สัญญายืมมีลักษณะทั่วไปอย่างไร

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • บทความที่น่าสนใจ

  • รู้หรือไม่ ยืมใช้สินค้าต้องเสียภาษี

รู้หรือไม่ ยืมใช้สินค้าต้องเสียภาษี

สัญญายืมมีลักษณะทั่วไปอย่างไร

          การยืมสินค้ามีหลายลักษณะทั้งแบบสินค้าคงรูปและแบบสินค้าใช้สิ้นเปลือง ซึ่งการยืมสินค้าในแต่ละแบบจะมีภาระภาษีแตกต่างกัน โดยหลักแล้วหากเป็นกรณีการให้ยืมสินค้าแบบคงรูป จะพิจารณาว่าผู้ให้ยืมได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปยังผู้ยืมหรือไม่เป็นสำคัญ หากสินค้าที่นำมาให้ยืมนั้น ผู้ให้ยืมไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมได้นำสินค้าตัวที่ยืมไปนั้นคืนให้แก่ผู้ให้ยืม กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าแต่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ซึ่งการยืมสินค้านี้ อาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการให้เช่าทรัพย์สินในบางลักษณะ และอาจทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้กฎหมาย จึงต้องศึกษาหลักกฎหมายและตัวอย่างต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

          เจ้าของกิจการ พนักงาน หรือบุคคลอื่นใด อาจเคยให้ยืมใช้สินค้ากับบุคคลอื่นๆ ใช้เพื่อกิจการหรือเพื่อส่วนตัวเช่น ให้ยืมใช้เครื่องจักรเพื่อนำไปผลิตสินค้าให้ยืมทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อให้ผู้ที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพย์สินได้ใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ยืมมาตามความประสงค์

          การให้ยืมทรัพย์สินที่เป็นการยืมตามสัญญายืมใช้คงรูปจะไม่ได้มีการคิดค่าตอบแทนระหว่างกันแต่อย่างใดแต่ในบางกรณีอาจมีการคิดค่าตอบแทน เช่น การคิดดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงิน การคิดค่าเสียประโยชน์จากการให้บุคคลอื่นใช้ทรัพย์สินที่ยืม เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อบุคคลฝ่ายหนึ่งให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งยืมทรัพย์สินสิ่งสำคัญที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องศึกษาให้ถ่องแท้ คือ หลักกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  1. สัญญายืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ในการศึกษากฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยืมจะต้องศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและ

          พาณิชย์โดยเฉพาะบรรพที่ 3 ลักษณะที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการยืม นอกจากนี้ยังต้องศึกษาบรรพที่ 1 ได้แก่ หลักในเรื่องนิติกรรม เนื่องจากสัญญายืมเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย และบรรพที่ 2 ได้แก่ หลักในเรื่องหนี้ เนื่องจากสัญญายืมเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นตามกฎหมายด้วย นอกจากนี้ยังต้องนำหลักกฎหมายที่เป็นบททั่วไปในบรรพที่ 1 และ 2 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจตนาของคู่สัญญา ความสามารถในการทำนิติกรรม และวัตถุประสงค์ในการทำนิติกรรม สัญญายืมนั้นจึงจะมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย

หลักของกฎหมายแล้ว สัญญายืมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สัญญายืมใช้คงรูป และสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง โดยแยกพิจารณาสาระสำคัญได้ ดังนี้

  1. สัญญายืมใช้คงรูป หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว ดังนั้นสัญญายืมจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน(มาตรา 640 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
  2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง หมายความว่า สัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภทชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้นสัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม (มาตรา 650 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
  3. สัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หลายๆ ท่านมักสับสนระหว่างสัญญาเช่ากับสัญญายืมว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

           เนื่องจากสัญญาทั้ง 2 สัญญานี้มีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน โดยสัญญาเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ดังนั้น สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญามีค่าตอบแทน

 
ที่มา : www.dharmniti.co.th

สัญญายืม
สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ได้ส่งมอบทรัยพ์สิน
ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม เพื่อใช้ทรัพย์นั้น และผู้ยืมต้อง
คืนใช้ให้ เมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว
ลักษณะของสัญญายืม
1. เป็นสัญญาที่บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม
2. สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน
ประเภทของสัญญายืม แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. สัญญายืมใช้คงรูป
2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
สาระสำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป
1. เป็นสัญญาสองฝ่ายคือผู้ให้ยืมฝ่ายหนึ่งและผู้ยืมอีกฝ่ายหนึ่ง
2. เป็นสัญญาที่ตกลงให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์ได้เปล่า ทำให้เห็น
ลักษณะพิเศษของสัญญยืมใช้คงรูปว่า
2.1 เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน ทำให้คุณสมบัติของผู้
ยืมเป็นสาระสำคัญของสัญญา ฉะนั้น “ถ้าผู้ยืมตาย สัญญายืมระงับทันที”
2.2 เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์
สาระสำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป (ต่อ)
3. เป็นสัญญาที่ตกลงให้ผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ให้ยืม เมื่อได้
ใช้สอยเสร็จแล้ว
4. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม
วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป
เป็นทรัพย์ที่เมื่อถูกใช้ก็ไม่เปลี่ยนสภาพ
หน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป
1. หน้าที่เสียค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา
2. หน้าที่ในการใช้สอยทรัพย์สินที่ยืม
3. หน้าที่สงวนทรัยพ์สินที่ยืม
4. หน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืม
5. หน้าที่เสียใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม
ความระงับของสัญญายืมใช้คงรูป
1. เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญายืม
2. เมื่อผู้ยืมส่งคืนทรัยพ์สินที่ยืมก่อนกำหนด เพราะไม่ประสงค์
จะยืมทรัพย์สินนั้นต่อไป
3. เมื่อผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญา
4. เมื่อผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์สินคืน เพราะเวลาได้ล่วงเลยไปพอแก่
การที่ผู้ยืมจะใช้สอยทรัยพ์สินนั้นเสร็จแล้ว
5. เมื่อผู้ยืมตาย
6. เมื่อทรัพย์สินที่ยืม สูญหายไปทั้งหมด
อายุความในการเรียกค่าทดแทน
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายอันเกี่ยวกับการยืมใช้
คงรูปมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา
สาระสำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
1. เป็นสัญญาสองฝ่ายคือผู้ให้ยืมฝ่ายหนึ่งและผู้ยืมอีกฝ่ายหนึ่ง
2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้
3. เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมไปให้ผู้ยืม
4. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองคือทรัพย์สินที่ใช้ไปสิ้นไปซึ่ง
ได้แก่ วัตถุที่อาจใช้ของอื่นอันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเท่ากันแทน
กันได้
5. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง
ต้องส่งมอบทรัพย์สินประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกัน
ให้แก่ผู้ให้ยืม เมื่อสัญญายืมระงับ
อายุความในการฟ้องร้องคดี
การใช้สิทธิ์เรียกร้องของผู้ให้ยืมเพื่อเรียกทรัพย์สินตามสัญญายืม
ใช้สิ้นเปลืองคืนจากผู้ยืมหรือเรียกราคาทรัพย์สิน กฎหมายไม่ได้กำหนด
อายุความไว้เป็นพิเศษ จึงถืออายุความตามบทบัญญัติทั่วไปคือ 10 ปี
สัญญากู้ยืมเงิน
สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ย่อมบริบูรณ์เมื่อส่ง
มอบทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม
หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน
ในการกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น กฎหมายกำหนดให้ต้อง
มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ชนิดของสัญญากู้ยืม
1. สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่คิดดอกเบี้ย
2. สัญญากู้ยืมเงินที่คิดดอกเบี้ย
ข้อสังเกตุ
ถ้าเป็นการกู้ยืมเงินที่มีการคิดดอกเบี้ยกัน คู่สัญญาจะคิด
ดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ ถ้าคู่สัญญฝ่าฝืนจะมีผลทำให้
ดอกเบี้ยทั้งหมดตกเป็นโมฆะ ผู้ยืมคืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
ถ้าคู่สัญญากำหนดให้คิดดอกเบี้ยกันแต่ไม่ได้กำหนด
อัตราดอกเบี้ยไว้ กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี