กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

                  กิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่บุคคลทำในเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ และไม่ผิดกฏหมาย แล้วทำให้เกิดความพึงพอใจ ความสบายใจ

๑ ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ    กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท ได้แก่
                 ๑)กิจกรรมกีฬา เช่น ฟุตบอล แชร์บอล บาสเกตบอล เป็นต้น
                 ๒)งานอดิเรก เช่น การปลูกไม้ดอก การเลี้ยงสัตว์ สะสมแสตมป์ เป็นต้น 
                 ๓) เกมการเล่น เช่น วิ่งสามขา ปาเป้า ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น
                 ๔)กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล
                 ๕) การเล่นดนตรี ละคร ฟ้อนรำ เช่น ร้องเพลง เล่นโขน เป็นต้น
                 ๖) งานศิลปหัตถกรรม เช่น เขียนภาพระบายสี แกะสลักผัก การปั้น
                 ๗) การอ่าน เขียน พูด เช่น เล่านิทาน อ่านหนังสือ เขียนบันทึก เป็นต้น
                 ๘) งานสังคม เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น

๒ การเลือกกิจกรรมนันทนาการ
                 กินกรรมนันทนาการมีอยู่หลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงควรมีหลักในการเลือกให้เหมาะสมกับวัย เพศ โอกาส ความรู้ ความสามารถ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
                 ๑) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศและวัย เช่น การเย็บปักถักร้อยเหมาะกับผู้หญิง กีฬาชกมวยเหมาะกับผู้ชาย หมากเก็บเหมาะกับเด็ก ๆ เป็นต้น
                 ๒) ความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะจะทำให้เกิดความสนุกสนานขณะปฎิบัติ เช่น ถ้ามีความสามารถในการพูด อาจเลือกเล่านิทานหรือโต้วาทีร่วมกับเพื่อน เป็นต้น
                 ๓) สภาพร่างกายการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมจะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี เช่น ผู้ที่ป่วยไม่ควรเลือกการเล่นกีฬากลางแจ้ง
                 ๔) โอกาสและสถานที่ เช่น การเล่นกีฬาควรเล่นในสนามหรือโรงยิมเนเซียม การเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลไม่ควรไปในฤดูฝน เป็นต้น
                 ๕) สังคม ขนมธรรมเนียม ประเพณี เช่น ไม่ควรเลี้ยงสุกรในชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก เป็นต้น
                 ๖) งานอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานที่ไม่ได้ใช้แรงกายมาก ควรเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง ได้แก่ การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เป็นต้น
                 ๗) ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวกิจกรรมบางชนิดใช้ค่าใช้จ่ายสูง เช่น กีฬากอล์ฟ เล่นเปียโน การสะสมของที่มีราคาแพง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ยากจนดังนั้นจึงควรเลือกให้สอดคล้องกับฐานะ
                 ๘) ประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และส่วนรวม กิจกรรมที่เลือกควรมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เช่น การขุดลอกคูคลอง

๓ ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
                 ๑) ช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๒) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี และผ่อนคลายความเครียด
                 ๓) ช่วยให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน และมีความสุข
                 ๔) ช่วยสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดในครอบครัว ชุมชน และสังคม
                 ๕) ช่วยลดปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติดเพราะกิจกรรมนันทนาการช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๖) ช่วยในการบำบัดรักษาผู้ที่เจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ
                 ๗) ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมชองชุมชนและของประเทศ

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

กิจกรรมนันทนาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ สร้างความสนุกสนาน บางกิจกรรมอาจจะมีทั้งการร้องเพลงและเต้น ไปพร้อม ๆ กัน เช่น เต้นบัลเล่ต์ Hip Hop B-Boy รำาไทย ลีลาศ ระบำาพื้นเมือง โมเดิร์นแด๊นซ์ และนาฏศิลป์อื่น ๆ

นันทนาการประเภท outdoor มีอะไรบ้าง

เป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมให้บุคคลมีโอกาสสัมผัสธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ปลอดภัยจากมลภาวะเป็นพิษ แหล่งนันทนาการประเภทนี้ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ค่ายพักแรม สวนหย่อม สวนสัตว์ สวนผลไม้ พิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์ชุมชนที่นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมในบ้านหรือในห้องเรียน

กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง มีอะไรบ้าง

8. กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง/นอกเมือง (Outdoor Recreation) แหล่งนันทนาการประเภทนี้ ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ฟาร์ม ค่ายพักแรม สวนหย่อม สวนผักผลไม้พิพิธภัณฑ์สวนสัตว์หรือศูนย์ชุมชน ที่นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมในบ้านหรือในห้องเรียน

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษามีประโยชน์อย่างไร

ช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี แต่ละท้องถิ่นต้องการสถานที่เพื่อกิจกรรมนันทนาการ เช่น สวนสาธารณะ สวนสุขภาพ สนามกีฬา การปลูกต้นไม้ทำให้เกิดความสดชื่น รื่นรม ช่วยให้เกิดการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น