สิ่ง ใด บาง ใน ร่างกาย มนุษย์ ที่ สามารถ นำ มา ตรวจ สอบ หาความ สัมพันธ์ ทาง สายเลือด ได้

วัตถุพยานทางชีววิทยา

นางสาวปาณิก เวียงชัย

                หากจะนึกถึงคดีความที่เป็นปัญหาอาชญากรรมที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรับเรื่องร้องเรียนบ่อยๆ ได้แก่ คดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆาตกรรม บุคคลผู้มีหน้าที่สำคัญในการให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน (crime scene  investigator ) ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุเพื่อค้นหาวัตถุพยานอันเป็นเบาะแสที่สามารถทำให้กระบวนการสืบสวนสอบสวน สามารถชี้ถึงตัวผู้ลงมือกระทำความผิดได้ วัตถุพยานที่อาจตรวจพบได้แก่  ลายนิ้วมือ ลายฝ่าเท้า ลายพื้นรองเท้า รอยฟัน ดีเอ็นเอ สารคัดหลั่ง ร่องรอยการงัดแงะ สี หรืออาวุธที่ใช้ก่อเหตุ เป็นต้น

                วัตถุพยานที่สามารถระบุถึงตัวผู้กระทำผิดได้ถูกต้องและยอมรับกันเป็นสากล คือ วัตถุพยานทางชีววิทยา เช่นลายนิ้วมือ (fingerprint) และลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) ซึ่งจัดเป็นวัตถุพยานทางชีววิทยาที่มนุษย์ทุกคนมีตั้งแต่กำเนิดและมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลไม่ซ้ำกัน

วัตถุพยานคืออะไร

          วัตถุพยาน คือ หลักฐานในการติดตามตัวผู้กระทำความผิดที่น่าเชื่อถือได้นอกเหนือไปจากประจักษ์พยาน(พยานบุคคล) ที่รู้เห็นการกระทำความผิด พบได้ในสถานที่เกิดเหตุ ตัวผู้เสียหายหรือตัวผู้กระทำความผิด อาจเป็นอะไรก็ได้ เช่น คราบเลือด รอยฟกช้ำ ปลอกกระสุนปืน เป็นต้น 

กาตรวจสอบวัตถุพยานทางชีววิทยา

          จากความหมายของวัตถุพยานบางท่านอาจสงสัยว่าวัตถุพยานทางชีววิทยาที่กล่าวถึงในย่อหน้าที่สอง คืออะไร ได้แก่อะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการยุติธรรม จึงขออธิบายง่ายๆ ดังนี้

          วัตถุพยานแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.       วัตถุพยานทางกายภาพ (physical evidence) เป็นวัตถุพยานที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น อาวุธ เขม่าดินปืน สี  ร่องรอยการงัดแงะ เป็นต้น

2.       วัตถุพยานทางชีววิทยา (biological evidence) เป็นวัตถุพยานที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตหรือเป็นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาก่อน เช่น คราบเลือด คราบอสุจิ เส้นผม ฟัน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เนื้อเยื่อ ลายนิ้วมือ เป็นต้น

 

สิ่ง ใด บาง ใน ร่างกาย มนุษย์ ที่ สามารถ นำ มา ตรวจ สอบ หาความ สัมพันธ์ ทาง สายเลือด ได้

จากวัตถุพยานทั้ง 2 ประเภทข้างต้น ในทางการสืบสวนคดีอาญา ถือว่าวัตถุพยานทางชีววิทยาเป็นวัตถุพยานเพียงประเภทเดียวที่สามารถแสดงความสัมพันธ์โดยตรงขณะที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นระหว่างผู้กระทำความผิดกับผู้เสียหายได้ ดังนั้นการเก็บและนำส่งวัตถุพยานประเภทนี้เพื่อนำไปตรวจสอบนั้นต้องมีความระมัดระวังและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตามแนวทางที่เรียกว่า “ลูกโซ่แห่งการเก็บรักษาตัวอย่าง”  (chain of custody procedures) หมายถึง การจัดการ การเก็บ การขนส่ง และการส่งมอบวัตถุพยานที่ทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา เช่น วิธีการเก็บ รายละเอียดวัตถุพยาน วันเดือนปีที่เก็บ ชื่อผู้เก็บ ชื่อผู้ส่งมอบ ชื่อผู้รับมอบ เป็นต้น หากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว วัตถุพยานทางชีววิทยาที่พบจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางสืบสวนหาผู้กระทำผิดหรือการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาได้เป็นอย่างมาก

          ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง วัตถุพยานทางชีววิทยาที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิสูจน์หลักฐานและนักนิติเวชศาสตร์ต้องเก็บรวบรวมและตรวจสอบ ได้แก่ เลือดและคราบเลือด คราบอสุจิ เซลล์เยื่อบุช่องคลอด เส้นผมและเส้นขน น้ำลาย ปัสสาวะและอุจจาระ

การตรวจสอบวัตถุพยานทางชีววิทยาในห้องปฏิบัติการ

          เมื่อได้วัตถุพยานทางชีววิทยามาแล้ว ขั้นต่อไปคือการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่

1.      เลือดและคราบเลือด  สิ่งที่ต้องตรวจเป็นอันดับแรกคือ เป็นเลือดใช่หรือไม่ ถ้าใช่ เป็นของมนุษย์หรือสัตว์โดยใช้วิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยาซึ่งอาศัยหลักการทำปฏิกิริยาอย่างจำเพาะระหว่างแอนติเจนกับแอนติบอดี้ของเลือดมนุษย์  เมื่อทราบว่าเป็นเลือดของมนุษย์แล้ว เลือดและคราบเลือดที่พบนั้นเป็นเลือดหมู่ใด และเป็นของใคร  ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบได้แก่ เพศ อายุ ดีเอ็นเอของเจ้าของเลือดนั้น

2.      คราบอสุจิ เป็นวัตถุพยานทางชีววิทยาที่ต้องตรวจในคดีข่มขืนกระทำชำเรา ทั้งนี้สามารถเก็บได้โดยตรงจากร่างกายของผู้เสียหายหรือผู้ตาย  อาจได้จากบนเสื้อผ้า  ตามร่างกาย ช่องคลอด เป็นต้น สิ่งที่ต้องตรวจเป็นอันดับแรกคือ เป็นคราบอสุจิหรือไม่ โดยการตรวจหาตัวอสุจิหรือเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตส (acid phosphatase), PSA (prostatic specific antigen) ซึ่งจะพบในเพศชายเท่านั้น   ถ้าเป็นคราบอสุจิแล้ว คราบที่พบนั้นเป็นของมนุษย์หรือไม่ โดยลักษณะของตัวอสุจิของมนุษย์และสัตว์จะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบโดยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา โดยใช้ anti human seminal fluid antibody ที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำอสุจิของมนุษย์ (human seminal  fluid) ก่อให้เกิดการตกตะกอนขึ้น หลังจากทราบว่าเป็นคราบอสุจิของมนุษย์ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นของบุคคลใด โดยการตรวจหาหมู่เลือด หรือลายพิมพ์ดีเอ็นเอจากส่วนนิวเคลียสของตัวอสุจิ

3.      เซลล์เยื่อบุช่องคลอด  ตรวจสอบที่อวัยวะเพศชาย บริเวณ coronal sulsus ซึ่งจะมีเซลล์เยื่อบุช่องคลอดติดอยู่ หากตรวจสอบพบแสดงว่าได้ผ่านการร่วมเพศมา ต่อมาต้องนำเซลล์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นเซลล์เยื่อบุช่องคลอดนั้นไปตรวจในห้องปฏิบัติการอีกครั้งโดยการตรวจหาไกลโคเจนในส่วนที่เป็นไซโทพลาสซึมของเซลล์เยื่อบุช่องคลอด ซึ่งเนื้อเยื่อบริเวณอื่นนั้นจะไม่พบไกลโคเจนเลย โดยใช้น้ำยาตรวจสอบคือ  Lugol’ s solution  ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับไกลโคเจนของเซลล์เยื่อบุช่องคลอดเป็นสีน้ำตาล วิธีนี้มีความจำเพาะสูงกับเซลล์เยื่อบุช่องคลอดมาก

4.      เส้นผมและเส้นขน  จัดเป็นวัตถุพยานที่มีความคงทนพอสมควร ไม่เสียหายง่ายเหมือนวัตถุพยานทางชีววิทยาอื่นๆ  และยังสามารถตรวจสอบถึงการสะสมสารเคมี  สารพิษ และการใช้ยาเสพติดได้ การตรวจสอบที่ต้องปฏิบัติคือ วัตถุพยานที่พบนั้นเป็นเส้นผมและเส้นขนหรือไม่ ถ้าใช่ เส้นผมหรือเส้นขนนั้นเป็นของมนุษย์หรือสัตว์ ถ้าเป็นของมนุษย์เส้นผมหรือเส้นขนนั้นเป็นของใคร ข้อมูลที่เส้นผมและเส้นขนบอกได้คือ เพศของเจ้าของโดยการตรวจโครโมโซมจากส่วนรากผม   อายุของเจ้าของโดยการตรวจดูสี ลักษณะเส้น และหมู่เลือด

5.      น้ำลาย  อาจพบเป็นลักษณะคราบบนแก้วน้ำ บุหรี่ หรือบนตัวผู้เสียหาย ซึ่งคราบที่ได้มานั้นต้องมาตรวจสอบว่าเป็นน้ำลายใช่หรือไม่ โดยการตรวจหาเอนไซม์อะไมเลส หรือเซลล์เยื่อบุช่องปาก ถ้าเป็นคราบน้ำลายแล้ว คราบนั้นเป็นน้ำลายของมนุษย์ใช่หรือไม่ โดยใช้วิธีตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาแบบเดียวกันกับการตรวจเลือดและคราบเลือด จากนั้นตรวจสอบว่าคราบน้ำลายนั้นเหมือนกับตัวอย่างที่เก็บมาจากผู้ต้องสงสัยหรือไม่ โดยการตรวจหาหมู่เลือด ซึ่งเป็นการตรวจแอนติเจนในน้ำลาย (ABO  Antigen)

6.      อุจจาระและปัสสาวะ  เป็นวัตถุพยานทางชีววิทยาที่พบได้น้อยมาก ส่วนมากคนร้ายที่ทิ้งหลักฐานนี้มักถือโชคลาง โดยถ่ายทิ้งไว้ ซึ่งหากเป็นอุจจาระก็สามารถตรวจหาเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ที่ปะปนมากับอุจจาระได้หรือบางทีพบไข่พยาธิที่เชื่อมโยงกับคนร้ายและสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญได้

          จากวัตถุพยานทางชีววิทยาทั้ง 6 ชนิดข้างต้นพบว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์มีมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างในร่างกายของมนุษย์ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้เป็นอย่างดี     

ถึงตอนนี้บางท่านอาจมีข้อแย้งว่าดีเอ็นเอจัดเป็นวัตถุพยานทางชีววิทยาที่ดีที่สุด และประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะทำการจัดเก็บลายพิมพ์ดีเอ็นเอเป็นฐานข้อมูลแทนการจัดเก็บลายนิ้วมือ แล้วเหตุใดจึงยังคงให้จัดเก็บบันทึกลายนิ้วมือไว้อีก ซึ่งหากได้ดีเอ็นเอมาก็สามารถระบุผู้ต้องสงสัยได้ทันที ไม่จำเป็นต้องตรวจหาลายนิ้วมืออีกต่อไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลายพิมพ์ดีเอ็นเอสามารถซ้ำกันได้ คือ กรณีเกิดแฝดร่วมไข่  (identical twin) ซึ่งต้องใช้วิธีการตรวจสอบรูปแบบอื่นแทนเช่น การตรวจลายนิ้วมือ ที่แฝดร่วมไข่จะมีลายนิ้วมือไม่เหมือนกัน   และการตรวจลายนิ้วมือสามารถเห็นผลได้รวดเร็วและประหยัดกว่าการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอ

เพราะเหตุใดลายนิ้วมือของแต่ละคนจึงไม่ซ้ำกัน?

          ผิวหนังของมนุษย์แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ 1. ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) 2. ชั้นหนังแท้ (dermis) ดังภาพที่ 3  โดยลายนิ้วมือที่เกิดขึ้นบนชั้นผิวหนังนั้นประกอบด้วยส่วนที่เป็นร่อง (furrow) และสันเนูน (ridge) ดังภาพที่ 4  โดยทั้งสองส่วนนี้ ปรากฏอยู่ลึกถึงบริเวณชั้นหนังแท้ ซึ่งภายในทั้งหมดเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการพิจารณาคุณลักษณะของรูปแบบลายนิ้วมือ จะเป็นส่วนที่สัมผัสกับวัตถุช่วยในการจับวัตถุสิ่งของไม่ให้เลื่อนหลุด ระหว่างเส้นนูนมีร่อง บนสันมีรูเล็กๆ ซึ่งเป็นรูเหงื่อให้เหงื่อไหลซึม เมื่อนิ้วใดนิ้วหนึ่งจับต้องวัตถุพื้นเรียบ ลายเส้นนูนที่ชื้นด้วยเหงื่อจึงถูกกดลงบนวัตถุ ทำให้เกิดการจำลองแบบลายเส้นบนนิ้วมือ ติดอยู่บนวัตถุนั้น  ลายนิ้วมือของมนุษย์ เกิดขึ้นตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ 3-4 เดือน ในครรภ์ของมารดา และจะคงอยู่ไปชั่วชีวิตยกเว้นการยืดขยายของผิวหนังเมื่อร่างกายโตขึ้น หรือการเกิดบาดแผลที่นิ้วมือซึ่งจะทำให้ลายนิ้วมือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นลายนิ้วมือของคนทุกคนจะไม่มีทางซ้ำกันแม้กระทั่งแฝดร่วมไข่ก็ตาม

สิ่ง ใด บาง ใน ร่างกาย มนุษย์ ที่ สามารถ นำ มา ตรวจ สอบ หาความ สัมพันธ์ ทาง สายเลือด ได้
 

ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของไทยยอมรับและเห็นความสำคัญของวัตถุพยานทางกายภาพและทางชีววิทยามากขึ้นกว่าสมัยก่อน  และนำมาใช้เป็นหลักฐานร่วมกับพยานแวดล้อมอื่นๆ ผู้พิพากษาและทนายจึงจำเป็นต้องมีความรู้ด้านนี้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐานและความเป็นสากลรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่เสมอระหว่างหน่วยงานทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในกระบวนการสืบสวน สอบสวน การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา และทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมต่อประชาชนทั่วไป

เอกสารอ้างอิง

1. เลียงชัย   จัตุรัส.  วัตถุพยาน.  มหาวิทยาลัยของแก่น  (Online) Available:   

         forenmed.md.kku.ac.th/site_data/myort2_74/3/ Trace371120.doc (Retrieved 24/03/2013)

2. ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล. เอกสารประกอบการสอน การตรวจสถานที่เกิดเหตุ, คณะสังคมศาสตร์

         มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

3. พรทิพย์ โรจนสุนันท์.  วัตถุพยาน(Evidence).  (Online) Available: http://www.cifs.moj.go.th/main

           /images/stories/files/Announce/cifsbook/Chapter_4.pdf (Retrieved 4/04/2013)

4. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน.  กระทรวงศึกษาธิการ.  หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม  

         ชีววิทยา เล่ม 4.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์ สกสค.  จัดพิมพ์ จำหน่าย.  2554.

5. ลูกโซ่การเก็บรักษาตัวอย่าง (Chain-of Custody Procedures) – ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา (Online) Available:

          http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_4_001c.asp?info_id=98 (Retrieved 24/03/2013)

 11,058 total views,  3 views today