บริเวณที่เรียกว่า อวิชชา (Unknown Area) ในทฤษฎีของ Joharis Window คือข้อใด

โจเซฟ ลุฟท์ (๋Joseph Luft) และ แฮรี่ อิงแฮม(Harry Ingham) ทั้งสองคนเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี (The Johari Window Theory) ขึ้นในปี พ.ศ.2498 เป็นทฤษฎีที่มุ่งอธิบายถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้วยการเข้าถึงพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น

ที่ใช้ชื่อว่า Johari Window เพราะตัวแบบที่ใช้มีลักษณ์คล้ายกับบานหน้าต่าง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า window ส่วน Johari มาจากคำว่าJoseph และ Harry ซีัึ่งเป็นชื่อต้นของเจ้าของทฤษฎี ซึ่งฟังแล้วสอดคล้องกว่าการใช้ Joe-Harry

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี แบ่งหน้าต่างออกเป็น 4 ส่วน คือ ตนที่เปิดเผย ตนที่บอด ตนที่ซ่อนเร้น และตนที่ไม่รู้ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึก ความปรารถณา การจูงใจ แนวความคิด และอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีทั้ง 4 ส่วน  คือมีทั้งส่วนที่เปิดเผย ที่บอด ที่ซ่อนเร้น และที่ตนไม่รู้  และในแต่ละบุคคลส่วนทั้งสี่ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากัน

1. ตนที่เปิดเผย(The Open Self)  เป็นตนที่ตัวเองรู้และคนอื่นรู้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ตนเปิดเผย ซึ่งแต่ละบุคคลจะเปิดเผยตนโดยผันแปรไปตามเวลาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางเวลาอาจจะเปิดเผยตนมากกว่าอีกเวลาหนึ่ง แต่ถ้าเปิดเผยตนแล้วได้รับความเจ็บปวด บุคคลจะปิดมากกว่าปกติ ในทำนองเดียวกัน ถ้าตนมีความรู้สึกสบายและได้รับการยอมรับ จะมีการเปิดเผยตนมากขึ้น ขนาดของตนที่เปิดเผยจะมีความสัมพันธ์กับความใกล้ชิดของบุคคล และความแตกต่างระหว่างบุคคล อย่างไรก็ดี คนส่วนมากจะเปิดเผยตนกับบางคน ในบางเรื่อง และ บางโอกาสเท่านั้น

2. ตนที่บอด(The Blind Self)  เป็นตนที่ตัวเองไม่รู้แต่คนอื่นรู้ คนบางคนมีตนที่บอดนี้ใหญ่จนไม่เห็นความผิดพลาดของตัวเอง และบางครั้งคิดว่าเป็นความดีด้วยซำ้ไป วิธีเดียวที่จะลดขนาดของตนที่บอดก็ด้วยการแสวงหาข้อมูลในส่วนที่คนอื่นมี แต่เราไม่มี แม้ว่าขนาดของส่วนที่บอดจะลดลง ก็ไม่ได้หมายความว่า ตนจะเห็นในส่วนนี้ เท่าๆกับคนอื่น การบังคับให้ตนและบุคคลอื่นรู้เท่าๆกัน จะทำให้เกิดความเจ็บปวด เพราะเกิดการลงโทษตัวเอง เกิดความอิจฉาริษยา และตั้งข้อรังเกียจ หากไม่มีความพร้อมทางจิตใจ

3. ตนที่ซ่อนเร้น (The Hidden Self) เป็นตนที่ตัวเองรู้แต่คนอื่นไม่รู้ เป็นส่วนที่ตนเก็บไว้เป็นความลับสุดโด่งของตนที่ซ่อนเร้น คือปิดมากเกินไป จะไม่บอกอะไรเลย คือมีความรู้เกี่ยวกับตนมาก แต่ปฏิเสธที่จะพูดออกมาให้คนอื่นรู้

4.ตนที่ไม่รู้(The unknown Self)เป็นส่วนที่ตนเองและคนอื่นไม่รู้ คือไม่รู้ว่ามีลักษณะนั้นๆอยู่ในตน เป็นลักษณะที่ปรากฎอยู่ภายใน ซึ่งอาจจะเป็นความคิด ความเชื่อฯลฯ แต่สามารถรู้ได้จากการใช้ยา การสะกดจิต การทด และการฝัน

อย่างไรก็ตาม ส่วนของตนทั้ง 4 ส่วน ของแต่ละคน อาจจะไม่เท่ากันก็ได้ บางคนอาจมีส่วนที่ไม่รู้กว้าง แต่บางคนอาจจะมีส่วนที่ซ่อนเร้นกว้าง ฯลฯ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคล ว่าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร เข้ากับคนอื่นได้ดีเพียงไร เช่น ถ้าเป็นบุคคลที่มีส่วนที่ตนไม่รู้กว้าง แสดงว่าถึงการเป็นคนที่ไม่เข้าใจตนเอง และคนอื่นก็ไม่สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับได้ หรือถ้ามีส่วนที่เปิดเผยตนกว้าง แสดงว่าเป็นคนที่รู้จักตนเองและเป็นที่รู้จักของคนอื่น ทำให้สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดี

ในเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือการสื่อสาร การจะมีประสิทธิภาพหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของการเปิดเผยตน  ถ้าเราไม่อนุญาตให้ผู้อื่นรู้จักเรา การสื่อสารจะเป็นไปด้วยความยากที่สุด ในทางตรงกันข้ามการสื่อสารจะเต็มไปด้วยความหมาย ถ้าบุคคลทั้งสองรู้จักการเปิดเผยตนซึ่งกันและกัน 

ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับปรุงการสื่อสาร หรือการสร้างความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น บุคคลจะต้องเริ่มด้วยการเปิดเผยตนของตน

การเปิดเผยตน หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลในส่วนที่ซ่อนเร้นไปยังส่วนที่เปิดเผย เป็นการส่งข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับตนเองไปยังผู้อื่น เป็นการเปิดเผยข้อมูลที่มีความหมายบางอย่างที่ผู้รับไม่รับรู้มาก่อน เป็นความรู้ใหม่ ทำให้ผู้รับเกิดความเข้าใจ

การเปิดเผยตนกับคนอื่น ทำให้เราได้ภาพใหม่เกี่ยวกับตัวเรา และมีความเข้าใจพฤติกรรมของตนได้ลึกซึ้งกว่าเดิม มีประโยชน์ในการปรับปรุงการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการรู้จักผู้อื่น นั่นคือ ถ้าปราศจากการเปิดเผยตน ความสัมพันธ์ที่มีความหมายจะเกิดขึ้นไม่ได้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                                     สาระคำ

ตน(self) หมายถึง ความรู้ ความรู้สึก แล ะแนวความคิด เกี่ยวกับตัวเราทั้งหมด ในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล

ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน

*********************************************************************************

หลายครั้งที่เรามองเห็นตัวเองผ่านสายตาของคนอื่นได้ชัดเจนยิ่งกว่ายืนมองดูตัวเองหน้ากระจกเงาด้วยซ้ำ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ย้อนกลับไปในปี 1955 โจเซฟ ลุฟท์ (Joseph Luft) และ แฮร์รี อิงแกรม (Harry Ingham) สองนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเสนอแนวคิดเพื่อทำความเข้าใจตัวตนของมนุษย์ พวกเขาสรุปเนื้อหาทฤษฎีทั้งหมดออกมาเป็นแผนภาพคล้ายหน้าต่างเรียกว่า The Johari Window หรือหน้าต่างของโจฮารี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ช่อง ภายในพื้นที่เหล่านั้นคือที่อยู่ของตัวตนต่างแง่มุม ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเลือกเปิดเผยหรือซุกซ่อน จะแสดงออกหรือต้องการปิดบัง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล

บริเวณที่เรียกว่า อวิชชา (Unknown Area) ในทฤษฎีของ Joharis Window คือข้อใด

ต่อให้ตัวตนของมนุษย์จะยากแท้หยั่งถึงสักขนาดไหน แต่ก็พอจะทำความเข้าใจได้ด้วยหน้าต่าง 4 ช่องที่ลุฟท์และอิงแกรมสร้างขึ้นไว้ใช้อธิบายตัวตน 4 แบบ ซึ่งมีอยู่ภายในตัวทุกคน

ช่องบนซ้าย คือ open self (ทุกคนรู้)

เป็นตัวตนที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา เรารู้ตัวและตั้งใจแสดงพฤติกรรมนั้นซึ่งมีจุดประสงค์ชัดเจนให้คนอื่นเห็นและเข้าใจได้ทันที เช่น ยิ้มให้ หัวเราะเสียงดัง รวมถึงความคิดความอ่าน ทัศนคติ มุมมอง ยิ่งเรามีท่าทีเปิดกว้างต่อความเป็นตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่าผู้อื่นก็จะตอบโต้ด้วยท่าทีที่เปิดเผยเหมือนกัน ทำให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้น

ช่องบนขวา คือ blind self (เราไม่รู้ แต่เขาดูออก)

เป็นพื้นที่บอด เพราะเราแสดงพฤติกรรมออกไปโดยไม่รู้ตัว แต่ผู้อื่นรับรู้ได้ เขามองเห็นตัวเราในมุมที่เราเองไม่เคยสังเกตมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นข้อเสียหรือจุดบกพร่องที่เราอาจทำผิดพลาดจากความไม่ตั้งใจและไม่ได้ตระหนักรู้ว่าตนเองได้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป เราจะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อผู้อื่นเตือนหรือชี้แนะ ซึ่งต้องยอมรับและปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น หากไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง จะยิ่งสร้างปัญหาและความขัดแย้งกับผู้อื่น

บริเวณที่เรียกว่า อวิชชา (Unknown Area) ในทฤษฎีของ Joharis Window คือข้อใด

ช่องล่างซ้าย คือ hidden self (เรารู้อยู่คนเดียว)

เป็นตัวตนที่เราเก็บซ่อนไว้ไม่ให้ใครล่วงรู้ มักจะเป็นความรู้สึกนึกคิดภายในใจ หรือเป็นพฤติกรรมลับที่ไม่เคยแสดงออกให้ใครเห็น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า หากคนอื่นรู้เข้าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทันที อาจสร้างความห่างเหินหรือทำให้ไม่สนิทใจจนไม่อยากรู้จักกันอีกต่อไป เช่น ในใจเกลียดชังคนนี้มาก แต่ต้องทำทีท่าว่ารู้สึกดี ภาพที่คนอื่นเห็นจึงตรงข้ามกับความจริงที่ใจคิด

ช่องล่างขวา คือ unknown self (ไม่มีใครรู้)

เป็นตัวตนที่รอการค้นพบ โดยไม่รู้ว่าจะเจอหรือไม่ และจะเจอเมื่อไหร่ แต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อพบเจอประสบการณ์ใหม่หรือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เช่น เราอาจไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถหรือพรสวรรค์ด้านใดด้านหนึ่งมากๆ จนกว่าจะได้ลองทำหรือหยิบจับสิ่งนั้น นอกจากนี้ยังรวมถึงพฤติกรรมที่เราอาจแสดงออกมาภายใต้สถานการณ์คับขัน เช่น เมื่อต้องต่อสู้เอาชีวิตรอด

บริเวณที่เรียกว่า อวิชชา (Unknown Area) ในทฤษฎีของ Joharis Window คือข้อใด

หน้าต่างของโจฮารีจึงยืนยันความจริงเกี่ยวกับตัวตนของมนุษย์ว่า ไม่มีใครรู้จักตนเองได้อย่างถ่องแท้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่นตลอดเวลา จุดนี้เองเป็นทั้งเหตุผลและความหวังที่ทำให้คนเรารู้จักปรับพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้เสมอ นำไปสู่เป้าหมายหลักที่ลุฟท์และอิงแกรมเสนอไว้เป็นแนวทางเพื่อพยายามขยายช่องบนซ้าย หรือ open self ให้ใหญ่ขึ้น ด้วยวิธีดังนี้

1. เปิดเผยตัวตนมากขึ้น โดยแบ่งปันเรื่องราว ประสบการณ์ และมุมมองของชีวิตกับผู้คนรอบตัว เพื่อให้เกิดความความเชื่อใจและไว้วางใจต่อกัน เพิ่มความสนิทชิดเชื้อ

2. หมั่นถามความเป็นเราจากคนที่คิดดีและหวังดีกับเรา อาจเป็นคนในครอบครัว คนรัก เพื่อนสนิท และหัวหน้างาน เพราะทำให้เรามองเห็นตัวตนในอีกแง่มุมได้ เพื่อพัฒนาส่วนที่ดี และแก้ไขส่วนที่แย่

3. สังเกตและทบทวนความสัมพันธ์ บางครั้งความเกรงใจทำให้คนอื่นเลือกไม่พูดถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเราโดยตรง แต่เขาจะแสดงออกด้วยท่าทีที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้เราระวังการกระทำของตัวเองให้มากขึ้น

บริเวณที่เรียกว่า อวิชชา (Unknown Area) ในทฤษฎีของ Joharis Window คือข้อใด

ท้ายที่สุดเมื่อเราขยาย open self ได้ใหญ่กว่าช่องอื่นๆ แสดงว่าเราเข้าใจตัวเอง และเข้าขึ้นตัวตนของผู้อื่น ซึ่งความเข้าใจจะคอยทำหน้าที่เป็นกาวคอยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันให้คงอยู่ไม่จางหาย แต่ถ้าหากชีวิตปราศจากความเข้าใจ ก็คงไม่อาจรักษาความสัมพันธ์ใดๆ ไว้ได้เช่นกัน

อ้างอิง

  • Luft, J. and Ingham, H. (1955). The Johari window, a graphic model of interpersonal awareness. Proceedings of the western training laboratory in group development. Los Angeles: University of California, Los Angeles.
  • Samuel López De Victoria. The Johari Window. https://bit.ly/33lg6eP

Johari Window มีกี่ Area

ย้อนกลับไปในปี 1955 โจเซฟ ลุฟท์ (Joseph Luft) และ แฮร์รี อิงแกรม (Harry Ingham) สองนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเสนอแนวคิดเพื่อทำความเข้าใจตัวตนของมนุษย์ พวกเขาสรุปเนื้อหาทฤษฎีทั้งหมดออกมาเป็นแผนภาพคล้ายหน้าต่างเรียกว่า The Johari Window หรือหน้าต่างของโจฮารี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ช่อง ภายในพื้นที่เหล่านั้นคือที่อยู่ ...

ทฤษฎีหน้าต่างของโจฮารี่ คืออะไร

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี แบ่งหน้าต่างออกเป็น 4 ส่วน คือ ตนที่เปิดเผย ตนที่บอด ตนที่ซ่อนเร้น และตนที่ไม่รู้ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึก ความปรารถณา การจูงใจ แนวความคิด และอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีทั้ง 4 ส่วน คือมีทั้งส่วนที่เปิดเผย ที่บอด ที่ซ่อนเร้น และที่ตนไม่รู้ และในแต่ละบุคคลส่วนทั้งสี่ไม่จำเป็นจะต้อง ...

บริเวณเปิดเผยมีอะไรบ้าง

บริเวณเปิดเผย (Open Area) คือ ข้อมูลทั้งหมดในส่วนที่เป็นพฤติกรรม ทัศนคติ ความรู้สึก ความต้องการแรงจูงใจ ความคิดเห็น ฯลฯ ที่เป็นที่รับรู้ทั้งของผู้อื่นและของตัวเอง พื้นที่ในส่วนเปิดนี้จะมากหรือน้อยย่อมขึ้นกับระดับความสัมพันธ์ ความใกล้ชิดที่มีต่อกันของแต่ละคนลุฟท์ระบุว่า ยิ่งส่วนนี้มีน้อยเท่าไร ย่อมหมายถึงปัญหาทางการ ...

Unknown Self มีอะไรบ้าง

Unknown self : ตัวตนส่วนนี้มืดมิดเลย เป็นดินแดนที่ไม่มีใครค้นพบ ตัวเราเองก็ไม่รู้ คนรอบตัวก็ไม่รู้เลยว่าเรามีความสามารถ หรือทักษะประเภทนี้ด้วย ซึ่งตัวตนส่วนนี้อยู่ระหว่างการสืบเสาะค้นพบ เช่น A เป็นคนพูดให้กำลังใจเก่ง แต่ A ไม่ค่อยพูดกับใคร คนรอบข้างก็เลยไม่รู้ และตัว A เองก็ไม่รู้ จนวันที่หัวหน้าให้ A พูดในที่ประชุม A ...