทศได้รวดเร็วและง่ายขึ้น  ซึ่งทำให้การเลือกและการตัดสินใจในเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจตามบทบาทของตนทั้งในฐานที่เป็นแรงงาน  ผู้ผลิต  ผู้บริโภค  ผู้ประกอบการหรือรัฐบาล  สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมมีหลักเกณฑ์  มีเหตุผลและส่งผลดีทั้งต่อมนุษย์ในระดับส่วนบุคคล  ครอบครัว  และส่วนรวม  เศรษฐศาสตร์  จึงเป็นวิชาที่มีความสำคัญทั้งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ระดับบุคคล  และต่อการพัฒนาประเทศส่วนรวม
        การศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับเบื้องต้นมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ศึกษาเศรษฐศาสตร์หรือบุคคลโดยทั่วไปมีความรู้  ความเข้าใจ  มีทัศนคติ  และมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง  และเหมาะสมกับสถานภาพทางเศรษฐกิจของตน  และสถานภาพของสังคมทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า  ไม่ว่ามนุษย์จะมีสถานภาพเป็นผู้บริโภค  ผู้ซื้อ  ผู้ขาย  ผู้ผลืต  ผู้ประกอบการ  เจ้าของที่ดิน  เจ้าของทุน  เจ้าของแรงงาน  ผู้บริหารประเทศ  ต้องสามารถดำรงชีวิตประจำวันโดยคำนึงถึงหลักการสำคัญทางเศรษฐศาสตร์  คือ  ทรัพยากรในโลกมีจำนวนจำกัด  บุคคลในสังคมจะต้องเป็นที่มีเหตุผลที่เหมาะสมในการเลือกกระทำการต่าง ๆ โดยเฉพาะการเลือกใช้ทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด  อย่างประหยัด  และก่อให้เกิดผลที่คุ้มค่าแก่ตนเองและสังคม  โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นและแก่สังคม  ในกรณีที่จำเป็นต้องกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียแก่ตนและสังคม  มนุษย์จักต้องเลือกกระทำการดังกล่าวในลักษณะที่ก่อให้เกิดทั้งผลเสียต่อตนเองและต่อสังคมน้อยที่สุด  และควรใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด  เพื่อให้บุคคลอื่นและบุคคลรุ่นหลังได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากทรัพยากรด้วย  อาทิ  บุคคลในครัวเรือนไม่ควรเปิดน้ำประปาทิ้งโดยไม่ใช้ประโยชน์  ผู้ประกอบการไม่ควรปล่อยน้ำเสียจากโรงงานลงในแม่น้ำลำคลองโดยปราศจากการบำบัด  รัฐบาลไม่ควรจัดสรรงบประมาณรายจ่ายในโครงการตัดถนนในหมู่บ้านชนบทในลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักการเมือง  หรือข้าราชการ  แต่เกิดประโยชน์ในการใช้งานน้อย

องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดในกระบวนการกำหนดนโยบายทางด้าน เศรษฐกิจของสังคมโลก ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกติกาของสังคม โลก อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสม ขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชน มีบทบาททางเศรษฐกิจ ตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชน (Privatization) โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ ระบบทุนนิยมโลกขยายตัวและเป็นองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ ดังรายละเอียดดังนี้

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

1.กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการ ฟื้นฟูและการพัฒนา (International Bank fof Reconstruction and Development-IBRD) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1944 ตามกรรมการสุดท้าย ของที่ประชุมการเงินและการคลังของสหประชาชาติ 44 ประเทศ ที่เมืองเบรตตัน วูดส์ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สงครามโลกทางยุโรปยังคงรุนแรงอยู่ และ IMF เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1947 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครวอชิงตัน ดี.ซี.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศมีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงินโดยการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน ระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการขยายตัวทางการค้าเพื่อก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจที่ดีในประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีรัฐที่เป็นสมาชิกจำนวน 182 ประเทศ
2.ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาการ  (ธนาคารโลก) (The International Bank for Reconstruction and Development: IBRD)
ธนาคารนี้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อธนาคารโลก (World Bank) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1946 โดยมีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกได้กู้ยืมเงินทุนเพื่อใช้ในการ ดำเนิน โครงการบูรณะและพัฒนาประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางด้านการลงทุนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

3.องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)
1. ความเป็นมา
องค์การการค้าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2538 อันเป็นผลจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้แกตต์ (GATT) มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ และมีที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
2.วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นสถาบัน/องค์การที่ทำหน้าที่ดูแลการค้าโลกเป็นไปโดยเสรีและเป็นธรรม

เพราะเหตุใดวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญ

4. องค์การความร่วมมือภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Cooperation-APEC)
องค์การเอเปก มีประเทศสมาชิกประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เวียดนาม รัสเซีย และเปรู รวมทั้งหมด 21 ประเทศ
ความคิดในการจัดตั้งเอเปกนั้น เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1989 เมื่อนายบ๊อบโฮก (Bob Hawke) นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียในขณะนั้น เห็นว่าการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยในขณะนั้นมีท่าว่าจะล้มเหลว ในขณะที่แนวโน้มในการปกครองทางการค้ามีมากขึ้นในรูปของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ประชาคมยุโรป อาเซียนและนาฟต้า ดังนั้น ออสเตรเลียซึ่งเกรงว่าจะถูกโดดเดี่ยวจึงได้เสนอให้จัดตั้งเอเปกขึ้นเพื่อ สนองนโยบายทางการเมืองของออสเตรเลียที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค เอเชียและเพื่อให้ตนเองมีส่วนร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจนี้ในการคานอำนาจกับกลุ่ม เศรษฐกิจภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย ซึ่งต่อมาความคิดนี้ได้รับการขานรับจากหลายประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก

5. ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on tariff and trade: GATT)
แกตต์หรือมีชื่อเต็มว่า ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า คือข้อตกลงการค้าหลายฝ่ายที่จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2491 ประกอบด้วยประเทศสมาชิกผู้ริเริ่ม 23 ประเทศปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 127 ประเทศมีการค้ารวมกันทั้งหมดถึงประมาณ 4 ใน 5 ของการค้าโลก
6. เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Area-NAFTA)
เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1992 โดยจะลดหย่อนและยกเว้นอากรนำเข้าของประเทศสมาชิก แต่จะมีการเก็บเกี่ยวขาเข้าตามปกติ สำหรับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก ซึ่งนับเป็นคู่แข่งสำคัญ ของประเทศอินโดจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน และยุโรปตะวันออก ดังนั้นเม็กซิโกจะกลายเป็นศูนย์ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากประเทศที่สำคัญ เพราะมีตลาดที่รองรับสินค้าทันที คือสหรัฐอเมริกา และแคนาดา
7. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน(Association of southeast Asian Nations-ASEAN)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 นับเป็นความพยายามในระดับภูมิภาคครั้งที่ 3 ต่อจากสมาคมอาสาและมาฟิลินโด และเป็นองค์การที่มีอายุยืนยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากประเทศในภูมิภาคอย่างจริงจังโดยปราศจากการ แทรกแซงจากประเทศภายนอกภูมิภาค นอกจากนั้นยังอาจนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศกำลัง พัฒนาที่มีความสัมพันธ์กันในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอันที่จะร่วมมือ กันส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสร้างพลังต่อรองในเวทีการเมือง ระหว่างประเทศ
8. องค์การของประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (Organization of Pextroteum Exporting Countries: OPEC)
องค์การของประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออกหรือองค์การโอเปก ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ.2503 สืบเนื่องจากการที่บริษัทน้ำมันต่าง ๆ ประกาศลดราคาน้ำมันระหว่าง พ.ศ.2499-2503 โดยมิได้ขอความเห็นชอบหรือปรึกษาหารือกับรัฐบาลเจ้าของบ่อน้ำมัน นอกจากนั้น ค่าภาคหลวงที่บริษัทน้ำมันจ่ายให้กับรัฐบาลเจ้าของบ่อน้ำมันก็อยู่ในอัตรา ต่ำมากเพียงประมาณ 4 บาทเศษ ต่อบาร์เรลเท่านั้น ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันต้องสูญเสียผลประโยชน์ไปเป็นจำนวนมหาศาล จึงรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและมิให้ถูกเอาเปรียบจนเกินไป ในระยะแรกประเทศเจ้าของบ่อน้ำมัน 5 ประเทศ คือ เวเนซูเอลา ซาอุดิอาระเบีย คูเวต อิรัก และอิหร่าน ได้ประชุมกันที่กรุงแบกแดดประเทศอิรัก ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน พ.ศ.2503 และประกาศจัดตั้งองค์การของประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (OPEC) ขึ้นโดยมีที่ตั้งขององค์การอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

จบการนำเสนอ

ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์คืออะไร

เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงวิชาที่ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของ บุคคลและสังคมในการดำเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว หากพิจารณารากศัพท์ของคำว่า “เศรษฐศาสตร์” ซึ่งตรงกับคำในภาษา อังกฤษว่า Economics แล้วจะพบว่ามีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ “Oikos” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “House” และ “Nemein” ซึ่งตรงกับภาษา

เหตุ ใด เรา จึงต้อง ให้ความสำคัญ กับการศึกษา วิชาเศรษฐศาสตร์

มนุษย์และสังคมต้องเผชิญกับการเลือกอยู่ตลอดเวลา • ทรัพยากรมีอยู่อย่างจํากัด ไม่เพียงพอกับความต้องการ • จึงต้องเลือกใช้ทรัพยากรทีมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทีว่าด้วยการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากร

วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญต่อประเทศอย่างไร

4. วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสาคัญระดับประเทศอย่างไร ผู้บริหารประเทศน าความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาช่วยจัดสรรทรัพยากรให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับ ประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นยังน าความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจวางแผนบริหารงาน และ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศก าลังเผชิญอยู่ให้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี

การศึกษาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างไร

เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงวิธีการนาเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดมาผลิตสินค้า และบริการจาแนกแจกจ่ายไปบาบัดความต้องการของทุกคนในสังคม เป็นความรู้ที่แทรกอยู่ใน ชีวิตประจาวันของทุกคน ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสาคัญต่อบุคคลทุกกลุ่ม ดังนี้ 1. เศรษฐศาสตร์จะช่วยให้การจัดทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุดและยุติธรรมเพื่อสนอง ...

ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์คืออะไร วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญต่อประเทศอย่างไร การศึกษาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างไร วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร เฉลย ความสําคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ ระดับบุคคลและครัวเรือน เศรษฐศาสตร์มีความสําคัญอย่างไรต่อ นักเรียน เศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ คือ วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสําคัญระดับบุคคลและครัวเรือนอย่างไร เฉลย ใบงาน1.1 ความสําคัญและเป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ ความสําคัญของเศรษฐศาสตร์ ต่อครอบครัว ทรัพยากรมีอยู่อย่างจํากัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัด หมายความว่าอย่างไร