ค่า loss fiber optic ที่ ยอมรับได้

ค่า loss fiber optic ที่ ยอมรับได้

            เมื่อช่างติดตั้งสายใยแก้วนำแสงในงานนั้นๆ  เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการทดสอบการใช้งานว่าสามารถใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพหรือไม่ บริษัท VTi ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสายไฟเบอร์ออฟติก มีข้อมูลเกี่ยวกับหลักการทดสอบสายไฟเบอร์ออฟติกภายหลังการติดตั้ง

            ในการทดสอบสายไฟเบอร์ออฟติกภายหลังการติดตั้งนั้น จะต้องทำการทดสอบในหลายๆ ด้าน เช่น การทดสอบด้านเมคานิค การทดสอบด้านกายภาพ การทดสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติของสาย หรือการทดสอบเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณ

            ในการทดสอบ 3 ข้อแรกที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นจะทำการทดสอบเพียงแค่ครั้งเดียว เพราะค่าจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งการทดสอบที่สำคัญจะเน้นไปที่การรับส่งสัญญาณเพื่อให้มั่นใจว่าสายไฟเบอร์ที่ติดตั้งไปสามารถรับส่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพตามต้องการ โดยการทดสอบหลักๆ มีดังนี้

-การทดสอบการสูญเสียของสัญญาณของลิงก์ (End-To-End Optical Link Loss)

-อัตราการสูญเสียต่อหน่วยความยาว (Attenuation)

-การสูญเสียเนื่องจากการเชื่อมต่อแบบต่างๆ

-ความยาวของสายไฟเบอร์

ค่าการสูญเสียของสัญญาณแสงที่นิยมใช้

ค่าการสูญเสียของสัญญาณแสงจะมีข้อจำกัด เนื่องจากเพื่อให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ซึ่งค่านี้จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อสายสัญญาณ เพื่อให้สามารถคำนวณค่าสูญเสียของสายสัญญาณได้ ซึ่งค่าการสูญเสียที่นิยมใช้ในการคำนวณมีดังต่อไปนี้

0.2 dB/km สำหรับสาย Single Mode ที่ความยาวคลื่น 1,550 nm

0.35 dB/km สำหรับสายSingle Mode ที่ความยาวคลื่น 1,310 nm

1.0 dB/km สำหรับสายMultiMode ที่ความยาวคลื่น 1,300 nm

3.0 dB/km สำหรับสายMultiMode ที่ความยาวคลื่น 850 nm

0.05 dB สำหรับการสไปลซ์แบบหลอมละลาย (Fusion Splice)

0.1 dB สำหรับการสไปลซ์เชิงกล (Mechanical Splice)

0.2-0.5 dB สำหรับการเชื่อมต่อโดยใช้หัวเชื่อมต่อ (Connector)

3.5 dB สำหรับการใช้ตัวแยกสัญญาณจาก 1 ไป 2 (Splitter)

            สนใจสายไฟเบอร์ออฟติกราคาถูก สเปก true หรือเครื่องมือสำหรับใช้งานเกี่ยวกับสายไฟเบอร์ออฟติก สอบถามได้ที่ บริษัท วี-เทคโนโลยี อินฟินิท จำกัด (VTi)

สอบถามรายละเอียดได้ที่

เว็บไซต์ https://www.vti-technology.com

โทร : 096-6526495 (คุณเทอดศักดิ์)

หรือคลิกไลน์ @ : line.me/R/ti/p/%40prj9736c

อีเมล :

ค่า loss fiber optic ที่ ยอมรับได้

คุณอาจจะเคยได้ยินผู้บริหารพูดเกี่ยวกับ Budget หรืองบประมาณในแง่ของการเงิน ในหน่วยเงินสกุลต่างๆ ย่อมทำให้คุณแปลกใจเวลาได้ยินถึงสิ่งที่เรียกว่า Loss Budget ครั้งแรก ที่เกี่ยวกับเรื่องของสายไฟเบอร์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการทำงานบนเครือข่ายของคุณ เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายที่กำหนดว่าจะเกิดดาวน์ไทม์หรือไม่ได้เลยทีเดียว

แล้วคุณทราบหรือไม่ว่า Loss Budget จริงๆ แล้วคืออะไร นิยามอย่างไร และควรจัดการแบบไหนถึงมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดการสูญเสียเกินค่าขีดจำกัดดังกล่าว?

Loss Budget คืออะไร?

เป็นค่าการสูญเสียสัญญาณที่ระบุในหน่วยเดซิเบล (dB) ซึ่งเกิดขึ้นตลอดสายเคเบิลใดๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนการส่งสัญญาณทั้งทางไฟฟ้าหรือข้อมูลทุกรูปแบบ ยิ่งสายเคเบิลยาวเท่าไร ก็ยิ่งเกิดการสูญเสียมากเท่านั้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการสูญเสียที่เกิดบนจุดเชื่อมต่อต่างๆ ระหว่างเส้นทางส่งสัญญาณ เช่นบริเวณหัวต่อ หรือจุดเชื่อมสายไฟเบอร์ (Splice)

ถ้าพิจารณาที่นิยามตรงตัวแล้วมักค่อนข้างสับสนเวลาพูดถึงการสูญเสียหรือ “Loss” ในคำว่า Loss Budget ซึ่งจริงๆ แล้วชื่อเต็มของพารามิเตอร์นี้คือ “Insertion Loss” และที่สับสนยิ่งไปกว่านั้นก็คือ หลายครั้งที่มีพูดถึง Insertion Loss ในรูปของค่า Attenuation แทน เนื่องจากตามมาตรฐานเดิมนั้นเคยนิยามด้วยคำว่า “Attenuation” หรือการลดทอนสัญญาณ แต่ต่อมาเรามองค่าการสูญเสียที่ยอมรับได้ให้ครอบคลุมถึงการลดความแรงของสัญญาณ “ทุกรูปแบบ” ด้วย จึงทำให้มีการเปลี่ยนนิยามมาเป็นค่าการสูญเสียจากสัญญาณที่วิ่งเข้ามาในสื่อหรือ Insertion Loss แทน

ระบบสายไฟเบอร์แบบต่างๆ ล้วนมีข้อกำหนดด้านค่าการสูญเสียมากที่สุดจากการปล่อยสัญญาณนี้แตกต่างกันไป เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้เกิดการสูญเสียมากเกินจนทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปถึงปลายสายอีกด้านหนึ่งได้ ซึ่งเราควรหาค่าขีดจำกัดการสูญเสียหรือ Loss Budget นี้ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบสายเคเบิลของคุณจะทำงานอยู่ในมาตรฐานที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน

แล้วมีวิธีคำนวณอย่างไร?

ค่า Loss Budget ของคุณเป็นค่าที่พิจารณารวมจากทุกอองค์ประกอบของช่องทางส่งสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นตัวสายไฟเบอร์ หัวต่อ จุดเชื่อมสาย ตัวแยกสัญญาณ และตัวเชื่อมสาย นอกจากนี้ยังต้องดูถึงอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ตามสเปกของผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นๆ ที่มักขึ้นกับความแตกต่างระหว่างตัวส่งและรับสัญญาณด้วย เช่นเดียวกับการพิจารณาไปถึงพลังงานที่สูญเสียไปตามเวลาที่อาจเกิดขึ้นจากอายุการใช้งานของตัวส่งสัญญาณ เป็นต้น

เนื่องจากค่าการสูญเสียจากการส่งสัญญาณนั้นแปรผันตามความยาวโดยตรง (ซึ่งเป็นตัวอธิบายได้ว่าทำไมถึงมีมาตรฐานขีดจำกัดอิงตามระยะทางในแต่ละรูปแบบการใช้งาน) คุณจำเป็นต้องระบุความยาวของสายเคเบิลไม่ว่าแบบไหนก็ตามเวลากล่าวถึงค่าขีดจำกัดนี้ด้วย สายเคเบิลที่สั้นกว่า ค่าการสูญเสียก็ย่อมน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น ค่าการสูญเสียโดยทั่วไปของสายไฟเบอร์มัลติโหมดแบบ OM4 จะอยู่ที่ประมาณ 3dB ต่อกิโลเมตรสำหรับการส่งสัญญาณแสงที่ความยาวคลื่น 850nm ซึ่งแปลงค่าได้เป็น 0.003dB ต่อเมตร ดังนั้น ถ้าสายเคเบิลของคุณยาว 50 เมตร ค่าการสูญเสียก็ควรอยู่ที่ประมาณ 0.15dB ขณะที่ที่ความยาว 100 เมตร ค่าการสูญเสียก็ไม่ควรเกิน 0.3dB

คุณยังจำเป็นต้องรวมค่าการสูญเสียของการเชื่อมต่อทุกตำแหน่งบนระบบสายเคเบิลด้วย โดยผู้ผลิตทั้งหลายจะให้สเปกของหัวต่อมาให้ ระลึกไว้ว่าค่าเหล่านี้อ้างอิงมาจากการทดสอบของโรงงานผู้ผลิตเองที่มักเชื่อมต่อกับหัวต่ออ้างอิงคุณภาพสูง ดังนั้นเราก็ควรต่อหัวต่อของเราเข้ากับหัวต่อที่มีคุณภาพระดับเดียวกันด้วย และแม้มาตรฐาน TIA จะกำหนดค่าการสูญเสียจากการใส่สัญญาณในสายสำหรับหัวต่อมากที่สุดอยู่ที่ 0.75dB นั้น แต่หัวต่อจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มักทำให้ค่าการสูญเสียของการส่งสัญญาณดังกล่าวจำกัดอยู่ที่ประมาณ 0.2 – 0.5dB

แม้แต่จุดการเชื่อมสายไฟเบอร์หรือ Splice ทุกจุดก็ยังต้องนำมาใช้คำนวณในฐานะส่วนหนึ่งของค่าขีดจำกัดการสูญเสีย อย่าง Splice แบบมัลติโหมดอาจทำการสูญเสียให้น้อยได้ถึง 0.1dB แต่มาตรฐาน TIA ก็เปิดให้สูญเสียได้สูงสุดที่ 0.3dB ค่าตรงนี้มีประโยชน์อย่างมากเวลาใช้คำนวณค่าบัดเจ็ตการสูญเสียรวมเนื่องจากคุณภาพของการสไปลซ์สายมักแตกต่างตามความเชี่ยวชาญและฝีมือของช่างเทคนิค

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้มีการสูญเสียเกินขีดจำกัด?

อย่างแรกเลย เราต้องรู้ค่าการสูญเสียจากการส่งสัญญาณที่มากที่สุดที่รับไหวสำหรับรูปแบบการใช้งานที่ต้องการ ซึ่งควรพิจารณารวมไปถึงการใช้งานในอนาคตที่เป็นไปได้ ที่อาจนำมาใช้ร่วมกับระบบสายเคเบิลปัจจุบันด้วย รูปแบบการใช้งานที่ต้องการแบนด์วิธสูงก็ย่อมมีความเข้มงวดด้านค่าการสูญเสียตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น ในการใช้งานแบบมัลติโหมด 10 Gb/s (10GBASE-SR) จะต้องการขีดจำกัดของการสูญเสียสัญญาณในการส่งไม่เกิน 2.9dB บนสายมัลติโหมด OM4 ความยาว 400 เมตร หรือในการใช้งานแบบมัลติโหมดที่ 40 Gb/s (40GBASE-SR4) ก็จะต้องมีการสูญเสียรวมมากที่สุดในการส่งสัญญาณไม่เกิน .5dB บนสาย OM4 ความยาวแค่ 150 เมตร จากมาตรฐานที่เข้มงวดมากเหล่านี้ ย่อมทำให้การควบคุมค่าการสูญเสียรวมให้อยู่ภายใต้ขีดจำกัดมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก

ลองมาพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้: สำหรับที่ค่าการสูญเสียบนสายไฟเบอร์ 3.0dB ต่อกิโลเมตรนั้น ทำให้ค่าการสูญเสียบนสายไฟเบอร์ OM4 ความยาว 150 เมตรย่อมเท่ากับ 0.45dB ซึ่งถ้านำมาใช้งานแบบ 10GBASE-SR แล้วก็จะเหลือบัดเจ็ดหรือค่าการสูญเสียที่สามารถเกิดเพิ่มได้อีกจากทั้งหัวต่อ จุดเชื่อมสาย หรือองค์ประกอบอื่นๆ มากที่สุดอยู่ที่ 2.45dB (มาจากขีดจำกัดมาตรฐาน 2.9dB ลบด้วย 0.45dB) แต่ถ้าเอามาใช้งานแบบ 40GBASE-SR4 แล้ว ก็จะเหลือบัดเจ็ตให้เพียง 1.05dB (1.5dB – 0.45dB) เท่านั้น

กลับมาที่กรณีใช้งานแบบ 10GBASE-SR ถ้าเราใส่หัวต่อที่มีสเปกค่าการสูญเสียที่ 0.3dB จำนวน 4 ตัวในลิงค์เดียวกันนี้ ก็จะทำให้ค่าบัดเจ็ตทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็น 1.65dB (มาจาก 0.45dB + 1.2dB) ซึ่งถือว่ามีบัดเจ็ตเหลือพอสมควรให้ใส่องค์ประกอบเพิ่มได้อีกประมาณ 1.25dB แต่ถ้าในกรณีนำมาใช้แบบ 40GBASE-SR4 แล้ว ค่าการสูญเสียทั้งจากสายและหัวต่อทั้งหมดรวม 1.65dB ย่อมเกินขีดจำกัดการสูญเสียที่มีได้หรือเกิดบัดเจ็ตไป 0.15dB ดังนั้นในกรณีหลังนี้ คุณอาจจะต้องพิจารณาที่จะลดจำนวนหัวต่อบนลิงค์ หรือเลือกหัวต่อที่มีค่าการสูญเสียน้อยลงกว่าเดิม เช่น 0.2dB ต่อจุด เป็นต้น

นอกจากนี้ ค่า Loss Budget ที่กำหนดก็ควรมีช่องว่างไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด จึงควรพยายามประหยัดการใช้โควต้าการสูญเสียเพื่อให้ยังมีที่ว่างเหลือสักหน่อย โดยเฉพาะถ้ามีการเชื่อมต่อหรือเชื่อมสายหน้างานด้วย เพราะอาจจะเกิดการสูญเสียจากตัวแปนมากมายไม่ว่าจะเป็นช่องอากาศ หรือการจัดเรียงตำแหน่งสายไฟเบอร์ตอนเชื่อมไม่ดีเท่าที่ควร รวมทั้งยังควรเผื่อบัดเจ็ตไว้สำหรับเวลาปรับแก้การเชื่อมต่อ การบำรุงรักษา หรือการเสื่อมคุณภาพของจุดเชื่อมสายบนลิงค์ด้วย ที่สำคัญอย่าลืมนำหัวต่อตรงปลายสายทั้งสองข้างมารวมอยู่ใน Loss Budget ซึ่งเวลาทดสอบลิงค์นั้น การใช้สายทดสอบอ้างอิงมาเชื่อมต่อกับหัวต่อลิงค์หลักเหล่านี้ก็จะทำให้คิดรวมค่าการสูญเสียพวกนี้ได้

ค่า loss fiber optic ที่ ยอมรับได้

มาตรฐานในการใช้งานสายไฟเบอร์แต่ละแบบยังมีการกำหนดขีดจำกัดระยะทางของสายไฟเบอร์แต่ละประเภทไว้ด้วย ดังนั้น ไม่เพียงแค่เราจะต้องทำให้ค่าการสูญเสียรวมทั้งหมดยังอยู่ภายใต้ขีดจำกัดเท่านั้น แต่ยังต้องควบคุมให้ระยะทางของสายอยู่ภายใต้มาตรฐานด้วย โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก https://live-fluke-networks.pantheonsite.io/knowledge-base/copper-testing/om1-om2-om3-om4-om5-and-os1-os2-fiber

ไม่ว่าคุณจะวางแผนคำนวณค่า Loss Budget ไว้รอบคอบหรือดีแค่ไหน แต่วิธีเดียวที่จะพิสูจน์ได้ว่าเรายังรักษาค่าการสูญเสียรวมไม่เกินบัดเจ็ตได้หรือเปล่าก็คือการทดสอบหาค่าการสูญเสียรวมในการส่งสัญญาณตลอดลิงค์หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ด้วยการทดสอบแบบ Tier 1 ที่ใช้ชุดทดสอบค่าการสูญเสียบนสายไฟเบอร์อย่าง Fluke Networks’ CertiFiber® Pro และแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการยกระดับการควบคุม Loss Budget ก็คือการคอยเทียบค่าที่คำนวณได้ระหว่างขั้นตอนการออกแบบกับผลการทดสอบจริงอยู่เสมอ

ที่มา : Fluke

การสูญเสียในเส้นใยแสงแบ่งได้กี่ประเภท

Splice Loss สามารถเกิดขึ้น ณ ที่ใดก็ได้ที่มีการตัดต่อและเชื่อมสายเข้าด้วยกัน การสูญเสียอันเนื่องมาจากการ ทำ Splice ที่ไม่สมบูรณ์ โดยประกอบด้วย การ Loss 2 แบบ ได้แก่ Mechanical Loss และ Fusion Splicing Loss.

การสูญเสียของสัญญาณแสงในเส้นใยแก้วทางแสงเรียกว่าอะไร

การส่งผ่านแสงระหว่าง ferrule สองด้าน ทำให้แสงบางส่วนหายไป เราเรียกการสูญเสียนั้นว่า Insertion Loss (IL) และมีแสงบางส่วนสะท้อนกลับเข้าไปลดทอนลำแสงหลัก ทำให้เกิดการสูญเสียอีกตัวหนึ่ง เรียกว่า Optical Return Loss (ORL)

ความยาวคลื่นแสงใดมีค่าการลดทอนสัญญาณต่ําที่สุด

ความสูญเสียพลังงาน (Power) ของ Fiber Optic นั้นขึ้นอยู่กับ ความยาวคลื่นที่ใช้ ความยาวคลื่นยิ่งมากเท่าใด อัตราการสูญเสียของแสง จะน้อยลง เช่น การสูญเสียกำลังแสง บนความยาวคลื่น 1300 nm ได้แก่ <0.5 dB/กิโลเมตร สำหรับ Silica Glass นั้น ความยาวคลื่นสั้นที่สุด จะมีอัตราการสูญเสียมากที่สุด

อุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบสายไฟเบอร์ออฟติกเรียกว่าอะไร

OTDR เป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้ตรวจสอบวัดค่าพารามิเตอร์ ภายในโครงข่ายสายใย แก้วน าแสงหรือสาย Fiber Optic นั้นเอง