Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

Design Thinking คืออะไร?

Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบ คือการคิดแก้ปัญหาที่สามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ การคิดเชิงออกแบบนั้นต่างจาก “ความคิดสร้างสรรค์”(creativity) คือ Design Thinking จะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 อย่างประกอบกัน คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และ “คน” การคิดเชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือ Human centered design ที่คนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา โดยเน้นทำความเข้าใจว่าคนต้องการอะไร แทนที่วิธีการแบบเดิมที่มักเริ่มต้นจาก “ปัญหา”

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง


หลักการคิดเชิงออกแบบ

1. คิดอย่าง “เข้าใจ”

เป็นวิธีการคิดผ่านสิ่งที่เขาพูด ทำ คิด และรู้สึก เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากมุมมองของคนที่เราจะแก้ปัญหาให้ ซึ่งการคิดอย่างเข้าใจอาจสามารถทำได้ผ่านทางการสังเกต การสอบถาม หรือการมีประสบการณ์ร่วม

2. คิดแบบ “ไม่มีกรอบ”

การคิดแบบไม่มีกรอบ มีกระบวนการในการคิดดังนี้

  1. ต้องตั้งคำถามที่ถูกต้อง ก่อนจะเริ่มหาคำตอบ ดังนั้นจึงต้องเริ่มตั้งคำถามก่อน โดยใช้ฟอร์ม “เราจะ......ได้อย่างไร”
  2. ได้คำถามแล้วคิดคำตอบ โดยใช้วิธี Ideate (Idea + create) หรือการ brainstorming โดยมีหลักการในการระดมสมองที่ดี คือ
    • ต้องพูดทีละคน
    • เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
    • ออกไอเดียให้กระชับ
    • ต่อยอดไอเดียกัน
    • ส่งเสริมไอเดียบ้าๆ
    • วาดรูปก็ได้
    • อย่าออกนอกเรื่อง
    • อย่าวิจารณ์ไอเดียคนอื่น

อย่างไรก็ตามการคิดแบบไม่มีกรอบโดยการระดมสมองอาจพบอุปสรรคบางประการ คือ


  • คิดว่าไอเดียเดียวก็พอแล้ว
  • ไอเดียไหนฟังแล้วไม่ชอบ ต้องรีบจำกัด
  • พูดอย่างเดียว ไม่ฟัง
  • อะไรที่พูดแล้วเราดูโง่ เก็บไว้กับตัวดีกว่า
  • ลืมจดหรือบันทึกไอเดียไว้
  • บางไอเดียก็ลงลึกในรายละเอียดมากเกินไป

การคิดแบบไม่มีกรอบโดยการระดมสมองจะมีอุปกรณ์ช่วยเสริมในกระบวนการคิด ซึ่งอุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมก็เป็นสิ่งที่สามารถหาได้ทั่วไป ประกอบด้วย โพสต์อิทและปากกา เนื่องจากเป็นสิ่งที่ย้ายที่ได้ เปิดพื้นที่ให้ทุกคนมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเท่าๆ กัน ทุกคนมีพื้นที่ของตัวเอง โดยมีพื้นที่ที่จำกัด

3. คิดเร็ว ทำเร็ว

นำไอเดียไปแปลงให้เป็น “ผลงาน” โดยคำนึงถึง “เวลา” และ “ค่าใช้จ่าย” ที่จำกัด โดยมีวิธีการคือ

  1. ทดลองสร้างต้นแบบ (Prototype) และยึดหลักทดลองหลายๆ ครั้ง ล้มเหลวบ่อยๆ ล้มเหลวให้เร็ว เพื่อจะได้รีบเรียนรู้ความผิดพลาด
    • Fail Cheap เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นมีราคาถูก
    • Fail Fast เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเร็วแต่เนิ่นๆ
    • Fail forward เพื่อให้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนในการก้าวต่อไป
  2. สร้างต้นแบบที่จับต้องได้และมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ ใช้ของง่ายๆ ไม่ต้องใช้ของจริง โดยผลงานการออกแบบอาจเป็นไปได้อย่างหลากหลาย ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์โดยตรงเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นสิ่งอื่นๆ ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้ อาทิ
    • ฉากหรือบรรยากาศ (Scence)
    • อุปกรณ์ตัวช่วยบางอย่าง (Props / touch point)
    • บทบาทของพนักงานที่กำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา (Roles)

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

Tags : ASIAN Leadership Academy, ALA, Design Thinking, คิดเชิงออกแบบ 21st Century Skills, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, Learning and Innovation Skills, Communication, Collaboration, Creativity, Critical Thinking, การคิดวิเคราะห์, ความคิดสร้างสรรค์, การสื่อสาร, ความร่วม

Design Thinking เป็นวิธีการออกแบบที่ทำให้เกิดแนวทางพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ มันมีประโยชน์อย่างมากในการจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของมนุษย์ การกำหนดกรอบของปัญหาโดยเน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง การระดมสมองเพื่อหาไอเดียที่หลากหลาย และการสร้างต้นแบบไปจนถึงการทดสอบวิธีการนั้น

มาทำความเข้าใจกับ 5 ขั้นตอนของกระบวนการ Design Thinking ที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้มันเพื่อแก้ปัญหาอันซับซ้อนที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในบริษัท ในประเทศ หรือแม้แต่ปัญหาระดับโลก

1. Empathize

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Design Thinking คือการทำความเข้าใจปัญหาที่เราพยายามแก้ไข โดยการสังเกต การมีส่วนร่วม และการเอาใจใส่ผู้คนรอบตัวเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์และแรงจูงใจของพวกเขา การเอาใจใส่เป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางอย่างแนวคิด Design Thinking เป็นอย่างมาก เพราะมันช่วยให้เราสามารถตั้งสมติฐานเกี่ยวกับผู้คนรอบตัวและความต้องการของพวกเขาได้

2. Define

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนนี้สิ่งที่เราต้องทำก็คือการนำข้อมูลทั้งหมดที่หาได้จากขั้น Empathize มารวมกันเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งที่ได้ จากนั้นจึงเลือกเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเราจริงๆ ออกมาแล้วจึงนำมันมาอธิบายปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ แต่อย่าลืมว่าเราควรกล่าวถึงปัญหาในแบบ “เน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง”

ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “เราจำเป็นต้องเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารในหมู่เด็กสาววัยรุ่นขึ้นอีก 5%” แต่เปลี่ยนเป็น “ผู้หญิงวัยรุ่นต้องกินอาหารที่มีประโยชเพื่อการเจริญเติบโตและร่างกายที่แข็งแรง” จะดีกว่า

ในขั้นตอนนี้จะช่วยให้ทีมรวบรวมแนวคิดเพื่อนำไปสร้างองค์ประกอบอื่นที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. Ideate

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ในขั้นตอนที่สามของกระบวนการ Design Thinking เป็นขั้นที่เราจะเริ่มนำไอเดียที่ได้มาสร้างให้เป็นรูปธรรม จากขั้นแรกที่ทำให้เราเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนขั้นที่สองเราได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จากนั้นด้วยวัตถุดิบที่เรามีอยู่ในมือ สมาชิกทีมอาจเริ่มที่จะ “คิดนอกกรอบ” เพื่อมองหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ

อาจใช้การระดมสมองสำหรับกระตุ้นให้สมาชิกทีมได้คิดอย่างอิสระและขยายขอบเขตแนวทางแก้ปัญหา จากนั้นจึงรวบรวมไอเดียที่ได้แล้วเลือกวิธีที่คิดว่าดีหรือเหมาะสมที่สุด

4. Prototype

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนนี้คือการสร้างผลิตภัณฑ์หรือแนวทางต้นแบบโดยลดขนาด ฟังก์ชัน หรือลดทอนรายละเอียดลง เพื่อตรวจสอบวิธีแก้ปัญหาที่พบ อาจมีการส่งต่อเพื่อทำการทดสอบทั้งภายในทีมและแผนกอื่นๆ รวมถึงการมองหากลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้น เป้าหมายของขั้นตอนนี้ก็คือการรวบรวมข้อมูลว่าแนวคิด Design Thinking ที่เราได้ไอเดียมาและนำมาสร้างแนวทางแก้ปัญหาทั้งหมดยังมีจุดบกพร่องตรงไหน หรือต้องปรับปรุงส่วนใดบ้างจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและนำไปแก้ปัญหาได้ดีที่สุด

5. Test

Design thinking คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดสอบแนวทางแก้ไขปัญหาหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

บทความต้นฉบับ : https://www.adges.net/single-post/2019/08/09/5-Design-Thinking

Design Thinking สําคัญอย่างไร

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทำให้เรามองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทำให้เรารู้จักมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำงานต่างๆ ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้น

ขั้นตอนใดของ Design Thinking Process

ขั้นตอนการทำ Design Thinking สำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆ.
ขั้นที่ 1 เอาใจใส่ (Empathise) ยึดความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก ... .
ขั้นที่ 2 ระบุปัญหา (Define) ระบุปัญหาด้วยการเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ... .
ขั้นที่ 3 นำไอเดียมาสร้างสรรค์ (Ideate) คิดไอเดียให้หลากหลายที่สุด ... .
ขั้นที่ 4 สร้างต้นแบบ (Prototype) ... .
ขั้นที่ 5 ทดสอบ (Test).

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

กระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ การเข้าใจปัญหา, การสร้างสรรค์ความคิด และ การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา

Design Thinking ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนใด

3. Ideate. ในขั้นตอนที่สามของกระบวนการ Design Thinking เป็นขั้นที่เราจะเริ่มนำไอเดียที่ได้มาสร้างให้เป็นรูปธรรม จากขั้นแรกที่ทำให้เราเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนขั้นที่สองเราได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จากนั้นด้วยวัตถุดิบที่เรามีอยู่ในมือ สมาชิกทีมอาจเริ่มที่จะ “คิดนอกกรอบ” เพื่อมองหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ