องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชนบท มีกี่ด้าน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism)

คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม  กำหนดทิศทางโดยชุมชน  จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน

งค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

องค์ประกอบหลักของ CBT มีอยู่ 4 ด้าน กล่าวคือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม

2) องค์กรชุมชน 3) การจัดการ 4) การเรียนรู้   ประเด็นสำคัญของแต่ละองค์ประกอบของ CBT ได้แก่

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม

• ชุมชนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  และมีวิถีการผลิตที่พึ่งพา

และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

• ชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

ด้านองค์กรชุมชน

• ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกัน

• มีปราชญ์  หรือผู้มีความรู้  และทักษะในเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย

• ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

ด้านการจัดการ

• มีกฎ-กติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว

• มีองค์กรหรือกลไกในการทำงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว  และสามารถเชี่อมโยงการท่องเที่ยวกับ

การพัฒนาชุมชนโดยรวมได้

• มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม

• มีกองทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

ด้านการเรียนรู้

• ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิต

และวัฒนธรรมที่แตกต่าง

• มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน

• สร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ทั้งในส่วนของชาวบ้าน

และผู้มาเยือน

CBT กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม  เนื่องจากทรัพยากรการท่องเที่ยว กับทรัพยากรที่ชุมชนใช้เป็นฐานการผลิตเป็นทรัพยากรเดียวกัน วัฒนธรรมธรรมและสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องจิตวิญญาณของชุมชน ในการสร้างสัมพันธ์กันภายในชุมชนและการสัมพันธ์กับภายนอก  ควรจะเชื่อมโยงให้เห็นการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

ความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น

Ecotourism (อีโคทัวร์ริซึ่ม) ภาษาราชการเรียกว่า “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” แต่หลายชุมชนหรือหลายองค์กร เรียก “การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์”  ซึ่งความแตกต่างของอีโคทัวร์ริซึ่ม กับ CBT คือ CBT เน้นที่ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการทำงาน  แต่อีโคทัวร์ริซึ่ม  ธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง  ชุมชนเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง

Homestay (โฮมสเตย์) ภาษาราชการเรียกว่า “ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท” มีความแตกต่างจาก CBT คือ เน้นบ้านเป็นศูนย์กลาง  แต่ CBT ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการบริหารจัดการที่ชัดเจนในรูปองค์กรชุมชน จะพักค้างคืนในชุมชนในรูปแบบที่ชุมชนจัดการ อาทิ โฮมสเตย์ รีสอร์ทชุมชน  ตั้งแคมป์ หรือไม่ค้างคืนก็ได้

องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชนบท มีกี่ด้าน
CBT : เครื่องมือในการพัฒนาชุมชน

CBT  เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน   ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว

ในขณะเดียวกันในภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  การท่องเที่ยวโดยชุมชนได้เข้าไปมีบทบาทในการสร้างคุณภาพใหม่ของการท่องเที่ยวให้มีความหมายมากกว่าการพักผ่อน ความสนุกสนาน และความบันเทิง  หากได้เปิดมิติของการท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเคารพคนในท้องถิ่น

หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน  ที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนมีหลักการดังนี้

1. ชุมชนเป็นเจ้าของ

2. ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ

3. ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง

4. ยกระดับคุณภาพชีวิต

5. มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

6. คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

7. ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม

8. เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

9. เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น

10. มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน

การที่จะให้ชุมชนดำเนินการท่องเที่ยวตามหลักการดังกล่าวข้างต้น  มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว  ในขณะเดียวกันก็ต้องรณรงค์กับคนในสังคมให้เห็นความแตกต่างของการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการท่องเที่ยวทั่วไป  กระตุ้นให้คนในสังคมเห็นความสำคัญและเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของชุมชนท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นกำลังใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงานอนุรักษ์ทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ได้เกิดจากการตอบคำถามว่า ?ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการท่องเที่ยว?  แต่เป็นการสร้างโจทย์ใหม่ว่า ?การท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร?

องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชนบท มีกี่ด้าน

การท่องเที่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากการประชุมระดับโลกเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก (Earth Summit) ในปี 2535  นับเป็นจุดเริ่มในการผลักดันความคิดเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน”  ส่งอิทธิพลถึงการให้ความสำคัญเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน” จากกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยว 3 ประการ กล่าวคือ

1. กระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. กระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้

3. กระแสความต้องการในการพัฒนาคนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นความพยายามหนึ่งของการสร้างทางเลือกในการพัฒนาในประเด็นการท่องเที่ยวที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากท่องเที่ยว   และมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนา

กำเนิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ช่วงที่โลกตื่นตัวเรื่องการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและหาทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยว  ช่วงปี 2535  หลังจากนั้น  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  (Ecotourism) เข้ามาเป็นกระแสใหม่และกระแสใหญ่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย  โดยการผลักดันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  ในขณะที่การท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community Based Tourism – CBT) เริ่มก่อตัวขึ้นเติบโตคู่ขนานไปกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  โดยการทำงานในระดับพื้นที่ของโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ (REST)  ต่อมา REST ได้ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  จัดตั้ง สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งในช่วงดังกล่าว ชื่อที่เรียกขานการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่  มีหลากหลายชื่อ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  การท่องเที่ยวสีเขียว

หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540ปี รัฐบาลไทยใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยประกาศให้ปี 2541-2542 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand)  ในปี 2544 มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product -OTOP)  หลังปี 2545 การท่องเที่ยวลงไปในชนบทหลากหลายรูปแบบ ในปี 2547  มีการให้มาตรฐานโฮมสเตย์  ปัจจุบัน การท่องเที่ยวโดยชุมชนเริ่มเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งซึ่งชุมชนเข้ามาบริหารจัดการการท่องเที่ยวด้วยตนเอง

รูปแบบการท่องเที่ยวของ CBT

รายการนำเที่ยวมีการออกแบบเพื่อให้ผู้มาเยือนได้รับประสบการณ์ในวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น  แขกผู้มาเยือนและสมาชิกในชุมชนมีโอกาสที่จะพบและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การนำเที่ยวและบริการต่าง ๆ ดำเนินการโดยกลุ่มองค์กรชุมชน  มีการแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ อาทิ  ผู้ประสานงาน, ผู้นำเที่ยวท้องถิ่นครอบครัวโฮมสเตย์ ฝ่ายอาหาร ยานพาหนะ เป็นต้น

รูปแบบการท่องเที่ยว CBT มี 3 รูปแบบ :

1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวปกติของชุมชน

2. ศึกษาดูงาน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งการบรรยาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อให้ผู้มาศึกษาดูงานได้เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบท
หรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน

3. จิตอาสา เป็นกิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับอาสาสมัครที่ต้องการทำกิจกรรม
บำเพ็ญประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

สิ่งที่นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้จากการท่องเที่ยว CBT

ค้นหา   สำรวจความงามที่เรียบง่ายของหมู่บ้านในชนบท  และมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตของ

คนในชุมชน

เรียนรู้ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนที่มีความหลากหลายแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น

แลกเปลี่ยน ด้วยความอ่อนน้อม เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง

พักอาศัย ในบ้านกับครอบครัวคนท้องถิ่น รับประทานอาหารพื้นบ้าน และแลกเปลี่ยนเรื่องราว

ที่เปี่ยมไปด้วย รอยยิ้ม ความมีชีวิตชีวาและเสียงหัวเราะของสมาชิกในครอบครัว

เดินป่า กับคนท้องถิ่น  ในเส้นทางที่สวยงามและมีความหมาย  สอดแทรกเรื่องราวภูมิปัญญา

ท้องถิ่น ตำนานพื้นบ้านจากอดีตจวบจนปัจจุบัน

เก็บเกี่ยว ผลไม้สด สมุนไพร และผักจากสวนของครอบครัวคุณก่อนที่จะเรียนรู้สูตรอาหาร

และมีส่วนร่วมในการทำอาหารกับคนท้องถิ่น

ดำน้ำ ดูความงามใต้ท้องทะเลสีคราม  หรือใช้ชีวิตล่องเรือไปหาปลากับชาวประมงพื้นบ้าน

เลือก เรียนรู้และกิจกรรมได้ตามความสนใจ

กระบวนการพัฒนา CBT

CBT เป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่มีแนวคิดชัดเจน  กล่าวคือ เป็นการท่องเที่ยวที่จัดการโดยชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน  จุดเด่น ของ CBT คือ แต่ละชุมชนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความเป็นท้องถิ่นดั้งเดิม  เป็นการท่องเที่ยวที่เห็นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน  นักท่องเที่ยวสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ

การท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชุมชนมีการนำเสนอจุดขายที่เหมือน ๆ กัน กล่าวคือ ที่พักและอาหารท้องถิ่น   กิจกรรมนำเที่ยวก็คล้าย ๆ กัน คล้าย ๆ กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน  แต่สิ่งที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนแตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น คือ ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  ความรู้สึกเป็นเจ้าของ  และรูปธรรมที่จับต้องได้ว่าการท่องเที่ยวส่งผลประโยชน์ต่อชุมชนโดยภาพรวมอย่างไร  ทั้งเรื่องการพัฒนาชุมชนและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสถึงการต้อนรับที่อบอุ่น  มีอัธยาศัยไมตรี  มีโอกาสพบปะกับคนที่หลากหลายในชุมชน  โดยที่ทุกคนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าบ้านพร้อมต้อนรับแขกผู้มาเยือน  ได้สัมผัสความเป็นชุมชนในการดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นปกติ

ความรู้สึกเป็นเจ้าของการท่องเที่ยวโดยชุมชน  สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว  เข้ามาควบคุมผลกระทบจากการท่องเที่ยว  ผู้มาเยือนสามารถรับรู้ถึงความตั้งใจจริงนั้นได้จาก “กองทุนชุมชน” ที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน  แม้ว่าสมาชิกในชุมชนอาจไม่ได้รับรายได้โดยตรงจากการท่องเที่ยว  แต่ผลการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว  ได้ตัดรายได้ส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเพื่อให้ส่วนรวมได้ร่วมรับประโยชน์  รวมทั้งการมีกฎกติกาเพื่อให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตนที่เคารพคนท้องถิ่น  และไม่ทำการใด ๆ ที่ผิดจารีตประเพณีของชุมชน ขณะที่พักในหมู่บ้าน

องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในชนบท มีกี่ด้าน อะไรบ้าง

องค์ประกอบหลักของ CBT มีอยู่ 4 ด้าน กล่าวคือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) องค์กรชุมชน.
กระแสความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้.
กระแสความต้องการในการพัฒนาคนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น.

องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวมีกี่ด้าน

4. องค์ประกอบการท่องเที่ยว หมายถึง ด้านสิ่งดึงดูดด้านการท่องเที่ยว (Attractions) ด้าน การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) สิ่งอ านวยความสะดวก (Amenities) ที่พัก (Accommodation) กิจกรรม (Awareness) และการให้บริการในพื้นที่ (Ancillary Service)

องค์ประกอบของการท่องเที่ยว ตรงกับข้อใด

ท่องเที่ยวจึงมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ นักท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยว การคมนาคม ขนส่ง ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว และสิ่งอ านวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว การ พิจารณาองค์ประกอบแต่ละส่วน จะท าให้สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ / ประเด็นออก... ประเด็นออกข้อสอบ 2. ทรัพยากรการท่องเที่ยว

ขั้นตอนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน คืออะไร

การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism : CBT)เป็นกระบวนการ จัดการท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นผู้ด าเนินการวางแผน และก าหนดทิศทางการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความ ต้องการของชุมชน โดยมุ่งเน้นสิ่งส าคัญไปที่ความยั่งยืนทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าทุกคนในชุมชนคือเจ้าของทรัพยากร และ ...