การทำแฟ้มผลงานจะแบ่งออกได้เป็นกี่ส่วน

ทำ Portfolio อย่างไร ให้โดนใจใช่เลย

น้อง ๆ หลายคนมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการสมัครเข้าเรียน ม.นเรศวร ในรอบที่ 1 หรือเราเรืยกกันติดปากว่ารอบ Portfolio ที่ในรอบนี้ไม่เน้นการสอบ GAT/PAT แต่เป็นการนำผลงานต่าง ๆ ของน้อง ๆ มาแสดงให้มหาวิทยาลัยได้เห็น ซึ่งทาง ทปอ. ก็ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัย ให้กำหนดจำนวนหน้าแฟ้มสะสมผลงาน ของน้อง ๆ ไม่เกิน 10 หน้า แบบไม่รวมหน้าปก แต่ทั้ง 10 หน้านั้น จะมีอะไรบ้างน้อง ๆ ลองมาดูกัน

การทำแฟ้มผลงานจะแบ่งออกได้เป็นกี่ส่วน
ภาพประกอบ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แนะนำอีกหนึ่งเทคนิคในการทำ Portfolio / ประเด็นหลัก ๆ คือ

1. Portfolio คือสิ่งที่แสดงตัวตนและทักษะของเรา

แฟ้มสะสมผลงาน เพื่อสมัครเข้ามาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย จะต้องประกอบไปด้วย ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติกิจกรรมและผลงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยยืนยันถึงความสามารถพิเศษ ความสนใจของเรา ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่ต้องการจะศึกษาต่อ แต่ในอีกมุมหนึ่ง Portfolio จะช่วยให้มหาวิทยาลัย นำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาถึงความต้องการของนักเรียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปรับหลักสูตร รวมถึงการจัดทำรายวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการ ดังนั้น นอกเหนือจากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับมัธยม อยากในนักเรียนพูดถึงในอนาคตว่าจบไปแล้วอยากจะประกอบอาชีพอะไร ซึ่งอาจจะเขียนมาหลายอาชีพก็ได้ เพื่อที่มหาวิทยาลัยเองจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไร จะช่วยบ่มเพาะผู้เรียนอย่างไร และจะได้ช่วยแนะนำ ว่าถ้าอยากประกอบอาชีพนี้

2. เข้าร่วมกิจกรรมถึงไม่ได้รับรางวัลก็ควรใส่มาด้วย

ถ้าไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่จะเรียน ถึงแม้จะไม่ได้รับรางวัล ก็ใส่มาใน Portfolio ด้วย อาจจะเป็นรูปถ่าย หรือ เขียนเป็นข้อความมา โดยอาจจะระบุว่าการไปเข้าร่วม วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ในด้านวิชาการอยากจะรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับกิจกรรมที่ไปเข้าร่วม และอยากจะฝึกฝนตนเองให้มีความเชี่ยวชาญด้านใดบ้าง เพราะนั้นแสดงถึงการขวนขวายที่จะฝึกฝนตัวเอง รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีทักษะการอยู่ร่วมกับสังคม  (ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี, 2561)

ส่วนเรื่องการออกแบบให้สวยหรู

รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย เรียบสกุล อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ให้หนึ่งแนวทางในการออกแบบไว้ว่า การที่เราจะออกแบบอะไรสักอย่าง คนที่จะทำต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่ทำ คือนำไปใช้ประโยชน์อะไร เพื่ออะไร และถ้าเป็น Portfolio สมัครเรียนต้องเข้าใจสาขาที่สมัครว่าอยากจะเห็นอะไร หรือจะพูดง่าย ๆ คือ การทำ Portfolio เนื้อหาต้องครบถ้วน ออกแบบต้องโดนใจ

1. การออกแบบต้องเรียบง่าย การในออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณานั้น เราต้องคำนึงอยู่เสมอว่า กรรมการนั้นไม่ได้อ่านหรือดูผลงานของเราเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นเวลาในการพิจารณาผลงานของเราจึงมีจำกัด จึงต้องทำให้ เปิดง่าย อ่านง่าย ให้คณะกรรมการได้เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารให้เร็วที่สุด

การทำแฟ้มผลงานจะแบ่งออกได้เป็นกี่ส่วน
ภาพประกอบ

2. การเรียงเนื้อหาตามลำดับความสำคัญ  นอกจากการนำเสนอเนื้อหาที่ครบถ้วนแล้ว การเรียงลำดับเนื้อหาก็มีความสำคัญ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสาขาและข้อมูลที่เราอยากให้คณะกรรมการเห็น ควรจัดเรียงไว้อันดับต้นๆ

3. บ่งบอกถึงความเป็นตัวเอง การที่จะบ่งบอกถึงความเป็นตัวเองไม่ได้หมายความว่า การใส่รูปตัวเองขนาดใหญ่ที่หน้าปก แต่เป็นเรื่องของเนื้อหาและการออกแบบ ในส่วนของการออกแบบ ก็คือ การเลือกสีที่บ่งบอกถึงตัวเรา เพราะสีทุกสี ล้วนมีความหมาย มีอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป การกำหนด Theme ในการออกแบบ อาทิ Modern, Vintage เป็นต้น ปกนอกและปกใน ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเลือก Font ที่มีหัวจะทำให้ง่ายต่อการอ่าน แต่ถ้าหากใช้ Font ที่ไม่มีหัว ควรจะเลือกใช้กับ Head ที่มีขนาดใหญ่  

แล้วแฟ้มสะสมผลงาน 10 หน้า ควรมีอะไรบ้าง

หน้าปก (ไม่นับรวมใน 10 หน้า)
หน้าที่ 1 | ประวัติส่วนตัว หรือแนะนำตัว
หน้าที่ 2 | ประวัติการศึกษา
หน้าที่ 3 | เหตุผลที่เลือกเรียนในคณะ/สาขา
หน้าที่ 4 – 7 | รางวัล ผลงาน และเกียรติบัตร
หน้าที่ 8 – 10 | กิจกรรม

หน้าปก
– ทำให้ดูโดดเด่น ดึงความสนใจ ออกแบบเรียบง่าย
– กำหนด Theme ในการออกแบบไปในทางเดียวกับกับเนื้อหา
– สื่อให้กรรมการเห็นว่าเราต้องการสมัครคณะอะไรไปเลย
– มีรายละเอียดครบ ชื่อ-สกุล / โรงเรียน / คณะ / สาขา / ชื่อมหาวิทยาลัย ที่จะสมัคร

ประวัติส่วนตัว
– มีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวเรา
– เน้นความสามารถพิเศษ ทักษะที่เอื้อต่อการเรียน ตามความต้องการของโครงการในคณะที่เราเลือก
– รูปภาพที่ชัดเจน ควรเป็นรูปที่เด็กตัวสุภาพ

การทำแฟ้มผลงานจะแบ่งออกได้เป็นกี่ส่วน
ตัวอย่างภาพประกอบ

ประวัติการศึกษา
– ใส่ข้อมูลโรงเรียนที่จบมาในแต่ละระดับชั้น หรือถ้าให้น่าสนใจแนะนำทำเป็นแบบ Infographic ก็เจ๋งไปเลย
– กรดเฉลี่ย (GPAX)

ขอเหตุผลที่เลือกโครงการนี้ และอยากเรียนในคณะ/สาขานี้
– แนะนำว่าเขียนเป็นเรียงความที่ไม่ต้องยาวมาก และอ่านเข้าใจง่าย
– ความยาวไม่เกิน 1 หน้า A4
– แสดงถึงความตั้งใจ และทัศนคติที่ดีต่อคณะ

ภาพกิจกรรม รางวัล ผลงาน และเกียรติบัตร
– เน้นผลงานที่โดดเด่น ได้รับรางวัล
– เรียงตามลำดับความสำคัญ
– งานที่บ่งข้ถึงโครงการสาขาที่จะเลือก
– มีภาพประกอบ
– ไม่ได้รางวัลก็เอามาแสดงได้ขอให้มันเกี่ยวข้องกับโครงการ คณะ/สาขา ที่จะสมัคร

กำหนดการรับรอบ Portfolio

และสำหรับในปี 2564 #TCAS64 ม.นเรศวร เตรียมเปิดรับ 28 โครงการ รอบ Portfolio จำนวน 2,375 คนตากำหนดการที่ออกมาล่าสุดจะเปิดรับสมัคร วันที่ 1-15 ธันวาคม 2563 นี้

การทำแฟ้มผลงานจะแบ่งออกได้เป็นกี่ส่วน

ที่มา: https://www.nu.ac.th/?p=11719, https://www.tcasportfolio.com/content/46

ทําแฟ้มสะสมผลงาน เทคนิคการทําแฟ้มสะสมผลงาน แฟ้มสะสมผลงาน

การทำแฟ้มผลงานควรแบ่งการตรวจทานเป็นกี่ส่วน

นอกจากตรวจทานตัวสะกดและความถูกต้องแล้ว ควรแบ่งการตรวจทานเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกให้ตรวจทานว่า แฟ้มผลงานตรงกับตัวตนของเรา และความต้องการของผู้อ่านหรือไม่และในส่วนที่สอง ให้ผู้อื่นช่วยตรวจทานเรื่องราว การดำเนินเรื่องว่าเป็นที่น่าประทับใจแก่ผู้อ่านหรือไม่

การสร้าง Portfolio มีองค์ประกอบกี่ส่วน

หน้าปก ... .
ประวัติส่วนตัว ... .
ประวัติทางการศึกษา ... .
รางวัลและผลงานที่ได้รับ ... .
ผลงานที่ประทับใจ ... .
กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียน ... .
ผลงานตัวอย่าง ... .
ความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ.

การทำแฟ้มผลงาน มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน มีขั้นตอนที่สำคัญ 10 ขั้นตอน คือ.
การวางแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน.
การเก็บรวบรวมผลงาน.
การคัดเลือกงานหรือหลักฐาน.
การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน.
การตรวจสอบความสามารถของตนเอง.
การประเมินผลงาน.
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแฟ้มสะสมงาน.
การปรับเปลี่ยนผลงาน.

ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงานแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

Q : แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างไร 1. ทำให้รู้ถึงทักษะพื้นฐานของผู้เรียน 2. สามารถสะสมเป็นผลงานของครูได้ 3. ใช้ในการสอนรายบุคคลได้เป็นอย่างดี 4. ทำให้ครูสามารถวางแผนการเรียนการสอน