สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท



สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

�س���ѵԢͧ��� Fiber Optic ��Դ Single Mode �Ѻ Multi Mode ᵡ��ҧ�ѹ���ҧ�ù�


 �س���ѵԢͧ��� Fiber Optic ��Դ Single Mode �Ѻ Multi Mode ᵡ��ҧ�ѹ���ҧ�ù�

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

�;�Ԥ���� 1 ��� ��Сͺ���� ����ǹ��ʧ����� 2 core ���� �� 2 ��Դ ��� Ẻ multi-mode (MM)���Ẻ single-mod(SM)����ᵡ��ҧ�ͧ����ͧ��Դ��� ��͢�Ҵ�ͧ��������㨡�ҧ���ͷ�����¡��� core

       1. Single Mode (SM) �;�Ԥ������������ͧ����鹼���ٹ���ҧ�ͧ Core ��� Cladding 9/125 um ����ӴѺ ���ͧ�ҡ��Ҵ core ��鹼���ٹ���ҧ 9 ����͹ ��Ҵ���͡������鹼���ٹ���ҧ 125 ����͹ ����� core �բ�Ҵ����ҡ ������ʧ�Թ�ҧ������º��� ������Դ����٭���¹���ŧ ��������㹡���Ѻ�觢������٧�ش����ҳ 2,500 ��ҹ�Է����Թҷյ��˹�觤�����Ǥ����ʧ��� 1300 ������� �������зҧ����Թ 20 ��. ���зҧ㹡����ҹ��ԧ ��֧ 100 ��. ��Ф������Ǩ�Ŵŧ ������ӡ��� 1,000 ��ҹ�Է����Թҷ� ��ʹբͧ SM �ա�ѹ˹�觡��� �ѹ�ӧҹ��������Ǥ��蹷�� 1300 ������� ����繪�ǧ����ա��Ŵ�͹�ʧ���·���ش�����ǹ�ͧ᡹��Ǩ��բ�Ҵ����ҡ��Ш�����ʧ�͡����§ Mode ���� �ʧ�����е�ͧ�� ��鹵ç ��ʹշ�������ѭ�ҳ���� 

     2. Multi Mode (MM)�;�Ԥ����������� ���բ�Ҵ��鹼���ٹ���ҧ�ͧ Core ��� Cladding 62/125 um ���   50/125 um ����ӴѺ ���ͧ�ҡ��Ҵ��鹼���ٹ���ҧ�ͧ᡹�բ�Ҵ�˭袹Ҵ core ��鹼���ٹ���ҧ 50 ����͹ ��Ҵ���͡������鹼���ٹ���ҧ 125 ����͹ ���ͧ�ҡ�բ�Ҵ core �˭� ������ʧ����Թ�ҧ��ШѴ��Ш�� ������ʧ�Դ����ѡ��ҧ�ѹ �֧�ա���٭���¢ͧ�ʧ�ҡ �֧�觢�������������Թ 200 ���� �������ǡ�����Թ 100 ��ҹ�Է����Թҷ� ��������Ǥ��� 850 ������� ���������Ѻ�������Ҥ����ҹ�� ���բ�ʹա��� �ҤҶ١ ���� core �բ�Ҵ�˭� ����ö��Ե����¡��ҷ�������ʧ�Դ����������� ������ Mode ������������㹡���Թ�ҧ���ᵡ��ҧ�ѹ �ѹ�����˵ط�������Դ��á�Ш�¢ͧ�ʧ (Mode Dispersion)



����駡�з�� Admin :: �ѹ���ŧ��С�� 2021-02-26 15:12:00


สายใยแก้ว อีกหนึ่งตัวช่วยเสริมประสิทธิภาพของการทำงานในโรงงาน

ในการสื่อสารระหว่างคนนั้น นอกจากภาษาแล้ว ยังมีอุปกรณ์ และเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างกันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร หรือกระทั่งการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรเองก็ต้องการอุปกรณ์ในการสื่อสารเช่นกัน ซึ่งสายใยแก้วนำแสง หรือ สาย Fiber Optic คือหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องการสื่อสารดังกล่าว ด้วยคุณสมบัติของสายใยแก้วนำแสงที่รับข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งยังมีต้นทุนที่ไม่สูงเท่าเมื่อเทียบกับสายเคเบิล ส่งผลให้ได้รับการพัฒนาและต่อยอดเพื่อใช้งานในแขนงอื่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

ทำความรู้จักกับสาย Fiber Optic ตัวช่วยส่งสัญญาณให้ดีขึ้น

สายใยแก้วนำแสง หรือ สาย Fiber Optic เป็นสายรับส่งสัญญาณที่สร้างจากแก้วหรือพลาสติกซึ่งโปร่งแสงและยืดหยุ่น จึงมีน้ำหนักเบาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทำหน้าที่รับสัญญาณจากต้นสายไปยังปลายสาย โดยอาศัยอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณเป็นข้อมูลออกมา โดยข้อดีของสายใยแก้วนำแสงนี้คือ สามารถรับส่งสัญญาณได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ

นอกจากนี้สายใยแก้วนำแสงไม่ได้รับผลกระทบจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่ให้ประสิทธิภาพสูงได้แม้ในระยะไกล โดยใช้สายใยแก้วนำแสงกับระบบโทรศัพท์ เคเบิลทีวี อินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายในท้องถิ่นอย่างอีเธอร์เน็ตก็ตาม

ในสาย Fiber Optic หนึ่งสาย ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ส่วนวัสดุที่ใช้ทำสายใยแก้วนั้น มีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1.แกน หรือ แก้วแกนกลาง (Core) เป็นส่วนที่ทำจากแก้ว อยู่ชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นช่องทางให้สัญญาณแสงผ่าน

2.ฉาบ หรือ ส่วนห่อหุ้ม (Cladding) เป็นส่วนที่ลึกรองลงมาจากแก้วแกนลาง ทำหน้าที่ห่อหุ้มแกนเพื่อให้แสงเดินทางเฉพาะภายในแกน 3.ไม่หลุดออกจากแกนแม้สายจะโค้งงอตามจุดติดตั้ง

3.เคลือบ หรือ ส่วนป้องกัน (Cloating) เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดของสายใยแก้วนำแสง ทำหน้าที่ป้องกันแสงจากภายนอก และทำให้เส้นใยแก้วยืดหยุ่น

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท
 

ชนิดของสาย Fiber Optic

สำหรับข้อสงสัยที่ว่าสายใยแก้วนำแสงมีกี่แบบนั้น สามารถแบ่งสายสัญญาณนี้ออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ สายชนิด Single-mode fiber และ สายชนิด Multi-mode fiber ที่โรงงานส่วนใหญ่นิยมใช้กัน โดยจะมีลักษณะและจุดเด่นที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

Single-mode fiber

สายใยแก้วนำแสงชนิด Single-mode fiber (SMF) เป็นสายใยแก้วชนิดที่สามารถรับส่งสัญญาณแสงเพื่อแปลงเป็นข้อมูลได้ในระดับ 1,300 นาโนเมตร และ 1,500 นาโนเมตร จึงเหมาะสำหรับเชื่อมเครือข่ายขนาดใหญ่ในระดับจังหวัดหรือภูมิภาค โดยในการใช้งานจริง จะสามารถส่งข้อมูลได้ 100 กิโลเมตร ด้วยความเร็วที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิท / วินาที อย่างไรก็ตาม สายใยแก้วนำแสงชนิดนี้มีข้อจำกัดของสายส่งสัญญาณ คือ รับและส่งข้อมูลด้วยคลื่นสัญญาณได้เพียงรูปแบบเดียวต่อ 1 รอบเท่านั้น

โดยขนาดของแก้วแกนกลาง หรือ Core ในสายใยแก้วนำแสงแบบ Single-mode fiber คือ 9/125 µm (OS1, OS2) หมายความว่า

           เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยอยู่ที่ 9 ไมครอน 

           เส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มสายอยู่ที่ 125 ไมครอน

Multi-mode fiber

สายใยแก้วนำแสงชนิด Multi-mode fiber (MMF) เป็นสายส่งสัญญาณอีกประเภทหนึ่งที่มีช่วงรับส่งข้อมูลที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับชนิด Single-mode fiber โดยจะอยู่ที่ช่วง 850 นาโนเมตร และ 1,300 นาโนเมตรเท่านั้น จึงทำให้สายส่งสัญญาณชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคารขนาดเล็ก โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 ล้านบิท / วินาที ในระยะทางที่ไม่เกิน 200 เมตร

อย่างไรก็ตาม ด้วยจุดเด่นของสาย Fiber Optic ชนิด Multi-mode fiber ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลได้มากกว่า 1 รูปแบบภายใน 1 รอบด้วยระยะสัญญาณที่สั้นกว่า จึงทำให้รับส่งข้อมูลที่ทับซ้อนกันได้ดี โดยขนาดของแก้วแกนกลาง หรือ Core ในสายใยแก้วนำแสงแบบ Multi-mode fiber จะมีมากกว่าสายใยแก้วนำแสงแบบ Single-mode fiber โดยมีรายละเอียด ดังนี้

           ขนาด 62.5/125 µm (OM1)

           เป็นสายที่มีสีส้ม

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบ LED

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ได้ที่ 200MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10 กิกะบิต (Gigabit)

           ขนาด 50/125 µm (OM2)

           เป็นสายที่มีสีส้มหรือสีเทา

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบ LED

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 500MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10 กิกะบิต

           ขนาด 50/125 µm (OM3)

           เป็นสายที่มีสีฟ้า

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์ (VCSEL)

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 2,000MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10, 40 และ 100 กิกะบิต

           ขนาด 50/125 µm (OM4)

           เป็นสายที่มีสีฟ้า หรือสีม่วงชมพู

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 4,700MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10 กิกะบิต และ 100 กิกะบิต

           ขนาด 50/125 µm (OM5)

           เป็นสายที่มีสีเขียว

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 28,000MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 200 และ 400 กิกะบิต

ซึ่งขนาดของแก้วแกนกลางของสายใยแก้วนำแสงแบบ Multi-mode fiber ส่วนใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของสายอยู่ที่ 50 ไมครอน (50 µm) มีเพียงสายใยแก้วนำแสงชนิด OM1 ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 62.5 ไมครอน (62.5 µm) ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของเปลือกหุ้มสายทุกชนิดมีขนาดอยู่ที่ 125 ไมครอน (125 µm)

 

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

ประเภทของสาย Fiber Optic

สามารถจำแนกสายใยแก้วนำแสงออกได้เป็น 2 ประเภทอีก ได้แก่ สายแบบ Tight Buffer และ Loose Tube ซึ่งมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันตามโครงสร้างของสาย ดังนี้

Tight Buffer

สายใยแก้วนำแสงประเภท Tight Buffer คือ ส่วนป้องกันของสายใยแก้วที่มีวัสดุประเภทฉนวนห่อหุ้มแกนชั้นนอกอย่างแน่นหนาอยู่ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันแสงจากภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนการรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ส่งสัญญาณจากต้นทางไปยังปลายทางได้ดี จึงทำให้สายชนิด Tight Buffer เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร เพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายและความปลอดภัยในการติดตั้งนั่นเอง

Loose Tube

สายใยแก้วนำแสง ประเภท Loose Tube ซึ่งเป็นสายรับส่งสัญญาณที่นำสายใยแก้วนำแสงมาบรรจุอยู่ภายในท่อสีขาวที่ได้รับมาตรฐาน มาพร้อมคุณสมบัติที่สามารถป้องกันความร้อนและน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะติดตั้ง จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งไว้นอกโรงงานหรืออาคารเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ อีกด้วย

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท
 

สาย Fiber Optic ตอบโจทย์สายโรงงานอย่างไร

ด้วยคุณสมบัติของสาย Fiber Optic หรือสายใยแก้วนำแสง ที่ลดความเสี่ยงเรื่องสัญญาณรบกวน ส่งต่อข้อมูลได้มีประสิทธิภาพ ต้นทุนไม่สูงนัก มีความยาวที่เหมาะสมกับพื้นที่กว้างอย่างโรงงาน ต่างกับสายสัญญาณประเภทอื่นๆ ที่เมื่อเทียบกับสายใยแก้วนำแสงแล้วมีต้นทุนที่สูง คุณสมบัติและประสิทธิภาพในการรองรับและส่งต่อข้อมูลในระยะไกลที่ไม่เอื้ออำนวยกับสายงานอย่างโรงงานเท่าที่ควร

ก่อนติดตั้งสาย Fiber Optic ในโรงงานต้องดูอะไรบ้าง

เมื่อทำความรู้จักกับสาย Fiber Optic หรือสายใยแก้วนำแสงในแต่ละประเภทและชนิดต่างๆ กันไปแล้ว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด จะต้องรู้ถึงความต้องการใช้งาน รวมไปถึงคุณภาพของสายให้ดีก่อนจะทำการติดตั้งลงไป ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

ความต้องการของโรงงาน

การเช็กความต้องการในการใช้งานถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่จะติดตั้งสาย Fiber Optic ในโรงงาน เนื่องจากแต่ละโรงงานจะมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านทั่วไปหรือการใช้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณกับเครือข่ายต่างๆ ในองค์กร นำไปสู่ปัจจัยอื่นๆ ที่ตามมา เช่น พื้นที่ในโรงงานที่เหมาะสม เพียงพอสำหรับติดตั้งหรือไม่ ภายในโรงงานมีการใช้เคมีภัณฑ์ หรือมีเครื่อจักรที่ใช้แรงสั่นสะเทือนเยอะหรือไม่ เป็นต้น เพื่อจะเลือกได้ว่าควรใช้สายไฟเบอร์ออฟติกยี่ห้อไหนดีถึงเหมาะสมกับการใช้งานและป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าอีกด้วย

สเปค และข้อมูลทาง Technical

หากต้องการติดตั้งสาย Fiber Optic หรือสายใยแก้วนำแสงเพื่อใช้ในโรงงาน จะต้องคำนึงถึงเรื่องสเปค และข้อมูลเชิงเทคนิคด้วย ดังนั้น หลายๆ โรงงาน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จึงนิยมเลือกใช้เครือข่าย Industrial Ethernet ที่มีความเร็วสูงถึง 1 กิกะบิตและสามารถรองรับรูปแบบการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ผ่านทางอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารต่างๆ หรือ Smart Devices ที่ต้องใช้สาย Fiber Optic ได้

นอกจากนั้น จะต้องรองรับพื้นที่ใช้งานทุกจุดในโรงงานต้องการการสื่อสารตามเวลาจริง (RTC: Real Time Communication) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผลชัดเจน และมีความต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความผิดพลาดในการทำงานและป้องกันไม่ให้ต้นทุนการผลิตสูง เป็นต้น

งบประมาณ

งบประมาณถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้เช่นกัน แม้ว่าสาย Fiber Optic หรือสายใยแก้วนำแสงจะมีต้นทุนไม่สูง แต่ด้วยความกว้างของพื้นที่ ลักษณะการติดตั้ง และความยาวในการเดินสายภายในโรงงาน ที่ถ้าหากไม่มีการคำนวณให้ดีนั้น นอกจากจะส่งผลถึงการสื่อสารภายในโรงงานที่เกิดความติดขัดแล้ว อาจทำให้งบประมาณบานปลาย หรือจำกัดงบประมาณเกินไปจนจำนวนสายใยแก้วนี้ไม่เพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณภาพโดยรวมของสาย Fiber Optic

ในการดูคุณภาพของสายใยแก้วนำแสงนั้น จะต้องดูจากปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น วัสดุที่ใช้ในการทำสาย ความเร็วในการเชื่อมต่อ เสถียรภาพในการใช้งาน ความสามารถในการรองรับอีเธอร์เน็ต ตลอดจนความสะดวกในการใช้งาน

หากไม่มั่นใจว่าจะเลือกใช้สายไฟเบอร์ออฟติกยี่ห้อไหนดีนั้น บทความนี้ก็มีตัวอย่าง สายใยแก้วนำแสงคุณภาพสูง เพื่อช่วยให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณกับการใช้งานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

           สายใยแก้วนำแสงสำหรับคอนเนคเตอร์ Optical Fiber (GI G50 / 125 type) รุ่น DFC-QG ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่อคอนเนคเตอร์ในกระบวนการส่งข้อมูลของเครือข่าย CC-Link IE Control ในขั้นตอนหลังประมวลผลเสร็จสิ้น  โดยสายใยแก้วรุ่นนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้ และรองรับการใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

           สายใยแก้วนำแสง High-Strength Optical Fiber Cable GI (50/125) 2C CCNC-IEC/HSB เป็นสายที่เหมาะกับการเดินสายภายนอกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสายชนิดนี้เป็นสายที่ยืดหยุ่น ทนต่อแรงกระแทก และทนทานต่อการสึกหรอ ทั้งยังเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมของ RoHs (Restriction of Hazardous Substances)

           สายใยแก้วนำแสงที่ทนต่อการดัดงอ หักยากอย่าง CC-Link IE Control Compatible Optical Fiber

ที่ดัดได้มากกว่ากึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทั่วไป ช่วยป้องกันการแตกหักที่ฐานของคอนเนคเตอร์ ประหยัดพื้นที่ เหมาะกับการติดตั้งส่วนในของแผงอุปกรณ์

           สายใยแก้วนำแสงที่เป็นสารหน่วงไฟ ป้องกันการติด หรือการลุกลามของไฟ อย่าง CC-Link IE Control Network Compatible Optical Fiber Cable (UL Listed) QG-BU ซึ่งได้ผ่านการทดสอบเปลวไฟจาก Riser ใน UL 1666 นอกจากป้องกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นสายที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกบาง สามารถวางในพื้นที่แคบได้

           สายใยแก้วนำแสงที่เคลื่อนย้ายได้ และมีอายุการใช้งานที่มีประสิทธิภาพอย่าง CC-Link IE Control Network Compatible Optical Fiber Cable for movable using QG-VCT ซึ่งผ่านการทดสอบการดัดงอถึง 10 ล้านครั้ง ทนทาน เหมาะใช้กับการเดินสายแบบราง

 

สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท

ในการใช้งานเครือข่าย CC-Link IE Control นั้น สายใยแก้วนำแสง คือ สื่อกลางที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลเพื่อการสื่อสาร ซึ่งสายใยแก้วนำแสงที่รองรับการใช้งานร่วมกับเครือข่าย CC-Link IE Control นั้น มีมาตรฐาน IEC60793-2-10 Types A1a.1 ที่รับประกันคุณภาพการใช้งาน โดยคุณสมบัติของสายใยนำแก้วที่จะใช้กับเครือข่าย CC-Link IE Control นั้นมีความเร็วสูงพ่วงความน่าเชื่อถือในการส่งต่อข้อมูลที่แม่นยำด้วยเทคโนโลยี Redundant Fiber Optic Loop ที่ช่วยส่งเสริมให้การสื่อสารของอุปกรณ์ในแต่ละสเตชั่นสามารถตรวจพบข้อผิดพลาดของสเตชั่นหรือสายเคเบิลที่ชำรุดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุป

สาย Fiber Optic หรือสายใยแก้วนำแสง ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการสื่อสารของโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของโรงงานหรือผู้ประกอบการโรงงานจะต้องรู้ให้ดีก่อนว่าสายไฟเบอร์ออฟติกมีกี่แบบ อะไรบ้าง และใช้งานอย่างไร เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้สายรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการรับส่งสัญญานแสงและแปลงเป็นข้อมูลผ่านเครือข่าย CC-link IE กับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในระบบให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

บทความแนะนำ

Fiber optic ใช้สายอะไร

Fiber Optic (สายใยแก้วนำแส่ง) เป็นเส้นใยแก้ว ซึ่งสามารถนำแสงได้ ซึ่งการส่งข้อมูลผ่านสาย ประเภท Fiber Optic นี้ จะใช้ ความยาวคลื่นแสงในการส่งรหัส ซึ่งต่างจากสาย ทองแดงหรือสายที่เราใช้กันเป็นปรกติคือส่าย UTP หรือสายแลน ที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่ ซึ่งสาย Fiber Optic นั้น มีอยู่ 2 ประเภท ที่ใช้งานในปัจจุบันนี้ คือแบบ

Multimod มีกี่ชนิด

Multi mode จะมีขนาด Core ในปัจจุบันอยู่ 2 ขนาด และ 5 ประเภทคือ 62.5/125 µm (OM1) 50/125 µm (OM2) 50/125 µm (OM3)

สายไฟเบอร์ออฟติก มีกี่สี

ส่วนสีของ Core Fiber มีไว้ให้พี่ๆ ช่าง ทำงานได้เป็นไปตามกรอบของมาตรฐาน โดย แยก สีไว้ทั้งหมด 12 สี ตามมาตรฐาน TIA (Telecommunications Industry Association) ได้จัดการการแบ่งลำดับของเส้นใยแก้วแต่ละเส้นโดยใช้สี 12 สี ดังนี้ … Tags:Fiber Optic, Fiber Optic Color, สี Fiber Optic, เรียงสี Fiber Optic.